แม้ว่า ณ วันนี้เขาทั้งคู่จะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจกันแล้วแต่ทว่าพวกเขานั้นก็เคยมีช่วงที่ล้มเหลวและต้องก้าวผ่านช่วงเวลาที่แย่ๆ มาก่อนเช่นกัน
แพ็ค-วุฒิกานต์ วงศ์ดีประสิทธิ์ และ อูน-ชนิสรา โททอง คู่รักนักธุรกิจวัยเพียง 20 ปีต้นๆ คือบุคคลที่เรากำลังกล่าวถึง
ตั้งแต่ที่สำเร็จการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยทั้งคู่ก็เริ่มสานฝันที่เคยมีตั้งแต่ตอนเรียนว่าจะทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารสุขภาพเพื่อขึ้นห้างสรรพสินค้าร่วมกันให้ได้
ถึงแม้ว่าแรกๆ ที่เริ่มต้นจะต้องเจอกับการปฏิเสธจากร้านค้าต่างๆ เพราะด้วยความที่เมื่อสองสามปีก่อนกระแสสุขภาพยังไม่ได้การตอบรับมากเท่าไหร่นัก แต่ไม่นานเขาก็ได้พัฒนาสินค้าจนสร้างแบรนด์นามว่า Diamondgrains ที่มีผลิตภัณฑ์ชูโรงอย่าง “กราโนล่า” ออกมาจนเป็นที่รู้จักในโลกออนไลน์ ซึ่งเมื่อไม่กี่เดือนมานี้พวกเขาก็ได้นำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขึ้นห้างฯ ตามปณิธานที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ
นับว่าแบรนด์ Diamondgrains คือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพวกเขาอย่างยิ่ง เพราะตอนนี้มีทั้งคนรู้จัก มีฐานลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น มีรายได้และยอดขายมากมายมหาศาล หนำซ้ำพวกเขายังมีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำอีกด้วย
เราเดินทางไปค้นหาสูตรลับความสำเร็จของพวกเขากันดีกว่า เพราะความสำเร็จมันอยู่ที่ “กล้าที่จะคิดต่าง กล้าที่จะลงมือทำ” เพราะ “ยิ่งล้มเหลวมากเราก็จะยิ่งรู้เยอะว่าอะไรที่ไม่ควรจะทำ” เหมือนดังที่คู่รักนักธุรกิจรุ่นใหม่ได้กล่าวไว้กับเรานั่นเอง
• ย้อนเล่าให้ฟังหน่อยค่ะเราเรียนจบอะไรมาถึงได้ทำธุรกิจด้วยกันได้
แพ็ค : ส่วนตัวผมเรียนจบสาขา Business and Economics จากประเทศจีนมาครับ (ยิ้ม)
อูน : ส่วนอูนเรียนนิเทศศาสตร์ อินเตอร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาค่ะ เราเรียนปกติเหมือนเด็กทั่วๆ ไปเลย (ยิ้ม)
ช่วงตอนที่อูนเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปี 2 ปี 3 ตอนนั้นอูนเริ่มคิดแล้วว่าอูนกับพี่แพ็ค เราอยากทำธุรกิจด้วยกันแต่เราก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี เราคิดกันไว้แล้วว่าเราอยากลองอะไรที่เป็นอาหารเพราะว่าเราสองคนชอบกิน (ยิ้ม) อย่างถ้าให้เราไปทำธุรกิจเกี่ยวกับเสื้อผ้า เรานี่ไม่รู้เรื่องเลยเพราะอูนไม่ได้อินกับเรื่องความสวยความงามเท่าไหร่ เลยคิดว่าเราน่าจะทำอะไรที่ตัวเองถนัดดีกว่า ซึ่งเราถนัดเรื่องของกินก็เลยมาทางสายกินดีกว่า
ตอนที่เราเริ่มมาทำเรื่องของกิน เราก็ได้สังเกตตลาดแล้วนะคะว่าตลาดไหนยังพอมีช่องทาง แล้วคู่แข่งยังไม่เยอะมาก ตอนนั้นเราเลยมองเห็นธุรกิจสุขภาพค่ะ
• ธุรกิจอาหารสุขภาพคือสิ่งที่เราเลือกทำ ?? แล้วทำไมต้องเจาะกลุ่มสุขภาพ เพราะถ้าย้อนกลับไปสองสามปีก่อนเรื่องสุขภาพยังไม่บูมเท่าไหร่เลยในช่วงนั้น
อูน : ตอนที่คิดว่าอยากจะทำอาหาร ตอนนั้นมันกว้างมากว่าจะเป็นอาหารสไตล์ไหน คิดไปคิดมาก็เริ่มแคบลงว่า เราจะทำอาหารนะแล้วก็ต้องเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ แล้วก็จำกัดให้แคบลงว่าต้องเป็นอาหารที่ไม่มีแป้งนะ แล้วเราก็ได้ไอเดียขึ้นมา (ยิ้ม) อันนี้เป็นความคิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยปี 3 เลยนะคะ ว่าเราจะทำผลิตภัณฑ์ธัญพืชอบกรอบที่ไม่ใส่แป้ง ตอนนั้นอูนคิดเลยค่ะว่ามันต้องเป็นจุดขายของเรา อูนลงมือทำเองเลย ซึ่งช่วงนั้นพี่แพ็คเองก็ยังเรียนอยู่ที่จีน แต่พอปิดเทอมกลับมาเจอกันเราก็จะชวนกันไปดูตามงานว่าที่ไหนมีผลิตภัณฑ์แปลกๆ อะไรบ้าง พอเราศึกษาลองทำไปทำมาก็ได้เป็นบาร์ธัญพืชอบแบบไร้แป้งขึ้นมา
แพ็ค : ผมว่าถ้าเราไปแข่งกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่ บริษัทเล็กการแข่งขันมันค่อนข้างสูงมาก เรามองว่าเราทำได้จริงแต่กว่าจะเข้าไปถึงมันลำบาก เราต้องใช้งบประมาณมหาศาล ผมกับอูนเลยมองว่าเรามาลงทุนอะไรที่มันจะได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด แล้วความเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่เราสามารถรับได้ ก็ได้มาเจอตลาดสุขภาพ ซึ่งในความคิดของเราทั้งสองคนมองว่ามันไม่ใช่เทรนด์ ไม่ใช่กระแสเพราะยังไงคนก็ต้องรักสุขภาพตัวเองอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ามันยังไม่ได้มากขนาดนั้น ผมเลยมองว่าจุดนี้แหละซึ่งการแข่งขันมันยังไม่สูงมากด้วย บริษัทใหญ่ก็ยังไม่ค่อยทำกัน ดังนั้นมันก็จะไม่ยากมาก ซึ่งถ้าเราไปอยู่ในตลาดนี้ก็เท่ากับเราตัวโตอะไรทำนองนี้ครับ (ยิ้ม) เราต้องดูว่าเราจะอยู่จุดไหนได้บ้าง อย่างพวกขนมกรุบกรอบ ขนมทานเล่นเราก็ต้องไปแข่งกับเจ๊ใหญ่ๆ ซึ่งตัวเราเล็กนิดเดียว แป๊บเดียวเราก็ไปแล้ว
• ทำไมเราถึงตัดสินใจที่จะทำธุรกิจส่วนตัว เราไม่อยากทำงานในสายงานที่เราเรียนมาบ้างเหรอ
อูน : อูนเรียนนิเทศศาสตร์มาก็จริงแต่จะไม่ได้เกี่ยวอะไรกับทางสายข่าว จะเป็นนิเทศศาสตร์ที่เกี่ยวกับการตลาดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทุกๆ ปีจะมีลงตลาด ซึ่งอูนชอบ อูนมองเห็นเสน่ห์ของการตลาด และพี่แพ็คก็เป็นในส่วนของการทำบัญชี การคำนวณ การบริหารการเงิน อูนมองว่ามันน่าจะเป็นส่วนผสมที่ลงตัวถ้าเราจะทำธุรกิจ เราคิดว่าเราทำได้ เราต้องลอง อีกอย่างพี่แพ็คจะไม่ชอบในการทำงานประจำอยู่แล้วด้วยค่ะ
