หลังจากสนใจใฝ่ศึกษาธรรมะมาโดยตลอด กระทั่งได้พบเจอกับพระธรรมคำสอนเรื่อง “จิตตนคร” ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ซึ่งกลายเป็นแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ให้นักร้องสาว “ส้ม อมรา” น้อมนำมาเรียงร้อยขับขานผ่านบทเพลงหลากแนว ทั้งฮิปฮอฟ ป๊อป ร็อก คลาสสิค อาร์แอนด์บี ไปจนถึงแจ็สหรือแม้กระทั่งเมทัล เกิดเป็นเสียงเพลงแห่งธรรมหลากรสชาติ พร้อมเปิดคอนเสิร์ต Live Record 19 พ.ย.นี้ ที่ ม.ศิลปากร
“ส้มสนใจเรื่องธรรมะมานานแล้วค่ะ ตั้งแต่เด็กๆ เลยก็ว่าได้”
ศิลปินสาวนักร้อง เจ้าของชื่อ “ส้ม-อมรา ศิริพงษ์” บอกเล่าแซมรอยยิ้ม
“ตอนเด็กๆ พ่อส้มป่วย ส้มก็ไม่มีปัญญาพอจะช่วยให้เขามีความสุขได้ในตอนนั้น ก็หันไปพึ่งธรรมะ และเริ่มศึกษามานานพอสมควร มีทั้งไปบวชชีพราหมณ์แล้วก็ศึกษา แต่ก็เริ่มมาทางที่ถูกต้องจริงๆ ตอนที่ได้พบกับธรรมะสายพระกรรมฐานทางฝั่งธรรมยุต แต่ตามจริง ผู้ใหญ่ท่านก็บอกนะคะว่า ธรรมะพระพุทธเจ้าก็คือธรรมะพระพุทธเจ้า มีทางเดียวเท่านั้น แต่วิธีการพูดสื่อสารในคนแต่ละกลุ่ม อาจจะไม่เหมือนกัน”
เพราะสนใจใฝ่รู้ สุดท้ายเมื่อได้พบกับ “จิตตนคร” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จึงบุกเบิกโครงการสานต่อคำสอน ส่งสะท้อนเป็นคีตศิลป์ 19 บทเพลงแห่งธรรม...
• ขอทราบที่มาของคอนเสิร์ตครั้งนี้หน่อยค่ะว่าเป็นมาอย่างไร
จุดเริ่มต้นจริงๆ มาจากการที่ส้มมีโอกาสได้ไปบวชชีพราหมณ์ แล้วเราได้อ่านหนังสือของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เรื่อง “จิตตนคร” รู้สึกประทับใจมากๆ เนื่องจากหนังสือเล่มดังกล่าวเล่าถึงเรื่องราวชีวิตตั้งแต่เช้ายันเย็น ตั้งแต่เกิดจนตายของคนหนึ่งคน เราจึงคิดว่าน่าจะทำเผยแพร่ให้คนได้รู้เรื่องราวนี้ แต่ตอนแรกนั้นก็ยังไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน เพราะเงินก็ไม่มี เราไม่ได้เป็นนายทุน
อย่างไรก็ดี เนื่องจากเราเป็นอาจารย์พิเศษ สอนวิชา Project Management ที่มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้ชวนนักศึกษาว่า เราลองมาทำคอนเสิร์ตกึ่งละครเวทีกันดูสักครั้งมั้ย ก็เริ่มทำครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว แต่ปัญหาก็คือทาง ม.บูรพา ยังแต่งเพลงไม่ค่อยถนัด แต่เพราะเรามีเพื่อนหลายมหา’ลัย ก็เลยไปชวนนักศึกษาจาก ม.รังสิตบ้าง ม.มหิดล ม.ศิลปากรบ้าง มารวมตัวกัน อย่างส้มไปบอกว่า เด็ก ม.รังสิตช่วยพี่สัก 2 คนสิ พวกเขาก็ตั้งใจทำใหญ่เลย แล้วเพื่อนๆ ของพวกเขาก็เข้ามาถามว่าทำอะไร พอรู้ว่าแต่งเพลงกับพี่ส้ม เขาก็ขอทำด้วย
สุดท้ายก็เข้ามาเต็มไปหมด เป็นร้อยคน ช่วยกันแต่งเพลงขึ้นมา อันที่จริง แต่งทั้งหมด 30 เพลง แต่คัดมาแค่ 19 เพลงก่อน และ 19 เพลงนี้ก็จะมีหลากหลายแนว ไล่ตั้งแต่ป็อป ฮิปฮอป เมทัล แจ๊ส ร็อก คลาสสิก ส้มคิดว่ามันคือพลังของเยาวชนจริงๆ มันไม่ใช่แค่ส้ม ส้มเป็นแค่ผู้ริเริ่มคิดโครงการเฉยๆ แต่เยาวชนนักศึกษาเขามาแต่งเพลงช่วยกัน
สิ่งที่น่าดีใจมากๆ ในกระบวนการทำงานนี้ก็คือ ทุกครั้งที่เราทำงาน เราต้องบรีฟให้น้องๆ เขาฟังว่าเรากำลังทำอะไร นั่นเท่ากับว่าเขากำลังได้ศึกษาคำสอนสมเด็จพระสังฆราชผ่านการทำงานตรงนี้ไปด้วยในตัว แล้วมันก็เกิดความเปลี่ยนแปลงในแบบที่คาดไม่ถึงเหมือนกัน อย่างเช่นเด็กบางคนใช้ยาอยู่หรือขายยาอยู่ ยาเสพติดน่ะนะ ก็เลิกขายเลิกใช้ เขาคบเพื่อนที่ใช้ยา เขาก็เลิกคบ นี่คือผลลัพธ์ที่ได้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชท่านได้นำมาเขียนไว้ในเรื่อง “จิตตนคร” นั่นคือผลพวงดีๆ ที่เกิดขึ้นผ่านกระบวนการทำงานร่วมกันในโครงการนี้
• โครงการนี้มีชื่อเรียกอย่างไรไหมคะ
