คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.“ธัมมชโย” เบี้ยวรับทราบข้อกล่าวหา อ้างป่วย ด้านดีเอสไอ ผุด 5 แผนตามหมายจับ-เอาผิดคนช่วยเหลือ-ประสาน มส.ช่วยกดดันอีกทาง!
ความคืบหน้ากรณีศาลอนุมัติหมายจับพระเทพญาณมหามุนีหรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ร้องขอ หลังดีเอสไอออกหมายเรียกให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร แล้วไม่ยอมเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกถึง 3 ครั้ง โดยอ้างว่าป่วย ไม่สามารถเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาได้ ทั้งที่ก่อนหน้าไม่กี่วัน มีภาพหลุด พระธัมมชโยไปร่วมปล่อยนกงานวันเกิดลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย ปรากฏว่า หลังศาลอนุมัติหมายจับ ดีเอสไอยังไม่บุกไปจับพระธัมมชโย แต่ให้โอกาสเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ดีเอสไอในวันที่ 26 พ.ค.พร้อมบอกด้วยว่า หากเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ยินดีจะให้ประกันตัว
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 22 พ.ค. วัดพระธรรมกายได้ถ่ายทอดสดภาพพระธัมมชโยนอนบนเตียงคนไข้ภายในวัดพระธรรมกาย เพื่อยืนยันว่าพระธัมมชโยป่วยจริง โดยมีการเปิดผ้าห่มให้เห็นขาข้างซ้ายของพระธัมมชโย เพื่อให้เห็นว่ามีลักษณะบวมด้วย พร้อมให้ดีเอสไอมาแจ้งข้อกล่าวหาพระธัมมชโยที่วัดในวันที่ 25 พ.ค.
เป็นที่น่าสังเกตว่า ทนายความพระธัมมชโยได้ยื่นศาลเพื่อขอให้เพิกถอนหมายจับพระธัมมชโยถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากศาลเห็นว่า การพิจารณาอนุมัติหมายจับพระธัมมชโยดำเนินการโดยชอบแล้ว และไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าว
ขณะที่พระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ได้เข้ายื่นหนังสือถึงอธิบดีดีเอสไอเมื่อวันที่ 23 พ.ค. เพื่อขอให้ดีเอสไอยึดหรืออายัดทรัพย์สินของพระธัมมชโยและเครือข่าย ที่เชื่อว่าได้มาจากการทำผิด ฐานร่วมกันฟอกเงินและรับของโจร เนื่องจากมีข่าวว่าพระธัมมชโยจะขอลี้ภัย โดยมีข้อมูลว่า พระธัมมชโยมีหนังสือเดินทางและวีซ่าเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาตลอดชีวิต
พระพุทธะอิสระ ยังชี้ด้วยว่า หากดีเอสไออ่อนข้อให้พระธัมมชโย จะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเมื่อปี 2541 ที่พระธัมมชโยมีคดี กระทั่งกองปราบปรามนำคอมมานโดเพื่อไปจับที่วัดพระธรรมกาย แต่มีการใช้โล่มนุษย์ป้องกัน สุดท้ายกองปราบฯ ต้องถอยกลับ แล้วรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการขณะนั้นได้หารือกับสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในขณะนั้น จนมีบัญชาเด็ดขาดให้พระธัมมชโยมามอบตัว ถ้าไม่มาจะสึก ซึ่งพระธัมมชโยมีข้อแม้ว่า จะมอบตัวที่วัดชนะสงคราม ไม่มอบตัวที่กองปราบฯ และต้องให้ประกันตัวที่วัดชนะสงคราม
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 พ.ค. พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ รองอธิบดีดีเอสไอ ได้นำคณะพนักงานสอบสวนและอัยการพิเศษฯ ไปแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ซึ่งถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำกลางบางขวาง ในคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์ฯ คลองจั่น โดยแจ้งข้อหาเพิ่มเติมข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร ซึ่งเป็นคดีเดียวกับที่พระธัมมชโยถูกตั้งข้อหา โดยนายศุภชัยให้การที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติม โดยบอกว่า รู้จักสนิทสนมกับพระธัมมชโย เนื่องจากเมื่อปี 2542 พระธัมมชโยได้แต่งตั้งให้ตนเป็นไวยาวัจกรของวัดพระธรรมกาย ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 เม.ย.2556 นายศุภชัย ยังเผยด้วยว่า ระหว่างนายศุภชัยกับพระธัมมชโยนั้น มีการเรียกชื่อเฉพาะแทนกัน แต่ขอสงวนชื่อดังกล่าวไว้
สำหรับการแจ้งข้อกล่าวหาพระธัมมชโยนั้น ดีเอสไอยังยืนยันให้พระธัมมชโยเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ดีเอสไอในวันที่ 26 พ.ค. จะไม่ไปแจ้งข้อกล่าวหาที่วัดในวันที่ 25 พ.ค.ตามที่แจ้งมาแต่อย่างใด ขณะที่ทางวัด เมื่อเห็นว่าทางดีเอสไอไม่ไปแจ้งข้อกล่าวหาที่วัดแน่ ทนายพระธัมมชโย จึงได้เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ รองอธิบดีดีเอสไอ เมื่อวันที่ 25 พ.ค. เพื่อสอบถามวงเงินประกันตัว หากพระธัมมชโยเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ซึ่งได้คำตอบว่า 5 ล้านบาท
วันต่อมา(26 พ.ค.) ทางทนายของพระธัมมชโยได้ประสานดีเอสไอว่า พระธัมมชโยจะเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งอยู่ตรงข้ามวัดพระธรรมกาย จึงขอให้ดีเอสไอไปแจ้งข้อกล่าวหาที่ สภ.คลองหลวง ในเวลา 14.30 น. อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะของดีเอสไอและอัยการพิเศษเดินทางไปถึง ทางทนายกลับแจ้งว่า พระธัมมชโยไม่สามารถเดินทางออกจากวัดได้ เนื่องจากมีอาการวิงเวียน หน้ามืด ระหว่างการเคลื่อนย้าย แพทย์จึงแนะนำให้พัก เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ดีเอสไอจะแนะให้พระธัมมชโยไปโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ซึ่งดีเอสไอสามารถไปแจ้งข้อกล่าวหาที่นั่นได้ แต่ทางวัดก็ปฏิเสธ
ด้านดีเอสไอได้ประชุมคณะพนักงานสอบสวนเพื่อกำหนดแผนในการดำเนินการกับพระธัมมชโยในวันต่อมา(27 พ.ค.) ซึ่งภายหลัง พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เผยว่า อธิบดีดีเอสไอรายงานผลประชุมให้ทราบว่า มีการกำหนดมาตรการตามแผน 5 ข้อ คือ 1.การทำแผนตามหมายจับ 2.ได้มอบหมายจับให้ตำรวจและฝ่ายปกครอง หากพบตัวพระธัมมชโย สามารถเข้าจับกุมได้ทันที ถือเป็นการขยายอำนาจหน้าที่ให้ดำเนินการ 3.ทำหนังสือถึงฝ่ายปกครองคณะสงฆ์ทุกระดับตั้งแต่มหาเถรสมาคม(มส.) เพราะสงฆ์มีขั้นตอนตาม พ.ร.บ.สงฆ์ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา โดยให้ชี้แจงถึงกระบวนการทำงานและเหตุที่มีการตั้งข้อกล่าวหา 4.ใช้กฎหมายอาญา มาตรา 189 เรื่องการให้ที่พักพิงหรือช่วยเหลือผู้กระทำผิด จะถูกดำเนินคดี และ 5.เร่งรัดการดำเนินคดีให้เสร็จโดยเร็วที่สุด คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 สัปดาห์
ทั้งนี้ พล.อ.ไพบูลย์ ยืนยันว่า การดำเนินการกับพระธัมมชโยจะใช้กฎหมายปกติ ไม่มีการใช้อำนาจตามมาตรา 44 หรือใช้กำลังเข้าปฏิบัติการ เพราะนายกรัฐมนตรีได้แสดงความเห็นห่วง และกำชับให้ทำเหมือนคดีปกติ อย่าให้ขยายเป็นประเด็นอื่น หรือทำให้เกิดเหตุร้ายแรงขึ้น พล.อ.ไพบูลย์ เผยด้วยว่า ได้สั่งการให้อธิบดีดีเอสไอทำหนังสือถึงมหาเถรสมาคม(มส.) ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสงฆ์ เพื่อหารือว่าควรเข้ามาช่วยเจ้าหน้าที่รัฐอย่างไรบ้าง
ด้าน พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ เผย(27 พ.ค.) ว่า ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี มหาเถรสมาคม และผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อแจ้งให้รับทราบว่า พระธัมมชโยตกเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญา เพื่อขอให้คณะสงฆ์ผู้ปกครองปฏิบัติตาม พ.ร.บ.สงฆ์ แล้ว ส่วนจะเข้าจับกุมพระธัมมชโยในวันเวลาใด ดีเอสไอยังอยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลบางอย่าง เพื่อขอหมายค้นจากศาล
2.ศาลออกหมายจับ “ขวัญชัย” ปธ.ชมรมคนรักอุดร หลังเบี้ยวฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนำมวลชนทำร้ายกลุ่มพันธมิตรฯ ปี ’51 !
เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ศาลจังหวัดอุดรธานี ได้นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่นายเจริญ หมู่ขจรพันธ์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร และแกนนำ นปช. กรณีพยายามฆ่าและทำร้ายร่างกายมวลชนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เหตุเกิดที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม เขตเทศบาลนครอุดรธานี เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2551
ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนดนัด ปรากฏว่า นายขวัญชัยไม่ได้เดินทางมาศาล มีเพียงภรรยาและบุตรชายที่เดินทางมารอให้กำลังใจนายขวัญชัยที่ศาลพร้อมกับกลุ่มคนเสื้อแดง โดยนางอาภรณ์ สาราคำ ภรรยานายขวัญชัย เผยว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา ตนเพิ่งได้คุยโทรศัพท์กับสามี ซึ่งนายขวัญชัยยืนยันว่า จะเดินทางมารับฟังคำพิพากษาแน่นอน แต่ขอไปงานของนายนิสิต สินธุไพร ที่อิมพีเรียลก่อน และขอไปจำศีลสักพัก และจะเดินทางกลับมาฟังคำพิพากษา
นางอาภรณ์ยังบอกอีกว่า ก่อนหน้านี้นายขวัญชัยบอกกับตนเสมอว่า หากติดคุก 2 ปี 8 เดือนก็คงจะติดไม่นาน และหากเข้าไปอยู่ในเรือนจำจริงๆ ก็น่าจะอยู่แค่ประมาณ 1 ปีเศษๆ คิดว่าคงทนได้ ก่อนหน้านี้มีปัญหามากมายไม่รู้กี่ครั้งก็ทนได้ตลอด อย่างไรก็ตาม นางอาภรณ์กล่าวว่า หลังจากคุยโทรศัพท์กันวันนั้น ก็ไม่สามารถติดต่อได้อีกเลย โทรศัพท์มือถือก็ไม่เอาติดตัวไป ตอนนี้เป็นห่วงมาก เพราะหลังจากถูกลอบยิง นายขวัญชัยก็มีอาการซึมเศร้า จากคนเคยพูดคุยสนุกสนาน ก็ไม่ค่อยคุยเหมือนเดิน สุขภาพก็ยังไม่ค่อยดี ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หากนายขวัญชัยได้ดูข่าว ก็อยากให้กลับมาฟังคำพิพากษาตามที่เคยพูดและตกลงกันไว้
ด้านนายเจริญ หมู่ขจรพันธ์ เผยว่า ศาลไม่ได้อ่านคำพิพากษาตามที่นัดหมาย โดยเลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 28 มิ.ย. เวลา 09.00 น. เนื่องจากจำเลยไม่มาศาลและไม่มีเหตุผลอันสมควร จึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับ
3.ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนยกฟ้อง “ชวนนท์” โฆษก ปชป.กรณีแถลงข่าว “ยิ่งลักษณ์” ว.5 โฟร์ซีซั่นส์!
เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ศาลอาญา ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 และ 332
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 56 สรุปว่า เมื่อวันที่ 19 -21 ก.พ. 55 จำเลยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลายฉบับ และหลายครั้ง ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ทำนองว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่เข้าประชุมสภา แต่เอาเวลาไปทำธุรกิจส่วนตัว หารือกับคนกลุ่มย่อย พูดเรื่องสำคัญของประเทศ ถือเป็นความเสียหายอย่างยิ่ง ซึ่งสื่อมวลชนนำคำสัมภาษณ์ไปตีพิมพ์ว่า การพบปะกันระหว่างนายกฯ กับกลุ่มนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ น่าจะสอดคล้องกับที่กรมธนารักษ์เลื่อนการปรับราคาที่ดินใหม่...นี่คือ ใบเสร็จทุจริตเชิงนโยบายและผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้รับความเสียหายโดยบุคคลอื่นเข้าใจว่าผู้เสียหายมีพฤติการณ์ทุจริตและประพฤติมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยอาศัยอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่เป็นความจริง จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามกฎหมาย และให้ยึดทำลายเอกสารที่มีข้อความแสดงการหมิ่นประมาท รวมทั้งให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาด้วยอย่างน้อย 7 ฉบับ เป็นเวลา 7 วัน ขณะที่จำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจากพิเคราะห์แล้ว พยานโจทก์นำสืบทำนองว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ร่วมประชุมกับนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายอนันต์ อัศวโภคิน และบุคคลอื่น ๆ รวม 5 คน เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ แม้ในการประชุมดังกล่าวจะไม่เป็นความลับ แต่ก็ไม่เปิดเผยในรายละเอียด โดยขณะนั้นโจทก์ร่วม และ ครม. ได้เลื่อนประกาศการปรับโครงสร้างการประเมินราคาที่ดินและการปรับผังเมืองการใช้ที่ดิน ที่โจทก์อ้างว่า เป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นด้านธุรกิจนั้น ยังมีข้อสงสัยว่า ทำไมจึงเป็นการประชุมกันเพียงกลุ่มย่อย ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประเทศ แต่กลับไม่มีการประชุมร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย อีกทั้งการประชุมดังกล่าวก็เป็นความลับไม่เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก จึงทำให้เป็นที่สงสัยของฝ่ายจำเลยในฐานะโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายรัฐบาล ซึ่งแม้จำเลยจะพิสูจน์เรื่องดังกล่าวไม่ได้ และข้อความที่จำเลยแถลงข่าวนั้นอาจหมิ่นประมาทก็ตาม แต่การที่จำเลยแถลงข่าวมีลักษณะเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ดังนั้นจึงยังไม่เป็นความผิดให้ยกฟ้อง ซึ่งต่อมา โจทก์และโจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์
ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมหรือไม่ ศาลเห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ โจทก์ร่วมเป็น ส.ส. สังกัดพรรคเพื่อไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบุคคลที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามพฤติกรรม และย่อมวิพากษ์วิจารณ์ได้ ซึ่งนายชวนนท์ จำเลย เบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุ ทางราชการมีประกาศเลื่อนการประเมินที่ดินใหม่ และเลื่อนการประกาศผังเมืองใหม่ออกไปจากกำหนดเดิมในช่วงวันที่ 9 - 19 ก.พ. 2555 และนายเอกยุทธ์ อัญชันบุตร ได้ออกมาเปิดเผยว่า โจทก์ร่วมได้ไปพบกับนักธุรกิจหลายคนที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ จำเลยในฐานะโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบ พบว่า ในวันเกิดเหตุเป็นวันประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญนิติบัญญัติ แต่โจทก์ร่วมไม่เข้าร่วมประชุมดังกล่าว กลับไปประชุมหารือกับกลุ่มนักธุรกิจ
ซึ่งนายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ร่วมเบิกความตอบทนายความจำเลยที่ถามค้าน โดยรับว่า การนัดหมายกับกลุ่มนักธุรกิจของโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่ได้แจ้งให้สื่อมวลชนทราบ นอกจากนี้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง พยานโจทก์ร่วมเบิกความว่า นักธุรกิจที่เข้าร่วมพูดคุยมีนายอนันต์ อัศวโภคิน นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ระดับประเทศ นายเศรษฐา ทวีสิน นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และคนอื่นเข้าร่วมประชุมเพียง 5 คน ดังนั้น การที่จำเลยในฐานะโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของโจทก์ร่วมในฐานะนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ซึ่งเป็นเพียงการตั้งข้อสงสัยว่า มีการนำความลับเกี่ยวกับราคาประเมินที่ดิน หรือผังเมืองไปเปิดเผยหรือไม่เท่านั้น และไม่ใช่กรณีที่จำเลยสร้างเรื่องขึ้นมาเอง ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็น ติชม และวิพากษ์วิจารณ์ โดยไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง การกระทำของจำเลยจึงได้รับยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (3) ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
4.ตำรวจนำตัว “สรยุทธ” กับพวกส่งอัยการฟ้องข้อหาฉ้อโกง-ปลอมเอกสารกรณีโกงค่าโฆษณา อสมท 138 ล้าน ด้านอัยการนัดสั่งคดี 2 มิ.ย.นี้!
