อีกหนึ่งบทบาทของศิลปินเร็กเก้สกา “กอล์ฟ ทีโบน” ที่เบนความสนใจสู่การถ่ายภาพแนวสตรีท บอกเล่าเรื่องราวชีวิตประจำวันด้วยอารมณ์ขันอันล้นเหลือ เขามีวิธีคิดอย่างไร ปฏิบัติตนอย่างไร จึงทำให้เวลาเพียงปีสองปี จากคนที่ไม่เคยจับกล้องมาก่อนเลย กลับกลายเป็นที่ยอมรับในสถานะช่างภาพแนวสตรีทมากขึ้นเรื่อยๆ...
“กอล์ฟ ทีโบน” หลายคนคงรู้จักเขาในฐานะศิลปินนักดนตรีตำแหน่งกีตาร์วงเร็กเก้สกาอันดับต้นๆ ของบ้านเรา แต่ในอีกหนึ่งภาค “กอล์ฟ ทีโบน” คือ “นครินทร์ ธีระภินันท์” อาจารย์สอนดนตรีแห่งคณะดุริยางคศาสตร์ ศิลปากร และในช่วงหลังๆ หลายคนยังได้เห็นผลงานของเขาในรูปแบบของภาพถ่ายที่สายช่างภาพ รับรู้รับทราบกันในนาม “สตรีท โฟโต้”
อะไร ปลุกให้เขาแบกกล้องออกไปมองภาพชีวิตบนท้องถนน
และอะไรที่ทำให้คนหนึ่งคนพัฒนาฝึกฝนตนเองได้ในเวลาเพียงไม่นาน
“กอล์ฟ ทีโบน” ลั่นชัตเตอร์ตัวตน สนทนากับเรา แบบเปิดใจ...
• ทำงานดนตรีมานาน แล้วทำไมถึงได้มาสนใจในการถ่ายภาพลักษณะนี้
เพราะรู้สึกว่ามีเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้น ผมเห็นแล้วอยากบันทึกไว้ เช่น เหตุการณ์ที่ดูตลก มีอารมณ์ขัน ดูมีคำถาม ฉงน งง ทางออกเดียวที่สามารถเก็บความทรงจำนั้นได้อย่างทันทีคือการถ่ายภาพ ตอนแรกๆ ส่วนใหญ่จะถ่ายด้วยกล้องมือถือ ลงอินสตาแกรมสนุกๆ ภาพดูตลกหรือแปลกเฉยๆ แต่พอถ่ายไปสักพัก และเริ่มไปเห็นภาพคนอื่น ผมรู้สึกว่ามันน่าจะมีอะไรอีกเยอะที่พัฒนาได้ ก็เริ่มหาข้อมูลและพบว่าสิ่งที่ผมชอบถ่าย มันเรียกว่า street photography ตอนแรกเราก็สับสนว่ามันคือภาพถนนหรือเปล่า (หัวเราะ) แต่ค้นคว้าไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามันไม่ใช่ แต่มันมีมาเป็น 60-70 ปีแล้ว เพียงแต่ไม่แพร่หลาย
คนแรกที่ทำให้ผมสนใจและเป็นแรงบันดาลใจคือ Elliott Erwitt (ช่างภาพชาวฝรั่งเศส) เพราะการถ่ายรูปของเขา มันมีความตลกเสียดสีอยู่ในภาพ เช่น รูปพระเยซูยืนสง่า แต่ด้านหลังคือป้ายเป๊ปซี่ พอเราดูภาพของเขาแล้วเหมือนกับดูการ์ตูนเสียดสี ดูแล้วรู้สึกว่า ‘เล่นอย่างงี้เลยเว้ย’ นอกจากจะถ่ายรูปสวยแล้ว มันทำให้การดูภาพก็สวยด้วย หลังจากนั้นมันก็กลายเป็นไกด์ให้กับเรา แทนที่เราจะเสียเวลาคลำหาเอง ไม่มีใครแนะนำ ไม่มีคนบอก ก็ไปหาเวิร์กชอปที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพในลักษณะนี้ดู
บังเอิญว่าที่ TCDC เขาจัดเวิร์กชอปเกี่ยวกับการถ่ายภาพแนวนี้พอดี โดยเชิญช่างภาพระดับโลกจากกลุ่ม In-Public มาบรรยาย และคนที่จะเข้าไปเรียนไปฟังได้ ต้องส่งรูปเข้าไปให้เขาดู ซึ่งช่างภาพเหล่านั้นจะเป็นผู้คัดเลือก แต่ตอนนั้นผมยังไม่ได้เริ่มแบบจริงจัง มีแค่ภาพถ่ายด้วยกล้องบ้านๆ และกล้องมือถือเท่านั้นเอง แต่ผมก็ส่งรูปไป ปรากฏว่าโชคเขาข้าง เขาเลือกผมให้เข้าไปอยู่ในกรุ๊ปเวิร์กชอปนั้นด้วย ได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ และได้ความรู้มากมาย ทำให้เริ่มมีไฟในการเรียนรู้และสนุกกับการถ่ายรูปมากขึ้นด้วย ก็เลยได้ถ่ายเป็นเรื่องเป็นราวตั้งแต่นั้น