ชื่อ Capital Muse ค่ะ Capital นั้นคือเมือง ส่วน Muse เป็นรากศัพท์ภาษาละติน มาจากคำว่านามธรรม และเป็นรากฐานของคำว่า Music ศิลปะดนตรีมันเกิดจากนามธรรมซึ่งมีศิลปินเป็นผู้นำออกมานำเสนอ ถ้าไม่มีศิลปิน มันก็ยังเป็นนามธรรมอยู่อย่างนั้น ก็เลยใช้คำว่า Capital Muse ให้ความหมายถึง “จิตตนคร” ด้วย เพราะทุกอย่าง มันต้องมีจิตที่จะคิดสิ่งเหล่านั้นได้ แล้วนำเสนอออกมาจากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
และในสถานะที่ส้มก็เป็นศิลปินคนหนึ่ง เราอยากทำงานศิลปะ และถึงแม้ว่าศิลปินจะมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ก็ต้องนำเสนออย่างถูกต้อง ส้มเลยจำเป็นต้องไปขออนุญาต ไปหาครูบาอาจารย์ เพื่อทำในทางที่มันถูกต้องจริงๆ ก่อนที่จะนำเสนออะไรออกไป
• หมายถึงว่า ทุกสิ่งที่นำเสนอไปในบทเพลง ได้รับการตรวจสอบจากผู้รู้และครูบาอาจารย์ในเรื่องความถูกต้องใช่ไหมคะ
ใช่ค่ะ...โครงการนี้ได้รับประทานอนุญาตจากสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตฺโต รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร) ตั้งแต่แรกเริ่ม เพราะอยู่ๆ ส้มจะเอาคำสอนมาแต่งเพลงเองเลยไม่ได้ ต้องเอาไปให้พระท่านตรวจ อีกรูปหนึ่งคือ พระมหา ม.ร.ว.นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน (วัดบวรนิเวศวิหาร) ท่านก็ช่วยตรวจให้ บางทีเราทำงานอย่างนี้มันเครียด จะถูกหรือไม่ เราก็ให้เขาตรวจ ตอนแรกส้มใจร้อน อยากจะทำคอนเสิร์ตสวยๆ ทีเดียวให้เสร็จไปเลย แต่ไม่ได้ งานอย่างนี้มันเหมือนต้นไม้ มันไม่ใช่ต้นถั่ววิเศษที่คุณจะเอาโยนลงไปและบอกให้มันโตเลยไม่ได้ งานทุกอย่าง ทุกการเปลี่ยนแปลงค่อยๆ ทำ ค่อยเป็นค่อยไป
• พูดถึงบทเพลงทั้ง 19 เพลง เราร้องคนเดียวหรือว่ามีใครมาร่วมร้องด้วย
ไม่ได้ร้องคนเดียวค่ะ แต่จะมีน้องๆ จากเวทีนั่นนี่มาช่วยร้อง อย่างเช่น “เหมือนฝัน เดอะ วอยซ์”, “ตั๊ว เคพีเอ็น” แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันอยู่ที่งบประมาณด้วย งานที่ทำได้ทุกวันนี้ เพราะทุกคนมีความศรัทธา ส้มได้งบประมาณสนับสนุนสามแสนกว่าบาทเกือบสี่แสน ต้องขอบคุณทุกคนเลยค่ะว่าเขาศรัทธาจริงๆ คือศรัทธาในคำสอนของพระพุทธศาสนา ศรัทธาในองค์สมเด็จพระสังฆราชแล้วเขาอยากตอบแทนสิ่งที่ท่านได้ฝากไว้ให้กับสังคม ไม่อยากให้คำสอนของท่านสูญหายไป
• โดยส่วนตัว เราประทับใจอย่างไรในคำสอนของสมเด็จพระสังฆราช
ส้มว่าท่านสอนง่าย คือธรรมะเป็นของละเอียด ในมุมมองเรานะคือธรรมะเป็นของละเอียด การที่จะทำให้คนเข้าใจง่ายขึ้น เราต้องย่อย สมเด็จพระวันรัตท่านก็คงจะเห็นประโยชน์ของการทำสิ่งนี้ แทนที่จะเก็บธรรมะไว้แต่บนหิ้งสูงๆ เรานำลงมาย่อยให้มันจับต้องได้ ก็น่าจะดี
• อยากให้ยกตัวอย่างคำสอนของสมเด็จพระสังฆราชที่เราน้อมนำมาปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน
ส้มขอยกตัวอย่างจากเพลง “แสงส่องใจ” แล้วกันค่ะ เพราะส้มเห็นคนพยายามทำความดีเยอะ บางคนทำแล้วท้อ เพราะสังคมตอนนี้อยู่ในจุดที่มีการเปลี่ยนแปลง หาทิศทางที่ถูกต้อง มันอยู่ในจุดที่กำลังเปลี่ยนแปลง แสดงว่ามันยังไม่เลือก เพลงนี้มาจากพระนิพนธ์เรื่อง “แสงส่องใจ” สมเด็จพระสังฆราชที่ท่านบอกว่าคนทำดีส่วนใหญ่มักจะตั้งคำถามตัวเองว่าทำไม ทำดีแล้วไม่ได้ดี สมเด็จพระสังฆราชท่านแนะว่า เหมือนเราจุดเทียนตอนกลางวัน เราไม่เห็นแสงสว่างของเทียน อย่างดวงดาวตอนกลางวัน เราเห็นมันไหม ก็ไม่เห็น แต่เรารู้ว่ามันมี มันก็เหมือนกับว่าถ้ากลางวันเป็นช่วงชีวิตที่ดีของเรา เรามีโอกาสได้ทำความดี แต่ไม่ได้ดีสักที แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อไรชีวิตเราตกต่ำหรือมืดมนเหมือนเวลากลางคืน ตรงนั้นแหละความดีมันจะคอยให้แสงกับเราขึ้นมา ทำให้เราได้รับผลของความดี
• ไหนๆ ก็กล่าวถึงเพลงแล้ว อยากให้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทเพลงที่ทำอีกสักสองสามเพลงหน่อยค่ะ
