ยอดเยี่ยมมาก!! “วธน กรีทอง” ศิลปินชาวไทยคว้ารางวัลสีน้ำนานาชาติที่ประเทศเม็กซิโก และเขาคนนี้คือหัวเรี่ยวหัวแรงหลักของโครงการ Painting Rider กับโครงการปฎิบัติการศิลปะนานาชาติเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับเมือง “เบตง”
หลายคนคงเคยรู้จักกับผู้ชายคนนี้มาแล้ว “วธน กรีทอง” กับโครงการตระเวนขี่เขียนรูป หรือ Painting Rider ศิลปินสีน้ำไทยที่มีแนวคิดและจุดยืนที่ชัดเจนในชีวิต เมื่อ 5-6 ปีก่อนเขาโบกมืออำลาอาชีพ visualizer, Art Director และผู้กำกับหนังโฆษณา และหันมาทำตามความฝันของตัวเอง โดยมีแนวคิดอยากจะทำงานศิลปะเพียงอย่างเดียว โดยให้เวลาตัวเอง 10 ปีเพื่อค้นหาและฝึกฝน ได้เริ่มออกเดินทางเพื่อไปวาดภาพทั่วประเทศพร้อมกับมอเตอร์ไซค์ในชื่อครงการ Painting Rider
ศิลปินสีน้ำระดับอินเตอร์คนนี้ ขนอุปกรณ์วาดรูปของเขา ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์พาหนะที่เขาเลือก ท่องเที่ยวพาตระเวนไปทั่วไทยเพื่อจะไปวาดภาพให้ครบทุกจังหวัด และใช้ศิลปะแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้เพื่อเป็นสะพานเชื่อมหาผู้คน จากปี 2557-2559 จนถึงวันนี้ก็มาเกือบ 50 จังหวัดแล้ว ยังเหลือภาคอีสานทั้งภาคที่จะเก็บให้หมดภายในปีนี้ (2559) พร้อมกันนี้เขาก็ยังมีอีกโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นเพราะการได้ตระเวนลงไปและได้รู้จักกับผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะเหมือนกัน ที่ “เบตง” จังหวัดยะลา เขากำลังจะสร้างกิจกรรมทางศิลปะในระดับนานาชาติขึ้น
รับ 2 รางวัลที่เม็กซิโก
“บัญเอิญผลงานที่ผมส่งไปร่วมแสดงที่แม็กซิโก คิดว่าแค่ส่งไปร่วมแสดงผลงานเฉยๆ เขาไม่ได้บอกด้วยว่าจะให้รางวัล และไม่ได้มีหัวข้ออะไร แล้วแต่ศิลปิน ผมส่งไปร่วมแสดงเพื่อต้องการเก็บประวัติการแสดงงาน เผื่อโอกาสในการขอทุนหรือทุนสนับสนุนบ้างถ้ามี พอส่งไป เขาก็ส่งตอบกลับมาว่าได้คัดเลือกร่วมแสดงจากคณะกรรมการ เมื่อได้แสดงผลงานจริงๆ เขาก็มีการให้รางวัลด้วย ผมได้มา 2 รางวัล คือรางวัลยอดเยี่ยมและรางวัลชมเชย ผมไม่ได้คาดคิดมาก่อน กับรางวัลทั้งสองชิ้นเลย
“ถามว่าคิดยังไงกับรางวัลที่ได้รับ คือผมคิดว่าที่ได้รางวัล อาจจะเป็นเพราะเรื่องราวที่เบสิกมากกว่า ผมตั้งชื่อภาพว่า “Bangkok civilization” เป็นภาพอะไรที่ไม่ได้เกี่ยวกับอารยธรรมอะไรเลย ภาพวาดออกมาเป็นแนวเพื่อชีวิตที่ตรงข้ามกับความหมาย เป็นภาพคุณยายขายพวงมาลัยอยู่ตามสี่แยก ดูเป็นนัยยะสำคัญที่ประชดถูกจุดหรือเปล่า ซึ่งก็อาจจะไปตรงกับความชอบของกรรมการเขาก็ได้