อย่างไรก็ตาม ผมยังคงหาข้อมูลที่ลึกขึ้นไปอีก เพราะเรารู้สึกว่ามันต้องมีคนอื่นอีกสิ ก็ค้นไปจนพบกับช่างภาพชาวโปแลนด์ ชื่อ Maciej Dakowicz ซึ่งก็อยู่ในกลุ่ม In-Public นั่นล่ะ ผมดูภาพที่เขาถ่ายแล้วผมชอบมาก เป็นภาพชุดที่เขาถ่ายในอินเดีย ซึ่งที่ผ่านมา ภาพอินเดียส่วนใหญ่ที่เราเห็น จะเป็นแนวศาสนาหรือไม่ก็ผู้หญิงใส่ชุดส่าหรี แต่ช่างภาพคนนี้กลับถ่ายภาพที่ดูแตกต่าง ภาพของเขาจะดูแล้วตลกและแปลกมาก ผมจึงลองติดต่อเขาไปและได้ไปเวิร์กชอปกับเขาที่อินเดีย นั่นคือจุดเริ่มต้นแบบจริงจังเลย ได้ความรู้จากอาจารย์ที่ดี เหมือนเรามีไกด์ที่ดี
• คุณหลงใหลอะไรในภาพถ่ายสไตล์สตรีต
ผมคิดว่าภาพเหล่านั้นมันบอกเล่าช่วงชีวิตของคนแต่ละคน แต่มันเป็นคนละแบบกับภาพสารคดีนะครับ สมมติว่าผมเห็นแม่ค้าหนึ่งคน แทนที่จะสังเกตว่าเขาขายอะไร ผมจะสังเกตว่าท่าทางเขาเป็นยังไง สังเกตสิ่งของรอบๆ ตัวเขา เช่น เขายืนขายของอยู่ แต่มีไฟดวงหนึ่งห้อยอยู่ข้างหน้า และจากตำแหน่งที่ผมยืน ไฟมันอยู่ตรงหัวของเขาพอดี ภาพที่ผมเห็น จึงเป็นภาพของคนที่มีหัวเป็นหลอดไฟ อย่างนี้ ภาพมันก็จะดูสนุกขึ้น คือเรามองแล้วเราหาอะไรสนุกๆ เล่น ส่วนคนที่เห็นภาพของผมเขาจะรู้สึกอย่างไร ก็อาจจะเปลี่ยนไปตามความคิดและจินตนาการของแต่ละคน
• อธิบายให้ฟังหน่อยครับว่า สตรีท โฟโต้ นี่มันคือยังไงจริงๆ
ก็คือการถ่ายภาพอะไรก็ได้ที่มันเกิดขึ้นบนถนน แต่คำว่า “สตรีท” (street) หรือถนนในที่นี้มันมีความหมายอย่างไรได้อีก มันหมายถึงสถานที่ที่เป็นสาธารณะก็ได้ ตีความไปได้เยอะ เช่นถ่ายคนขายของ ถ่ายวินมอเตอร์ไซค์ ถ่ายคนขับรถ ถ่ายขอทาน ลักษณะนี้แหละที่เรียกสตรีทโฟโต้ มันเหมือนบันทึกประจำวัน แต่ว่าข้อแตกต่างคือการต่อยอดจากเหตุการณ์ที่เราเห็น จับจังหวะตรงนั้นแล้วเรานำมาพลิกนิดหนึ่ง แทนที่ผมจะยื่นให้คุณตรงๆ แต่ผมจะนำเสนอในลักษณะที่ก่อให้เกิดความสงสัยสักนิด เช่นสงสัยว่า สิ่งที่เห็นนั้น มันใช่ขาหรือเปล่า ใช่แขนหรือเปล่า หรือทำไมขาคนนั้นมันดูลอยๆ คือให้ดูมีคำถามมากกว่าจะให้คำตอบ
ข้อยากของงานแนวนี้ก็คือมันเตี๊ยมไม่ได้ ถ้าเตี๊ยมกัน ประเด็นจะเปลี่ยนไปเลย แต่พอไม่เตี๊ยม มันย่อมต้องการความเร็วและความแม่นยำ องค์ประกอบของภาพจึงจะสมบูรณ์ ต้องใช้เวลานานในการฝึกฝน เพียงเพื่อสามารถใช้เวลาชั่วพริบตาเดียว ในการถ่ายรูป และต้องทำให้สมบูรณ์ด้วย นี่คือสิ่งที่ท้าทายมาก
ผมรู้สึกว่าการถ่ายภาพแนวนี้ มันเหมือนดนตรีแจ๊สที่ผมสอนและเล่น มันมีการด้นสด (Improvise) เพราะเครื่องมือและผู้ถ่ายทอดคือเรา คนฟังอาจจะฟังไม่รู้เรื่อง เพราะเราอาจจะพาเขาไปไกลหน่อย หรือฟังรู้เรื่องเพราะเราพาเขาไปไม่ไกลมาก มีคำถามเกิดขึ้นเยอะ เมื่อได้ฟังการอิมโพรไวส์ มันเหมือนคุณหยอดกระปุก ยิ่งคุณหยอดทุกวัน พลังในการสั่งสมมันก็มากขึ้น แต่ถ้าคุณหยอดน้อย มันก็ไปได้ไม่ไกล มันต้องทำทุกวัน คือต่อให้คุณซ้อมหนักยังไงในวันนั้น ผลก็ไม่เกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ มันจะสะสมไปเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งซึ่งความคิดและการปฏิบัติจะหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มันยากนะ เช่นผมอาจจะคิดอะไรเวอร์ก็ได้ แต่ปฏิบัติไม่ได้ ขณะเดียวกัน คนที่ปฏิบัติได้แต่คิดไม่ได้ ก็เป็นนักปฏิบัติ คนที่ปฏิบัติเยอะแต่คิดไม่ได้ ก็เหมือนช่างที่ใช้ความชำนาญ แต่คนที่คิดได้ไม่มีความเป็นช่าง นั่นคือคนคิด แต่การเล่นแจ๊ส มันต้องรวมความคิดและความชำนาญเข้าด้วยกัน ไปทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดการอิมโพรไวส์ที่ดี หรือเกิดภาพที่สมบูรณ์