นอกจาก “แสงส่องใจ” ยังมีเพลง Party Time เป็นแนวสกา เต้นกันยับเลย แต่ก็สวดกันยับเหมือนกัน คนเราเกิดมาลืมไปว่าชีวิตเราทุกข์ แต่เราก็ยังสนุกสนานลัลลา จนมองข้ามความทุกข์ตรงนี้ไป Party Time จะพูดเกริ่นให้เห็นความสนุกก่อนแล้วได้ความรู้ อีกเพลงชื่อว่า Gift Box กล่องของขวัญ พูดถึงตัวละครชื่อจิตราช โดยพยายามสื่อความว่า เราทุกคนมีร่างกายที่พ่อแม่ให้มา เปรียบเสมือนกล่อง มันจะสูงต่ำดำขาว มันก็คือกล่อง ส่วนเสื้อผ้า ไม่ว่าจะสีอะไร มันคือหีบห่อ แต่จริงๆ ชีวิตเราคือจิตใจที่จะผลักดันให้เราไปทำอะไรก็ได้ ไม่ว่าดีหรือเลว จิตตรงนี้สำคัญมาก นี่เป็นเพลงแนวคลาสสิกค่อนข้างป็อปหน่อย
เพลงต่อมา ชื่อเพลงว่า “บารมี” พูดถึงพระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมาสิบชาติ กว่าจะได้มาเป็นพระพุทธเจ้า เราทุกคนต้องมีบารมีพอที่จะได้เกิดเป็นคน เช่น เรามีเพื่อนเป็นคู่บารมี จะชักนำไปทำดีทำเลว เพลงนี้เป็นฮิปฮอป แจ๊ส อีกเพลงชื่อว่า Hidden Agenda พูดถึงตัวละครที่ชื่อว่า “สมุทัย” (เหตุเกิดทุกข์) ที่ชอบดึงเราไปทำอะไรแย่ๆ บารมีก็บอกว่าอย่าเลย แต่คนที่ตัดสินใจจริงๆ ว่าจะทำหรือไม่ทำ คือจิตราช เพลงนี้เป็นแนวร็อก
นอกจากนี้ยังมีเพลง “The Doors ประตูปรารถนา” ประตู 6 บานซึ่งได้แก่อายตนะทั้งหก (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เป็นตัวเปิดให้โลภะ โทสะ โมหะ เข้ามา พอมันเข้ามาสิงตัวจิตราชให้ทำโน่นนี่นั่น ถ้าเราทำตาม โอกาสที่เราจะทำพลาดในสิ่งนั้นๆ มีมากถึง 99% เพลงนี้ทำเป็นแจ๊ส ขณะที่เพลง “โซ่” ซึ่งเป็นแนวอาร์แอนด์บี จะถ่ายทอดว่า แม้เราทุกคนจะรู้ว่าอะไรคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่เราหลุดพ้นจากมันไปได้ไหม ยังไม่ได้ เพราะถูกโซ่ล่ามอยู่ แล้วคนที่ถือปลายโซ่คือสมุทัย
และเมื่อเราติดอยู่ในโซ่ เราก็ต้องมีปัญหา ทุกคนต้องทุกข์ สิ่งที่ทำให้เรามีความสุขได้บ้างคือความรักความเมตตา เราจึงโหยหาความรัก ถามเด็กมหา’ลัยว่าความรักคืออะไร ไม่มีใครตอบได้ เพราะความรักที่แท้จริงคือความเมตตา ซึ่งเป็นที่มาของเพลง “น้ำพรมใจ” คำนี้เป็นคำของสมเด็จพระสังฆราช ท่านสอนว่าคนเรามีความทุกข์ แต่ถ้ามีความรักเมตตาเป็นหยดน้ำมาสักหยด จิตใจก็ได้ชุ่มชื้นขึ้นมา เพลงน้ำพรมใจทำเป็นแนวแจ๊ส
ยกตัวอย่างอีกสักเพลง ชื่อเพลง “ว่าว” สมเด็จพระสังฆราชท่านบอกว่าเราทุกคนมีร่างกายอยู่ตรงนี้ แต่บางคนจิตใจล่องลอย ใจเหมือนว่าวและมีเชือกบางๆ เป็นสายใยผูกไว้ ว่าวอาจจะลอยไปอนาคต 20 ปีข้างหน้าก็ได้ นั่งอยู่ตรงนี้และจิตใจไปไหนก็ไม่รู้ ถ้าตอนนั้นอารมณ์เราร้อน ก็จะเหมือนว่าวถูกดูดลงนรก แต่ถ้าเรามีอารมณ์เย็น ก็คล้ายลอยไปสู่สวรรค์ แล้วทั้งวัน เราก็จะวนเวียนอยู่กับนรกและสวรรค์อย่างนี้ มันอยู่ในวัฏสงสารอย่างนี้แหละ แต่คนที่ฉลาดที่สุดคือไปทางสายกลาง แล้วก็นิพพานไป เพลงนี้ทำเป็นคลาสสิกเพราะๆ (ยิ้ม)
• อันนี้ถามเป็นความเห็นนะคะ ทุกวันนี้มีข่าวคราวเรื่องไม่ดีไม่งามในแวดวงสงฆ์ค่อนข้างบ่อย มันกระทบต่อศรัทธาในธรรมะของเราหรือไม่อย่างไร
ถ้าถามกลุ่มวัยรุ่นเขาก็จะส่ายหัว เพราะว่าศาสนาเหมือนองค์กรหนึ่งองค์กร ในองค์กรนั้นมีคนมากมาย แล้วคนในองค์กรนั้นก็มีส่วนทำให้เกิดความเสื่อม มีแฝงอยู่ในนั้น อย่างไรก็ตาม ธรรมะที่บริสุทธิ์ไม่ได้อยู่ที่บุคคล ปัญหาสังคมตอนนี้เพราะมีบุคคลที่เข้ามาแทรกใต้ร่มพระศาสนา ทำให้เกิดความเสื่อม ถามว่าศาสนาเสื่อมไหม เปล่าเลย แต่ตัวบุคคลต่างหากค่ะที่เสื่อม
• ถามถึงความคาดหวังในการนำเอาคำสอนของสมเด็จพระสังฆราชมาแต่งเพลง ว่าอยากจะให้เกิดผลลัพธ์อย่างไรบ้าง
พูดจากใจเลยนะคะ ไม่ได้คาดหวังอะไรเลย เราก็ถือว่าเราได้ทำแล้วในฐานะของบุคคลของประเทศชาติคนหนึ่ง นั่นพอแล้ว เพราะไม่รู้ว่าจะคาดหวังไปทำไม อย่างน้องคนนั้นที่เข้ามาร่วมโครงการของเรา เขาเคยขายยาแล้วเขาเลิกขาย เลิกเสพ ส้มไม่ได้ไปบอกเขา แต่เพราะเขารู้ผิดรู้ถูกแล้ว เขาก็เลิกของเขาเอง
อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ ส้มแบ่งเป็นสองฝั่ง คือฝั่งส่วนตัวไม่ได้คาดหวังอะไร แต่ในฝั่งของผู้จัดการบริหารโครงการซึ่งเหมือนลูกของเรา เราก็อยากให้เขาโตไปเหมือนกัน อย่างตอนที่ไปซ้อมที่ห้องประชุมของมหาวิทยาลัยรังสิต บังเอิญว่าเพรสซิเดนต์ของยูนนาน ยูนิเวอร์ซิตี้ มาชมงาน เขาก็มาดูเราซ้อมจนจบ ประมาณครึ่งชัวโมงกว่าๆ แล้วเดินเข้ามาถามลูกศิษย์เราว่าใครเป็นคนทำ เด็กก็ชี้มาหาเรา ท่านก็บอกว่าวันหนึ่งข้างหน้า ไปเล่นที่เมืองจีนบ้างได้ไหม ส้มก็ถามท่านกลับว่า ส่วนใหญ่เป็นเพลงภาษาไทยหมดเลย จะฟังเราออกหรือเปล่า ท่านบอกว่าใส่ซับไตเติลก็ได้ เพราะการแสดงมันก็มี ส้มก็คิดว่าน่าสนใจ
อีกอย่าง เราก็กำลังจะเปิดประชาคมอาเซียน ส้มเห็นว่ามันเป็นโครงการศิลปะกระชับมิตรมันสามารถไปได้ทั่วอาเซียน เพราะส่วนหนึ่งก็มีพระพุทธศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว มันก็สามารถกระชับมิตรได้ เหมือนกับที่ส้มใช้คำว่าโครงการ เป็นโครงการศิลปะกระชับมิตรผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ การเล่นดนตรีหรือการทำศิลปะไม่มีเด็กที่ไหนต้องตีกัน การเล่นดนตรีคือการสร้างสิ่งที่สวยงาม เราเลยเห็นประโยชน์ของศิลปะตรงนี้ เลยเขียนโครงการว่าถ้าเราจะทำเป็นคอนเสิร์ตย่อยๆ ตามมหาวิทยาลัยทุกครั้งที่ทีมย่อยๆ ได้เข้าไปร่วมงามกับทีมใหม่ๆ แสดงว่าทีมใหม่เขาได้ศึกษาพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชผ่านการทำงาน
เราคิดว่าน่าจะมีเยาวชนที่แยกออกว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด ส้มเลยใช้โครงการคร่าวๆ ว่าปฏิวัติหัวใจวัยรุ่นให้เขาเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง ตัวโครงการนี้ปีที่แล้วเป็นแค่จุดเริ่ม ตอนนี้เป็นตอนที่ 2 เราจะนำมาใช้เพื่อขยายผลไปสู่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ ดังนั้น คอนเสิร์ตครั้งนี้วันที่ 19 เราจะบันทึก 19 เพลงนี้ ถ้ามีโอกาสเราจะทำเป็น Capital Muse Project ตอนจิตตนคร เวอร์ชั่นมหาวิทยาลัยโน่นนี่นั่น เราจะให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมด้วย เขาจะได้มีส่วนร่วมกับสิ่งที่ทำ เพราะถ้าเขาไม่ใช้สมอง เขาอาจจะรู้สึกว่าไม่ใช่งานของเขา
• สุดท้ายนี้ อยากให้พูดถึงคอนเสิร์ตอีกสักครั้งค่ะว่าใครที่สามารถเข้าไปชมได้บ้างคะ
เป็นฟรีคอนเสิร์ตค่ะ ชมฟรี แต่ถ้าใครอยากบริจาคก็บริจาค ไม่อยากบริจาคก็ไม่ว่ากัน เพราะใน 19 เพลงนี้เหมือนเราทำหนังสือธรรมะ แต่ทำออกมาผ่านเป็นเพลงแทน เราตั้งใจว่าในเรื่องเนื้อหาเป็นเรื่องของธรรมทานอยู่แล้ว อยากให้ไปถึงสักทุ่มครึ่งหรือก่อนหน้านั้นก็ได้ เพราะคอนเสิร์ตเริ่ม 2 ทุ่ม เพราะฉะนั้น ส้มอยากให้ไปแล้วสนุกๆ ถ้ามีคำแนะนำก็จะยิ่งดีเลยค่ะ เพื่อที่เราจะได้นำไปพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไปด้วยค่ะ
เรื่อง : อนงค์นาฏ ชนะกุล
ภาพ : ธัชกร กิจไชยภณ
“ส้มสนใจเรื่องธรรมะมานานแล้วค่ะ ตั้งแต่เด็กๆ เลยก็ว่าได้”
ศิลปินสาวนักร้อง เจ้าของชื่อ “ส้ม-อมรา ศิริพงษ์” บอกเล่าแซมรอยยิ้ม
“ตอนเด็กๆ พ่อส้มป่วย ส้มก็ไม่มีปัญญาพอจะช่วยให้เขามีความสุขได้ในตอนนั้น ก็หันไปพึ่งธรรมะ และเริ่มศึกษามานานพอสมควร มีทั้งไปบวชชีพราหมณ์แล้วก็ศึกษา แต่ก็เริ่มมาทางที่ถูกต้องจริงๆ ตอนที่ได้พบกับธรรมะสายพระกรรมฐานทางฝั่งธรรมยุต แต่ตามจริง ผู้ใหญ่ท่านก็บอกนะคะว่า ธรรมะพระพุทธเจ้าก็คือธรรมะพระพุทธเจ้า มีทางเดียวเท่านั้น แต่วิธีการพูดสื่อสารในคนแต่ละกลุ่ม อาจจะไม่เหมือนกัน”
เพราะสนใจใฝ่รู้ สุดท้ายเมื่อได้พบกับ “จิตตนคร” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จึงบุกเบิกโครงการสานต่อคำสอน ส่งสะท้อนเป็นคีตศิลป์ 19 บทเพลงแห่งธรรม...