“ส่วนอีกภาพที่เป็นรางวัลชมเชยก็เป็นภาพชื่อ “Bangkok civilization” เหมือนกัน เป็นภาพเครนปั้นจั่นยักษ์ที่กำลังสร้างเมืองกรุงเทพฯ อยู่ใน concept ก็คือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ไม่ได้เน้นความเจริญทางด้านจิตใจ แต่เน้นในทางด้านวัตถุมากกว่า ผมก็แค่อยากจะแสดงว่าความเจริญไม่ได้หมายถึงการอวดว่าในกรุงเทพฯ เราก็มีตึกรามบ้านช่องเหมือนกันนะ นั่นเหมือนเด็กที่อวดของเล่นมากกว่า ผมชอบเขียนในสิ่งที่เห็น บันทึกตามสิ่งที่มันเป็น อย่างคุณยายในภาพ ผมเห็นแกนั่งอยู่ท่ามกลางหมอกควัน ทำกิจกรรมของตัวเองโดยไม่สนใจอะไรรอบข้าง ภาพนี้กระตุ้นความอยากเขียนมากที่สุด กรรมการตัดสินเขาเห็นก็คงรู้สึกแบบเรามั้งครับ อันนี้เป็นความรู้สึกที่เดาล้วนๆ นะครับ” (หัวเราะ)
โครงการ 10 ปี Painting Rider ในวันนี้
“โครงการ Painting Rider เหมือนเป็น Project ของงานศิลปะร่วมสมัย สีน้ำเป็นงานทักษะ ความจริงผมถนัดงาน Contemporary Art ผมเรียนจบมาแบบการทำงานที่มี Concept เป็นงานทักษะมีเนื้อหา มีการสร้างเรื่องราวของงานชิ้นนั้นๆ สีน้ำในตอนแรกผมคิดว่าเป็นวิชา Basic เป็นแค่วิชาศิลปะพื้นฐาน คิดว่าเรียนสีน้ำเพื่อเป็นพื้นฐานไปศึกษาเทคนิคสีอื่นๆ นั่นเป็นความคิดตอนที่ยังไม่ได้เริ่มทำต่อเนื่อง เมื่อมาเริ่มทำต่อเนื่องจริงจังแล้วจึงได้เข้าใจว่ามันไม่ใช่! มันเป็นอะไรมากกว่านั้น มันเป็นสัจจะ มันเป็นชีวิตจริง
“ทำไมถึงต้องเป็น Painting Rider ถ้าผมเขียนสีน้ำไปเรื่อยๆ ที่สุดแล้วมันก็จะจบลงตรงที่ความสวย แต่จะสวยในไสตล์ไหนก็แล้วแต่นั่นอยู่ที่รายละเอียด ผมไม่ต้องการคำตอบแค่สีน้ำที่สวย ผมคิดว่าตรงนี้มันน่าจะเป็นอะไรที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้ด้วย เข้าถึงความรู้สึก ความรัก ชีวิต เป็น Contemporary Art ด้วยการบันทึกสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องราว เปิดโลกเปิดตาตัวผมเองด้วย
ดังนั้น คอนเซ็ปต์ “Painting Rider” เขียนทั่วประเทศจึงเกิดขึ้น ผลงานในชุดนี้ผมไม่ได้เขียนภาพเดียวเรื่องเดียวครับ ผมเขียนประเทศของผมทั้งประเทศ ในช่วงที่ผมยังมีชีวิตอยู่ ท่องไปเขียนในสถานที่จริงครับ ไปดู ไปรู้จัก ไม่เน้นแลนด์มาร์กดังๆ สถานที่ท่องเที่ยวดังๆ เห็นตรงไหนสวยก็วาด บันทึกไปเรื่อยๆ และบันทึกด้วยวิธีที่เราถนัด นี่เป็นห้องทำงานที่ใหญ่มาก บันทึกประเทศไทย แบบประเทศไทยในตอนที่ผมยังมีชีวิตอยู่ สีน้ำเป็นงานที่เขียนเป็นแนวความคิดได้ เป็นเรื่องราวครั้งหนึ่งในชีวิตของผมครับ
“แรงบันดาลใจของผมคือแวนโก๊ะห์ เป็นแบบอย่างของความทุ่มเท ตราบใดที่เราทุ่มเทไปกับงานและจริงใจกับงาน ไม่เห็นผลวันนี้ก็ต้องเห็นผลวันหน้า ไม่เห็นผลวันหน้าก็ต้องเห็นผลในเวลาถัดไป เป็นหลักของกรรม เราไม่มีตัวตนอยู่แล้ว เราเป็น “อนัตตา” ทุกสิ่งทุกอย่างเรายึดติดไม่ได้ ธรรมชาติย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าภูเขา แม่น้ำ ไฟ ลม แต่อย่างน้อย ผมต้องการให้ผลงานของผมหลงเหลืออยู่ต่อไปนานๆ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ผ่านมา จึงต้องผลิตให้มันมีจำนวนที่มากพอ ผู้ที่สนใจที่ผ่านมาพบเห็นก็จะได้มีโอกาสศึกษาและได้รับประโยชน์ของผลงานชิ้นนั้นๆ แค่มีคนหนึ่งคนเห็นผลงานของผมแล้วเกิดแรงบันดาลใจ เป็นแบบอย่างให้เขาอยากจะวาดรูป แค่นั้นก็ถือว่าผมประสบความสำเร็จแล้ว