• แล้วอะไรคือสิ่งที่จะทำให้คนคนหนึ่งไปถึงจุดนั้นได้
ความอดทน ขยัน และการเอาใจใส่ครับ สำคัญมาก การสั่งสมความสามารถและพัฒนาการมองการสังเกตเป็นเรื่องที่ต้องทำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในโลกปัจจุบัน ที่มีสังคมออนไลน์เกิดขึ้น ผมคิดว่านั่นคือตัวบั่นทอนความอดทน การแสดงความสามารถบนสังคมออนไลน์ มีทั้งข้อดีและไม่ดี ถ้าเก่งและมีภาพที่ดีๆ มากพอที่จะโชว์ เพื่อใช้ในการทำมาหากิน ผมว่าดีนะ ถือเป็นโอกาส แต่ถ้าไม่พร้อมแล้วโชว์ออกไป มันจะเหมือนการประจานตัวเอง
หากเปรียบกับหนังหรือเพลงที่ดี คุณจะจำทุกอย่างได้และอยู่ในสมองคุณเลย ขณะที่ภาพถ่ายหรือภาพวาดที่ดี คุณจะสังเกตได้ว่ามันมีความประทับใจ ผมคิดว่าสิ่งนี้มันเกิดจากการที่เขาทำเยอะ อดทน ยกตัวอย่างเช่น Matt Stuart (ช่างภาพแนวสตรีทชื่อดังชาวอังกฤษ) ถ่ายรูปมา 20 กว่าปี เพิ่งจะออกหนังสือเล่มแรก ใช้เวลาเก็บภาพ 15 ปี แต่มีภาพที่ดีพอที่จะโชว์ได้ไม่ถึงร้อยภาพ หรืออีกคนชื่อ Jesse Marlow (ช่างภาพชาวออสเตรเลีย) หนังสือเล่มล่าสุดของเขาก็ใช้เวลาถ่าย 8 ปี เพื่อให้ได้หนังสือดีๆ เล่มหนึ่ง คิดดูว่าเขาต้องถ่ายเยอะขนาดไหนกว่าจะคัดออกมาเป็นหนังสือได้
อีกอย่าง ผมว่าเวลาดูภาพในหนังสือภาพดีๆ คุณจะพบว่ามันจะไม่เหมือนการดูภาพบนโซเชียลมีเดีย เพราะถ้าลงภาพในโลกออนไลน์ปุ๊บ จะฮือฮาได้แป๊บนึง แตเมื่อเวลาผ่านไป คุณจะจำไม่ได้เลย นอกจากเขาจะรีไซเคิลกลับมาใหม่ แล้วพอยิ่งถี่ขึ้นเท่าไหร่ ความตื่นเต้นหรือความมีคุณภาพก็จะลดลงไปเรื่อยๆ แต่พอมันอยู่ในหนังสือ มันจะมีค่าขึ้นมาเลย เหมือนร้องเพลงวันเกิด มันอยู่ในที่ที่มันควรอยู่ มูลค่าจะขึ้นมาเลย ผมคิดว่าถ้าคุณจะไปอีกระดับหนึ่ง มันควรมีอะไรที่เหนือกว่า แตกต่างกว่า
• พูดแบบนี้ ถือเป็นการกดดันตัวเองมากเกินหรือเปล่าครับ
ผมว่าผมอยู่กับสังคมที่มีช่างภาพเก่งๆ เยอะมาก ดังนั้น หากกดดันตัวเองน่ะดี เพราะความกดดันมันทำให้เราทำงานได้ภายใต้สภาวะนั้น แต่ไม่ใช่เกิดจากการทำไม่ทันนะ คือความกดดันมันมีหลายแบบ เช่น งานต้องส่งพรุ่งนี้ก็ต้องรีบทำให้เสร็จ (หัวเราะ) แต่ประเภทที่ผมพูดถึง เป็นความกดดันที่เกิดจากการคิด เช่นเราจะทำยังไงต่อไปดี เราคิดกับมันมากพอหรือเปล่า อย่างนี้เป็นการกดดันเพื่อให้งานดีขึ้น กดดันตัวเองเพราะต้องการพัฒนา
ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมคิดว่าผมโชคดีนะครับที่เป็นนักดนตรีแจ๊สมาก่อน เพราะดนตรีแจ๊ส รากคือการอิมโพรไวส์ เวลาคุณฟังเพลงแจ๊สแล้วไม่รู้เรื่อง ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะหูคนปกติทั่วไป ฟังแค่โน้ต 7 ตัวตามระบบสากล แต่ดนตรีแจ๊สเหมือนเล่นกล มันวิ่งเส้นเดียวกับความมั่ว เพราะมีโน้ตเพิ่มมาอีก 5 ตัว ดังนั้น รวมทั้งหมดก็ 12 ตัว หน้าที่ของเราคือทำให้คนฟังรู้ว่าเราไม่มั่ว เช่นเดียวกัน เมื่อเรามาถ่ายภาพแนวสตรีต เราก็ไม่มั่ว
อีกอย่าง ผมได้เรียนศิลปะกับอาจารย์ต่างๆ เช่น อ.มณเฑียร บุญมา อ.พิชิต ตั้งเจริญ และอีกหลายท่าน ซึ่งสอนทั้งเรื่องการหลอมรวมความเป็นช่างและความเป็นนักติดเข้าด้วยกัน ต้องเอาความเป็นผู้ชำนาญการและความเป็นนักคิด สร้างงานออกมาให้ดี เช่น อ.ถวัลย์ ดัชนี เวลาเราดูรูปของแก เรารู้สึกว่ามันมีพลัง กว่าแกจะสร้างงานออกมาได้ ต้องใช้พลังขนาดไหน แล้วกว่าแกจะตัดสินใจได้ว่า โอเคแล้ว นี่คือสิ่งที่แกคิด มันต้องใช้อะไรเยอะแค่ไหน