• เป็นเพราะเราคลุกคลีอยู่ในครอบครัวที่ทำธุรกิจมาด้วยหรือเปล่า เราถึงชอบในการทำธุรกิจ
แพ็ค : ใช่ครับพ่อกับแม่ผมทำธุรกิจ เราก็จะได้เห็นตั้งแต่เล็กๆ ว่าท่านทำงานเราก็ได้มุมมองตรงนี้จากท่านด้วย
อูน : ส่วนอูน อูนได้เห็นชีวิตของพ่อกับแม่ อูนเห็นท่านทำงานโดยที่เขาไม่เคยมาบ่นหรือพูดเลยว่าวันจันทร์อีกแล้วเพราะเขาทำงานส่วนตัว มันเลยไม่มีอารมณ์ให้เราเห็นว่าท่านไม่อยากไปทำงาน จะไม่เคยได้ยินจากปาก อย่างพ่ออูนท่านจะชอบทำงานมากอย่างตอนที่ไปส่งอูนที่อเมริกา พ่ออูนก็ไม่มีอารมณ์อยากเที่ยวเลยนะคะ จะมีแต่บอกว่าขอเลื่อนตั๋วกลับไปทำงานได้ไหม (หัวเราะ) เราเลยเห็นเสน่ห์บางอย่างของการทำงาน เพราะพ่อกับแม่อูนท่านทำงานอย่างมีความสุข เราก็เลยชื่นชอบการทำงานไปในตัว (ยิ้ม)
• ไม่คิดเรื่องล้มเหลวหรือขาดทุนบ้างเหรอ
แพ็ค : ผมไม่คิดเลยครับจะคิดแค่ว่าเราทำไปเรื่อยๆ ยังไงเราก็ต้องทำได้ แต่ว่าส่วนหนึ่งเราก็เข้าใจนะว่าอุปสรรคมันจะต้องเยอะ แต่เราจะพยายามมองข้ามๆ ไป จะบอกกับตัวเองเสมอว่าอย่าไปมองถึงจุดนั้นเพราะถ้าเรามองถึงจุดนั้นเราก็จะกลัวกับอุปสรรคที่เข้ามา ซึ่งถ้าเราไม่ไปจดจ่ออยู่กับอุปสรรคทุกอย่างมันก็จะผ่านไปได้ครับ (ยิ้ม)
อูน : อูนก็ไม่เคยคิดเลยนะคะ (ยิ้ม) แต่ถ้าถามว่ามีปัญหาไหมมันมีเข้ามาเยอะมาก (ลากเสียงยาว)
• มีปัญหาเยอะมากนี่ยังไงกันคะ เจอปัญหาอะไรมาบ้าง
อูน : เริ่มแรกที่เราทำบาร์ธัญพืชไร้แป้งตอนนั้นรสชาติได้แล้วนะแต่กระบวนการผลิตมันยากมาก มันไม่เหมือนกับผลิตภัณฑ์ที่มีแป้งผสมเพราะมันจะร่วน ไม่เกาะตัวเป็นรูปทรง ตอนนั้นคิดแล้วว่าเราจะทำยังไงดีเพราะโรงงานก็เสร็จแล้วด้วย ซึ่งโรงงานเกิดขึ้นได้เพราะแฟนอูนไปจัดการเตรียมเรื่องโรงงานไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
แพ็ค : ผมเตรียมโรงงานไว้ ซึ่งจริงๆ เราสองคนก็ไม่รู้หรอกว่ามันจะไปได้ไกลขนาดไหน แต่เรามีความฝันว่าเราจะทำอาหารจุดประสงค์ก็เพื่อเข้าห้างสรรพสินค้าให้ได้ แน่นอนว่ามันจะต้องมีมาตรฐานที่ถูกต้อง มี อย. เราเลยทำโรงงานเตรียมไว้ ทุกอย่างเสร็จ พอโรงงานใกล้เสร็จแล้ว มันกลับมีปัญหาว่าตัวบาร์ธัญพืชที่เราจะทำขายมันไม่สามารถขึ้นรูปได้ ประกอบกับเครื่องจักรก็หายากมากถ้าจะมานั่งพัฒนากันอีกก็ต้องรอเวลานานเป็นปี ซึ่งเรารอไม่ไหวแล้ว ตอนนั้นเลยคิดว่าระหว่างที่รอเครื่องจักรเราทำผลิตภัณฑ์อื่นก่อนดีไหม
อูน : ตอนนั้นอูนเลยทำคุกกี้ธัญพืชแบบไร้แป้งเป็นชิ้นๆ ขึ้นมาก่อน ตอนนั้นที่โรงงานมีอูนกับพี่แพ็คสองคน เราก็ช่วยกันทำ พอทำเสร็จปุ๊บ เอ้ย!! มันอร่อยก็เลยเริ่มไปติดต่อตามร้านกาแฟ ไปเสนอขายสินค้าให้เขาแต่เนื่องจากตอนนั้นยังไม่มีใครรู้จักเราเลย เราใหม่มากๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เราทำจะเรียกว่าอะไรก็ยังไม่รู้ ยังไม่ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเท่าไหร่เลยค่ะ ย้อนกลับไปตอนนั้นคนก็คงงงๆ ว่ามันคืออะไร ทำไมต้องไม่มีแป้ง จะกินกับอะไร ต้องกินตอนไหน โดนปฏิเสธมาเยอะมาก (ลากเสียงยาว)
เราจะเจอคำถามที่ถามว่า “มันแข็งไปไหม” “มันจะดีเหรอ” เพราะตลาดตอนนั้นเป็นอารมณ์ประมาณว่าความอร่อยต้องมาก่อน หน้าตาขนมก็ต้องเยิ้มๆ ต้องมีช็อกโกแลตชิ้นใหญ่ๆ ส่วนของเรามันเป็นธัญพืช 7 ชนิดที่เห็นแล้วดูจืด มันจะอร่อยเหรออะไรแบบนี้ค่ะ ตอนนั้นอูนคิดไม่ออกแล้วว่าจะทำยังไงดี ยอมรับว่าความคิดเริ่มตันแล้วเหมือนกันค่ะ (ยิ้ม) เพราะก็เปลี่ยนจากบาร์มาแล้ว มาเป็นแผ่นก็แล้ว ก็ยังไม่เวิร์ก ตอนนั้นโรงงานก็เริ่มเสร็จหมดแล้ว ทีนี้ช่วงรอยต่อระหว่างที่จะมาเป็น Diamondgrains ผลิตภัณฑ์ตัวปัจจุบันที่ทำอยู่ตอนนี้ ระหว่างนั้นเราก็เริ่มมองเห็นปัญหาว่าเราไม่สามารถยืนอยู่ในตลาดแบบนี้ได้ แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดว่าเราจะทำไม่ได้อีกเลย ไม่ได้มองว่ามันจะต้องจบ อูนจะมองแค่ว่าจะทำยังไงดีให้มันได้ พอเห็นปัญหาปุ๊บเราก็เริ่มหาช่องทางว่ามันมีอะไรบ้างที่จะสามารถจะทำได้บ้าง
ในระหว่างที่เราลองนู่นลองนี่ไปเรื่อยๆ เราเลยลองติดต่อบริษัททัวร์ไป ซึ่งเรามองว่าบริษัททัวร์ความต้องการของ Snack Box ก็ค่อนข้างเยอะจะเป็นอารมณ์ที่ว่าเราจะมองหาว่าตลาดไหนต้องการเราบ้าง
ตอนนั้นเราเลยโพสต์ลงออนไลน์เลยว่าเรารับทำ Snack Box ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งตรงนี้เราอยากได้ยินจากลูกค้าว่าเขาต้องการอะไร อูนก็ทำแล้วเราก็คุย ดิวงานกันไปเรื่อยๆ สุดท้ายเราก็โดนบริษัทใหญ่ๆ ตัดหน้าไปอยู่ดี เพราะว่าทัวร์ใหญ่เขาก็จะมีสัมปทานที่ต่อกันมาอยู่แล้ว ซึ่งตอนนั้นที่เราทำเราก็รู้แหละว่ามันจะมีตรงนี้ แต่ที่ทำเพราะเราคิดว่าถ้ามีโอกาสเราก็จะต้องคว้า อูนกับพี่แพ็คจะคิดเสมอค่ะว่าแม้มันจะเป็นโอกาสที่เล็กเราก็ต้องเอา เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่ามันอาจจะเป็นช่องทางของการเบิกทางอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นหรือเปล่า
• แล้วเกิดเป็นผลิตภัณฑ์กราโนล่า ในนามของแบรนด์ Diamondgrains ได้อย่างไร
