เป็นที่ชื่นชมและกล่าวขวัญในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กระทั่งถึงตอนนี้ สำหรับนายแพทย์สนธยา วัฒนโกศล หรือ “หมอใจบุญ” สมญานามที่คนยกให้เพื่อบ่งบอกถึงตัวตน กับการรักษาประชาชนคนเจ็บที่ยากไร้แบบไม่คิดเงิน ในวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของสมเด็จย่า และวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
เพราะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ทรงมอบประทานชีวิตใหม่ จากการสิ้นเนื้อประดาตัว ให้มีกิน จากที่เดินไม่ได้ ก็หายจากทุพพลภาพ และจุดประกายส่องทางชีวิตให้ประสบความสำเร็จเป็นแพทย์หมออย่างที่ตั้งใจหวัง ได้เดินทำตามฝัน
และนี่ก็คือเรื่องราวของประชาชนคนหนึ่งซึ่งใช้ทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญในการเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มากว่า 20 ปี
(1)
บุญของแผ่นดินไทย พ่อหลวงบันดาลให้
ปวงประชาจึงไร้ทุกข์
“เพราะพระองค์ได้มอบชีวิตใหม่ให้กับผม ไม่อย่างนั้น ผมคงไม่มีวันนี้”
นายแพทย์สนธยา เปิดเผยถึงแรงผลักที่ทำให้ตั้งหมุดหมายปฏิญาณตนเป็นลูกของ “พ่อ” และหลานของแม่ฟ้าหลวงมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เปิดคลินิกรักษาฟรีที่แรกของประเทศไทย ณ ถ.นิวาศ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ สืบเนื่องมายาวนานมากกว่า 20 ปี
“คือช่วงสมัยเรียนอยู่ชั้น ป.7 ปี 2516 เกิดไฟไหม้สุรินทร์ครั้งใหญ่ บ้านเมืองโดนเผาผลาญทั้งอำเภอเมือง กินพื้นที่ตั้งแต่วัดกลางที่ผมอยู่ ไปจนถึงตลาดน้ำพุ ถึงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง กินพื้นที่ครึ่งอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ คนเป็นหมื่นไม่มีที่อยู่ ที่ติดตัวมีแต่เสื้อผ้าหนึ่งชุดที่ติดตัว”
ท่ามกลางความทุกข์ยากถาโถม หนทางมืดบอด มื้อต่อไป ข้าวจะตกถึงท้องเวลาใด ยังไม่อาจรู้ แต่แล้ว หลังเปลวไฟดับยังไม่สนิท ปัจจัย 4 ในถุงผ้าที่ตีตรา “พระราชทาน” ก็ถูกส่งถึงมือ
“รุ่งขึ้นก็มีประกาศจากศาลากลางให้ไปรับถุงยังชีพ มีครอบครัวหลายพันครอบครัวก็ไปรับ ก็มีทั้งมุ้ง ผ้าห่ม เสื้อ แล้วก็มีหม้อ กระทะ จาน ช้อน ตะหลิว มีข้าวสารอาหารแห้ง ให้ไปรับ ก็ได้อันนี้ยังชีพ
“เราเลยรอดมาถึงวันนี้ได้เพราะของที่ในหลวงทรงให้มา ก็ใช้มาเกือบ 30 กว่าปี จานอะลูมิเนียมปั๊มว่าในพระบรมราชูปถัมภ์ วันนี้ยังเหลือจานอยู่ 5 ใบที่เก่าๆ ผุๆ รูพรุน บางอันขอบบิ่นไปแล้วบ้าง คุณแม่ท่านเก็บไว้ให้ลูกๆ แต่ละคนไว้บูชาระลึกถึงพระคุณท่านเสมอ”
กว่า 3,000 ครั้ง ที่ทรงพระราชทานความช่วยเหลือในภัยพิบัติต่างๆ อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว บำบัดทุกข์ปวงประชา หรือ 4,447 โครงการที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขอาณาประชาราษฎร์ จึงค่อยถูกบันทึกจารึกในความทรงจำตลอดระยะที่ได้ศึกษาและติดตามตลอดระยะเวลาหลังเหตุการณ์ครั้งนั้น--ถึงพระมหากรุณาธิคุณ—ถึงชีวิตที่ทั้งชีวิตที่อยู่ดีมีสุขได้ ก็เพราะพระองค์ท่าน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