ดังนั้น ผมจึงไม่ได้รีบ ไม่มีเวลาเป็นตัวกดดัน ผมไม่ได้ทำงานภายใต้การกำหนดของใครว่าต้องเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ผมตั้งไว้ 10 ปี อาจจะไปดังในตอนนั้นก็ได้ (หัวเราะ) ไม่แน่ว่า อีกสิบปีข้างหน้า คนอาจจะตกใจว่าไปทำมาได้ยังไง แต่ถ้าผมไม่อดทนอดกลั้น ปล่อยรูปทุกวัน ทั้งแบบดีและไม่ดี สำหรับบางคนอาจจะดีนะ แต่สำหรับผมไม่ใช่ ผมคิดว่าแค่มีเว็บไซต์แล้วเอารูปขึ้น 10 รูปพอ เอาให้ดีที่สุดแค่นั้น แล้วก็ค่อยทำหนังสือ ทำนิทรรศการ แต่คิดในมุมกลับกัน ผมน่าจะฉวยโอกาสจากการเป็น “กอล์ฟ ทีโบน” นะ (หัวเราะ) แต่จริงๆ แค่ผมเป็นกอล์ฟ ทีโบน ความเป็นส่วนตัวก็หายไปพอสมควรแล้ว การทำตัวสาธารณะเกินไป ความเป็นเสน่ห์มันก็จะหายไปด้วย
ผมโตมาในยุคที่การไม่รู้อะไรเกี่ยวกับคนนั้นคนนี้เยอะ มันมีเสน่ห์ เพราะรู้สึกว่าพอไปเห็นความสำเร็จของเขาอีกที จากการที่เขาอดทนมาเยอะ มันทำให้รู้สึกเลยว่า ‘ทำได้ไงวะ’ ลองนึกภาพตามว่า ถ้าผมมีนิทรรศการภาพถ่ายในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คุณไม่เคยเห็นภาพที่ผมถ่ายเลย ก็อาจจะมีความรู้สึกว่าทำได้ไงวะ เสน่ห์พวกนี้มันมีเรื่องของการไม่เคยเห็นมาก่อนอยู่เสมอ
• ความฝันส่วนตัวสำหรับการถ่ายภาพแนวนี้ครับ
ผมอยากเป็นดารา (หัวเราะ) จริงๆ ตอนนี้ผมกับเพื่อนรักหลายคนรวมตัวกันทำกรุ๊ปถ่ายรูปชื่อ Loopers Collective จัดเวิร์กชอปในการถ่ายภาพแนวสตรีต โดยเชิญช่างภาพดังๆ มาเป็นผู้สอน จัดไป 2 ครั้งแล้วครับ เพราะเราอยากให้เขาได้เรียนเหมือนที่เราเคยเรียน หลายคนที่มาลงเรียนหรือสนใจ ก็ได้เรียนรู้จากตัวจริงที่สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ดี มีมาตรฐาน
อีกอย่างก็อยากมีหนังสือที่รวมผลงานการถ่ายภาพดีๆ สักเล่ม สมมติว่าผมตาย ชื่อหายไป แต่หนังสือยังอยู่ เหมือนเพลงที่ผมแต่ง เพลงยังอยู่ เป็นหนังสือเนี่ย คุณดูได้ทุกวัน ลูกผมดูได้ว่าพ่อมันทำ ลูกผมคิดถึงผม ฟังเพลงได้ แต่ถ้าไม่มีอะไรเลย มันเป็นแค่ความทรงจำ มันก็จะค่อยๆ หายไปตามกาลเวลา เหมือนเวลาใครสักคนหายไปจากชีวิตเรา แต่ถ้ามันมีข้อบันทึก เหมือนพ่อแม่ไปรื้อตู้เสื้อผ้ามาแล้วเห็นชุดคุณตอนคุณเล็กๆ เขาจะรู้สึกนึกถึงเวลาในช่วงนั้นทันที เป้าหมายของผมคืออยากจะมีอะไรสักอย่างที่ผมภูมิใจ และมีสิ่งให้ครอบครัวและคนที่รักผมได้ดู เท่านี้ล่ะครับ
www.looperscollective.com
www.facebook.com/looperscollective
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : นครินทร์ ธีระภินันท์
“กอล์ฟ ทีโบน” หลายคนคงรู้จักเขาในฐานะศิลปินนักดนตรีตำแหน่งกีตาร์วงเร็กเก้สกาอันดับต้นๆ ของบ้านเรา แต่ในอีกหนึ่งภาค “กอล์ฟ ทีโบน” คือ “นครินทร์ ธีระภินันท์” อาจารย์สอนดนตรีแห่งคณะดุริยางคศาสตร์ ศิลปากร และในช่วงหลังๆ หลายคนยังได้เห็นผลงานของเขาในรูปแบบของภาพถ่ายที่สายช่างภาพ รับรู้รับทราบกันในนาม “สตรีท โฟโต้”
อะไร ปลุกให้เขาแบกกล้องออกไปมองภาพชีวิตบนท้องถนน
และอะไรที่ทำให้คนหนึ่งคนพัฒนาฝึกฝนตนเองได้ในเวลาเพียงไม่นาน
“กอล์ฟ ทีโบน” ลั่นชัตเตอร์ตัวตน สนทนากับเรา แบบเปิดใจ...