• ขอทราบที่มาของคอนเสิร์ตครั้งนี้หน่อยค่ะว่าเป็นมาอย่างไร
จุดเริ่มต้นจริงๆ มาจากการที่ส้มมีโอกาสได้ไปบวชชีพราหมณ์ แล้วเราได้อ่านหนังสือของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เรื่อง “จิตตนคร” รู้สึกประทับใจมากๆ เนื่องจากหนังสือเล่มดังกล่าวเล่าถึงเรื่องราวชีวิตตั้งแต่เช้ายันเย็น ตั้งแต่เกิดจนตายของคนหนึ่งคน เราจึงคิดว่าน่าจะทำเผยแพร่ให้คนได้รู้เรื่องราวนี้ แต่ตอนแรกนั้นก็ยังไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน เพราะเงินก็ไม่มี เราไม่ได้เป็นนายทุน
อย่างไรก็ดี เนื่องจากเราเป็นอาจารย์พิเศษ สอนวิชา Project Management ที่มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้ชวนนักศึกษาว่า เราลองมาทำคอนเสิร์ตกึ่งละครเวทีกันดูสักครั้งมั้ย ก็เริ่มทำครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว แต่ปัญหาก็คือทาง ม.บูรพา ยังแต่งเพลงไม่ค่อยถนัด แต่เพราะเรามีเพื่อนหลายมหา’ลัย ก็เลยไปชวนนักศึกษาจาก ม.รังสิตบ้าง ม.มหิดล ม.ศิลปากรบ้าง มารวมตัวกัน อย่างส้มไปบอกว่า เด็ก ม.รังสิตช่วยพี่สัก 2 คนสิ พวกเขาก็ตั้งใจทำใหญ่เลย แล้วเพื่อนๆ ของพวกเขาก็เข้ามาถามว่าทำอะไร พอรู้ว่าแต่งเพลงกับพี่ส้ม เขาก็ขอทำด้วย
สุดท้ายก็เข้ามาเต็มไปหมด เป็นร้อยคน ช่วยกันแต่งเพลงขึ้นมา อันที่จริง แต่งทั้งหมด 30 เพลง แต่คัดมาแค่ 19 เพลงก่อน และ 19 เพลงนี้ก็จะมีหลากหลายแนว ไล่ตั้งแต่ป็อป ฮิปฮอป เมทัล แจ๊ส ร็อก คลาสสิก ส้มคิดว่ามันคือพลังของเยาวชนจริงๆ มันไม่ใช่แค่ส้ม ส้มเป็นแค่ผู้ริเริ่มคิดโครงการเฉยๆ แต่เยาวชนนักศึกษาเขามาแต่งเพลงช่วยกัน
สิ่งที่น่าดีใจมากๆ ในกระบวนการทำงานนี้ก็คือ ทุกครั้งที่เราทำงาน เราต้องบรีฟให้น้องๆ เขาฟังว่าเรากำลังทำอะไร นั่นเท่ากับว่าเขากำลังได้ศึกษาคำสอนสมเด็จพระสังฆราชผ่านการทำงานตรงนี้ไปด้วยในตัว แล้วมันก็เกิดความเปลี่ยนแปลงในแบบที่คาดไม่ถึงเหมือนกัน อย่างเช่นเด็กบางคนใช้ยาอยู่หรือขายยาอยู่ ยาเสพติดน่ะนะ ก็เลิกขายเลิกใช้ เขาคบเพื่อนที่ใช้ยา เขาก็เลิกคบ นี่คือผลลัพธ์ที่ได้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชท่านได้นำมาเขียนไว้ในเรื่อง “จิตตนคร” นั่นคือผลพวงดีๆ ที่เกิดขึ้นผ่านกระบวนการทำงานร่วมกันในโครงการนี้
• โครงการนี้มีชื่อเรียกอย่างไรไหมคะ
ชื่อ Capital Muse ค่ะ Capital นั้นคือเมือง ส่วน Muse เป็นรากศัพท์ภาษาละติน มาจากคำว่านามธรรม และเป็นรากฐานของคำว่า Music ศิลปะดนตรีมันเกิดจากนามธรรมซึ่งมีศิลปินเป็นผู้นำออกมานำเสนอ ถ้าไม่มีศิลปิน มันก็ยังเป็นนามธรรมอยู่อย่างนั้น ก็เลยใช้คำว่า Capital Muse ให้ความหมายถึง “จิตตนคร” ด้วย เพราะทุกอย่าง มันต้องมีจิตที่จะคิดสิ่งเหล่านั้นได้ แล้วนำเสนอออกมาจากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
และในสถานะที่ส้มก็เป็นศิลปินคนหนึ่ง เราอยากทำงานศิลปะ และถึงแม้ว่าศิลปินจะมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ก็ต้องนำเสนออย่างถูกต้อง ส้มเลยจำเป็นต้องไปขออนุญาต ไปหาครูบาอาจารย์ เพื่อทำในทางที่มันถูกต้องจริงๆ ก่อนที่จะนำเสนออะไรออกไป
• หมายถึงว่า ทุกสิ่งที่นำเสนอไปในบทเพลง ได้รับการตรวจสอบจากผู้รู้และครูบาอาจารย์ในเรื่องความถูกต้องใช่ไหมคะ