“ตอนผมอายุประมาณ 3 ขวบ ผมถูกรถสิบล้อเฉี่ยวชน รักษาอยู่ที่โรงพยาบาลสุรินทร์ 3 เดือน และเส้นเอ็นขาข้างขวาขาด ทำให้ขางอ เดินไม่ได้ เวลาไปไหนมาไหน ก็เลยต้องอาศัยกระโดดเอาเหมือนจิงโจ้ ทางหมอนั้นบอกว่ารักษาไม่ได้แล้ว ต้องไปให้ศาสตราจารย์นายแพทย์เฟื่อง สัตย์สงวน รักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ตอนนั้นท่านเป็นหัวหน้าแผนกออโธปิดิกส์และกายภาพบำบัด ท่านเป็นคนแรกที่เอากายภาพบำบัดมาใช้รักษาในประเทศไทย พ่อก็พาไป
“แต่ด้วยการรักษาต้องผ่าตัดก่อน 2 ครั้ง คิดเป็นเงินที่สูงมากยุคนั้น เราแค่ฐานะปานกลาง แน่นอนที่บ้านก็ไม่พอจะมีเงินรักษา ทว่าอาจารย์เฟื่องท่านก็อนุเคราะห์รักษาให้ฟรีๆ เนื่องจากหนึ่งเป็นเคสตัวอย่าง
“และสอง เนื่องจากพระบารมีของสมเด็จย่า ที่ตอนนั้นท่านมีโครงการให้เปิดช่วยเหลือคนพิการ ทำแขนขาเทียม อาจารย์เฟื่องท่านก็เป็นข้าราชการ ผมก็เลยได้สิทธิ์นั้น หลังรักษาตัวหาย แม่ก็เลยบอกว่าให้เรียนหมอให้ได้นะ เพราะจะได้มาช่วยเหลือผู้คน บำรุงสุขประชาชนอย่างสมเด็จย่า และอย่างอาจารย์เฟื่องที่ท่านช่วยพวกเรา”
นายแพทย์สนธยา วัฒนโกศล จบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 7 ก่อนเลือกเรียนต่อแผนกศัลยกรรมเด็กที่โรงพยาบาลจุฬาฯ และเข้าทำงานในแผนกผ่าตัดเด็กที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ควบคู่กับการเป็นหน่วยแพทย์อาสาในมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) โดยใช้วิชาชีพช่วยเหลือประชาชนอย่างไม่ลดละ ตามปณิธานแห่งชีวิตที่ตั้งไว้ เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี กระทั่งสมเด็จย่าเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 2538 ด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ จึงก่อร่างสร้างคลินิกขึ้นและเปิดให้รักษาฟรีในวันที่ 18 กรกฎาคม ของทุกๆ ปี รักษาตรวจโรคต่างๆ แก่ประชาชน เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโครงการ “ทำดีเพื่อพ่อ” ในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา
(2)
“ลูกเอ๋ย ทางของเราไม่ได้เดินบนกลีบกุหลาบ
ต้องอดทน ต้องสู้ เพื่อประเทศ”
“พระเทพฯ เคยเขียนเล่าตอนตามเสด็จในหลวงไว้ว่า ไปป่าใหญ่ทึบ เดินๆ ไป หนามเกี่ยวขา เลือดออก หิวข้าวก็หิว อยากจะทานก็ไม่ได้ทาน พระเทพฯ ท่านก็เลยตรัสบอกกับในหลวง แต่พระองค์ท่านบอกว่า ลูกเอ๋ย ทางของเราไม่ได้เดินบนกลีบกุหลาบ ต้องอดทน ต้องสู้ เพื่อประเทศ ถ้าเจ้าอยากเดินตามรอยพ่อเจ้าต้องมีอุดมการณ์ และอย่าละทิ้งความกล้า ความอดทน
“พระองค์ท่านสอนอย่างนี้เลย เราขณะอ่าน ขนยังลุกเลย”
นายแพทย์สนธยา กล่าวถึงเหตุผลการมุ่งมั่นทุ่มเทที่น้อมนำมาเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต การเสียสละความสุขส่วนตัว กระทั่งค่าเวชภัณฑ์ในการรักษาฟรีแก่พี่น้องประชาชนนับพันๆ จนชาวบ้านต่างเรียกขานแทนชื่อจริงคลินิกหมอสนธยาว่า “คลินิกหมอใจบุญ”