“ตอนนี้โครงการ 10 ปีของผมผ่านมาได้ครึ่งทางแล้ว ก็มีแต่เรื่องดีๆ ผ่านเข้ามา ตราบใดที่ผมยังศรัทธาความมีวินัยในการทำงาน มีศีล ไม่ทำตัวไม่น่าเชื่อถือ ไม่ไปอยู่ในที่อโครจร และปฏิบัติในสิ่งที่ดีอยู่ เชื่อมั่นในคำสอนพระพุทธเจ้า เชื่อในกรรมที่เราทำ ถ้าทำในสิ่งที่ดีก็รับให้ไหวแล้วกัน ที่ผ่านมาครึ่งทางนี้ ก็เป็นเส้นทางที่สวยงามมากครับ แต่ถ้า 10 ปี ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย นั่นคือผมคงไม่ได้เรื่องจริงๆ ผมอาจจะต้องเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น แต่ขณะนี้ผมก็ได้รับอะไรมากมายแล้วครับ”
โครงการวาดภาพที่เบตง จังหวัดยะลา ในหัวข้อ “เบตง 111 ปี”
“ผมอยากให้งานนี้ออกมาในรูปแบบการทำงานที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่วาดภาพอย่างเดียว อยากให้มีทั้งการวาดภาพ ถ่ายภาพ ภาพเคลื่อนไหว และอยากได้หลายแขนงเพื่อเอาไป support ในโจทย์ที่ว่า “เบตง 111 ปี” จัดโดยเทศบาลเบตงซึ่งได้สนับสนุนให้ผมทำงานชิ้นนี้ เป็นการเผยแพร่ความสวยงามของเบตง จังหวัดยะลา เบตงเป็นเมืองที่สวยงามและน่าไปท่องเที่ยวเยี่ยมชม บางคนคิดว่าเบตงอยู่ในโซนที่มีความรุนแรง แต่จริงๆ แล้ว คนละเรื่องกันเลย อยากให้ลบภาพอันนั้นออกไป เอาความจริงมาเล่าให้ฟัง เราก็เลยอยากไปทำงานตรงนั้นให้คนเขาเห็นอย่างที่ผมเห็นว่ามันสวยงามน่าค้นหาแค่ไหน อยากไปทำให้คนรู้จักเบตงมากขึ้น ปีหน้าเขาก็จะมีสนามบินแล้ว คนยังไม่ค่อยรู้จักเมืองเบตงกัน
“อย่าปล่อยให้ความคิดไปเองนั้น ทำลายโอกาสที่เราจะได้รู้จักกับเมืองสวยๆ สักเมือง ซึ่งเบตงมีความสวยงามมากและมีความเป็นธรรมชาติมากๆ ถ้าพลาดไปแล้วก็ถือว่าพลาดจริงๆ น่าเสียดายจริงๆ งานนี้คิดว่าจะเชิญผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงในการทำโครงการชิ้นนี้กับศิลปินทั้งไทยและประเทศใกล้เคียงสัก 15 คน ทำเป็นโครงการเหมือน “Painting Rider” ถ่ายรูป วาดรูปไป ก็มีโอกาสไปพูดคุยกับคนเบตงด้วย อาจจะมีการถ่ายภาพ อปเดตกันเป็นแบบ reality ซึ่งตอนนี้รอความพร้อมอยู่ไม่น่าจะเกินเดือนตุลาคม (2016) นี้ครับ
“งานนี้มีประโยชน์หลายอย่าง และเป็นประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยวด้วย อยากให้โลกเห็น โครงการนี้จะเป็นโมเดลในการต่อยอดให้จังหวัดหรืออำเภออื่นๆ ได้เอาไปทำเพื่อเป็นการโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวและความงดงามของจังหวัดนั้นในอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการใช้ศิลปะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์และน่าสนใจทีเดียว”