อูน : อูนเริ่มไปปรึกษาทางผู้ใหญ่ ลองเอาผลิตภัณฑ์ไปให้เขาดู เขาเลยเสนอแนะมาว่าลองทำเป็นอะไรที่เคี้ยวง่ายกว่านี้ดูไหม หาอะไรที่สะดวกแล้วก็แพกเกจที่สามารถเข้าห้างฯ ได้ ตอนแรกเลยได้ทำออกมาเป็นอีกตัวหนึ่งเป็นแครกเกอร์
เราลองเล่นกับธัญพืชมาค่อนข้างนานก่อนที่จะมาเป็นกราโนล่า เราทำออกมาแล้วเราคิดเลยว่ายังไงมันก็ต้องขายได้ จากนั้นเราก็เลยไปหาบริษัทที่เขารับทำแพกเกจจิ้ง เราทำแพกเกจจิ้งจริงจังมาก ซึ่งเรารอแพกเกจจิ้งประมาณ 2 เดือนได้ มันก็เลยเป็นประมาณว่าเราจะต้องรออีกแล้วเหรอ
เราก็เริ่มมีประสบการณ์มาแล้วเนอะว่าบางทีสินค้าที่เราคิดว่าดี ไม่ได้หมายความว่าเราจะขายได้ถ้าคนไม่รู้จัก ตอนนั้นก็เริ่มคิดแล้วซึ่งตอนนั้นเราใช้ชื่อว่า Diamondgrains แล้วนะ แต่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ตัวปัจจุบัน
อูนมานั่งคิดว่าถ้าเป็น Diamondgrains เราจะต้องทำยังไงให้ตลาดรู้จักก่อน เหมือนเป็นพรีเซลล์ออกไปก่อนโดยไม่จำเป็นต้องรอตัวแครกเกอร์ ขอแค่ให้ตลาดเริ่มมีความรู้ก่อน อูนก็เริ่มไปคุยกับเพื่อนเพราะเพื่อนอูนอยู่ในสายเฮลตี้ เขาก็เลยแนะนำพี่คนหนึ่งมาชื่อว่าพี่เมย์ (Mshappydiet) ซึ่งอูนตกใจมากเพราะอูนไม่เคยรู้จักตลาดอาหารคลีนๆ มาก่อน จนเราได้ไปเจอพี่เขาเราก็เริ่มรู้จักคนนั้น คนนี้ เริ่มรู้จักแบรนด์นั้นแบรนด์นี้ ซึ่งเราไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันมีกลุ่มนี้อยู่
จากนั้นเราก็เริ่มศึกษาวัตถุดิบอีกทีหนึ่งว่า เขากินอะไรกันบ้าง มีวัตถุดิบอะไรบ้างที่กินได้ กินไม่ได้ มันตื่นเต้นมากๆ เพราะตอนแรกเราคิดว่าเรามีสินค้าที่ดี แต่เราไม่เคยเจอคนที่เขาต้องการสินค้าของเรา แล้วพอเราไปเจอกลุ่มนี้กลับกลายเป็นวัตถุดิบทุกอย่างที่เขากินได้ คือเรามีหมดเลย แล้วอะไรที่เขากินไม่ได้อูนก็จะไม่ใส่อยู่แล้ว เราดูจากกลุ่มลูกค้าเลย คือเราจะเปลี่ยนจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์หันมาศึกษาที่กลุ่มลูกค้าแทน
สิ่งที่อูนเห็นคือว่ามื้อเช้าเขากว่าจะกินกันได้คือนานมาก ต้องชั่ง ตวง วัด เหมือนบางคนก็จะทำอันนี้เตรียมไว้เพื่อที่จะไปปนกับอันนั้นที่กินข้างนอก เพราะข้างนอกเขาไม่รู้ว่าแม่ค้าใส่อะไรบ้าง ซึ่งตรงนี้เราเลยมองว่าเราขอเป็นส่วนหนึ่งของเขา แค่มื้อเดียว ที่จะไปอำนวยความสะดวกให้กับเขาได้ในแต่ละวันก็เลยมองเห็น กราโนล่า ซึ่งจะบอกว่าก่อนที่อูนจะทำผลิตภัณฑ์ธัญพืชแบบแท่งขึ้นมา อูนทำกราโนล่าขึ้นมาก่อนแต่ยังไม่ได้คิดที่จะขาย เพราะเรามองว่ากราโนล่า ซีเรียลในตลาดมีเยอะมากแล้ว ถ้าทำไปก็คงขายไม่ได้
พอคิดได้ปุ๊บอูนก็มองแล้วหยิบความถนัดของเราขึ้นมาใช้แต่ทำให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เราชั่งให้เลย วัดปริมาณทุกอย่าง อยู่ในแพกเกจที่คิดว่าเขาไม่ต้องล้าง พกไปไหนก็ได้ไม่ต้องกลัวหก ทานทีเดียวจบไม่ต้องเหลือทิ้ง เปลี่ยนรสได้ไม่ต้องกลัวเบื่อ คือเราก็มองความต้องการ 1 2 3 ถึง 10 ข้อว่ามีอะไรบ้าง แล้วตอบโจทย์ตรงนั้นให้ได้ครบที่สุด ก็เลยคิดว่า กราโนล่าน่าจะเหมาะสมกับการเป็นมื้อเช้าเพราะว่าถ้าเราทำเป็นบาร์แป๊บเดียวคนก็น่าจะเบื่อ แต่ถ้าเป็นกราโนล่าปุ๊บ ลูกค้าสามารถทานกับสลัด ทานกับนม ทานกับโยเกิร์ต มันสามารถสร้างสรรค์เมนูให้ไม่เหมือนกันได้ในแต่ละวัน ซึ่งอูนไม่อยากให้ลูกค้าเบื่อก็ทำออกมาเลย 7 รส (หัวเราะ)
• จากที่ล้มเหลวด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆ มามากมาย หลังจากที่เราเปิดตัวผลิตภัณฑ์ชูโรงด้วยขนมสุขภาพอย่างกราโนล่าแล้ว ผลตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง
อูน : ค่อนข้างไวมาก เพราะก่อนหน้านั้นที่เราจะไม่มีตัวไหนที่ขายออกได้รวดเร็วแบบนี้เลย แต่ตัวกราโนล่า Diamondgrains ต้องขอบคุณลูกค้าคือลูกค้าเป็นกระบอกเสียงของ Diamondgrains อูนให้ 80 เปอร์เซ็นต์เลย เราได้กลับมาเพราะว่าลูกค้าล้วนๆ อูนจะแคร์ลูกค้ามากๆ ซึ่งบางทีเราก็แคร์เกินไป แต่เรารู้สึกว่าเราอยู่ตรงจุดนี้ได้เพราะว่าเราได้รับโอกาสจากลูกค้า เพราะลูกค้าให้โอกาสเรา เขาไว้ใจที่จะจ่ายเงินมาก่อนโดยที่ยังไม่ได้ของ ยอมรอไปรษณีย์เพื่อที่จะซื้อสินค้าเรา อีกอย่างตอนแรกๆ ที่เขาได้ไปเขาก็เอาไปแชร์เท่ากับเขาเอาไปแชร์ให้หนึ่งคนยอดเราก็คูณสอง ถ้าสองคนเอาไปแชร์ให้เป็นสี่คนก็กลายเป็นคูณสี่ อูนเลยมองว่าเพราะลูกค้าเลยทำให้เราแข็งแกร่งเพราะเรามีฐานลูกค้าที่น่ารัก มันกลายเป็นว่าเรามีฐานลูกค้าตรงนี้ไว้อยู่แล้ว เวลาคนอื่นมาคุยกับฐานลูกค้าเราเขาก็จะเชื่อว่าเราจะมอบสินค้าที่ดีให้กับลูกค้าได้ ซึ่งตอนนี้ก็รู้สึกดีใจมาก
• จะว่าไปแล้วคุณทั้งคู่ทำธุรกิจกันตั้งแต่อายุยังน้อยเลย เราได้ไปปรึกษาคุณพ่อคุณแม่บ้างไหมว่าท่านจะเห็นด้วยกับเราหรือเปล่า
อูน : ตอนแรกเราปรึกษากันเองสองคนค่ะ ซึ่งตอนแรกๆ เราแทบจะไม่ได้คุยกับพ่อแม่เเลย ประมาณว่าถึงเวลาที่ต้องคุยกับเขา อูนกับพี่แพ็คเอาแผนธุรกิจเป็นเล่มๆ ไปวางให้เขาดูเลยค่ะ ให้ดูว่าเราวางแผนแบบนี้ แบบนั้นนะ
แพ็ค : ปรึกษาตอนที่จะทำแล้วครับ เราคิดทุกอย่างไว้เสร็จสรรพแล้ว ก็เหมือนประมาณว่าเราอยากทำธุรกิจอะไรกัน เราก็ปรึกษากันครับวางแผนกันสองคน แล้วเราก็ไปปรึกษาท่านทีหลังครับ
• ปรึกษาแล้วคุณพ่อ คุณแม่ว่าอย่างไรบ้าง ท่านโอเคกับความคิดเราไหม