“และอีกหลายๆ ตัวอย่างที่แต่ละคนล้วนทำให้ผมเห็น ก็ได้มาจากพระองค์ท่าน เริ่มตั้งแต่อาจารย์ชนินทร์ มหรรฆานุเคราะห์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด อยู่ที่โรงพยาบาลขอนแก่น เวลาที่แพทย์นักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปรักษาที่คลินิกของท่าน ท่านก็รักษาฟรี ไม่คิดเงิน อาจารย์ พิทยา จันทรกมล หัวหน้าแผนกกุมารศัลยกรรมจุฬาลงกรณ์และเจ้าของโรงพยาบาลบางปะกอก ท่านผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าให้ประชาชนถวายราชินีกับในหลวง 500 ข้อ ราคาข้อละห้าหมื่น ท่านก็ทำฟรี ผ่าตัดเปลี่ยนข้อหัวไหล่คนหัวไหล่ติด 60 ข้อ ถวายเจ้าฟ้าชาย แล้วก็ผ่าตัดบายพาสหัวใจให้คนฟรีอีก 800 ราย ถวายในหลวง
“กระทั่งอาจารย์นิวัติ ชัชวาลย์พาณิชย์ แพทย์แผนกผ่าตัดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ที่สอนวิธีการผ่าตัดให้แก่ผม คนไข้อนาถาจะผ่าไส้ติ่ง ค่าใช้จ่ายท่านคิดแค่ 300 บาท ไม่ผ่า คิด 150 บาท ลำไส้รั่ว 500 บาท แต่พอคนไข้เอาเงินมาให้ท่าน ท่านบอกว่า ฉันไม่เอาเงินหรอก ฉันมีเงินเดือนอยู่แล้ว ฉันเป็นข้าราชการ เป็นข้าของในหลวง”
ด้วยเหตุนี้ กว่าครึ่งชีวิตจึงวางหมุดหมายเอาเป็นแบบอย่างทำตาม และยังได้เพิ่มเติมน้อมนำสิ่งดีๆ ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ เฉกเช่นตัวเองที่ได้รับการถ่ายทอด โดยการเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เรียนรู้ เป็นศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นที่ส่วนตัวกว่า 3 ไร่ และยังเป็นอาจารย์พิเศษรับเชิญสอนนักศึกษาปริญญาโทและเอกในเรื่อง “การพัฒนาและส่งเสริมจิตวิญญาณอุดมการณ์ที่ดี เพื่อสร้างสังคมและประเทศชาติ”
“เพราะพระองค์ท่านช่วยทุกคนในประเทศไทย ท่านไปทุกจังหวัด แล้วพระองค์ทรงช่วยพสกนิกร ไม่มีเว้นชนชั้นหรือเชื้อชาติ ดังนั้น พอเราทำตรงนี้แล้วมีคนมาเข้าร่วมด้วยช่วยกันทั่วทุกสารทิศ จำกันไม่หวาดไม่ไหว ทั้งแพทย์ คุณหมอรัชนี ดวงฤดีสวัสดิ์ เอาอัลตราซาวด์มาตรวจ ตรวจกระดูพรุน ตรวจเลือดตรวจอะไร คุณหมออภิวัฒน์ ม่วงสนิท คุณหมออุดม วงศ์วัฒนฤกษ์ คุณหมอเอื้อมพา กาญจนรังสิชัย คุณหมอไพโรจน์ จึงอนุวัตร คุณหมอวรากร เงยวิจิตร มีแพทย์แผนไทยจากพยาบาลสภากาชาด คุณหมอท๊อป ปนนทกร พี่ๆ พยาบาลอาวุโสโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ชาวบ้านอย่างป้าชื่นกับลุงมโน ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงทานในวันงาน อาจารย์ศิริวรรณ สุวรรณกาญ จากวิทยาลัยสารพัดช่างตัดผมฟรี คุณครูประเสริฐ ปะโสทะกัง และเด็กๆ วงดนตรีไทยนักเรียนบ้านพระครู คุณกิ่ง (Candy nail) กลุ่มนักวาดภาพจังหวัดบุรีรัมย์ และยาต่างๆ ที่ส่งมาช่วยเหลือจากอำเภอหาดใหญ่ จากกรุงเทพฯ อยุธยา ปทุมธานี ระยอง อุบลราชธานี ศรีสะเกษ นครราชสีมา ขอนแก่น จังหวัดบุรีรัมย์เอง ทั้งอาหาร ทั้งพันธุ์พืชไม้ หรือมาสอนการงานอาชีพทำมีดสวยงาม อุปกรณ์เครื่องเขียน เราก็อยากจะทำให้ได้เหมือนที่ท่านทรงช่วยเหลือเรา