เรื่อง / ภาพ : โดย อรวรรณ เหม่นแหลม
(ขอบคุณภาพบางส่วนจาก วธน กรีทอง)
หลายคนคงเคยรู้จักกับผู้ชายคนนี้มาแล้ว “วธน กรีทอง” กับโครงการตระเวนขี่เขียนรูป หรือ Painting Rider ศิลปินสีน้ำไทยที่มีแนวคิดและจุดยืนที่ชัดเจนในชีวิต เมื่อ 5-6 ปีก่อนเขาโบกมืออำลาอาชีพ visualizer, Art Director และผู้กำกับหนังโฆษณา และหันมาทำตามความฝันของตัวเอง โดยมีแนวคิดอยากจะทำงานศิลปะเพียงอย่างเดียว โดยให้เวลาตัวเอง 10 ปีเพื่อค้นหาและฝึกฝน ได้เริ่มออกเดินทางเพื่อไปวาดภาพทั่วประเทศพร้อมกับมอเตอร์ไซค์ในชื่อครงการ Painting Rider
ศิลปินสีน้ำระดับอินเตอร์คนนี้ ขนอุปกรณ์วาดรูปของเขา ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์พาหนะที่เขาเลือก ท่องเที่ยวพาตระเวนไปทั่วไทยเพื่อจะไปวาดภาพให้ครบทุกจังหวัด และใช้ศิลปะแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้เพื่อเป็นสะพานเชื่อมหาผู้คน จากปี 2557-2559 จนถึงวันนี้ก็มาเกือบ 50 จังหวัดแล้ว ยังเหลือภาคอีสานทั้งภาคที่จะเก็บให้หมดภายในปีนี้ (2559) พร้อมกันนี้เขาก็ยังมีอีกโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นเพราะการได้ตระเวนลงไปและได้รู้จักกับผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะเหมือนกัน ที่ “เบตง” จังหวัดยะลา เขากำลังจะสร้างกิจกรรมทางศิลปะในระดับนานาชาติขึ้น
รับ 2 รางวัลที่เม็กซิโก
“บัญเอิญผลงานที่ผมส่งไปร่วมแสดงที่แม็กซิโก คิดว่าแค่ส่งไปร่วมแสดงผลงานเฉยๆ เขาไม่ได้บอกด้วยว่าจะให้รางวัล และไม่ได้มีหัวข้ออะไร แล้วแต่ศิลปิน ผมส่งไปร่วมแสดงเพื่อต้องการเก็บประวัติการแสดงงาน เผื่อโอกาสในการขอทุนหรือทุนสนับสนุนบ้างถ้ามี พอส่งไป เขาก็ส่งตอบกลับมาว่าได้คัดเลือกร่วมแสดงจากคณะกรรมการ เมื่อได้แสดงผลงานจริงๆ เขาก็มีการให้รางวัลด้วย ผมได้มา 2 รางวัล คือรางวัลยอดเยี่ยมและรางวัลชมเชย ผมไม่ได้คาดคิดมาก่อน กับรางวัลทั้งสองชิ้นเลย
“ถามว่าคิดยังไงกับรางวัลที่ได้รับ คือผมคิดว่าที่ได้รางวัล อาจจะเป็นเพราะเรื่องราวที่เบสิกมากกว่า ผมตั้งชื่อภาพว่า “Bangkok civilization” เป็นภาพอะไรที่ไม่ได้เกี่ยวกับอารยธรรมอะไรเลย ภาพวาดออกมาเป็นแนวเพื่อชีวิตที่ตรงข้ามกับความหมาย เป็นภาพคุณยายขายพวงมาลัยอยู่ตามสี่แยก ดูเป็นนัยยะสำคัญที่ประชดถูกจุดหรือเปล่า ซึ่งก็อาจจะไปตรงกับความชอบของกรรมการเขาก็ได้