แพ็ค : จริงๆ เขาไม่ได้ว่าอะไรนะครับ เขาก็จะมีพูดๆ มาบ้างว่าเราแน่ใจแล้วหรือยัง เขาจะถามย้ำอยู่เหมือนกันครับว่าเราชัวร์หรือเปล่า ถ้าเราแน่ใจ เขาก็โอเค ก็ทำเลย เขาก็จะลงทุนให้ครับ (ยิ้ม)
• แสดงว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นใจในตัวเรามากเลยนะถึงยอมลงทุนให้ เห็นว่าเป็นหลักล้านเลย
แพ็ค : (หัวเราะ) ครับ เขาบอกว่าถ้าเจ๊งก็หมด ก็เรียบร้อยเนอะอะไรทำนองนี้
อูน : จริงๆ ที่ท่านไว้ใจน่าจะเป็นเพราะที่พี่แพ็คเขาเล่นหุ้นมาตั้งแต่อายุ 19-20 ปีได้ ส่วนอูนก็รับเขียนคอนเทนต์มาตั้งแต่อยู่มหาวิทยาลัยปี 2 เพราะฉะนั้นพ่อกับแม่เขาเลยไม่ได้มองว่าเราเป็นเด็กแล้ว เขามองว่าเรารู้ว่าเงินคืออะไร รู้ว่าการลงทุนคืออะไร พอพูดเรื่องการลงทุนเราจะไม่ได้มองในภาพของเด็กๆ แล้วค่ะ แต่จะมองในภาพของผู้ใหญ่แล้ว ซึ่งพ่อกับแม่จะเห็นว่าเราเริ่มรู้จักการบริหารจัดการการใช้เงินได้ มันก็เลยง่ายกว่าเด็กๆ ทั่วไปที่ไม่เคยทำอะไรมาเลย ซึ่งถ้าไม่เคยทำอะไรมาก่อนอยู่ๆ จะให้เขาเสี่ยงเอาเงินก้อนใหญ่มาลงทุนให้ก็คงจะยากเหมือนกันค่ะ ส่วนพี่แพ็คเขาก็ค่อนข้างจะเป็นผู้ใหญ่ในเรื่องของการจัดการบริหารเงิน อูนก็มีประสบการณ์ในการทำงานแล้ว เพราะอูนเคยไปอยู่ต่างประเทศ เคยไปเป็นเด็กเสิร์ฟ หาเงินใช้เองตั้งแต่เด็กๆ มันเลยทำให้เวลาคุยกับพ่อแม่มันก็จะง่ายหน่อย (ยิ้ม)
• ยอมทุ่มทุนหลายล้านบาทเลย ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่าจะขายได้หรือเปล่า
อูน : อูนกลัวนะคะ (ตอบเร็ว) แต่พี่แพ็คจะไม่ค่อยกลัวเท่าไหร่ ซึ่งสามปีแรกที่เราทำโรงงานเราไม่มีอะไรที่ออกไปขายเลยนะ มีแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียวเลย อาจจะมีลองตลาดแต่มันก็ไม่ได้อยู่ในขั้นที่ขายเพื่อเอากำไร ทุกวันที่อูนตื่นขึ้นมาอูนจะถามเขาเสมอว่าเราทำอะไรอยู่ วันนี้เราจะทำอะไรกันดี วันนี้จะไปไหน ในใจเรากังวลตลอดเวลาว่ามันจะโอเคหรือเปล่า เพราะว่าเรากลัวว่าสิ่งที่เราทำอยู่มันจะกลายเป็นว่าทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ตื่นมาอูนก็จะถามแบบนี้ทุกวันว่าเราจะทำอะไรต่อ ในหัวจะมีแต่คำว่าแล้วไงต่อ แล้วไงต่อ แล้วไงต่อ ซึ่งพี่แพ็คก็จะบอกเสมอว่ากลัวอะไรมีโรงงาน กลัวอะไรยังมีเรา เราก็อยู่ด้วยกันจะกลัวอะไร ซึ่งเราก็โอเคๆ แล้วก็ทำต่อไปเรื่อยๆ
อูนจะมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่าทำแล้วผิดก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย เพราะว่าถ้าเกิดเราไม่ทำอะไรเลย มันก็จะไม่มีอะไรเลย แต่เราทำมันอยู่แล้ว ทำมันตลอด ทุกวันที่ตื่นมาเราจะต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งโดยที่เราไม่รู้หรอกว่าตอนจบจะเป็นอย่างไร จะขายดีไหม แต่เรามองว่ามันจะต้องมีสักวันหนึ่งที่เราจับจุดถูก ซึ่งถ้าเราจับจุดถูกเมื่อไหร่ เราก็สบายแล้วเพราะว่าเราผ่านอะไรมาเยอะ เราจะมองอย่างนั้นตลอด
• ตอนนั้นถ้าจะพูดไปแล้วมันก็เป็นไปได้ยากมากๆ ที่พ่อกับแม่จะไว้ใจลงทุนเป็นหลักล้านให้เด็กอายุไม่ถึง 20 ปีทำธุรกิจ เขาไม่เข้ามามีส่วนร่วมหรือคุมการผลิตให้เราบ้างเหรอ
แพ็ค : จริงๆ ก่อนหน้านั้น แพ็คเล่นหุ้นด้วย แล้วท่านก็อาจจะมองว่าเราโตพอที่จะบริหารจัดการได้ ตอนนั้นที่เล่นหุ้น แรกๆ ที่เล่นแพ็คเป็นคนที่ไม่สนใจปัญหาอะไรทั้งสิ้นก็เจอมาหนักเหมือนกัน มีช่วงที่เล่นหุ้นแล้วร่อแร่เหมือนกันนะครับ เกือบเจ๊งซึ่งเรื่องนี้ที่บ้านก็รู้ กว่าจะกลับมาได้ก็ใช้เวลาสักพักอยู่เหมือนกัน เขาเลยมองเห็นว่าเรามีประสบการณ์ในการบริหารมากขึ้น เคยเจ๊งมาก่อน ไม่ใช่ว่าไม่เคยทำธุรกิจอะไรมาก่อนเลย ตอนที่ขาดทุนช่วงแรกๆ ที่เล่นหุ้นผมโดนไปสองล้าน ก็โดนที่บ้านถามมาเหมือนกันว่ามันคืออะไร เราก็เคลียร์กับที่บ้านแล้วค่อยๆ บริหารกลับคืนมา แล้วเราก็กลับมาจริงจังกับการทำงานมากขึ้นเราก็เลยน่าจะได้โอกาสจากตรงนั้นด้วย เขาคงเห็นว่าเราบริหารได้ เรารู้จักแก้ปัญหา ตรงนี้เลยเป็นส่วนหนึ่งที่เขาไว้ใจเรา
อูน : จะว่าไปแล้วเขาก็มีแอบเป็นห่วงนะคะ อย่างเวลามาที่โรงงาน ช่วงแรกที่เขาไม่เห็นว่าเรามีออเดอร์ อูนก็แอบเห็นสายตานะ ซึ่งเขาไม่ได้พูดหรอกว่าเขารู้สึกยังไง แต่เห็นสายตาเขาเราก็รู้นะว่าเขาเป็นห่วง บางทีเขามาที่โรงงานพอเขาออกจากโรงงานไปก็มีโทร.กลับมาถามนะคะว่า “อยู่กันได้นะลูก” คืออูนก็เข้าใจนะว่าเขาอยากรู้ว่าเราเป็นยังไง เพราะเราก็แค่อัปเดตให้เขาฟังคร่าวๆ ไม่ได้บอกว่ามีปัญหาเยอะมากแค่ไหน แค่บอกว่าอนาคตเราจะทำอะไร ขั้นตอนต่อไปจะเป็นแบบไหนแต่ไม่ได้บอกว่าที่ผ่านมาเราต้องเจอกับอะไร อูนมองว่าเราไม่มีเหตุผลที่จะไปบอกให้เขามานั่งเครียด ซึ่งเขาก็บอกเสมอว่าถ้ามีอะไรก็คุยได้นะ จะไม่เข้าไปวุ่นวาย ซึ่งพ่อกับแม่ก็จะใช้ความเชื่อใจอย่างเดียวเลยจริงๆ
เราโชคดีที่พ่อแม่เราทั้งคู่ไว้ใจ ปล่อยให้เราได้คิด ดีทำธุรกิจด้วยกัน เขาจะไว้ใจและไม่เข้ามาจู้จี้ซึ่งเขาจะไม่มีคำถามที่ทำให้เราไม่สบายใจเลย เหมือนกับว่าเขารู้ว่าในใจลึกๆ เราทำอะไรอยู่ จริงๆ มันก็เสี่ยงสำหรับเขานะคะ แต่เราก็มองว่าเราจะทำให้เขาผิดหวังไม่ได้เหมือนกัน
• เราเริ่มทำงานตั้งแต่วัยรุ่นเลย ไม่คิดว่าเราสูญเสียความเป็นวัยรุ่นไปบ้างเหรอคะ