“อีกอย่างหนึ่ง คือเราคิดเรื่องของการปลูกจิตสำนึกประชาชนให้เขาได้รู้และมองเห็นอนาคตตัวเอง จะทำอย่างไรกับตัวเองในอนาคต เรามีประสบการณ์ชีวิต ตัวผมทุกวันนี้แม้ไม่ได้รวย แต่สุขสบายตามวิถี ความเจริญรุ่งเรืองไม่มีขาดสายเพราะตามรอยพระบาท ก็จะบอกกับลูกๆ หลานๆ นักเรียนนักศึกษาเสมอว่า ความเก่งและวิชาการก็เป็นส่วนที่ทำให้อาชีพเจริญก้าวหน้า แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือคุณธรรม มนุษยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งคำสอนของพระราชบิดา สมเด็จย่า การเอื้ออาทรต่อผู้ยากไร้ จะส่งผลให้ลูกเป็นแพทย์ที่ยอดเยี่ยมอยู่กลางใจประชาชน
“การทำงานต้องซื่อสัตย์สุจริต ทำด้วยความถูกต้อง ทำตามจรรยาบรรณวิชาชีพนั้นๆ ทำเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ เราต้องยึดเอาบรรพบุรุษเป็นแบบอย่าง และที่สำคัญต้องกตัญญูกตเวที ซึ่งคุณแผ่นดิน คุณของพระองค์ท่านในหลวงนั้น ทดแทนเท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมด เพราะท่านให้เรามามาก พระเมตตาหลอมรวมประเทศชาติเรา เกิดเป็นเราอย่างทุกวันนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่เกิดเป็นคนไทยในข้าพระบาท”
(3)
ภูมิพลัง แผ่นดินถิ่นนี้ยิ่งใหญ่
สิ่งเดียวที่ทดแทนได้คือทำความดี
“ผมก็จะทำจนกว่าจะหมดลมหายใจ”
นายแพทย์สนธยากล่าวย้ำเส้นทางชีวิตต่อจากนี้
“เราทุกคนเสียใจ แต่เราจะไม่หยุดชะงักหรือให้ความเสียใจนั้นหยุดสิ่งที่เราทำ เพราะการที่เราจะทดแทนพระคุณท่าน มีทางเดียวสิ่งเดียวคือทำความดี ทำความดีในทุกรูปแบบที่เราสามารถทำได้ ตัวเองทำได้ แม้ว่าวันนี้เราจะเสียใจในการเสด็จสวรรคตของพระองค์ท่าน แต่ว่าเราต้องทำต่อไป เพราะว่าในหลวงท่านทำให้เราดู ท่านสอนเรามาแล้วว่าให้ทำอะไรบ้าง พวกเราคนไทยทุกคนหยุดไม่ได้ ต้องเริ่มทำ ทำดีอย่างละนิดละหน่อย แล้วมันก็กระจายกันไป
“มันจะเป็นเหมือนดอกไม้ไฟที่ขึ้นไปแล้วระเบิด ไปเรื่อยๆ ให้เห็นสิ่งงดงาม เป็นพลุที่ระเบิดสวยงาม ที่ต่อๆ ไปจะงดงามทั่วฟ้าเมืองไทย ส่วนตัวผมก็จะบอกลูกๆ เสมอถึงพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นในพระองค์ท่านและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่ไม่เคยละทิ้งพวกเรา ให้พวกเราทำความดีไปเรื่อยๆ”
เพราะพระคุณนั้นหาที่เปรียบไม่ได้ เพราะพระคุณนั้นล้นพ้นปกเกล้าเหนือฟ้า
และทรงเป็นทั้งพ่อ พระ กษัตริย์เจ้าเหนือหัว ในสายตา ในห้วงความรู้สึกความทรงจำตลอดกาล
“เราถึงได้มีวันนี้ ดีใจที่สุดที่ครอบครัวเราคุณพ่อเคยถวายงานรับใช้ทำผ้าคลุมเบาะรถพระที่นั่งที่พระองค์ประทับทรงงาน ครั้งหนึ่ง ผมเคยรำถวายพระพรหน้าศาลากลางให้พระองค์ทอดพระเนตร เพราะแค่นี้ นับว่ายังน้อยเมื่อเทียบกับสิ่งที่พระองค์ท่านทำ ตลอดระยะเวลา 70 ปี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยย่อท้อ เพื่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด และเราจะทำดีให้ท่านไม่ตลอดไปได้อย่างไร ก็จะทำต่อไปไม่หยุดครับ เพราะในความทรงจำของผม ท่านคือพระอรหันต์ คือพ่อและเจ้าชีวิตตลอดไป”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : นายแพทย์สนธยา วัฒนโกศล
เพราะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ทรงมอบประทานชีวิตใหม่ จากการสิ้นเนื้อประดาตัว ให้มีกิน จากที่เดินไม่ได้ ก็หายจากทุพพลภาพ และจุดประกายส่องทางชีวิตให้ประสบความสำเร็จเป็นแพทย์หมออย่างที่ตั้งใจหวัง ได้เดินทำตามฝัน
และนี่ก็คือเรื่องราวของประชาชนคนหนึ่งซึ่งใช้ทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญในการเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มากว่า 20 ปี
(1)
บุญของแผ่นดินไทย พ่อหลวงบันดาลให้
ปวงประชาจึงไร้ทุกข์
“เพราะพระองค์ได้มอบชีวิตใหม่ให้กับผม ไม่อย่างนั้น ผมคงไม่มีวันนี้”
นายแพทย์สนธยา เปิดเผยถึงแรงผลักที่ทำให้ตั้งหมุดหมายปฏิญาณตนเป็นลูกของ “พ่อ” และหลานของแม่ฟ้าหลวงมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เปิดคลินิกรักษาฟรีที่แรกของประเทศไทย ณ ถ.นิวาศ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ สืบเนื่องมายาวนานมากกว่า 20 ปี
“คือช่วงสมัยเรียนอยู่ชั้น ป.7 ปี 2516 เกิดไฟไหม้สุรินทร์ครั้งใหญ่ บ้านเมืองโดนเผาผลาญทั้งอำเภอเมือง กินพื้นที่ตั้งแต่วัดกลางที่ผมอยู่ ไปจนถึงตลาดน้ำพุ ถึงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง กินพื้นที่ครึ่งอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ คนเป็นหมื่นไม่มีที่อยู่ ที่ติดตัวมีแต่เสื้อผ้าหนึ่งชุดที่ติดตัว”
ท่ามกลางความทุกข์ยากถาโถม หนทางมืดบอด มื้อต่อไป ข้าวจะตกถึงท้องเวลาใด ยังไม่อาจรู้ แต่แล้ว หลังเปลวไฟดับยังไม่สนิท ปัจจัย 4 ในถุงผ้าที่ตีตรา “พระราชทาน” ก็ถูกส่งถึงมือ
“รุ่งขึ้นก็มีประกาศจากศาลากลางให้ไปรับถุงยังชีพ มีครอบครัวหลายพันครอบครัวก็ไปรับ ก็มีทั้งมุ้ง ผ้าห่ม เสื้อ แล้วก็มีหม้อ กระทะ จาน ช้อน ตะหลิว มีข้าวสารอาหารแห้ง ให้ไปรับ ก็ได้อันนี้ยังชีพ
“เราเลยรอดมาถึงวันนี้ได้เพราะของที่ในหลวงทรงให้มา ก็ใช้มาเกือบ 30 กว่าปี จานอะลูมิเนียมปั๊มว่าในพระบรมราชูปถัมภ์ วันนี้ยังเหลือจานอยู่ 5 ใบที่เก่าๆ ผุๆ รูพรุน บางอันขอบบิ่นไปแล้วบ้าง คุณแม่ท่านเก็บไว้ให้ลูกๆ แต่ละคนไว้บูชาระลึกถึงพระคุณท่านเสมอ”
กว่า 3,000 ครั้ง ที่ทรงพระราชทานความช่วยเหลือในภัยพิบัติต่างๆ อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว บำบัดทุกข์ปวงประชา หรือ 4,447 โครงการที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขอาณาประชาราษฎร์ จึงค่อยถูกบันทึกจารึกในความทรงจำตลอดระยะที่ได้ศึกษาและติดตามตลอดระยะเวลาหลังเหตุการณ์ครั้งนั้น--ถึงพระมหากรุณาธิคุณ—ถึงชีวิตที่ทั้งชีวิตที่อยู่ดีมีสุขได้ ก็เพราะพระองค์ท่าน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