ใช่ค่ะ...โครงการนี้ได้รับประทานอนุญาตจากสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตฺโต รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร) ตั้งแต่แรกเริ่ม เพราะอยู่ๆ ส้มจะเอาคำสอนมาแต่งเพลงเองเลยไม่ได้ ต้องเอาไปให้พระท่านตรวจ อีกรูปหนึ่งคือ พระมหา ม.ร.ว.นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน (วัดบวรนิเวศวิหาร) ท่านก็ช่วยตรวจให้ บางทีเราทำงานอย่างนี้มันเครียด จะถูกหรือไม่ เราก็ให้เขาตรวจ ตอนแรกส้มใจร้อน อยากจะทำคอนเสิร์ตสวยๆ ทีเดียวให้เสร็จไปเลย แต่ไม่ได้ งานอย่างนี้มันเหมือนต้นไม้ มันไม่ใช่ต้นถั่ววิเศษที่คุณจะเอาโยนลงไปและบอกให้มันโตเลยไม่ได้ งานทุกอย่าง ทุกการเปลี่ยนแปลงค่อยๆ ทำ ค่อยเป็นค่อยไป
• พูดถึงบทเพลงทั้ง 19 เพลง เราร้องคนเดียวหรือว่ามีใครมาร่วมร้องด้วย
ไม่ได้ร้องคนเดียวค่ะ แต่จะมีน้องๆ จากเวทีนั่นนี่มาช่วยร้อง อย่างเช่น “เหมือนฝัน เดอะ วอยซ์”, “ตั๊ว เคพีเอ็น” แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันอยู่ที่งบประมาณด้วย งานที่ทำได้ทุกวันนี้ เพราะทุกคนมีความศรัทธา ส้มได้งบประมาณสนับสนุนสามแสนกว่าบาทเกือบสี่แสน ต้องขอบคุณทุกคนเลยค่ะว่าเขาศรัทธาจริงๆ คือศรัทธาในคำสอนของพระพุทธศาสนา ศรัทธาในองค์สมเด็จพระสังฆราชแล้วเขาอยากตอบแทนสิ่งที่ท่านได้ฝากไว้ให้กับสังคม ไม่อยากให้คำสอนของท่านสูญหายไป
• โดยส่วนตัว เราประทับใจอย่างไรในคำสอนของสมเด็จพระสังฆราช
ส้มว่าท่านสอนง่าย คือธรรมะเป็นของละเอียด ในมุมมองเรานะคือธรรมะเป็นของละเอียด การที่จะทำให้คนเข้าใจง่ายขึ้น เราต้องย่อย สมเด็จพระวันรัตท่านก็คงจะเห็นประโยชน์ของการทำสิ่งนี้ แทนที่จะเก็บธรรมะไว้แต่บนหิ้งสูงๆ เรานำลงมาย่อยให้มันจับต้องได้ ก็น่าจะดี
• อยากให้ยกตัวอย่างคำสอนของสมเด็จพระสังฆราชที่เราน้อมนำมาปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน
ส้มขอยกตัวอย่างจากเพลง “แสงส่องใจ” แล้วกันค่ะ เพราะส้มเห็นคนพยายามทำความดีเยอะ บางคนทำแล้วท้อ เพราะสังคมตอนนี้อยู่ในจุดที่มีการเปลี่ยนแปลง หาทิศทางที่ถูกต้อง มันอยู่ในจุดที่กำลังเปลี่ยนแปลง แสดงว่ามันยังไม่เลือก เพลงนี้มาจากพระนิพนธ์เรื่อง “แสงส่องใจ” สมเด็จพระสังฆราชที่ท่านบอกว่าคนทำดีส่วนใหญ่มักจะตั้งคำถามตัวเองว่าทำไม ทำดีแล้วไม่ได้ดี สมเด็จพระสังฆราชท่านแนะว่า เหมือนเราจุดเทียนตอนกลางวัน เราไม่เห็นแสงสว่างของเทียน อย่างดวงดาวตอนกลางวัน เราเห็นมันไหม ก็ไม่เห็น แต่เรารู้ว่ามันมี มันก็เหมือนกับว่าถ้ากลางวันเป็นช่วงชีวิตที่ดีของเรา เรามีโอกาสได้ทำความดี แต่ไม่ได้ดีสักที แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อไรชีวิตเราตกต่ำหรือมืดมนเหมือนเวลากลางคืน ตรงนั้นแหละความดีมันจะคอยให้แสงกับเราขึ้นมา ทำให้เราได้รับผลของความดี
• ไหนๆ ก็กล่าวถึงเพลงแล้ว อยากให้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทเพลงที่ทำอีกสักสองสามเพลงหน่อยค่ะ
นอกจาก “แสงส่องใจ” ยังมีเพลง Party Time เป็นแนวสกา เต้นกันยับเลย แต่ก็สวดกันยับเหมือนกัน คนเราเกิดมาลืมไปว่าชีวิตเราทุกข์ แต่เราก็ยังสนุกสนานลัลลา จนมองข้ามความทุกข์ตรงนี้ไป Party Time จะพูดเกริ่นให้เห็นความสนุกก่อนแล้วได้ความรู้ อีกเพลงชื่อว่า Gift Box กล่องของขวัญ พูดถึงตัวละครชื่อจิตราช โดยพยายามสื่อความว่า เราทุกคนมีร่างกายที่พ่อแม่ให้มา เปรียบเสมือนกล่อง มันจะสูงต่ำดำขาว มันก็คือกล่อง ส่วนเสื้อผ้า ไม่ว่าจะสีอะไร มันคือหีบห่อ แต่จริงๆ ชีวิตเราคือจิตใจที่จะผลักดันให้เราไปทำอะไรก็ได้ ไม่ว่าดีหรือเลว จิตตรงนี้สำคัญมาก นี่เป็นเพลงแนวคลาสสิกค่อนข้างป็อปหน่อย
เพลงต่อมา ชื่อเพลงว่า “บารมี” พูดถึงพระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมาสิบชาติ กว่าจะได้มาเป็นพระพุทธเจ้า เราทุกคนต้องมีบารมีพอที่จะได้เกิดเป็นคน เช่น เรามีเพื่อนเป็นคู่บารมี จะชักนำไปทำดีทำเลว เพลงนี้เป็นฮิปฮอป แจ๊ส อีกเพลงชื่อว่า Hidden Agenda พูดถึงตัวละครที่ชื่อว่า “สมุทัย” (เหตุเกิดทุกข์) ที่ชอบดึงเราไปทำอะไรแย่ๆ บารมีก็บอกว่าอย่าเลย แต่คนที่ตัดสินใจจริงๆ ว่าจะทำหรือไม่ทำ คือจิตราช เพลงนี้เป็นแนวร็อก