อูน : ความเป็นวัยรุ่นคืออะไร (หัวเราะ) อูนไม่รู้ว่าความเป็นวัยรุ่นคืออะไรเพราะอูนรู้สึกว่าเรามีสิ่งที่เราต้องการครบ คำว่าครบในที่นี้ก็คือ เราได้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ อูนจะเห็นโดยการใช้ชีวิตของคนไทยจะคล้ายๆ กัน เรียนจบปริญญาตรีต้องดูว่าเราจะเรียนปริญญาโทต่อไหม จะต้องไปทำงานบริษัทอะไร บริษัทไหนดีซึ่งมันทำให้เปลือกข้างนอกค่อนข้างสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตที่หรูหราหรืออะไร ตรงนี้อูนอาจจะเลือกเองด้วยว่าเราจะไม่ใช้ชีวิตที่หรูหราจนเกินไปเพราะอูนมองว่ามันไม่ได้ให้ความสุขกับเราเท่ากับการทำงาน เราไม่คิดว่าอยากจะไปทำอย่างอื่น แต่ก็มีบ้างบางครั้งช่วงที่มีปัญหาแรงๆ เข้ามาเราก็จะมีถามตัวเองบ้างว่าเราคิดถูกหรือเปล่าที่เราตัดสินใจทำธุรกิจ เราจะรอดไหม เราจะไหวไหม แต่เราก็สามารถก้าวข้ามความกลัวไปได้
จริงๆ ถ้ามาดูการใช้ชีวิตของเราสองคน เราแทบจะเหมือนกับวัยรุ่นทุกคนทั่วไปเลย แต่แค่เราทำงานกันตั้งแต่ยังเด็ก อย่างตอนนี้ไปเที่ยวถ้าจะให้ไปต่างจังหวัดเหมือนคนอื่นเขาก็ไม่ได้ จะไปต่างประเทศก็คงไม่ได้ไป แต่ถ้าถามว่าแย่มั้ยสำหรับเรา อูนว่ามันก็ไม่แย่นะคะเพราะว่าเรารู้ว่าเราทำอะไรอยู่ เหมือนกับว่าถ้าให้เราเลือก เราก็เลือกทางนี้อยู่ มันเป็นการใช้ชีวิตของเรา เหมือนตื่นมาเราก็ทำงานกันแล้ว เราสามารถทำงานได้ตลอดเวลา (ยิ้ม) เพราะสิ่งที่เราทำตอนนี้มันเหมือนเลือดที่สูบฉีดเราสองคนด้วย จริงๆ เรามีความสุขในแบบนี้ อย่างตอนนี้อูนไปทำงานที่อเมริกา อูนได้รู้เลยว่าจริงๆ แล้วความสุขของเรามันไม่ได้อยู่ที่เราได้ไปกินอาหารหรูๆ ไปฉลอง ไปปาร์ตี้ พอกลับมายังไงมันก็ไม่ใช่ความสุขที่สามารถเติมเต็ม ไม่ใช่ความสุขที่ยั่งยืน มันต่างกับที่เราได้ใช้ชีวิตกับการทำงาน ทุกครั้งที่ได้ผลตอบรับออกมาดีมันได้มากกว่าความสุข เราได้แก้ปัญหา มันไม่ใช่แค่ตัวเราที่ภูมิใจ มีคนข้างหลังเราอีกตั้งเยอะที่เขารอดูความสำเร็จของเรา (ยิ้ม)
แพ็ค : ส่วนตัวผมว่าไม่นะครับเพราะเรามีความสุขที่จะใช้ชีวิตแบบนี้ เราโชคดีด้วยแหละครับที่เราชอบการใช้ชีวิตแบบนี้ (ยิ้ม) มีเท่านี้เราก็พอใจแล้ว ที่เราต่างกับวัยรุ่นคนอื่นๆ ก็น่าจะเพราะเราอาจจะไม่มีโอกาสได้ไปเที่ยวเหมือนพวกเขาแค่นั้นเองครับ นอกนั้นผมว่าเราก็ยังเหมือนวัยรุ่นทั่วๆ ไปที่ไม่ได้มีอะไรดีหรือมากกว่า (ยิ้ม)
ผมมองว่าถ้าเราเป็นวัยรุ่นแล้วติดเที่ยวตอนนี้เราก็จะไปลำบากตอนที่เราอายุเยอะ สำหรับผม ผมว่ามันมีค่าเท่ากันเพราะถ้าไม่ลำบากตอนนี้เราก็ไปลำบากวันข้างหน้าอยู่ดี อยู่ที่ว่าคุณจะเลือกลำบากตอนไหนมากกว่า อีกอย่างผมเป็นคนไม่ชอบเที่ยวอยู่แล้ว อูนก็ไม่ชอบเที่ยวอยู่แล้ว มันเลยกลายเป็นว่าเวลาที่คนอื่นเขาไปเที่ยว ไปกินข้าว ไปสุงสิงกัน ซึ่งเราไม่เคยรู้สึกว่าเราอยากไปทำด้วยซ้ำ เราไม่มีความโหยหาตรงนี้
• จากตอนแรกเห็นว่าธุรกิจเริ่มมาจากสองคน จากแบรนด์เล็กๆ ที่ขายในออนไลน์เพียงอย่างเดียว แต่เห็นว่าตอนนี้ทำเป็นทีมงานแถมผลิตภัณฑ์ได้วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าอย่างที่ใฝ่ฝันไว้แล้วด้วย
อูน : ใช่ค่ะตอนแรกเราทำกันแค่สองคน ส่วนเรื่องขึ้นห้างฯ ทางท็อปส์ซูเปอร์มาร์เกตติดต่อมาค่ะ (ยิ้ม) ตอนนั้นอาจจะยังไม่มีกราโนล่าเจ้าไหน แล้วก็กลายเป็นว่าเราเปิดตลาดกราโนล่าขึ้นมาได้ ซึ่งตรงนี้อูนจะเล่าให้ฟังอย่างหนึ่งว่าแรกๆ เลยเราเคยพยายามทำคุกกี้ธัญพืชซึ่งแพกเกจก็ยังไม่สมบูรณ์ อารมณ์คล้ายเด็กทำขนมแล้วเราก็เคยเข้าไปเสนอห้าง ตอนนั้นเราตัวเล็กมาก (ลากเสียงยาว) มันเป็นอะไรที่เราดูเหมือนเป็นแค่เศษอะไรของเขาก็ไม่รู้ จนวันหนึ่งที่เราทำให้แบรนด์เราแข็งแรงพอที่เขาจะโทร.กลับมาติดต่อ มันเป็นอะไรที่มันไม่ใช่แค่ภูมิใจที่ขนมเราขึ้นห้างได้นะ แต่มันภูมิใจที่เราอดทนมาจนถึงจุดที่เราทำให้มันแข็งแรงได้
แพ็ค : ยอมรับว่าธุรกิจเติบโตขึ้นเยอะนะครับ เติบโตขึ้นทุกเดือน แต่มันจะออกมาประมาณว่าสามเดือนจะโตขึ้นครั้งหนึ่ง สามเดือนแล้วก็หยุดประมาณนี้ครับ (ยิ้ม) ตอนนี้มีขายตามท็อปส์ซูเปอร์มาร์เกตแล้ว 18 สาขาครับ แต่ภายในสามเดือนจากนี้จะขยายเป็น 60 สาขาให้ได้ครับ ซึ่งเขาเปิดมาแล้วว่าขอเป็น 60 สาขาแต่เราขอเลื่อนออกไปก่อนเนื่องจากยังผลิตไม่ทันแล้วกลัวในเรื่องของคุณภาพด้วย
• เห็นว่าตอนนี้ใครๆ ก็ทำอาหารเพื่อสุขภาพขาย อีกอย่างกราโนล่าก็มีขายเต็มเลยตามท้องตลาด การแข่งขันค่อนข้างสูงแบบนี้เรารับมืออย่างไรบ้าง
อูน : จริงๆ การที่เรามีคู่แข่ง ครั้งแรกเลยเราก็กลัวนะคะเพราะว่าเราไม่เคยเข้าใจความรู้สึกของการมีคู่แข่งมาก่อน แต่พอเราเจอคู่แข่งเราแล้วเราจะต้องศึกษาเหมือนกันว่า จุดแข็งของเขาคืออะไร จุดดีของเขาคืออะไร ถ้าจุดแข็งของเขาไม่เหมือนของเรา เราก็จะไม่เป็นไร เราก็อนุญาตให้เขาทำนะคะเพราะอูนมองว่าลูกค้ามีสิทธิที่จะเลือก คือเราจะไปบังคับลูกค้าให้กินแต่ของเรามันเป็นไปไม่ได้ ถ้าเขาไปเจออะไรที่ดีกว่า อร่อยกว่า เหมาะสมกับการบริโภคของเขามากกว่านั่นก็คือเรื่องของลูกค้า หน้าที่ของเรามีอย่างเดียวคือทำให้ดีที่สุด ไม่เคยมองเลยว่าเราจะต้องไปแข่งกับเจ้าไหน อูนจะมองแค่ว่าถ้ามันดีสำหรับลูกค้าอูนก็จะทำ แล้วถ้ามันดีสำหรับลูกค้ามากขึ้นเราก็ทำ ซึ่งอูนเชื่อว่าเราไปห้ามใครไม่ได้