“ตอนผมอายุประมาณ 3 ขวบ ผมถูกรถสิบล้อเฉี่ยวชน รักษาอยู่ที่โรงพยาบาลสุรินทร์ 3 เดือน และเส้นเอ็นขาข้างขวาขาด ทำให้ขางอ เดินไม่ได้ เวลาไปไหนมาไหน ก็เลยต้องอาศัยกระโดดเอาเหมือนจิงโจ้ ทางหมอนั้นบอกว่ารักษาไม่ได้แล้ว ต้องไปให้ศาสตราจารย์นายแพทย์เฟื่อง สัตย์สงวน รักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ตอนนั้นท่านเป็นหัวหน้าแผนกออโธปิดิกส์และกายภาพบำบัด ท่านเป็นคนแรกที่เอากายภาพบำบัดมาใช้รักษาในประเทศไทย พ่อก็พาไป
“แต่ด้วยการรักษาต้องผ่าตัดก่อน 2 ครั้ง คิดเป็นเงินที่สูงมากยุคนั้น เราแค่ฐานะปานกลาง แน่นอนที่บ้านก็ไม่พอจะมีเงินรักษา ทว่าอาจารย์เฟื่องท่านก็อนุเคราะห์รักษาให้ฟรีๆ เนื่องจากหนึ่งเป็นเคสตัวอย่าง
“และสอง เนื่องจากพระบารมีของสมเด็จย่า ที่ตอนนั้นท่านมีโครงการให้เปิดช่วยเหลือคนพิการ ทำแขนขาเทียม อาจารย์เฟื่องท่านก็เป็นข้าราชการ ผมก็เลยได้สิทธิ์นั้น หลังรักษาตัวหาย แม่ก็เลยบอกว่าให้เรียนหมอให้ได้นะ เพราะจะได้มาช่วยเหลือผู้คน บำรุงสุขประชาชนอย่างสมเด็จย่า และอย่างอาจารย์เฟื่องที่ท่านช่วยพวกเรา”
นายแพทย์สนธยา วัฒนโกศล จบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 7 ก่อนเลือกเรียนต่อแผนกศัลยกรรมเด็กที่โรงพยาบาลจุฬาฯ และเข้าทำงานในแผนกผ่าตัดเด็กที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ควบคู่กับการเป็นหน่วยแพทย์อาสาในมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) โดยใช้วิชาชีพช่วยเหลือประชาชนอย่างไม่ลดละ ตามปณิธานแห่งชีวิตที่ตั้งไว้ เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี กระทั่งสมเด็จย่าเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 2538 ด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ จึงก่อร่างสร้างคลินิกขึ้นและเปิดให้รักษาฟรีในวันที่ 18 กรกฎาคม ของทุกๆ ปี รักษาตรวจโรคต่างๆ แก่ประชาชน เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโครงการ “ทำดีเพื่อพ่อ” ในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา
(2)
“ลูกเอ๋ย ทางของเราไม่ได้เดินบนกลีบกุหลาบ
ต้องอดทน ต้องสู้ เพื่อประเทศ”
“พระเทพฯ เคยเขียนเล่าตอนตามเสด็จในหลวงไว้ว่า ไปป่าใหญ่ทึบ เดินๆ ไป หนามเกี่ยวขา เลือดออก หิวข้าวก็หิว อยากจะทานก็ไม่ได้ทาน พระเทพฯ ท่านก็เลยตรัสบอกกับในหลวง แต่พระองค์ท่านบอกว่า ลูกเอ๋ย ทางของเราไม่ได้เดินบนกลีบกุหลาบ ต้องอดทน ต้องสู้ เพื่อประเทศ ถ้าเจ้าอยากเดินตามรอยพ่อเจ้าต้องมีอุดมการณ์ และอย่าละทิ้งความกล้า ความอดทน
“พระองค์ท่านสอนอย่างนี้เลย เราขณะอ่าน ขนยังลุกเลย”
นายแพทย์สนธยา กล่าวถึงเหตุผลการมุ่งมั่นทุ่มเทที่น้อมนำมาเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต การเสียสละความสุขส่วนตัว กระทั่งค่าเวชภัณฑ์ในการรักษาฟรีแก่พี่น้องประชาชนนับพันๆ จนชาวบ้านต่างเรียกขานแทนชื่อจริงคลินิกหมอสนธยาว่า “คลินิกหมอใจบุญ”