• ทำงานดนตรีมานาน แล้วทำไมถึงได้มาสนใจในการถ่ายภาพลักษณะนี้
เพราะรู้สึกว่ามีเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้น ผมเห็นแล้วอยากบันทึกไว้ เช่น เหตุการณ์ที่ดูตลก มีอารมณ์ขัน ดูมีคำถาม ฉงน งง ทางออกเดียวที่สามารถเก็บความทรงจำนั้นได้อย่างทันทีคือการถ่ายภาพ ตอนแรกๆ ส่วนใหญ่จะถ่ายด้วยกล้องมือถือ ลงอินสตาแกรมสนุกๆ ภาพดูตลกหรือแปลกเฉยๆ แต่พอถ่ายไปสักพัก และเริ่มไปเห็นภาพคนอื่น ผมรู้สึกว่ามันน่าจะมีอะไรอีกเยอะที่พัฒนาได้ ก็เริ่มหาข้อมูลและพบว่าสิ่งที่ผมชอบถ่าย มันเรียกว่า street photography ตอนแรกเราก็สับสนว่ามันคือภาพถนนหรือเปล่า (หัวเราะ) แต่ค้นคว้าไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามันไม่ใช่ แต่มันมีมาเป็น 60-70 ปีแล้ว เพียงแต่ไม่แพร่หลาย
คนแรกที่ทำให้ผมสนใจและเป็นแรงบันดาลใจคือ Elliott Erwitt (ช่างภาพชาวฝรั่งเศส) เพราะการถ่ายรูปของเขา มันมีความตลกเสียดสีอยู่ในภาพ เช่น รูปพระเยซูยืนสง่า แต่ด้านหลังคือป้ายเป๊ปซี่ พอเราดูภาพของเขาแล้วเหมือนกับดูการ์ตูนเสียดสี ดูแล้วรู้สึกว่า ‘เล่นอย่างงี้เลยเว้ย’ นอกจากจะถ่ายรูปสวยแล้ว มันทำให้การดูภาพก็สวยด้วย หลังจากนั้นมันก็กลายเป็นไกด์ให้กับเรา แทนที่เราจะเสียเวลาคลำหาเอง ไม่มีใครแนะนำ ไม่มีคนบอก ก็ไปหาเวิร์กชอปที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพในลักษณะนี้ดู
บังเอิญว่าที่ TCDC เขาจัดเวิร์กชอปเกี่ยวกับการถ่ายภาพแนวนี้พอดี โดยเชิญช่างภาพระดับโลกจากกลุ่ม In-Public มาบรรยาย และคนที่จะเข้าไปเรียนไปฟังได้ ต้องส่งรูปเข้าไปให้เขาดู ซึ่งช่างภาพเหล่านั้นจะเป็นผู้คัดเลือก แต่ตอนนั้นผมยังไม่ได้เริ่มแบบจริงจัง มีแค่ภาพถ่ายด้วยกล้องบ้านๆ และกล้องมือถือเท่านั้นเอง แต่ผมก็ส่งรูปไป ปรากฏว่าโชคเขาข้าง เขาเลือกผมให้เข้าไปอยู่ในกรุ๊ปเวิร์กชอปนั้นด้วย ได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ และได้ความรู้มากมาย ทำให้เริ่มมีไฟในการเรียนรู้และสนุกกับการถ่ายรูปมากขึ้นด้วย ก็เลยได้ถ่ายเป็นเรื่องเป็นราวตั้งแต่นั้น
อย่างไรก็ตาม ผมยังคงหาข้อมูลที่ลึกขึ้นไปอีก เพราะเรารู้สึกว่ามันต้องมีคนอื่นอีกสิ ก็ค้นไปจนพบกับช่างภาพชาวโปแลนด์ ชื่อ Maciej Dakowicz ซึ่งก็อยู่ในกลุ่ม In-Public นั่นล่ะ ผมดูภาพที่เขาถ่ายแล้วผมชอบมาก เป็นภาพชุดที่เขาถ่ายในอินเดีย ซึ่งที่ผ่านมา ภาพอินเดียส่วนใหญ่ที่เราเห็น จะเป็นแนวศาสนาหรือไม่ก็ผู้หญิงใส่ชุดส่าหรี แต่ช่างภาพคนนี้กลับถ่ายภาพที่ดูแตกต่าง ภาพของเขาจะดูแล้วตลกและแปลกมาก ผมจึงลองติดต่อเขาไปและได้ไปเวิร์กชอปกับเขาที่อินเดีย นั่นคือจุดเริ่มต้นแบบจริงจังเลย ได้ความรู้จากอาจารย์ที่ดี เหมือนเรามีไกด์ที่ดี
• คุณหลงใหลอะไรในภาพถ่ายสไตล์สตรีต