นอกจากนี้ยังมีเพลง “The Doors ประตูปรารถนา” ประตู 6 บานซึ่งได้แก่อายตนะทั้งหก (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เป็นตัวเปิดให้โลภะ โทสะ โมหะ เข้ามา พอมันเข้ามาสิงตัวจิตราชให้ทำโน่นนี่นั่น ถ้าเราทำตาม โอกาสที่เราจะทำพลาดในสิ่งนั้นๆ มีมากถึง 99% เพลงนี้ทำเป็นแจ๊ส ขณะที่เพลง “โซ่” ซึ่งเป็นแนวอาร์แอนด์บี จะถ่ายทอดว่า แม้เราทุกคนจะรู้ว่าอะไรคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่เราหลุดพ้นจากมันไปได้ไหม ยังไม่ได้ เพราะถูกโซ่ล่ามอยู่ แล้วคนที่ถือปลายโซ่คือสมุทัย
และเมื่อเราติดอยู่ในโซ่ เราก็ต้องมีปัญหา ทุกคนต้องทุกข์ สิ่งที่ทำให้เรามีความสุขได้บ้างคือความรักความเมตตา เราจึงโหยหาความรัก ถามเด็กมหา’ลัยว่าความรักคืออะไร ไม่มีใครตอบได้ เพราะความรักที่แท้จริงคือความเมตตา ซึ่งเป็นที่มาของเพลง “น้ำพรมใจ” คำนี้เป็นคำของสมเด็จพระสังฆราช ท่านสอนว่าคนเรามีความทุกข์ แต่ถ้ามีความรักเมตตาเป็นหยดน้ำมาสักหยด จิตใจก็ได้ชุ่มชื้นขึ้นมา เพลงน้ำพรมใจทำเป็นแนวแจ๊ส
ยกตัวอย่างอีกสักเพลง ชื่อเพลง “ว่าว” สมเด็จพระสังฆราชท่านบอกว่าเราทุกคนมีร่างกายอยู่ตรงนี้ แต่บางคนจิตใจล่องลอย ใจเหมือนว่าวและมีเชือกบางๆ เป็นสายใยผูกไว้ ว่าวอาจจะลอยไปอนาคต 20 ปีข้างหน้าก็ได้ นั่งอยู่ตรงนี้และจิตใจไปไหนก็ไม่รู้ ถ้าตอนนั้นอารมณ์เราร้อน ก็จะเหมือนว่าวถูกดูดลงนรก แต่ถ้าเรามีอารมณ์เย็น ก็คล้ายลอยไปสู่สวรรค์ แล้วทั้งวัน เราก็จะวนเวียนอยู่กับนรกและสวรรค์อย่างนี้ มันอยู่ในวัฏสงสารอย่างนี้แหละ แต่คนที่ฉลาดที่สุดคือไปทางสายกลาง แล้วก็นิพพานไป เพลงนี้ทำเป็นคลาสสิกเพราะๆ (ยิ้ม)
• อันนี้ถามเป็นความเห็นนะคะ ทุกวันนี้มีข่าวคราวเรื่องไม่ดีไม่งามในแวดวงสงฆ์ค่อนข้างบ่อย มันกระทบต่อศรัทธาในธรรมะของเราหรือไม่อย่างไร
ถ้าถามกลุ่มวัยรุ่นเขาก็จะส่ายหัว เพราะว่าศาสนาเหมือนองค์กรหนึ่งองค์กร ในองค์กรนั้นมีคนมากมาย แล้วคนในองค์กรนั้นก็มีส่วนทำให้เกิดความเสื่อม มีแฝงอยู่ในนั้น อย่างไรก็ตาม ธรรมะที่บริสุทธิ์ไม่ได้อยู่ที่บุคคล ปัญหาสังคมตอนนี้เพราะมีบุคคลที่เข้ามาแทรกใต้ร่มพระศาสนา ทำให้เกิดความเสื่อม ถามว่าศาสนาเสื่อมไหม เปล่าเลย แต่ตัวบุคคลต่างหากค่ะที่เสื่อม
• ถามถึงความคาดหวังในการนำเอาคำสอนของสมเด็จพระสังฆราชมาแต่งเพลง ว่าอยากจะให้เกิดผลลัพธ์อย่างไรบ้าง
พูดจากใจเลยนะคะ ไม่ได้คาดหวังอะไรเลย เราก็ถือว่าเราได้ทำแล้วในฐานะของบุคคลของประเทศชาติคนหนึ่ง นั่นพอแล้ว เพราะไม่รู้ว่าจะคาดหวังไปทำไม อย่างน้องคนนั้นที่เข้ามาร่วมโครงการของเรา เขาเคยขายยาแล้วเขาเลิกขาย เลิกเสพ ส้มไม่ได้ไปบอกเขา แต่เพราะเขารู้ผิดรู้ถูกแล้ว เขาก็เลิกของเขาเอง
อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ ส้มแบ่งเป็นสองฝั่ง คือฝั่งส่วนตัวไม่ได้คาดหวังอะไร แต่ในฝั่งของผู้จัดการบริหารโครงการซึ่งเหมือนลูกของเรา เราก็อยากให้เขาโตไปเหมือนกัน อย่างตอนที่ไปซ้อมที่ห้องประชุมของมหาวิทยาลัยรังสิต บังเอิญว่าเพรสซิเดนต์ของยูนนาน ยูนิเวอร์ซิตี้ มาชมงาน เขาก็มาดูเราซ้อมจนจบ ประมาณครึ่งชัวโมงกว่าๆ แล้วเดินเข้ามาถามลูกศิษย์เราว่าใครเป็นคนทำ เด็กก็ชี้มาหาเรา ท่านก็บอกว่าวันหนึ่งข้างหน้า ไปเล่นที่เมืองจีนบ้างได้ไหม ส้มก็ถามท่านกลับว่า ส่วนใหญ่เป็นเพลงภาษาไทยหมดเลย จะฟังเราออกหรือเปล่า ท่านบอกว่าใส่ซับไตเติลก็ได้ เพราะการแสดงมันก็มี ส้มก็คิดว่าน่าสนใจ