“และอีกหลายๆ ตัวอย่างที่แต่ละคนล้วนทำให้ผมเห็น ก็ได้มาจากพระองค์ท่าน เริ่มตั้งแต่อาจารย์ชนินทร์ มหรรฆานุเคราะห์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด อยู่ที่โรงพยาบาลขอนแก่น เวลาที่แพทย์นักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปรักษาที่คลินิกของท่าน ท่านก็รักษาฟรี ไม่คิดเงิน อาจารย์ พิทยา จันทรกมล หัวหน้าแผนกกุมารศัลยกรรมจุฬาลงกรณ์และเจ้าของโรงพยาบาลบางปะกอก ท่านผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าให้ประชาชนถวายราชินีกับในหลวง 500 ข้อ ราคาข้อละห้าหมื่น ท่านก็ทำฟรี ผ่าตัดเปลี่ยนข้อหัวไหล่คนหัวไหล่ติด 60 ข้อ ถวายเจ้าฟ้าชาย แล้วก็ผ่าตัดบายพาสหัวใจให้คนฟรีอีก 800 ราย ถวายในหลวง
“กระทั่งอาจารย์นิวัติ ชัชวาลย์พาณิชย์ แพทย์แผนกผ่าตัดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ที่สอนวิธีการผ่าตัดให้แก่ผม คนไข้อนาถาจะผ่าไส้ติ่ง ค่าใช้จ่ายท่านคิดแค่ 300 บาท ไม่ผ่า คิด 150 บาท ลำไส้รั่ว 500 บาท แต่พอคนไข้เอาเงินมาให้ท่าน ท่านบอกว่า ฉันไม่เอาเงินหรอก ฉันมีเงินเดือนอยู่แล้ว ฉันเป็นข้าราชการ เป็นข้าของในหลวง”
ด้วยเหตุนี้ กว่าครึ่งชีวิตจึงวางหมุดหมายเอาเป็นแบบอย่างทำตาม และยังได้เพิ่มเติมน้อมนำสิ่งดีๆ ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ เฉกเช่นตัวเองที่ได้รับการถ่ายทอด โดยการเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เรียนรู้ เป็นศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นที่ส่วนตัวกว่า 3 ไร่ และยังเป็นอาจารย์พิเศษรับเชิญสอนนักศึกษาปริญญาโทและเอกในเรื่อง “การพัฒนาและส่งเสริมจิตวิญญาณอุดมการณ์ที่ดี เพื่อสร้างสังคมและประเทศชาติ”
“เพราะพระองค์ท่านช่วยทุกคนในประเทศไทย ท่านไปทุกจังหวัด แล้วพระองค์ทรงช่วยพสกนิกร ไม่มีเว้นชนชั้นหรือเชื้อชาติ ดังนั้น พอเราทำตรงนี้แล้วมีคนมาเข้าร่วมด้วยช่วยกันทั่วทุกสารทิศ จำกันไม่หวาดไม่ไหว ทั้งแพทย์ คุณหมอรัชนี ดวงฤดีสวัสดิ์ เอาอัลตราซาวด์มาตรวจ ตรวจกระดูพรุน ตรวจเลือดตรวจอะไร คุณหมออภิวัฒน์ ม่วงสนิท คุณหมออุดม วงศ์วัฒนฤกษ์ คุณหมอเอื้อมพา กาญจนรังสิชัย คุณหมอไพโรจน์ จึงอนุวัตร คุณหมอวรากร เงยวิจิตร มีแพทย์แผนไทยจากพยาบาลสภากาชาด คุณหมอท๊อป ปนนทกร พี่ๆ พยาบาลอาวุโสโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ชาวบ้านอย่างป้าชื่นกับลุงมโน ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงทานในวันงาน อาจารย์ศิริวรรณ สุวรรณกาญ จากวิทยาลัยสารพัดช่างตัดผมฟรี คุณครูประเสริฐ ปะโสทะกัง และเด็กๆ วงดนตรีไทยนักเรียนบ้านพระครู คุณกิ่ง (Candy nail) กลุ่มนักวาดภาพจังหวัดบุรีรัมย์ และยาต่างๆ ที่ส่งมาช่วยเหลือจากอำเภอหาดใหญ่ จากกรุงเทพฯ อยุธยา ปทุมธานี ระยอง อุบลราชธานี ศรีสะเกษ นครราชสีมา ขอนแก่น จังหวัดบุรีรัมย์เอง ทั้งอาหาร ทั้งพันธุ์พืชไม้ หรือมาสอนการงานอาชีพทำมีดสวยงาม อุปกรณ์เครื่องเขียน เราก็อยากจะทำให้ได้เหมือนที่ท่านทรงช่วยเหลือเรา