ผมคิดว่าภาพเหล่านั้นมันบอกเล่าช่วงชีวิตของคนแต่ละคน แต่มันเป็นคนละแบบกับภาพสารคดีนะครับ สมมติว่าผมเห็นแม่ค้าหนึ่งคน แทนที่จะสังเกตว่าเขาขายอะไร ผมจะสังเกตว่าท่าทางเขาเป็นยังไง สังเกตสิ่งของรอบๆ ตัวเขา เช่น เขายืนขายของอยู่ แต่มีไฟดวงหนึ่งห้อยอยู่ข้างหน้า และจากตำแหน่งที่ผมยืน ไฟมันอยู่ตรงหัวของเขาพอดี ภาพที่ผมเห็น จึงเป็นภาพของคนที่มีหัวเป็นหลอดไฟ อย่างนี้ ภาพมันก็จะดูสนุกขึ้น คือเรามองแล้วเราหาอะไรสนุกๆ เล่น ส่วนคนที่เห็นภาพของผมเขาจะรู้สึกอย่างไร ก็อาจจะเปลี่ยนไปตามความคิดและจินตนาการของแต่ละคน
• อธิบายให้ฟังหน่อยครับว่า สตรีท โฟโต้ นี่มันคือยังไงจริงๆ
ก็คือการถ่ายภาพอะไรก็ได้ที่มันเกิดขึ้นบนถนน แต่คำว่า “สตรีท” (street) หรือถนนในที่นี้มันมีความหมายอย่างไรได้อีก มันหมายถึงสถานที่ที่เป็นสาธารณะก็ได้ ตีความไปได้เยอะ เช่นถ่ายคนขายของ ถ่ายวินมอเตอร์ไซค์ ถ่ายคนขับรถ ถ่ายขอทาน ลักษณะนี้แหละที่เรียกสตรีทโฟโต้ มันเหมือนบันทึกประจำวัน แต่ว่าข้อแตกต่างคือการต่อยอดจากเหตุการณ์ที่เราเห็น จับจังหวะตรงนั้นแล้วเรานำมาพลิกนิดหนึ่ง แทนที่ผมจะยื่นให้คุณตรงๆ แต่ผมจะนำเสนอในลักษณะที่ก่อให้เกิดความสงสัยสักนิด เช่นสงสัยว่า สิ่งที่เห็นนั้น มันใช่ขาหรือเปล่า ใช่แขนหรือเปล่า หรือทำไมขาคนนั้นมันดูลอยๆ คือให้ดูมีคำถามมากกว่าจะให้คำตอบ
ข้อยากของงานแนวนี้ก็คือมันเตี๊ยมไม่ได้ ถ้าเตี๊ยมกัน ประเด็นจะเปลี่ยนไปเลย แต่พอไม่เตี๊ยม มันย่อมต้องการความเร็วและความแม่นยำ องค์ประกอบของภาพจึงจะสมบูรณ์ ต้องใช้เวลานานในการฝึกฝน เพียงเพื่อสามารถใช้เวลาชั่วพริบตาเดียว ในการถ่ายรูป และต้องทำให้สมบูรณ์ด้วย นี่คือสิ่งที่ท้าทายมาก
ผมรู้สึกว่าการถ่ายภาพแนวนี้ มันเหมือนดนตรีแจ๊สที่ผมสอนและเล่น มันมีการด้นสด (Improvise) เพราะเครื่องมือและผู้ถ่ายทอดคือเรา คนฟังอาจจะฟังไม่รู้เรื่อง เพราะเราอาจจะพาเขาไปไกลหน่อย หรือฟังรู้เรื่องเพราะเราพาเขาไปไม่ไกลมาก มีคำถามเกิดขึ้นเยอะ เมื่อได้ฟังการอิมโพรไวส์ มันเหมือนคุณหยอดกระปุก ยิ่งคุณหยอดทุกวัน พลังในการสั่งสมมันก็มากขึ้น แต่ถ้าคุณหยอดน้อย มันก็ไปได้ไม่ไกล มันต้องทำทุกวัน คือต่อให้คุณซ้อมหนักยังไงในวันนั้น ผลก็ไม่เกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ มันจะสะสมไปเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งซึ่งความคิดและการปฏิบัติจะหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มันยากนะ เช่นผมอาจจะคิดอะไรเวอร์ก็ได้ แต่ปฏิบัติไม่ได้ ขณะเดียวกัน คนที่ปฏิบัติได้แต่คิดไม่ได้ ก็เป็นนักปฏิบัติ คนที่ปฏิบัติเยอะแต่คิดไม่ได้ ก็เหมือนช่างที่ใช้ความชำนาญ แต่คนที่คิดได้ไม่มีความเป็นช่าง นั่นคือคนคิด แต่การเล่นแจ๊ส มันต้องรวมความคิดและความชำนาญเข้าด้วยกัน ไปทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดการอิมโพรไวส์ที่ดี หรือเกิดภาพที่สมบูรณ์
• แล้วอะไรคือสิ่งที่จะทำให้คนคนหนึ่งไปถึงจุดนั้นได้