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. พนักงานสอบสวน สน.พญาไท ได้นำนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรชื่อดัง และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด, บริษัท ไร่ส้ม จำกัด, น.ส.มณฑา ธีระเดช เจ้าหน้าที่ บริษัท ไร่ส้ม และนางพิชชาภา เอี่ยมสะอาด หรือนางชนาภา บุญโต อดีตพนักงานจัดทำคิวโฆษณาของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้ต้องหาคดีร่วมกันฉ้อโกง, ร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย และทำลายเอกสารของผู้อื่น พร้อมสำนวนและความเห็นสมควรสั่งฟ้อง ส่งให้อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 เพื่อมีความเห็นสั่งคดี สืบเนื่องจากบริษัท ไร่ส้ม ของนายสรยุทธ แก้ไขเอกสารและไม่รายงานการโฆษณาเกินเวลา ส่งผลให้บริษัท อสมท ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 138,790,000 บาท
ด้านทนายความนางพิชชาภากล่าวว่า ในส่วนของนางพิชชาภาได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการ เนื่องจากเห็นว่าคดีนี้เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีอาญาที่มีคำพิพากษาไปก่อนหน้านี้ และคดีที่ศาลแขวงพระนครเหนือ อีกทั้งเห็นว่าพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจดำเนินคดี เพราะนางพิชชาภาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งหลังจากนี้ ต้องรอพนักงานอัยการมีความเห็นต่อไป
นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา กล่าวว่า พนักงานอัยการได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนไว้เพื่อพิจารณาแล้ว โดยอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานอัยการเพื่อพิจารณาสำนวน 7 คน พร้อมนัดประชุมคณะทำงานครั้งแรกในวันที่ 25 พ.ค.
วันต่อมา(25 พ.ค.) คณะทำงานอัยการที่ได้รับการแต่งตั้งให้พิจารณาสำนวนคดีนายสรยุทธได้ประชุมที่สำนักงานอัยการสูงสุด หลังประชุม นายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม และนายวิเชียร ถนอมพิชัย รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน ได้แถลงความคืบหน้าการสั่งคดีว่า ที่ประชุมสรุปความเห็นสมควรสั่งฟ้องนายสรยุทธ, บริษัท ไร่ส้ม, น.ส.มณฑา และนางพิชชาภา ผู้ต้องหา ฐานร่วมกันฉ้อโกง และร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย และทำลายเอกสารของผู้อื่น จากกรณีที่ไม่ชำระค่าโฆษณาส่วนเกินแก่ อสมท กว่า 138 ล้านบาท
ทั้งนี้ นายณัฐจักร อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา ยืนยันว่า จะให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย โดยจะพิจารณาสำนวนให้แล้วเสร็จก่อนที่คดีจะหมดอายุความในเดือน ก.ค.นี้ และการสั่งคดีจะพิจารณาตามพยานหลักฐานที่ปรากฏอย่างชัดเจน ไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
ขณะที่นายปรเมศวร์ กล่าวว่า ผู้ต้องหาทั้งหมดได้ยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมเข้ามาแล้ว มีประเด็นใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่เป็นประเด็นข้อกฎหมายว่า คดีมีการฟ้องซ้ำกับคดีที่ อสมท.ยื่นฟ้องเอง และคดีที่ ป.ป.ช.สรุปสำนวนทุจริตให้อัยการฟ้องไปแล้ว ซึ่งการพิจารณาคงไม่ยาก ต้องดูว่าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว ที่ผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือไม่ โดยจะให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายมากที่สุด และจะนำคำพิพากษาที่ศาลอาญาตัดสินคดีทุจริตมาประกอบการพิจารณาด้วย และว่า คดีนี้มีการแจ้งความตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งคดีมีอัตราโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 10 ปี อายุความจะอยู่ที่ 10 ปี ดังนั้น อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา มีความเป็นห่วง เกรงว่าคดีจะหมดอายุความในเดือน ก.ค.นี้เสียก่อน จึงกำชับคณะทำงานให้พิจารณาโดยเร็ว ดังนั้น คณะทำงานจะพยายามพิจารณาให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งอัยการนัดผู้ต้องหาทั้งหมดมาฟังคำสั่งในวันที่ 2 มิ.ย.นี้ แต่หากพิจารณาสำนวนไม่เสร็จก็จะต้องเลื่อนการสั่งคดีออกไป แต่จะไม่ให้เกินเดือน ก.ค. อย่างแน่นอน เพื่อไม่ให้คดีล่าช้า
นายปรเมศวร์ กล่าวอีกว่า ประเด็นการพิจารณาเรื่องฟ้องซ้ำหรือไม่นั้น ต้องดูเอกสารและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันกันด้วย ซึ่งหลังจากที่มีการแจ้งความแล้ว ป.ป.ช. ได้พิจารณาในส่วนคดีการทุจริต สำหรับความผิดทางอาญาฐานฉ้อโกง และปลอมแปลงเอกสารไม่ได้อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. พนักงานสอบสวน สน.ห้วยขวาง จึงทำสำนวนดำเนินคดีส่งมาให้พนักงานอัยการ ซึ่งพฤติการณ์การปลอมเอกสารนั้น เท่าที่ตรวจสำนวนในเบื้องต้นพบว่า มีการใช้น้ำยาลบคำผิด ลบข้อความในเอกสารกว่า 100 ฉบับ ดังนั้น นอกจากจะพิจารณาเรื่องประเด็นการฟ้องซ้ำแล้ว ยังต้องพิจารณาด้วยว่า การกระทำนั้นเป็นการกระทำผิดภายในวันเดียวหรือไม่ สุดท้ายแล้ว ถ้าสำนวนคดีฉ้อโกงเป็นเรื่องเดียวกับที่ อสมท.ยื่นฟ้องคดีเองต่อศาลแขวงแล้ว อัยการก็ต้องให้ความเป็นธรรมสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาดังกล่าว ส่วนความผิดการปลอมเอกสารนั้น หากยังไม่ปรากฏเป็นความผิดที่เคยฟ้องมาก่อน อัยการก็สามารถสั่งคดีที่จะฟ้องหรือไม่ฟ้องต่อไปได้ เพราะลักษณะความผิดเป็นคนละเรื่องกับการกล่าวหาในชั้น ป.ป.ช.
อนึ่ง คดีบริษัท ไร่ส้ม ยักยอกเงินค่าโฆษณาเกินเวลาในรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท เป็นเงินกว่า 138 ล้านบาท และพนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนางพิชชาภา, บริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดย น.ส.อังคนา วัฒนมงคลศิลป์ และ น.ส.สุกัญญา แซ่ลิ่ม ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไร่ส้ม, นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา และ น.ส.มณฑา ธีระเดช เจ้าหน้าที่บริษัท ไร่ส้ม ร่วมกันเป็นจำเลยฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และฐานสนับสนุนพนักงานกระทำความผิดดังกล่าว โดยศาลอาญาได้อ่านพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2559 ให้จำคุกนางพิชชาภา เป็นเวลา 30 ปี ปรับบริษัท ไร่ส้ม เป็นจำนวนเงิน 1.2 แสนบาท จำคุกนายสรยุทธ และ น.ส.มณฑา คนละ 20 ปี แต่ทางนำสืบเป็นประโยชน์ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกนางพิชชาภาเป็นเวลา 20 ปี จำคุกนายสรยุทธ และ น.ส.มณฑา คนละ 13 ปี 4 เดือน และปรับบริษัท ไร่ส้ม เป็นเงิน 8 หมื่นบาท โดยไม่มีเหตุให้รอการลงโทษจำเลยที่ 1, 3 และ 4 ซึ่งคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ โดยจำเลยทั้งสามได้รับการปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์
5.เอไอเอส ได้คลื่น 900 MHz สมใจ หลังไร้คู่แข่ง ด้วยราคาที่ “แจส” เคยชนะประมูล 75,654 ล้าน!
เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) กำหนดให้เป็นวันประมูล 4G คลื่น 900 MHz รอบใหม่ หลังจากก่อนหน้านี้ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ ได้ทิ้งใบอนุญาตไป เนื่องจากไม่สามารถชำระเงินค่าประมูลภายในเวลาที่กำหนดได้ ส่งผลให้ต้องจัดประมูลรอบใหม่ โดยมีผู้เข้าแข่งขันเพียงรายเดียวคือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AWN ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ขณะที่บริษัท ทรู และดีแทค ไม่ร่วมประมูลในครั้งนี้ โดยให้เหตุผลว่า คลื่นที่บริษัททั้งสองมีอยู่ในมือ เพียงพอที่จะให้บริการลูกค้าได้อย่างดีแล้ว
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า การประมูลรอบใหม่ใช้เวลาเพียง 35 นาที โดยผู้ประมูลยืนยันราคาประมูลที่ 75,654 ล้านบาท จากนั้น คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้ประชุมเพื่อรับรองผลการประมูล ทั้งนี้ คาดว่า บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จะชำระค่าใบอนุญาตก่อนวันที่ 30 มิ.ย.ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการขยายระยะเวลามาตรการเยียวยาคลื่น 900 MHz ของเอไอเอส ซึ่ง กสทช.จะให้ใบอนุญาต 2 วันหลังจากบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค มาชำระเงินการประมูลในครั้งนี้
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้จะมีผู้เข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียว แต่กฎกติกายังเป็นไปอย่างเคร่งครัดเหมือนเดิม คือ เมื่อผู้แทนผู้เข้าร่วมการประมูลเข้าห้องประมูลแล้วจะไม่สามารถออกนอกพื้นที่ที่กำหนดได้จนกว่าจะสิ้นสุดการประมูล ซึ่งเป็นกฎของการประมูลที่ต้องหลีกเลี่ยงการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ส่วนของอาหาร เครื่องดื่ม ของว่าง และสิ่งอำนวยความสะดวก สำนักงาน กสทช. ได้จัดเตรียมให้ผู้เข้าร่วมประมูลในห้องประมูลเรียบร้อยแล้ว
นายฐากร กล่าวว่า “การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ในครั้งนี้ ประชาชนจะได้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในราคาที่เป็นธรรม สมเหตุสมผล ไม่เอาเปรียบ บริการมีคุณภาพ โดยอัตราค่าบริการโทรศัพท์มือถือบนคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ได้กำหนดค่าบริการเสียงต้องต่ำกว่า 69 สตางค์ต่อนาที และค่าบริการดาต้าต้องต่ำกว่า 26 สตางค์/เมกะไบต์”
นอกจากนี้ กรณีที่ผู้ชนะการประมูลไม่ดำเนินการตามเงื่อนไข จะถูกริบหลักประกันการประมูล 3,783 ล้านบาท และชำระค่าเสียหายเพิ่มไม่น้อยกว่า 11,348 ล้านบาท นอกจากนั้นผู้ผิดเงื่อนไขหรือผู้ที่มีความเกี่ยวโยงกันจะไม่สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมใดๆ ได้อีกต่อไป ส่วนรายได้ที่เกิดจากการประมูล กสทช.จะนำส่งเข้ารัฐทั้งหมด ไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะค่าใช้จ่ายในการประมูลจำนวน 7.3 ล้านบาท กสทช.ต้องเก็บจาก บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ที่ทิ้งใบอนุญาตก่อนหน้านี้
6.อัยการสั่งฟ้อง “เจนภพ” ทายาทเลนโซ่ กรุ๊ป 8 ข้อหาหนัก คดีซิ่งเบนซ์ชนฟอร์ด ไฟคลอก 2 นักศึกษาปริญญาโทดับ!
ความคืบหน้ากรณีที่นายเจนภพ วีรพร ทายาทเลนโซ่ กรุ๊ป ขับรถยนต์เมอร์เซเดส เบนซ์ หมายเลขทะเบียน ษง 3333 กรุงเทพมหานคร พุ่งชนท้ายรถยนต์ฟอร์ด หมายเลขทะเบียน ฆย 6911 กรุงเทพมหานคร จนเกิดไฟลุกท่วม และเป็นเหตุให้นายกฤษณะ ถาวร และ น.ส.ธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย นิสิตปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถูกไฟคลอกเสียชีวิต เมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมา และต่อมา พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ส่งสำนวนการสอบสวนจำนวน 686 หน้า ให้พนักงานอัยการพิจารณาสั่งฟ้อง โดยตั้ง 8 ข้อหาหนักแก่นายเจนภพนั้น
เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่สำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายยงยุทธ เกียรติศักดิ์โสภณ อธิบดีอัยการภาค 1 นายกฤษดา โรจนสุวรรณ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ร่วมกันแถลงข่าวหลังจากได้ตรวจสอบสำนวนทั้งหมด 686 หน้าแล้ว โดยสั่งฟ้องนายเจนภพ วีรพร ผู้ต้องหา 8 ข้อหา
ทั้งนี้ นายยงยุทธ กล่าวว่า คดีนี้เป็นคดีที่ประชาชนให้ความสนใจ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมจึงทำคดีโดยเน้นเป็นพิเศษ ขณะที่ทางอัยการสูงสุดเน้นให้ทำงานรวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ และโดยหลักการ ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย รวมทั้งผู้ต้องหา จึงได้ตั้งคณะอัยการที่มีความเชี่ยวชาญของสำนักงานอัยการสูงสุด และอัยการจังหวัดเข้าร่วมพิจารณาสำนวนในครั้งนี้จนแล้วเสร็จ
สำหรับข้อหาทั้ง 8 ข้อหา ประกอบด้วย 1.ขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลและทรัพย์สิน เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 2.ขับรถด้วยความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด 3.ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 4.เป็นผู้ขับรถเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 5.ขับรถในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ 6.ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น 7.ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสอบสวนที่สั่งให้มีการทดสอบ และตรวจสอบผู้ขับรถตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 142, 157/1 โดยไม่มีเหตุอันสมควร 8.ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหนักงาน ซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายกำหนดโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
พร้อมกันนี้ อัยการยังได้เพิ่มคำขอท้ายฟ้องว่า 1.ขอให้ศาลเพิกถอนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลของนายเจนภพ 2.ขอให้ศาลใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยต่อสังคม โดยขอศาลสั่งให้ส่งนายเจนภพ ไปคุมตัวไว้ในสถานพยาบาล เพราะการปล่อยตัวนายเจนภพ ซึ่งมีจิตบกพร่องโรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน และไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับการลดโทษ จะเป็นการไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 48 และขอให้ศาลกำหนดในคำพิพากษาว่า นายเจนภพจะต้องไม่เสพสุราและยาเสพติดให้โทษภายในเวลาที่กำหนด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 49
นอกจากนี้อัยการยังแจ้งสิทธิให้ญาติของนายกฤษณะ ถาวร และ น.ส.ธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย ผู้เสียชีวิตทั้งสองรายทราบ คือ 1.สิทธิรับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 และ 2.สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1
ทั้งนี้ อัยการได้นำสำนวนคดีนี้ส่งฟ้องที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยไม่ต้องนำตัวนายเจนภพไปแสดงต่อศาล เนื่องจากนายเจนภพอยู่ระหว่างการฝากขังของศาล
1.“ธัมมชโย” เบี้ยวรับทราบข้อกล่าวหา อ้างป่วย ด้านดีเอสไอ ผุด 5 แผนตามหมายจับ-เอาผิดคนช่วยเหลือ-ประสาน มส.ช่วยกดดันอีกทาง!