อย่างช่วงที่ออเดอร์เยอะมากๆ ร้านค้าที่เราเอาไปส่งเขาก็จะต้องรอของนาน บางเจ้าที่เขาไม่เข้าใจเขาก็จะพูดเสมอว่า “ระวังเถอะเขาจะไปหาคู่แข่ง” อูนก็ได้แต่พยายามอธิบายไปแต่ไม่ได้ไปบังคับอะไรเขา การที่คู่แข่งมากขึ้นก็เท่ากับว่าตลาดใหญ่ขึ้น ถ้าเรายังดีที่สุดอยู่เราก็จะไม่กลัวอะไร (ยิ้ม)
แพ็ค : ผมมองว่าจุดแข็งของแบรนด์เราจริงๆ คือการเอาใจใส่ลูกค้า วันหนึ่งเขาจะดูแลลูกค้ามากๆ ตื่นมาเขาจะดูแล้วว่าลูกค้าต้องการอะไร มีออเดอร์ผิดพลาดหรือเปล่าซึ่งจุดนี้ก็เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ สำหรับเรา
• คิดว่าเราเป็นเบอร์หนึ่งของตลาดแล้วหรือยัง
อูน : ถ้าเป็นเรื่องกราโนล่าอูนเชื่อว่าแบรนด์ของเรา (Diamondgrains) เป็นเบอร์หนึ่ง แล้วอูนก็มีความคิดแบบนั้นมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นวันไหนที่มีคู่แข่งเข้ามาเยอะขนาดไหน อูนจะพยายามทำให้มันเป็นที่หนึ่งตลอดเพราะว่ามันเป็นความจริง มันเป็นสิ่งที่เราเริ่มต้นมาก่อน มันเป็นสิ่งที่เราทำให้เขารู้จัก เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้มันคงอยู่และแข็งแรงขึ้น
เรามองว่ามันไม่ใช่ความผิดของใครไม่ใช่ความผิดของคู่แข่งเราที่เขาทำตาม แต่เรามองว่าเราต้องก้าวข้ามตรงนี้ไปแล้วลุกขึ้นทำอะไรบางอย่างให้ลูกค้าเขาเห็นชัดไปเลยว่าของเราคืออะไร ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำไม่ใช่หน้าที่ของคู่แข่ง ไม่ใช่หน้าที่ของลูกค้าที่จะต้องมานั่งสังเกตด้วยว่าใช่แบรนด์เราไหม มันเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องพัฒนาล้วนๆ
• ถ้าให้มองย้อนกลับไปจากที่เราเคยล้มเหลวมาก่อน เคยถูกคนมองข้ามจนวันนี้กลายเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมียอดขายหลายพันถ้วยต่อวัน เรารู้สึกอย่างไรบ้าง เรามองว่าเราประสบความสำเร็จแล้วหรือยัง ชีวิตเพอร์เฟกต์แล้วหรือยัง
อูน : โห ห่างไกลคำว่าเพอร์เฟกต์มากค่ะ (หัวเราะ) คนอาจจะมองว่าเรามีธุรกิจของตัวเอง ชีวิตดี๊ดี แต่คำว่าประสบความสำเร็จของบางคนอูนมองว่ามันไม่เหมือนกัน ของพี่แพ็คก็อาจจะเป็นอย่างหนึ่ง ของอูนก็อาจจะเป็นอย่างหนึ่ง
อูนว่าคนที่มองมาอาจจะคิดว่าเราจะต้องภูมิใจมากแน่ๆ เลย แต่ด้วยพื้นฐานที่เราตื่นมาทำงานกันทุกวันมันมองไม่เห็นหรอกค่ะว่าเราตัวใหญ่แค่ไหน เพราะเราก็ยังมองว่าเราตัวเล็กเท่าเดิม แต่ว่ามันจะมีบ้างที่เราดีใจว่าเราทำได้จริงๆ เหรอ เราทำได้ใช่ไหม จริงๆ เราจะมองไม่เห็น มีคนมาสะกิดให้เรามองดูสิว่าเรามาถึงขนาดนี้แล้วนะ เหมือนช่วงแรกที่เข้าห้างฯ ได้ซึ่งจากเดิมมันก็เป็นความฝันของเราอยู่แล้วด้วย พอเข้าห้างฯ ได้ อาทิตย์แรกเราไม่ได้มีเวลาเข้าไปดูเลยนะ แต่พอหลังๆ บางทีเรามีโอกาสได้เดินผ่านแล้วมองไปเห็น เราก็จะรู้สึกว่าเฮ้ย !! มันเป็นไปได้ว่ะ (ยิ้ม) เรามองว่าคำว่าประสบความสำเร็จมันอาจจะไม่ได้มีอะไรที่ตัดได้ว่ามันจบแล้ว เราก็จะทำต่อไปเรื่อยๆ อูนไม่ได้มองว่าตัวเองประสบความสำเร็จแต่แค่รู้ว่าเรามาถูกทางแล้วเท่านั้นเองค่ะ
แพ็ค : ผมว่าก็ยังนะครับ เราไม่อยากมองอย่างนั้น เราจะยังไม่มองว่าเราประสบความสำเร็จแล้วแต่เราจะมองว่าเราจะต้องพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นในทุกวัน พัฒนาทั้งตัวเรา พัฒนาทั้งสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าเพื่อตอบสนองลูกค้าต่อไป คือจริงๆ ถ้าเป็นเรื่องของการทำธุรกิจเมื่อก่อนผมอาจจะมองว่าถ้าเราอยากประสบความสำเร็จได้ เราต้องมีบริษัทใหญ่ๆ มียอดขายมากๆ แต่พอได้มาทำจริงๆ มุมมองของเราก็จะค่อยๆ เปลี่ยนซึ่งเราจะมองในส่วนของลูกค้ามากกว่าว่าเขาพอใจไหม ถ้าลูกค้าพอใจ ผมก็โอเค เราก็อยู่ได้นั่นแหละเราประสบความสำเร็จแล้ว อาจจะได้มองถึงยอดขายว่าจะต้องเยอะ ถ้าลูกค้าเขาชอบ เขายังอยู่กับเรานั่นแหละผมว่าเราประสบความสำเร็จแล้ว
• ถ้าตัดเรื่องของเงินทองออกไป เราได้อะไรจากการทำธุรกิจตรงนี้บ้างคะ
อูน : เยอะมาก (หัวเราะ) แต่เราเป็นผู้หญิงส่วนหนึ่งก็มีอารมณ์ที่จะค่อนข้างอ่อนไหวกับทุกอย่าง แต่พอเราได้ทำธุรกิจเราจะรู้เลยว่าตัวเราแข็งแรงขึ้นนะ เรามีสติในการแก้ปัญหามากขึ้น เราสามารถแยกปัญหาออกจากความรู้สึกของเราได้ง่ายขึ้นเยอะมาก (ลากเสียงยาว) ถ้าเป็นแต่ก่อนเราคงตายไปแล้ว ตอนนี้เราจะมองว่าปัญหาก็คือปัญหา ตัวเราก็คือตัวเรา เรามองจากมุมของคนที่กำลังจะแก้มัน ไม่ใช่คนที่จะจมอยู่กับมัน แล้วอีกอย่างอูนยังได้เรียนรู้คน ได้เรียนรู้พี่แพ็คว่าเขาเป็นยังไง เพราะการเป็นแฟนกันทุกคนก็อยากที่จะมีอารมณ์มุ้งมิ้ง แต่จะมีสักกี่คนที่ต้องผ่านจุดที่แย่ ที่มีปัญหาหนักๆ วันๆ ไม่ทำอะไรเลยนอกจากนั่งร้องไห้ พอผ่านตรงนั้นมาได้ก็เลยมองว่ามันไม่มีอะไรน่ากลัวอีกต่อไปแล้ว
แพ็ค : ผมว่าเราได้เรียนรู้นะครับว่าการที่เราจะทำธุรกิจเราต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม ทั้งการเตรียมใจและเรื่องอื่นๆ อีกอย่างมันทำให้ผมได้รู้ว่าเราหยุดพักได้แต่ไม่ใช่หยุดไปเลย พอเรามีโอกาสใหม่เราก็ต้องไปต่อ
• ในอนาคตมีเป้าหมายอย่างไรต่อไปบ้างไหม
อูน : ตอนนี้ระบบเว็บเราจะแข็งแรงมากขึ้น จะมีการสะสมแต้ม จะเริ่มมีระบบสมาชิกที่จริงจัง จะมีการตอบแทนลูกค้าเก่าและลูกค้าประจำ อีกอย่างการกระจายสินค้าก็จะมีมากขึ้น พอทุกอย่างลงตัวก็จะเริ่มมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาให้เห็นค่ะ (ยิ้ม)