ความอดทน ขยัน และการเอาใจใส่ครับ สำคัญมาก การสั่งสมความสามารถและพัฒนาการมองการสังเกตเป็นเรื่องที่ต้องทำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในโลกปัจจุบัน ที่มีสังคมออนไลน์เกิดขึ้น ผมคิดว่านั่นคือตัวบั่นทอนความอดทน การแสดงความสามารถบนสังคมออนไลน์ มีทั้งข้อดีและไม่ดี ถ้าเก่งและมีภาพที่ดีๆ มากพอที่จะโชว์ เพื่อใช้ในการทำมาหากิน ผมว่าดีนะ ถือเป็นโอกาส แต่ถ้าไม่พร้อมแล้วโชว์ออกไป มันจะเหมือนการประจานตัวเอง
หากเปรียบกับหนังหรือเพลงที่ดี คุณจะจำทุกอย่างได้และอยู่ในสมองคุณเลย ขณะที่ภาพถ่ายหรือภาพวาดที่ดี คุณจะสังเกตได้ว่ามันมีความประทับใจ ผมคิดว่าสิ่งนี้มันเกิดจากการที่เขาทำเยอะ อดทน ยกตัวอย่างเช่น Matt Stuart (ช่างภาพแนวสตรีทชื่อดังชาวอังกฤษ) ถ่ายรูปมา 20 กว่าปี เพิ่งจะออกหนังสือเล่มแรก ใช้เวลาเก็บภาพ 15 ปี แต่มีภาพที่ดีพอที่จะโชว์ได้ไม่ถึงร้อยภาพ หรืออีกคนชื่อ Jesse Marlow (ช่างภาพชาวออสเตรเลีย) หนังสือเล่มล่าสุดของเขาก็ใช้เวลาถ่าย 8 ปี เพื่อให้ได้หนังสือดีๆ เล่มหนึ่ง คิดดูว่าเขาต้องถ่ายเยอะขนาดไหนกว่าจะคัดออกมาเป็นหนังสือได้
อีกอย่าง ผมว่าเวลาดูภาพในหนังสือภาพดีๆ คุณจะพบว่ามันจะไม่เหมือนการดูภาพบนโซเชียลมีเดีย เพราะถ้าลงภาพในโลกออนไลน์ปุ๊บ จะฮือฮาได้แป๊บนึง แตเมื่อเวลาผ่านไป คุณจะจำไม่ได้เลย นอกจากเขาจะรีไซเคิลกลับมาใหม่ แล้วพอยิ่งถี่ขึ้นเท่าไหร่ ความตื่นเต้นหรือความมีคุณภาพก็จะลดลงไปเรื่อยๆ แต่พอมันอยู่ในหนังสือ มันจะมีค่าขึ้นมาเลย เหมือนร้องเพลงวันเกิด มันอยู่ในที่ที่มันควรอยู่ มูลค่าจะขึ้นมาเลย ผมคิดว่าถ้าคุณจะไปอีกระดับหนึ่ง มันควรมีอะไรที่เหนือกว่า แตกต่างกว่า
• พูดแบบนี้ ถือเป็นการกดดันตัวเองมากเกินหรือเปล่าครับ
ผมว่าผมอยู่กับสังคมที่มีช่างภาพเก่งๆ เยอะมาก ดังนั้น หากกดดันตัวเองน่ะดี เพราะความกดดันมันทำให้เราทำงานได้ภายใต้สภาวะนั้น แต่ไม่ใช่เกิดจากการทำไม่ทันนะ คือความกดดันมันมีหลายแบบ เช่น งานต้องส่งพรุ่งนี้ก็ต้องรีบทำให้เสร็จ (หัวเราะ) แต่ประเภทที่ผมพูดถึง เป็นความกดดันที่เกิดจากการคิด เช่นเราจะทำยังไงต่อไปดี เราคิดกับมันมากพอหรือเปล่า อย่างนี้เป็นการกดดันเพื่อให้งานดีขึ้น กดดันตัวเองเพราะต้องการพัฒนา
ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมคิดว่าผมโชคดีนะครับที่เป็นนักดนตรีแจ๊สมาก่อน เพราะดนตรีแจ๊ส รากคือการอิมโพรไวส์ เวลาคุณฟังเพลงแจ๊สแล้วไม่รู้เรื่อง ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะหูคนปกติทั่วไป ฟังแค่โน้ต 7 ตัวตามระบบสากล แต่ดนตรีแจ๊สเหมือนเล่นกล มันวิ่งเส้นเดียวกับความมั่ว เพราะมีโน้ตเพิ่มมาอีก 5 ตัว ดังนั้น รวมทั้งหมดก็ 12 ตัว หน้าที่ของเราคือทำให้คนฟังรู้ว่าเราไม่มั่ว เช่นเดียวกัน เมื่อเรามาถ่ายภาพแนวสตรีต เราก็ไม่มั่ว