อีกอย่าง เราก็กำลังจะเปิดประชาคมอาเซียน ส้มเห็นว่ามันเป็นโครงการศิลปะกระชับมิตรมันสามารถไปได้ทั่วอาเซียน เพราะส่วนหนึ่งก็มีพระพุทธศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว มันก็สามารถกระชับมิตรได้ เหมือนกับที่ส้มใช้คำว่าโครงการ เป็นโครงการศิลปะกระชับมิตรผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ การเล่นดนตรีหรือการทำศิลปะไม่มีเด็กที่ไหนต้องตีกัน การเล่นดนตรีคือการสร้างสิ่งที่สวยงาม เราเลยเห็นประโยชน์ของศิลปะตรงนี้ เลยเขียนโครงการว่าถ้าเราจะทำเป็นคอนเสิร์ตย่อยๆ ตามมหาวิทยาลัยทุกครั้งที่ทีมย่อยๆ ได้เข้าไปร่วมงามกับทีมใหม่ๆ แสดงว่าทีมใหม่เขาได้ศึกษาพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชผ่านการทำงาน
เราคิดว่าน่าจะมีเยาวชนที่แยกออกว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด ส้มเลยใช้โครงการคร่าวๆ ว่าปฏิวัติหัวใจวัยรุ่นให้เขาเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง ตัวโครงการนี้ปีที่แล้วเป็นแค่จุดเริ่ม ตอนนี้เป็นตอนที่ 2 เราจะนำมาใช้เพื่อขยายผลไปสู่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ ดังนั้น คอนเสิร์ตครั้งนี้วันที่ 19 เราจะบันทึก 19 เพลงนี้ ถ้ามีโอกาสเราจะทำเป็น Capital Muse Project ตอนจิตตนคร เวอร์ชั่นมหาวิทยาลัยโน่นนี่นั่น เราจะให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมด้วย เขาจะได้มีส่วนร่วมกับสิ่งที่ทำ เพราะถ้าเขาไม่ใช้สมอง เขาอาจจะรู้สึกว่าไม่ใช่งานของเขา
• สุดท้ายนี้ อยากให้พูดถึงคอนเสิร์ตอีกสักครั้งค่ะว่าใครที่สามารถเข้าไปชมได้บ้างคะ
เป็นฟรีคอนเสิร์ตค่ะ ชมฟรี แต่ถ้าใครอยากบริจาคก็บริจาค ไม่อยากบริจาคก็ไม่ว่ากัน เพราะใน 19 เพลงนี้เหมือนเราทำหนังสือธรรมะ แต่ทำออกมาผ่านเป็นเพลงแทน เราตั้งใจว่าในเรื่องเนื้อหาเป็นเรื่องของธรรมทานอยู่แล้ว อยากให้ไปถึงสักทุ่มครึ่งหรือก่อนหน้านั้นก็ได้ เพราะคอนเสิร์ตเริ่ม 2 ทุ่ม เพราะฉะนั้น ส้มอยากให้ไปแล้วสนุกๆ ถ้ามีคำแนะนำก็จะยิ่งดีเลยค่ะ เพื่อที่เราจะได้นำไปพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไปด้วยค่ะ
ด้วยความขอบพระคุณ จากใจ “ส้ม อมรา” สำหรับทุกความเมตตาและกรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลโครงการ 1.สมเด็จพระวันรัต รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร 2.สำนักเลขานุการประจำสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 3.พระมหา ม.ร.ว.นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน ตรวจเนื้อหาบทเพลง 4.หม่อมราชวงศ์จิราคม กิตติยากร ประธานโครงการกิตติมศักดิ์ 5.อาจารย์เด่น อยู่ประเสริฐ คณบดีแห่งวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต และนักเรียน สนับสนุนการสร้างชิ้นงาน 6.คณบดีแห่งดนตรีและการแสดงมหาวิทยาลัยบูรพา และนักเรียน สนับสนุนการสร้างชิ้นงาน 7.ธนาคารออมสิน สนับสนุนงบประมาณ 8.กระทรวงวัฒนธรรม สนับสนุนภายใต้กรมการศาสนา 9.ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นเจ้าภาพในพื้นที่การจัดงานวันที่ 19 พ.ย.นี้ ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร 10.อาจารย์พลวิทย์ โอภาพันธุ์ และทีมงาน รวมทั้งนักศึกษา เป็นผู้เรียบเรียงดนตรีในครั้งนี้ 11.อาจารย์ชัยบัณฑิต พืชผลทรัพย์ หรือ “พิซซ่า วงพราว” ควบคุมการผลิต 12.ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่หลายท่านในมูลนิธิศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร 13.นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิต / มหิดล / ศิลปากร / บูรพา ช่วยกันเรียบเรียงดนตรี |
เรื่อง : อนงค์นาฏ ชนะกุล
ภาพ : ธัชกร กิจไชยภณ