อูนอยากให้ Diamondgrains เป็นแบรนด์กราโนล่าที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทยจนถึงขั้นส่งออก จนถึงขั้นที่เอาง่ายๆ ประมาณว่าถ้าเกิดเราอยากกินนมเปรี้ยว เราก็จะนึกถึงยาคูลท์ ถ้าไปกินแบรนด์อื่นมันก็จะไม่เหมือนยาคูลท์ซึ่งอูนอยากให้เป็นแบบนั้นค่ะ (ยิ้ม) อาจจะมีแบรนด์อื่นเข้ามาทดแทนได้ในบางโอกาสแต่สุดท้ายก็ยังอยากให้กลับมาหาเรา
• ท้ายนี้มีเคล็ดลับอะไรหรืออยากฝากอะไรถึงคนที่อยากทำธุรกิจหรือทำธุรกิจแล้วแต่หยิบจับอะไรก็ล้มเหลวบ้างไหมคะ
แพ็ค : ผมมองว่าต้องกล้าที่จะคิดต่าง กล้าที่จะลงมือทำ มองถึงความเสี่ยงว่าความเสี่ยงในธุรกิจนั้นๆ ตัวเองรับได้ไหม ถ้ารับได้ก็ลงมือทำได้เลย เพราะว่าถ้าเรามองเห็นความเสี่ยงว่ามันเสี่ยงเกินไปกับเราซึ่งแค่เริ่มต้นเราก็มองว่ามันเสี่ยงมากแล้วถ้าเข้าไปทำจริงๆ มันจะยากกว่านั้นเยอะ ผมอยากให้มองดีๆ ก่อน จากนั้นถ้ามันโอเคสำหรับเรา เราก็ลุยอย่างเดียว (ยิ้ม)
อูน : สำหรับอูนมองว่าความล้มเหลวมันไม่ได้อยู่ตรงข้ามกับความสำเร็จ มันเป็นขั้นหนึ่ง ขั้นสอง ขั้นสาม สี่ ห้า ของความสำเร็จ ยิ่งล้มเหลวมากเราก็จะยิ่งรู้เยอะว่าอะไรที่เราไม่ควรจะทำ แล้วอะไรที่เราทำแล้วมันจะโอเค ก็อย่าไปมองว่ามันเป็นจุดจบ มันก็เป็นแค่ประสบการณ์ซึ่งทุกคนเจออยู่แล้วเพราะน้อยมากที่ใครจะทำอะไรแล้วสำเร็จตั้งแต่แรก มองให้เป็นเส้นเดียวกัน มองว่าเรากำลังจะไปหาอะไร เราต้องผ่านมันไปให้ได้ทีละอย่างซึ่งเราไม่รู้หรอกว่าเราจะต้องผ่านไปอีกกี่สิบอย่าง แต่ถ้าเรากำลังเดินไปในทางที่ถูกต้องอูนว่าเดี๋ยวเราก็จะเจอทางออกได้เองค่ะ (ยิ้ม)
กราโนล่าคืออะไร ??
กราโนล่า เป็นชื่อที่ใช้เรียกอาหารประเภทหนึ่งซึ่ง “ทำมาจากธัญพืชไม่ขัดสีอบรวมกันจนกรุบกรอบ” นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารเช้าคู่กับนมหรือโยเกิร์ตแบบซีเรียล หรือจะกินเป็นขนมก็ได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพหรือใช้ชีวิตแบบ Active เพราะอัดแน่นไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ประโยชน์ของกราโนล่า
1.ดีต่อระบบย่อยอาหารและช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจได้ดี
2.ป้องกันท้องผูก ช่วยปรับสมดุลเรื่องการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี
3.ลดคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดให้หลอดเลือดแข็งแรง
4.ลดความรู้สึกสำหรับผู้ที่โหยน้ำตาลหรืออยากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
5.เหมาะกับผู้ที่รักษารูปร่าง
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : จิรโชค พันทวี และ www.diamondgrains.com
แพ็ค-วุฒิกานต์ วงศ์ดีประสิทธิ์ และ อูน-ชนิสรา โททอง คู่รักนักธุรกิจวัยเพียง 20 ปีต้นๆ คือบุคคลที่เรากำลังกล่าวถึง
ตั้งแต่ที่สำเร็จการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยทั้งคู่ก็เริ่มสานฝันที่เคยมีตั้งแต่ตอนเรียนว่าจะทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารสุขภาพเพื่อขึ้นห้างสรรพสินค้าร่วมกันให้ได้
ถึงแม้ว่าแรกๆ ที่เริ่มต้นจะต้องเจอกับการปฏิเสธจากร้านค้าต่างๆ เพราะด้วยความที่เมื่อสองสามปีก่อนกระแสสุขภาพยังไม่ได้การตอบรับมากเท่าไหร่นัก แต่ไม่นานเขาก็ได้พัฒนาสินค้าจนสร้างแบรนด์นามว่า Diamondgrains ที่มีผลิตภัณฑ์ชูโรงอย่าง “กราโนล่า” ออกมาจนเป็นที่รู้จักในโลกออนไลน์ ซึ่งเมื่อไม่กี่เดือนมานี้พวกเขาก็ได้นำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขึ้นห้างฯ ตามปณิธานที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ
นับว่าแบรนด์ Diamondgrains คือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพวกเขาอย่างยิ่ง เพราะตอนนี้มีทั้งคนรู้จัก มีฐานลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น มีรายได้และยอดขายมากมายมหาศาล หนำซ้ำพวกเขายังมีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำอีกด้วย
เราเดินทางไปค้นหาสูตรลับความสำเร็จของพวกเขากันดีกว่า เพราะความสำเร็จมันอยู่ที่ “กล้าที่จะคิดต่าง กล้าที่จะลงมือทำ” เพราะ “ยิ่งล้มเหลวมากเราก็จะยิ่งรู้เยอะว่าอะไรที่ไม่ควรจะทำ” เหมือนดังที่คู่รักนักธุรกิจรุ่นใหม่ได้กล่าวไว้กับเรานั่นเอง
• ย้อนเล่าให้ฟังหน่อยค่ะเราเรียนจบอะไรมาถึงได้ทำธุรกิจด้วยกันได้
แพ็ค : ส่วนตัวผมเรียนจบสาขา Business and Economics จากประเทศจีนมาครับ (ยิ้ม)
อูน : ส่วนอูนเรียนนิเทศศาสตร์ อินเตอร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาค่ะ เราเรียนปกติเหมือนเด็กทั่วๆ ไปเลย (ยิ้ม)
ช่วงตอนที่อูนเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปี 2 ปี 3 ตอนนั้นอูนเริ่มคิดแล้วว่าอูนกับพี่แพ็ค เราอยากทำธุรกิจด้วยกันแต่เราก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี เราคิดกันไว้แล้วว่าเราอยากลองอะไรที่เป็นอาหารเพราะว่าเราสองคนชอบกิน (ยิ้ม) อย่างถ้าให้เราไปทำธุรกิจเกี่ยวกับเสื้อผ้า เรานี่ไม่รู้เรื่องเลยเพราะอูนไม่ได้อินกับเรื่องความสวยความงามเท่าไหร่ เลยคิดว่าเราน่าจะทำอะไรที่ตัวเองถนัดดีกว่า ซึ่งเราถนัดเรื่องของกินก็เลยมาทางสายกินดีกว่า
ตอนที่เราเริ่มมาทำเรื่องของกิน เราก็ได้สังเกตตลาดแล้วนะคะว่าตลาดไหนยังพอมีช่องทาง แล้วคู่แข่งยังไม่เยอะมาก ตอนนั้นเราเลยมองเห็นธุรกิจสุขภาพค่ะ