“ส่วนอีกภาพที่เป็นรางวัลชมเชยก็เป็นภาพชื่อ “Bangkok civilization” เหมือนกัน เป็นภาพเครนปั้นจั่นยักษ์ที่กำลังสร้างเมืองกรุงเทพฯ อยู่ใน concept ก็คือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ไม่ได้เน้นความเจริญทางด้านจิตใจ แต่เน้นในทางด้านวัตถุมากกว่า ผมก็แค่อยากจะแสดงว่าความเจริญไม่ได้หมายถึงการอวดว่าในกรุงเทพฯ เราก็มีตึกรามบ้านช่องเหมือนกันนะ นั่นเหมือนเด็กที่อวดของเล่นมากกว่า ผมชอบเขียนในสิ่งที่เห็น บันทึกตามสิ่งที่มันเป็น อย่างคุณยายในภาพ ผมเห็นแกนั่งอยู่ท่ามกลางหมอกควัน ทำกิจกรรมของตัวเองโดยไม่สนใจอะไรรอบข้าง ภาพนี้กระตุ้นความอยากเขียนมากที่สุด กรรมการตัดสินเขาเห็นก็คงรู้สึกแบบเรามั้งครับ อันนี้เป็นความรู้สึกที่เดาล้วนๆ นะครับ” (หัวเราะ)
โครงการ 10 ปี Painting Rider ในวันนี้
“โครงการ Painting Rider เหมือนเป็น Project ของงานศิลปะร่วมสมัย สีน้ำเป็นงานทักษะ ความจริงผมถนัดงาน Contemporary Art ผมเรียนจบมาแบบการทำงานที่มี Concept เป็นงานทักษะมีเนื้อหา มีการสร้างเรื่องราวของงานชิ้นนั้นๆ สีน้ำในตอนแรกผมคิดว่าเป็นวิชา Basic เป็นแค่วิชาศิลปะพื้นฐาน คิดว่าเรียนสีน้ำเพื่อเป็นพื้นฐานไปศึกษาเทคนิคสีอื่นๆ นั่นเป็นความคิดตอนที่ยังไม่ได้เริ่มทำต่อเนื่อง เมื่อมาเริ่มทำต่อเนื่องจริงจังแล้วจึงได้เข้าใจว่ามันไม่ใช่! มันเป็นอะไรมากกว่านั้น มันเป็นสัจจะ มันเป็นชีวิตจริง
“ทำไมถึงต้องเป็น Painting Rider ถ้าผมเขียนสีน้ำไปเรื่อยๆ ที่สุดแล้วมันก็จะจบลงตรงที่ความสวย แต่จะสวยในไสตล์ไหนก็แล้วแต่นั่นอยู่ที่รายละเอียด ผมไม่ต้องการคำตอบแค่สีน้ำที่สวย ผมคิดว่าตรงนี้มันน่าจะเป็นอะไรที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้ด้วย เข้าถึงความรู้สึก ความรัก ชีวิต เป็น Contemporary Art ด้วยการบันทึกสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องราว เปิดโลกเปิดตาตัวผมเองด้วย
ดังนั้น คอนเซ็ปต์ “Painting Rider” เขียนทั่วประเทศจึงเกิดขึ้น ผลงานในชุดนี้ผมไม่ได้เขียนภาพเดียวเรื่องเดียวครับ ผมเขียนประเทศของผมทั้งประเทศ ในช่วงที่ผมยังมีชีวิตอยู่ ท่องไปเขียนในสถานที่จริงครับ ไปดู ไปรู้จัก ไม่เน้นแลนด์มาร์กดังๆ สถานที่ท่องเที่ยวดังๆ เห็นตรงไหนสวยก็วาด บันทึกไปเรื่อยๆ และบันทึกด้วยวิธีที่เราถนัด นี่เป็นห้องทำงานที่ใหญ่มาก บันทึกประเทศไทย แบบประเทศไทยในตอนที่ผมยังมีชีวิตอยู่ สีน้ำเป็นงานที่เขียนเป็นแนวความคิดได้ เป็นเรื่องราวครั้งหนึ่งในชีวิตของผมครับ
“แรงบันดาลใจของผมคือแวนโก๊ะห์ เป็นแบบอย่างของความทุ่มเท ตราบใดที่เราทุ่มเทไปกับงานและจริงใจกับงาน ไม่เห็นผลวันนี้ก็ต้องเห็นผลวันหน้า ไม่เห็นผลวันหน้าก็ต้องเห็นผลในเวลาถัดไป เป็นหลักของกรรม เราไม่มีตัวตนอยู่แล้ว เราเป็น “อนัตตา” ทุกสิ่งทุกอย่างเรายึดติดไม่ได้ ธรรมชาติย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าภูเขา แม่น้ำ ไฟ ลม แต่อย่างน้อย ผมต้องการให้ผลงานของผมหลงเหลืออยู่ต่อไปนานๆ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ผ่านมา จึงต้องผลิตให้มันมีจำนวนที่มากพอ ผู้ที่สนใจที่ผ่านมาพบเห็นก็จะได้มีโอกาสศึกษาและได้รับประโยชน์ของผลงานชิ้นนั้นๆ แค่มีคนหนึ่งคนเห็นผลงานของผมแล้วเกิดแรงบันดาลใจ เป็นแบบอย่างให้เขาอยากจะวาดรูป แค่นั้นก็ถือว่าผมประสบความสำเร็จแล้ว