ความคืบหน้ากรณีศาลอนุมัติหมายจับพระเทพญาณมหามุนีหรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ร้องขอ หลังดีเอสไอออกหมายเรียกให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร แล้วไม่ยอมเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกถึง 3 ครั้ง โดยอ้างว่าป่วย ไม่สามารถเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาได้ ทั้งที่ก่อนหน้าไม่กี่วัน มีภาพหลุด พระธัมมชโยไปร่วมปล่อยนกงานวันเกิดลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย ปรากฏว่า หลังศาลอนุมัติหมายจับ ดีเอสไอยังไม่บุกไปจับพระธัมมชโย แต่ให้โอกาสเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ดีเอสไอในวันที่ 26 พ.ค.พร้อมบอกด้วยว่า หากเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ยินดีจะให้ประกันตัว
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 22 พ.ค. วัดพระธรรมกายได้ถ่ายทอดสดภาพพระธัมมชโยนอนบนเตียงคนไข้ภายในวัดพระธรรมกาย เพื่อยืนยันว่าพระธัมมชโยป่วยจริง โดยมีการเปิดผ้าห่มให้เห็นขาข้างซ้ายของพระธัมมชโย เพื่อให้เห็นว่ามีลักษณะบวมด้วย พร้อมให้ดีเอสไอมาแจ้งข้อกล่าวหาพระธัมมชโยที่วัดในวันที่ 25 พ.ค.
เป็นที่น่าสังเกตว่า ทนายความพระธัมมชโยได้ยื่นศาลเพื่อขอให้เพิกถอนหมายจับพระธัมมชโยถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากศาลเห็นว่า การพิจารณาอนุมัติหมายจับพระธัมมชโยดำเนินการโดยชอบแล้ว และไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าว
ขณะที่พระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ได้เข้ายื่นหนังสือถึงอธิบดีดีเอสไอเมื่อวันที่ 23 พ.ค. เพื่อขอให้ดีเอสไอยึดหรืออายัดทรัพย์สินของพระธัมมชโยและเครือข่าย ที่เชื่อว่าได้มาจากการทำผิด ฐานร่วมกันฟอกเงินและรับของโจร เนื่องจากมีข่าวว่าพระธัมมชโยจะขอลี้ภัย โดยมีข้อมูลว่า พระธัมมชโยมีหนังสือเดินทางและวีซ่าเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาตลอดชีวิต
พระพุทธะอิสระ ยังชี้ด้วยว่า หากดีเอสไออ่อนข้อให้พระธัมมชโย จะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเมื่อปี 2541 ที่พระธัมมชโยมีคดี กระทั่งกองปราบปรามนำคอมมานโดเพื่อไปจับที่วัดพระธรรมกาย แต่มีการใช้โล่มนุษย์ป้องกัน สุดท้ายกองปราบฯ ต้องถอยกลับ แล้วรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการขณะนั้นได้หารือกับสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในขณะนั้น จนมีบัญชาเด็ดขาดให้พระธัมมชโยมามอบตัว ถ้าไม่มาจะสึก ซึ่งพระธัมมชโยมีข้อแม้ว่า จะมอบตัวที่วัดชนะสงคราม ไม่มอบตัวที่กองปราบฯ และต้องให้ประกันตัวที่วัดชนะสงคราม
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 พ.ค. พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ รองอธิบดีดีเอสไอ ได้นำคณะพนักงานสอบสวนและอัยการพิเศษฯ ไปแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ซึ่งถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำกลางบางขวาง ในคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์ฯ คลองจั่น โดยแจ้งข้อหาเพิ่มเติมข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร ซึ่งเป็นคดีเดียวกับที่พระธัมมชโยถูกตั้งข้อหา โดยนายศุภชัยให้การที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติม โดยบอกว่า รู้จักสนิทสนมกับพระธัมมชโย เนื่องจากเมื่อปี 2542 พระธัมมชโยได้แต่งตั้งให้ตนเป็นไวยาวัจกรของวัดพระธรรมกาย ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 เม.ย.2556 นายศุภชัย ยังเผยด้วยว่า ระหว่างนายศุภชัยกับพระธัมมชโยนั้น มีการเรียกชื่อเฉพาะแทนกัน แต่ขอสงวนชื่อดังกล่าวไว้
สำหรับการแจ้งข้อกล่าวหาพระธัมมชโยนั้น ดีเอสไอยังยืนยันให้พระธัมมชโยเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ดีเอสไอในวันที่ 26 พ.ค. จะไม่ไปแจ้งข้อกล่าวหาที่วัดในวันที่ 25 พ.ค.ตามที่แจ้งมาแต่อย่างใด ขณะที่ทางวัด เมื่อเห็นว่าทางดีเอสไอไม่ไปแจ้งข้อกล่าวหาที่วัดแน่ ทนายพระธัมมชโย จึงได้เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ รองอธิบดีดีเอสไอ เมื่อวันที่ 25 พ.ค. เพื่อสอบถามวงเงินประกันตัว หากพระธัมมชโยเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ซึ่งได้คำตอบว่า 5 ล้านบาท
วันต่อมา(26 พ.ค.) ทางทนายของพระธัมมชโยได้ประสานดีเอสไอว่า พระธัมมชโยจะเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งอยู่ตรงข้ามวัดพระธรรมกาย จึงขอให้ดีเอสไอไปแจ้งข้อกล่าวหาที่ สภ.คลองหลวง ในเวลา 14.30 น. อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะของดีเอสไอและอัยการพิเศษเดินทางไปถึง ทางทนายกลับแจ้งว่า พระธัมมชโยไม่สามารถเดินทางออกจากวัดได้ เนื่องจากมีอาการวิงเวียน หน้ามืด ระหว่างการเคลื่อนย้าย แพทย์จึงแนะนำให้พัก เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ดีเอสไอจะแนะให้พระธัมมชโยไปโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ซึ่งดีเอสไอสามารถไปแจ้งข้อกล่าวหาที่นั่นได้ แต่ทางวัดก็ปฏิเสธ
ด้านดีเอสไอได้ประชุมคณะพนักงานสอบสวนเพื่อกำหนดแผนในการดำเนินการกับพระธัมมชโยในวันต่อมา(27 พ.ค.) ซึ่งภายหลัง พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เผยว่า อธิบดีดีเอสไอรายงานผลประชุมให้ทราบว่า มีการกำหนดมาตรการตามแผน 5 ข้อ คือ 1.การทำแผนตามหมายจับ 2.ได้มอบหมายจับให้ตำรวจและฝ่ายปกครอง หากพบตัวพระธัมมชโย สามารถเข้าจับกุมได้ทันที ถือเป็นการขยายอำนาจหน้าที่ให้ดำเนินการ 3.ทำหนังสือถึงฝ่ายปกครองคณะสงฆ์ทุกระดับตั้งแต่มหาเถรสมาคม(มส.) เพราะสงฆ์มีขั้นตอนตาม พ.ร.บ.สงฆ์ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา โดยให้ชี้แจงถึงกระบวนการทำงานและเหตุที่มีการตั้งข้อกล่าวหา 4.ใช้กฎหมายอาญา มาตรา 189 เรื่องการให้ที่พักพิงหรือช่วยเหลือผู้กระทำผิด จะถูกดำเนินคดี และ 5.เร่งรัดการดำเนินคดีให้เสร็จโดยเร็วที่สุด คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 สัปดาห์
ทั้งนี้ พล.อ.ไพบูลย์ ยืนยันว่า การดำเนินการกับพระธัมมชโยจะใช้กฎหมายปกติ ไม่มีการใช้อำนาจตามมาตรา 44 หรือใช้กำลังเข้าปฏิบัติการ เพราะนายกรัฐมนตรีได้แสดงความเห็นห่วง และกำชับให้ทำเหมือนคดีปกติ อย่าให้ขยายเป็นประเด็นอื่น หรือทำให้เกิดเหตุร้ายแรงขึ้น พล.อ.ไพบูลย์ เผยด้วยว่า ได้สั่งการให้อธิบดีดีเอสไอทำหนังสือถึงมหาเถรสมาคม(มส.) ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของสงฆ์ เพื่อหารือว่าควรเข้ามาช่วยเจ้าหน้าที่รัฐอย่างไรบ้าง
ด้าน พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ เผย(27 พ.ค.) ว่า ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี มหาเถรสมาคม และผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อแจ้งให้รับทราบว่า พระธัมมชโยตกเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญา เพื่อขอให้คณะสงฆ์ผู้ปกครองปฏิบัติตาม พ.ร.บ.สงฆ์ แล้ว ส่วนจะเข้าจับกุมพระธัมมชโยในวันเวลาใด ดีเอสไอยังอยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลบางอย่าง เพื่อขอหมายค้นจากศาล
2.ศาลออกหมายจับ “ขวัญชัย” ปธ.ชมรมคนรักอุดร หลังเบี้ยวฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนำมวลชนทำร้ายกลุ่มพันธมิตรฯ ปี ’51 !
เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ศาลจังหวัดอุดรธานี ได้นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่นายเจริญ หมู่ขจรพันธ์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร และแกนนำ นปช. กรณีพยายามฆ่าและทำร้ายร่างกายมวลชนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เหตุเกิดที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม เขตเทศบาลนครอุดรธานี เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2551
ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนดนัด ปรากฏว่า นายขวัญชัยไม่ได้เดินทางมาศาล มีเพียงภรรยาและบุตรชายที่เดินทางมารอให้กำลังใจนายขวัญชัยที่ศาลพร้อมกับกลุ่มคนเสื้อแดง โดยนางอาภรณ์ สาราคำ ภรรยานายขวัญชัย เผยว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา ตนเพิ่งได้คุยโทรศัพท์กับสามี ซึ่งนายขวัญชัยยืนยันว่า จะเดินทางมารับฟังคำพิพากษาแน่นอน แต่ขอไปงานของนายนิสิต สินธุไพร ที่อิมพีเรียลก่อน และขอไปจำศีลสักพัก และจะเดินทางกลับมาฟังคำพิพากษา
นางอาภรณ์ยังบอกอีกว่า ก่อนหน้านี้นายขวัญชัยบอกกับตนเสมอว่า หากติดคุก 2 ปี 8 เดือนก็คงจะติดไม่นาน และหากเข้าไปอยู่ในเรือนจำจริงๆ ก็น่าจะอยู่แค่ประมาณ 1 ปีเศษๆ คิดว่าคงทนได้ ก่อนหน้านี้มีปัญหามากมายไม่รู้กี่ครั้งก็ทนได้ตลอด อย่างไรก็ตาม นางอาภรณ์กล่าวว่า หลังจากคุยโทรศัพท์กันวันนั้น ก็ไม่สามารถติดต่อได้อีกเลย โทรศัพท์มือถือก็ไม่เอาติดตัวไป ตอนนี้เป็นห่วงมาก เพราะหลังจากถูกลอบยิง นายขวัญชัยก็มีอาการซึมเศร้า จากคนเคยพูดคุยสนุกสนาน ก็ไม่ค่อยคุยเหมือนเดิน สุขภาพก็ยังไม่ค่อยดี ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หากนายขวัญชัยได้ดูข่าว ก็อยากให้กลับมาฟังคำพิพากษาตามที่เคยพูดและตกลงกันไว้
ด้านนายเจริญ หมู่ขจรพันธ์ เผยว่า ศาลไม่ได้อ่านคำพิพากษาตามที่นัดหมาย โดยเลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 28 มิ.ย. เวลา 09.00 น. เนื่องจากจำเลยไม่มาศาลและไม่มีเหตุผลอันสมควร จึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับ
3.ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนยกฟ้อง “ชวนนท์” โฆษก ปชป.กรณีแถลงข่าว “ยิ่งลักษณ์” ว.5 โฟร์ซีซั่นส์!
เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ศาลอาญา ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 และ 332
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 56 สรุปว่า เมื่อวันที่ 19 -21 ก.พ. 55 จำเลยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลายฉบับ และหลายครั้ง ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ทำนองว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่เข้าประชุมสภา แต่เอาเวลาไปทำธุรกิจส่วนตัว หารือกับคนกลุ่มย่อย พูดเรื่องสำคัญของประเทศ ถือเป็นความเสียหายอย่างยิ่ง ซึ่งสื่อมวลชนนำคำสัมภาษณ์ไปตีพิมพ์ว่า การพบปะกันระหว่างนายกฯ กับกลุ่มนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ น่าจะสอดคล้องกับที่กรมธนารักษ์เลื่อนการปรับราคาที่ดินใหม่...นี่คือ ใบเสร็จทุจริตเชิงนโยบายและผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้รับความเสียหายโดยบุคคลอื่นเข้าใจว่าผู้เสียหายมีพฤติการณ์ทุจริตและประพฤติมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยอาศัยอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่เป็นความจริง จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามกฎหมาย และให้ยึดทำลายเอกสารที่มีข้อความแสดงการหมิ่นประมาท รวมทั้งให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาด้วยอย่างน้อย 7 ฉบับ เป็นเวลา 7 วัน ขณะที่จำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจากพิเคราะห์แล้ว พยานโจทก์นำสืบทำนองว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ร่วมประชุมกับนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายอนันต์ อัศวโภคิน และบุคคลอื่น ๆ รวม 5 คน เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ แม้ในการประชุมดังกล่าวจะไม่เป็นความลับ แต่ก็ไม่เปิดเผยในรายละเอียด โดยขณะนั้นโจทก์ร่วม และ ครม. ได้เลื่อนประกาศการปรับโครงสร้างการประเมินราคาที่ดินและการปรับผังเมืองการใช้ที่ดิน ที่โจทก์อ้างว่า เป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นด้านธุรกิจนั้น ยังมีข้อสงสัยว่า ทำไมจึงเป็นการประชุมกันเพียงกลุ่มย่อย ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประเทศ แต่กลับไม่มีการประชุมร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย อีกทั้งการประชุมดังกล่าวก็เป็นความลับไม่เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก จึงทำให้เป็นที่สงสัยของฝ่ายจำเลยในฐานะโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายรัฐบาล ซึ่งแม้จำเลยจะพิสูจน์เรื่องดังกล่าวไม่ได้ และข้อความที่จำเลยแถลงข่าวนั้นอาจหมิ่นประมาทก็ตาม แต่การที่จำเลยแถลงข่าวมีลักษณะเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ดังนั้นจึงยังไม่เป็นความผิดให้ยกฟ้อง ซึ่งต่อมา โจทก์และโจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์
ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมหรือไม่ ศาลเห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ โจทก์ร่วมเป็น ส.ส. สังกัดพรรคเพื่อไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบุคคลที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามพฤติกรรม และย่อมวิพากษ์วิจารณ์ได้ ซึ่งนายชวนนท์ จำเลย เบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุ ทางราชการมีประกาศเลื่อนการประเมินที่ดินใหม่ และเลื่อนการประกาศผังเมืองใหม่ออกไปจากกำหนดเดิมในช่วงวันที่ 9 - 19 ก.พ. 2555 และนายเอกยุทธ์ อัญชันบุตร ได้ออกมาเปิดเผยว่า โจทก์ร่วมได้ไปพบกับนักธุรกิจหลายคนที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ จำเลยในฐานะโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบ พบว่า ในวันเกิดเหตุเป็นวันประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญนิติบัญญัติ แต่โจทก์ร่วมไม่เข้าร่วมประชุมดังกล่าว กลับไปประชุมหารือกับกลุ่มนักธุรกิจ
ซึ่งนายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ร่วมเบิกความตอบทนายความจำเลยที่ถามค้าน โดยรับว่า การนัดหมายกับกลุ่มนักธุรกิจของโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่ได้แจ้งให้สื่อมวลชนทราบ นอกจากนี้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง พยานโจทก์ร่วมเบิกความว่า นักธุรกิจที่เข้าร่วมพูดคุยมีนายอนันต์ อัศวโภคิน นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ระดับประเทศ นายเศรษฐา ทวีสิน นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และคนอื่นเข้าร่วมประชุมเพียง 5 คน ดังนั้น การที่จำเลยในฐานะโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของโจทก์ร่วมในฐานะนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ซึ่งเป็นเพียงการตั้งข้อสงสัยว่า มีการนำความลับเกี่ยวกับราคาประเมินที่ดิน หรือผังเมืองไปเปิดเผยหรือไม่เท่านั้น และไม่ใช่กรณีที่จำเลยสร้างเรื่องขึ้นมาเอง ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็น ติชม และวิพากษ์วิจารณ์ โดยไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง การกระทำของจำเลยจึงได้รับยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (3) ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
4.ตำรวจนำตัว “สรยุทธ” กับพวกส่งอัยการฟ้องข้อหาฉ้อโกง-ปลอมเอกสารกรณีโกงค่าโฆษณา อสมท 138 ล้าน ด้านอัยการนัดสั่งคดี 2 มิ.ย.นี้!