“อีกอย่างหนึ่ง คือเราคิดเรื่องของการปลูกจิตสำนึกประชาชนให้เขาได้รู้และมองเห็นอนาคตตัวเอง จะทำอย่างไรกับตัวเองในอนาคต เรามีประสบการณ์ชีวิต ตัวผมทุกวันนี้แม้ไม่ได้รวย แต่สุขสบายตามวิถี ความเจริญรุ่งเรืองไม่มีขาดสายเพราะตามรอยพระบาท ก็จะบอกกับลูกๆ หลานๆ นักเรียนนักศึกษาเสมอว่า ความเก่งและวิชาการก็เป็นส่วนที่ทำให้อาชีพเจริญก้าวหน้า แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือคุณธรรม มนุษยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งคำสอนของพระราชบิดา สมเด็จย่า การเอื้ออาทรต่อผู้ยากไร้ จะส่งผลให้ลูกเป็นแพทย์ที่ยอดเยี่ยมอยู่กลางใจประชาชน
“การทำงานต้องซื่อสัตย์สุจริต ทำด้วยความถูกต้อง ทำตามจรรยาบรรณวิชาชีพนั้นๆ ทำเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ เราต้องยึดเอาบรรพบุรุษเป็นแบบอย่าง และที่สำคัญต้องกตัญญูกตเวที ซึ่งคุณแผ่นดิน คุณของพระองค์ท่านในหลวงนั้น ทดแทนเท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมด เพราะท่านให้เรามามาก พระเมตตาหลอมรวมประเทศชาติเรา เกิดเป็นเราอย่างทุกวันนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่เกิดเป็นคนไทยในข้าพระบาท”
(3)
ภูมิพลัง แผ่นดินถิ่นนี้ยิ่งใหญ่
สิ่งเดียวที่ทดแทนได้คือทำความดี
“ผมก็จะทำจนกว่าจะหมดลมหายใจ”
นายแพทย์สนธยากล่าวย้ำเส้นทางชีวิตต่อจากนี้
“เราทุกคนเสียใจ แต่เราจะไม่หยุดชะงักหรือให้ความเสียใจนั้นหยุดสิ่งที่เราทำ เพราะการที่เราจะทดแทนพระคุณท่าน มีทางเดียวสิ่งเดียวคือทำความดี ทำความดีในทุกรูปแบบที่เราสามารถทำได้ ตัวเองทำได้ แม้ว่าวันนี้เราจะเสียใจในการเสด็จสวรรคตของพระองค์ท่าน แต่ว่าเราต้องทำต่อไป เพราะว่าในหลวงท่านทำให้เราดู ท่านสอนเรามาแล้วว่าให้ทำอะไรบ้าง พวกเราคนไทยทุกคนหยุดไม่ได้ ต้องเริ่มทำ ทำดีอย่างละนิดละหน่อย แล้วมันก็กระจายกันไป
“มันจะเป็นเหมือนดอกไม้ไฟที่ขึ้นไปแล้วระเบิด ไปเรื่อยๆ ให้เห็นสิ่งงดงาม เป็นพลุที่ระเบิดสวยงาม ที่ต่อๆ ไปจะงดงามทั่วฟ้าเมืองไทย ส่วนตัวผมก็จะบอกลูกๆ เสมอถึงพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นในพระองค์ท่านและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่ไม่เคยละทิ้งพวกเรา ให้พวกเราทำความดีไปเรื่อยๆ”
เพราะพระคุณนั้นหาที่เปรียบไม่ได้ เพราะพระคุณนั้นล้นพ้นปกเกล้าเหนือฟ้า
และทรงเป็นทั้งพ่อ พระ กษัตริย์เจ้าเหนือหัว ในสายตา ในห้วงความรู้สึกความทรงจำตลอดกาล
“เราถึงได้มีวันนี้ ดีใจที่สุดที่ครอบครัวเราคุณพ่อเคยถวายงานรับใช้ทำผ้าคลุมเบาะรถพระที่นั่งที่พระองค์ประทับทรงงาน ครั้งหนึ่ง ผมเคยรำถวายพระพรหน้าศาลากลางให้พระองค์ทอดพระเนตร เพราะแค่นี้ นับว่ายังน้อยเมื่อเทียบกับสิ่งที่พระองค์ท่านทำ ตลอดระยะเวลา 70 ปี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยย่อท้อ เพื่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด และเราจะทำดีให้ท่านไม่ตลอดไปได้อย่างไร ก็จะทำต่อไปไม่หยุดครับ เพราะในความทรงจำของผม ท่านคือพระอรหันต์ คือพ่อและเจ้าชีวิตตลอดไป”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : นายแพทย์สนธยา วัฒนโกศล