“ตอนนี้โครงการ 10 ปีของผมผ่านมาได้ครึ่งทางแล้ว ก็มีแต่เรื่องดีๆ ผ่านเข้ามา ตราบใดที่ผมยังศรัทธาความมีวินัยในการทำงาน มีศีล ไม่ทำตัวไม่น่าเชื่อถือ ไม่ไปอยู่ในที่อโครจร และปฏิบัติในสิ่งที่ดีอยู่ เชื่อมั่นในคำสอนพระพุทธเจ้า เชื่อในกรรมที่เราทำ ถ้าทำในสิ่งที่ดีก็รับให้ไหวแล้วกัน ที่ผ่านมาครึ่งทางนี้ ก็เป็นเส้นทางที่สวยงามมากครับ แต่ถ้า 10 ปี ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย นั่นคือผมคงไม่ได้เรื่องจริงๆ ผมอาจจะต้องเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น แต่ขณะนี้ผมก็ได้รับอะไรมากมายแล้วครับ”
โครงการวาดภาพที่เบตง จังหวัดยะลา ในหัวข้อ “เบตง 111 ปี”
“ผมอยากให้งานนี้ออกมาในรูปแบบการทำงานที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่วาดภาพอย่างเดียว อยากให้มีทั้งการวาดภาพ ถ่ายภาพ ภาพเคลื่อนไหว และอยากได้หลายแขนงเพื่อเอาไป support ในโจทย์ที่ว่า “เบตง 111 ปี” จัดโดยเทศบาลเบตงซึ่งได้สนับสนุนให้ผมทำงานชิ้นนี้ เป็นการเผยแพร่ความสวยงามของเบตง จังหวัดยะลา เบตงเป็นเมืองที่สวยงามและน่าไปท่องเที่ยวเยี่ยมชม บางคนคิดว่าเบตงอยู่ในโซนที่มีความรุนแรง แต่จริงๆ แล้ว คนละเรื่องกันเลย อยากให้ลบภาพอันนั้นออกไป เอาความจริงมาเล่าให้ฟัง เราก็เลยอยากไปทำงานตรงนั้นให้คนเขาเห็นอย่างที่ผมเห็นว่ามันสวยงามน่าค้นหาแค่ไหน อยากไปทำให้คนรู้จักเบตงมากขึ้น ปีหน้าเขาก็จะมีสนามบินแล้ว คนยังไม่ค่อยรู้จักเมืองเบตงกัน
“อย่าปล่อยให้ความคิดไปเองนั้น ทำลายโอกาสที่เราจะได้รู้จักกับเมืองสวยๆ สักเมือง ซึ่งเบตงมีความสวยงามมากและมีความเป็นธรรมชาติมากๆ ถ้าพลาดไปแล้วก็ถือว่าพลาดจริงๆ น่าเสียดายจริงๆ งานนี้คิดว่าจะเชิญผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงในการทำโครงการชิ้นนี้กับศิลปินทั้งไทยและประเทศใกล้เคียงสัก 15 คน ทำเป็นโครงการเหมือน “Painting Rider” ถ่ายรูป วาดรูปไป ก็มีโอกาสไปพูดคุยกับคนเบตงด้วย อาจจะมีการถ่ายภาพ อปเดตกันเป็นแบบ reality ซึ่งตอนนี้รอความพร้อมอยู่ไม่น่าจะเกินเดือนตุลาคม (2016) นี้ครับ
“งานนี้มีประโยชน์หลายอย่าง และเป็นประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยวด้วย อยากให้โลกเห็น โครงการนี้จะเป็นโมเดลในการต่อยอดให้จังหวัดหรืออำเภออื่นๆ ได้เอาไปทำเพื่อเป็นการโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวและความงดงามของจังหวัดนั้นในอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการใช้ศิลปะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์และน่าสนใจทีเดียว”
เรื่อง / ภาพ : โดย อรวรรณ เหม่นแหลม
(ขอบคุณภาพบางส่วนจาก วธน กรีทอง)