อีกอย่าง ผมได้เรียนศิลปะกับอาจารย์ต่างๆ เช่น อ.มณเฑียร บุญมา อ.พิชิต ตั้งเจริญ และอีกหลายท่าน ซึ่งสอนทั้งเรื่องการหลอมรวมความเป็นช่างและความเป็นนักติดเข้าด้วยกัน ต้องเอาความเป็นผู้ชำนาญการและความเป็นนักคิด สร้างงานออกมาให้ดี เช่น อ.ถวัลย์ ดัชนี เวลาเราดูรูปของแก เรารู้สึกว่ามันมีพลัง กว่าแกจะสร้างงานออกมาได้ ต้องใช้พลังขนาดไหน แล้วกว่าแกจะตัดสินใจได้ว่า โอเคแล้ว นี่คือสิ่งที่แกคิด มันต้องใช้อะไรเยอะแค่ไหน
ดังนั้น ผมจึงไม่ได้รีบ ไม่มีเวลาเป็นตัวกดดัน ผมไม่ได้ทำงานภายใต้การกำหนดของใครว่าต้องเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ผมตั้งไว้ 10 ปี อาจจะไปดังในตอนนั้นก็ได้ (หัวเราะ) ไม่แน่ว่า อีกสิบปีข้างหน้า คนอาจจะตกใจว่าไปทำมาได้ยังไง แต่ถ้าผมไม่อดทนอดกลั้น ปล่อยรูปทุกวัน ทั้งแบบดีและไม่ดี สำหรับบางคนอาจจะดีนะ แต่สำหรับผมไม่ใช่ ผมคิดว่าแค่มีเว็บไซต์แล้วเอารูปขึ้น 10 รูปพอ เอาให้ดีที่สุดแค่นั้น แล้วก็ค่อยทำหนังสือ ทำนิทรรศการ แต่คิดในมุมกลับกัน ผมน่าจะฉวยโอกาสจากการเป็น “กอล์ฟ ทีโบน” นะ (หัวเราะ) แต่จริงๆ แค่ผมเป็นกอล์ฟ ทีโบน ความเป็นส่วนตัวก็หายไปพอสมควรแล้ว การทำตัวสาธารณะเกินไป ความเป็นเสน่ห์มันก็จะหายไปด้วย
ผมโตมาในยุคที่การไม่รู้อะไรเกี่ยวกับคนนั้นคนนี้เยอะ มันมีเสน่ห์ เพราะรู้สึกว่าพอไปเห็นความสำเร็จของเขาอีกที จากการที่เขาอดทนมาเยอะ มันทำให้รู้สึกเลยว่า ‘ทำได้ไงวะ’ ลองนึกภาพตามว่า ถ้าผมมีนิทรรศการภาพถ่ายในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คุณไม่เคยเห็นภาพที่ผมถ่ายเลย ก็อาจจะมีความรู้สึกว่าทำได้ไงวะ เสน่ห์พวกนี้มันมีเรื่องของการไม่เคยเห็นมาก่อนอยู่เสมอ
• ความฝันส่วนตัวสำหรับการถ่ายภาพแนวนี้ครับ
ผมอยากเป็นดารา (หัวเราะ) จริงๆ ตอนนี้ผมกับเพื่อนรักหลายคนรวมตัวกันทำกรุ๊ปถ่ายรูปชื่อ Loopers Collective จัดเวิร์กชอปในการถ่ายภาพแนวสตรีต โดยเชิญช่างภาพดังๆ มาเป็นผู้สอน จัดไป 2 ครั้งแล้วครับ เพราะเราอยากให้เขาได้เรียนเหมือนที่เราเคยเรียน หลายคนที่มาลงเรียนหรือสนใจ ก็ได้เรียนรู้จากตัวจริงที่สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ดี มีมาตรฐาน
อีกอย่างก็อยากมีหนังสือที่รวมผลงานการถ่ายภาพดีๆ สักเล่ม สมมติว่าผมตาย ชื่อหายไป แต่หนังสือยังอยู่ เหมือนเพลงที่ผมแต่ง เพลงยังอยู่ เป็นหนังสือเนี่ย คุณดูได้ทุกวัน ลูกผมดูได้ว่าพ่อมันทำ ลูกผมคิดถึงผม ฟังเพลงได้ แต่ถ้าไม่มีอะไรเลย มันเป็นแค่ความทรงจำ มันก็จะค่อยๆ หายไปตามกาลเวลา เหมือนเวลาใครสักคนหายไปจากชีวิตเรา แต่ถ้ามันมีข้อบันทึก เหมือนพ่อแม่ไปรื้อตู้เสื้อผ้ามาแล้วเห็นชุดคุณตอนคุณเล็กๆ เขาจะรู้สึกนึกถึงเวลาในช่วงนั้นทันที เป้าหมายของผมคืออยากจะมีอะไรสักอย่างที่ผมภูมิใจ และมีสิ่งให้ครอบครัวและคนที่รักผมได้ดู เท่านี้ล่ะครับ
www.looperscollective.com
www.facebook.com/looperscollective
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : นครินทร์ ธีระภินันท์