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. พนักงานสอบสวน สน.พญาไท ได้นำนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรชื่อดัง และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด, บริษัท ไร่ส้ม จำกัด, น.ส.มณฑา ธีระเดช เจ้าหน้าที่ บริษัท ไร่ส้ม และนางพิชชาภา เอี่ยมสะอาด หรือนางชนาภา บุญโต อดีตพนักงานจัดทำคิวโฆษณาของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้ต้องหาคดีร่วมกันฉ้อโกง, ร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย และทำลายเอกสารของผู้อื่น พร้อมสำนวนและความเห็นสมควรสั่งฟ้อง ส่งให้อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 เพื่อมีความเห็นสั่งคดี สืบเนื่องจากบริษัท ไร่ส้ม ของนายสรยุทธ แก้ไขเอกสารและไม่รายงานการโฆษณาเกินเวลา ส่งผลให้บริษัท อสมท ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 138,790,000 บาท
ด้านทนายความนางพิชชาภากล่าวว่า ในส่วนของนางพิชชาภาได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการ เนื่องจากเห็นว่าคดีนี้เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีอาญาที่มีคำพิพากษาไปก่อนหน้านี้ และคดีที่ศาลแขวงพระนครเหนือ อีกทั้งเห็นว่าพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจดำเนินคดี เพราะนางพิชชาภาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งหลังจากนี้ ต้องรอพนักงานอัยการมีความเห็นต่อไป
นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา กล่าวว่า พนักงานอัยการได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนไว้เพื่อพิจารณาแล้ว โดยอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญาได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานอัยการเพื่อพิจารณาสำนวน 7 คน พร้อมนัดประชุมคณะทำงานครั้งแรกในวันที่ 25 พ.ค.
วันต่อมา(25 พ.ค.) คณะทำงานอัยการที่ได้รับการแต่งตั้งให้พิจารณาสำนวนคดีนายสรยุทธได้ประชุมที่สำนักงานอัยการสูงสุด หลังประชุม นายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม และนายวิเชียร ถนอมพิชัย รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน ได้แถลงความคืบหน้าการสั่งคดีว่า ที่ประชุมสรุปความเห็นสมควรสั่งฟ้องนายสรยุทธ, บริษัท ไร่ส้ม, น.ส.มณฑา และนางพิชชาภา ผู้ต้องหา ฐานร่วมกันฉ้อโกง และร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย และทำลายเอกสารของผู้อื่น จากกรณีที่ไม่ชำระค่าโฆษณาส่วนเกินแก่ อสมท กว่า 138 ล้านบาท
ทั้งนี้ นายณัฐจักร อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา ยืนยันว่า จะให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย โดยจะพิจารณาสำนวนให้แล้วเสร็จก่อนที่คดีจะหมดอายุความในเดือน ก.ค.นี้ และการสั่งคดีจะพิจารณาตามพยานหลักฐานที่ปรากฏอย่างชัดเจน ไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
ขณะที่นายปรเมศวร์ กล่าวว่า ผู้ต้องหาทั้งหมดได้ยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมเข้ามาแล้ว มีประเด็นใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่เป็นประเด็นข้อกฎหมายว่า คดีมีการฟ้องซ้ำกับคดีที่ อสมท.ยื่นฟ้องเอง และคดีที่ ป.ป.ช.สรุปสำนวนทุจริตให้อัยการฟ้องไปแล้ว ซึ่งการพิจารณาคงไม่ยาก ต้องดูว่าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว ที่ผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือไม่ โดยจะให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายมากที่สุด และจะนำคำพิพากษาที่ศาลอาญาตัดสินคดีทุจริตมาประกอบการพิจารณาด้วย และว่า คดีนี้มีการแจ้งความตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งคดีมีอัตราโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 10 ปี อายุความจะอยู่ที่ 10 ปี ดังนั้น อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา มีความเป็นห่วง เกรงว่าคดีจะหมดอายุความในเดือน ก.ค.นี้เสียก่อน จึงกำชับคณะทำงานให้พิจารณาโดยเร็ว ดังนั้น คณะทำงานจะพยายามพิจารณาให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งอัยการนัดผู้ต้องหาทั้งหมดมาฟังคำสั่งในวันที่ 2 มิ.ย.นี้ แต่หากพิจารณาสำนวนไม่เสร็จก็จะต้องเลื่อนการสั่งคดีออกไป แต่จะไม่ให้เกินเดือน ก.ค. อย่างแน่นอน เพื่อไม่ให้คดีล่าช้า
นายปรเมศวร์ กล่าวอีกว่า ประเด็นการพิจารณาเรื่องฟ้องซ้ำหรือไม่นั้น ต้องดูเอกสารและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันกันด้วย ซึ่งหลังจากที่มีการแจ้งความแล้ว ป.ป.ช. ได้พิจารณาในส่วนคดีการทุจริต สำหรับความผิดทางอาญาฐานฉ้อโกง และปลอมแปลงเอกสารไม่ได้อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. พนักงานสอบสวน สน.ห้วยขวาง จึงทำสำนวนดำเนินคดีส่งมาให้พนักงานอัยการ ซึ่งพฤติการณ์การปลอมเอกสารนั้น เท่าที่ตรวจสำนวนในเบื้องต้นพบว่า มีการใช้น้ำยาลบคำผิด ลบข้อความในเอกสารกว่า 100 ฉบับ ดังนั้น นอกจากจะพิจารณาเรื่องประเด็นการฟ้องซ้ำแล้ว ยังต้องพิจารณาด้วยว่า การกระทำนั้นเป็นการกระทำผิดภายในวันเดียวหรือไม่ สุดท้ายแล้ว ถ้าสำนวนคดีฉ้อโกงเป็นเรื่องเดียวกับที่ อสมท.ยื่นฟ้องคดีเองต่อศาลแขวงแล้ว อัยการก็ต้องให้ความเป็นธรรมสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาดังกล่าว ส่วนความผิดการปลอมเอกสารนั้น หากยังไม่ปรากฏเป็นความผิดที่เคยฟ้องมาก่อน อัยการก็สามารถสั่งคดีที่จะฟ้องหรือไม่ฟ้องต่อไปได้ เพราะลักษณะความผิดเป็นคนละเรื่องกับการกล่าวหาในชั้น ป.ป.ช.
อนึ่ง คดีบริษัท ไร่ส้ม ยักยอกเงินค่าโฆษณาเกินเวลาในรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท เป็นเงินกว่า 138 ล้านบาท และพนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนางพิชชาภา, บริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดย น.ส.อังคนา วัฒนมงคลศิลป์ และ น.ส.สุกัญญา แซ่ลิ่ม ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไร่ส้ม, นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา และ น.ส.มณฑา ธีระเดช เจ้าหน้าที่บริษัท ไร่ส้ม ร่วมกันเป็นจำเลยฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และฐานสนับสนุนพนักงานกระทำความผิดดังกล่าว โดยศาลอาญาได้อ่านพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2559 ให้จำคุกนางพิชชาภา เป็นเวลา 30 ปี ปรับบริษัท ไร่ส้ม เป็นจำนวนเงิน 1.2 แสนบาท จำคุกนายสรยุทธ และ น.ส.มณฑา คนละ 20 ปี แต่ทางนำสืบเป็นประโยชน์ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกนางพิชชาภาเป็นเวลา 20 ปี จำคุกนายสรยุทธ และ น.ส.มณฑา คนละ 13 ปี 4 เดือน และปรับบริษัท ไร่ส้ม เป็นเงิน 8 หมื่นบาท โดยไม่มีเหตุให้รอการลงโทษจำเลยที่ 1, 3 และ 4 ซึ่งคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ โดยจำเลยทั้งสามได้รับการปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์
5.เอไอเอส ได้คลื่น 900 MHz สมใจ หลังไร้คู่แข่ง ด้วยราคาที่ “แจส” เคยชนะประมูล 75,654 ล้าน!
เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) กำหนดให้เป็นวันประมูล 4G คลื่น 900 MHz รอบใหม่ หลังจากก่อนหน้านี้ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ ได้ทิ้งใบอนุญาตไป เนื่องจากไม่สามารถชำระเงินค่าประมูลภายในเวลาที่กำหนดได้ ส่งผลให้ต้องจัดประมูลรอบใหม่ โดยมีผู้เข้าแข่งขันเพียงรายเดียวคือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AWN ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ขณะที่บริษัท ทรู และดีแทค ไม่ร่วมประมูลในครั้งนี้ โดยให้เหตุผลว่า คลื่นที่บริษัททั้งสองมีอยู่ในมือ เพียงพอที่จะให้บริการลูกค้าได้อย่างดีแล้ว
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า การประมูลรอบใหม่ใช้เวลาเพียง 35 นาที โดยผู้ประมูลยืนยันราคาประมูลที่ 75,654 ล้านบาท จากนั้น คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้ประชุมเพื่อรับรองผลการประมูล ทั้งนี้ คาดว่า บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จะชำระค่าใบอนุญาตก่อนวันที่ 30 มิ.ย.ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการขยายระยะเวลามาตรการเยียวยาคลื่น 900 MHz ของเอไอเอส ซึ่ง กสทช.จะให้ใบอนุญาต 2 วันหลังจากบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค มาชำระเงินการประมูลในครั้งนี้
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้จะมีผู้เข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียว แต่กฎกติกายังเป็นไปอย่างเคร่งครัดเหมือนเดิม คือ เมื่อผู้แทนผู้เข้าร่วมการประมูลเข้าห้องประมูลแล้วจะไม่สามารถออกนอกพื้นที่ที่กำหนดได้จนกว่าจะสิ้นสุดการประมูล ซึ่งเป็นกฎของการประมูลที่ต้องหลีกเลี่ยงการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ส่วนของอาหาร เครื่องดื่ม ของว่าง และสิ่งอำนวยความสะดวก สำนักงาน กสทช. ได้จัดเตรียมให้ผู้เข้าร่วมประมูลในห้องประมูลเรียบร้อยแล้ว
นายฐากร กล่าวว่า “การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ในครั้งนี้ ประชาชนจะได้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในราคาที่เป็นธรรม สมเหตุสมผล ไม่เอาเปรียบ บริการมีคุณภาพ โดยอัตราค่าบริการโทรศัพท์มือถือบนคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ได้กำหนดค่าบริการเสียงต้องต่ำกว่า 69 สตางค์ต่อนาที และค่าบริการดาต้าต้องต่ำกว่า 26 สตางค์/เมกะไบต์”
นอกจากนี้ กรณีที่ผู้ชนะการประมูลไม่ดำเนินการตามเงื่อนไข จะถูกริบหลักประกันการประมูล 3,783 ล้านบาท และชำระค่าเสียหายเพิ่มไม่น้อยกว่า 11,348 ล้านบาท นอกจากนั้นผู้ผิดเงื่อนไขหรือผู้ที่มีความเกี่ยวโยงกันจะไม่สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมใดๆ ได้อีกต่อไป ส่วนรายได้ที่เกิดจากการประมูล กสทช.จะนำส่งเข้ารัฐทั้งหมด ไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะค่าใช้จ่ายในการประมูลจำนวน 7.3 ล้านบาท กสทช.ต้องเก็บจาก บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ที่ทิ้งใบอนุญาตก่อนหน้านี้
6.อัยการสั่งฟ้อง “เจนภพ” ทายาทเลนโซ่ กรุ๊ป 8 ข้อหาหนัก คดีซิ่งเบนซ์ชนฟอร์ด ไฟคลอก 2 นักศึกษาปริญญาโทดับ!
ความคืบหน้ากรณีที่นายเจนภพ วีรพร ทายาทเลนโซ่ กรุ๊ป ขับรถยนต์เมอร์เซเดส เบนซ์ หมายเลขทะเบียน ษง 3333 กรุงเทพมหานคร พุ่งชนท้ายรถยนต์ฟอร์ด หมายเลขทะเบียน ฆย 6911 กรุงเทพมหานคร จนเกิดไฟลุกท่วม และเป็นเหตุให้นายกฤษณะ ถาวร และ น.ส.ธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย นิสิตปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถูกไฟคลอกเสียชีวิต เมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมา และต่อมา พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ส่งสำนวนการสอบสวนจำนวน 686 หน้า ให้พนักงานอัยการพิจารณาสั่งฟ้อง โดยตั้ง 8 ข้อหาหนักแก่นายเจนภพนั้น
เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่สำนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายยงยุทธ เกียรติศักดิ์โสภณ อธิบดีอัยการภาค 1 นายกฤษดา โรจนสุวรรณ อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ร่วมกันแถลงข่าวหลังจากได้ตรวจสอบสำนวนทั้งหมด 686 หน้าแล้ว โดยสั่งฟ้องนายเจนภพ วีรพร ผู้ต้องหา 8 ข้อหา
ทั้งนี้ นายยงยุทธ กล่าวว่า คดีนี้เป็นคดีที่ประชาชนให้ความสนใจ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมจึงทำคดีโดยเน้นเป็นพิเศษ ขณะที่ทางอัยการสูงสุดเน้นให้ทำงานรวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ และโดยหลักการ ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย รวมทั้งผู้ต้องหา จึงได้ตั้งคณะอัยการที่มีความเชี่ยวชาญของสำนักงานอัยการสูงสุด และอัยการจังหวัดเข้าร่วมพิจารณาสำนวนในครั้งนี้จนแล้วเสร็จ
สำหรับข้อหาทั้ง 8 ข้อหา ประกอบด้วย 1.ขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลและทรัพย์สิน เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 2.ขับรถด้วยความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด 3.ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 4.เป็นผู้ขับรถเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 5.ขับรถในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ 6.ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น 7.ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสอบสวนที่สั่งให้มีการทดสอบ และตรวจสอบผู้ขับรถตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 142, 157/1 โดยไม่มีเหตุอันสมควร 8.ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหนักงาน ซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายกำหนดโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
พร้อมกันนี้ อัยการยังได้เพิ่มคำขอท้ายฟ้องว่า 1.ขอให้ศาลเพิกถอนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลของนายเจนภพ 2.ขอให้ศาลใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยต่อสังคม โดยขอศาลสั่งให้ส่งนายเจนภพ ไปคุมตัวไว้ในสถานพยาบาล เพราะการปล่อยตัวนายเจนภพ ซึ่งมีจิตบกพร่องโรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน และไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับการลดโทษ จะเป็นการไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 48 และขอให้ศาลกำหนดในคำพิพากษาว่า นายเจนภพจะต้องไม่เสพสุราและยาเสพติดให้โทษภายในเวลาที่กำหนด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 49
นอกจากนี้อัยการยังแจ้งสิทธิให้ญาติของนายกฤษณะ ถาวร และ น.ส.ธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย ผู้เสียชีวิตทั้งสองรายทราบ คือ 1.สิทธิรับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 และ 2.สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1
ทั้งนี้ อัยการได้นำสำนวนคดีนี้ส่งฟ้องที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยไม่ต้องนำตัวนายเจนภพไปแสดงต่อศาล เนื่องจากนายเจนภพอยู่ระหว่างการฝากขังของศาล