• ธุรกิจอาหารสุขภาพคือสิ่งที่เราเลือกทำ ?? แล้วทำไมต้องเจาะกลุ่มสุขภาพ เพราะถ้าย้อนกลับไปสองสามปีก่อนเรื่องสุขภาพยังไม่บูมเท่าไหร่เลยในช่วงนั้น
อูน : ตอนที่คิดว่าอยากจะทำอาหาร ตอนนั้นมันกว้างมากว่าจะเป็นอาหารสไตล์ไหน คิดไปคิดมาก็เริ่มแคบลงว่า เราจะทำอาหารนะแล้วก็ต้องเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ แล้วก็จำกัดให้แคบลงว่าต้องเป็นอาหารที่ไม่มีแป้งนะ แล้วเราก็ได้ไอเดียขึ้นมา (ยิ้ม) อันนี้เป็นความคิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยปี 3 เลยนะคะ ว่าเราจะทำผลิตภัณฑ์ธัญพืชอบกรอบที่ไม่ใส่แป้ง ตอนนั้นอูนคิดเลยค่ะว่ามันต้องเป็นจุดขายของเรา อูนลงมือทำเองเลย ซึ่งช่วงนั้นพี่แพ็คเองก็ยังเรียนอยู่ที่จีน แต่พอปิดเทอมกลับมาเจอกันเราก็จะชวนกันไปดูตามงานว่าที่ไหนมีผลิตภัณฑ์แปลกๆ อะไรบ้าง พอเราศึกษาลองทำไปทำมาก็ได้เป็นบาร์ธัญพืชอบแบบไร้แป้งขึ้นมา
แพ็ค : ผมว่าถ้าเราไปแข่งกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่ บริษัทเล็กการแข่งขันมันค่อนข้างสูงมาก เรามองว่าเราทำได้จริงแต่กว่าจะเข้าไปถึงมันลำบาก เราต้องใช้งบประมาณมหาศาล ผมกับอูนเลยมองว่าเรามาลงทุนอะไรที่มันจะได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด แล้วความเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่เราสามารถรับได้ ก็ได้มาเจอตลาดสุขภาพ ซึ่งในความคิดของเราทั้งสองคนมองว่ามันไม่ใช่เทรนด์ ไม่ใช่กระแสเพราะยังไงคนก็ต้องรักสุขภาพตัวเองอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ามันยังไม่ได้มากขนาดนั้น ผมเลยมองว่าจุดนี้แหละซึ่งการแข่งขันมันยังไม่สูงมากด้วย บริษัทใหญ่ก็ยังไม่ค่อยทำกัน ดังนั้นมันก็จะไม่ยากมาก ซึ่งถ้าเราไปอยู่ในตลาดนี้ก็เท่ากับเราตัวโตอะไรทำนองนี้ครับ (ยิ้ม) เราต้องดูว่าเราจะอยู่จุดไหนได้บ้าง อย่างพวกขนมกรุบกรอบ ขนมทานเล่นเราก็ต้องไปแข่งกับเจ๊ใหญ่ๆ ซึ่งตัวเราเล็กนิดเดียว แป๊บเดียวเราก็ไปแล้ว
• ทำไมเราถึงตัดสินใจที่จะทำธุรกิจส่วนตัว เราไม่อยากทำงานในสายงานที่เราเรียนมาบ้างเหรอ
อูน : อูนเรียนนิเทศศาสตร์มาก็จริงแต่จะไม่ได้เกี่ยวอะไรกับทางสายข่าว จะเป็นนิเทศศาสตร์ที่เกี่ยวกับการตลาดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทุกๆ ปีจะมีลงตลาด ซึ่งอูนชอบ อูนมองเห็นเสน่ห์ของการตลาด และพี่แพ็คก็เป็นในส่วนของการทำบัญชี การคำนวณ การบริหารการเงิน อูนมองว่ามันน่าจะเป็นส่วนผสมที่ลงตัวถ้าเราจะทำธุรกิจ เราคิดว่าเราทำได้ เราต้องลอง อีกอย่างพี่แพ็คจะไม่ชอบในการทำงานประจำอยู่แล้วด้วยค่ะ
• เป็นเพราะเราคลุกคลีอยู่ในครอบครัวที่ทำธุรกิจมาด้วยหรือเปล่า เราถึงชอบในการทำธุรกิจ
แพ็ค : ใช่ครับพ่อกับแม่ผมทำธุรกิจ เราก็จะได้เห็นตั้งแต่เล็กๆ ว่าท่านทำงานเราก็ได้มุมมองตรงนี้จากท่านด้วย
อูน : ส่วนอูน อูนได้เห็นชีวิตของพ่อกับแม่ อูนเห็นท่านทำงานโดยที่เขาไม่เคยมาบ่นหรือพูดเลยว่าวันจันทร์อีกแล้วเพราะเขาทำงานส่วนตัว มันเลยไม่มีอารมณ์ให้เราเห็นว่าท่านไม่อยากไปทำงาน จะไม่เคยได้ยินจากปาก อย่างพ่ออูนท่านจะชอบทำงานมากอย่างตอนที่ไปส่งอูนที่อเมริกา พ่ออูนก็ไม่มีอารมณ์อยากเที่ยวเลยนะคะ จะมีแต่บอกว่าขอเลื่อนตั๋วกลับไปทำงานได้ไหม (หัวเราะ) เราเลยเห็นเสน่ห์บางอย่างของการทำงาน เพราะพ่อกับแม่อูนท่านทำงานอย่างมีความสุข เราก็เลยชื่นชอบการทำงานไปในตัว (ยิ้ม)
• ไม่คิดเรื่องล้มเหลวหรือขาดทุนบ้างเหรอ
แพ็ค : ผมไม่คิดเลยครับจะคิดแค่ว่าเราทำไปเรื่อยๆ ยังไงเราก็ต้องทำได้ แต่ว่าส่วนหนึ่งเราก็เข้าใจนะว่าอุปสรรคมันจะต้องเยอะ แต่เราจะพยายามมองข้ามๆ ไป จะบอกกับตัวเองเสมอว่าอย่าไปมองถึงจุดนั้นเพราะถ้าเรามองถึงจุดนั้นเราก็จะกลัวกับอุปสรรคที่เข้ามา ซึ่งถ้าเราไม่ไปจดจ่ออยู่กับอุปสรรคทุกอย่างมันก็จะผ่านไปได้ครับ (ยิ้ม)
อูน : อูนก็ไม่เคยคิดเลยนะคะ (ยิ้ม) แต่ถ้าถามว่ามีปัญหาไหมมันมีเข้ามาเยอะมาก (ลากเสียงยาว)
• มีปัญหาเยอะมากนี่ยังไงกันคะ เจอปัญหาอะไรมาบ้าง
อูน : เริ่มแรกที่เราทำบาร์ธัญพืชไร้แป้งตอนนั้นรสชาติได้แล้วนะแต่กระบวนการผลิตมันยากมาก มันไม่เหมือนกับผลิตภัณฑ์ที่มีแป้งผสมเพราะมันจะร่วน ไม่เกาะตัวเป็นรูปทรง ตอนนั้นคิดแล้วว่าเราจะทำยังไงดีเพราะโรงงานก็เสร็จแล้วด้วย ซึ่งโรงงานเกิดขึ้นได้เพราะแฟนอูนไปจัดการเตรียมเรื่องโรงงานไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
แพ็ค : ผมเตรียมโรงงานไว้ ซึ่งจริงๆ เราสองคนก็ไม่รู้หรอกว่ามันจะไปได้ไกลขนาดไหน แต่เรามีความฝันว่าเราจะทำอาหารจุดประสงค์ก็เพื่อเข้าห้างสรรพสินค้าให้ได้ แน่นอนว่ามันจะต้องมีมาตรฐานที่ถูกต้อง มี อย. เราเลยทำโรงงานเตรียมไว้ ทุกอย่างเสร็จ พอโรงงานใกล้เสร็จแล้ว มันกลับมีปัญหาว่าตัวบาร์ธัญพืชที่เราจะทำขายมันไม่สามารถขึ้นรูปได้ ประกอบกับเครื่องจักรก็หายากมากถ้าจะมานั่งพัฒนากันอีกก็ต้องรอเวลานานเป็นปี ซึ่งเรารอไม่ไหวแล้ว ตอนนั้นเลยคิดว่าระหว่างที่รอเครื่องจักรเราทำผลิตภัณฑ์อื่นก่อนดีไหม
อูน : ตอนนั้นอูนเลยทำคุกกี้ธัญพืชแบบไร้แป้งเป็นชิ้นๆ ขึ้นมาก่อน ตอนนั้นที่โรงงานมีอูนกับพี่แพ็คสองคน เราก็ช่วยกันทำ พอทำเสร็จปุ๊บ เอ้ย!! มันอร่อยก็เลยเริ่มไปติดต่อตามร้านกาแฟ ไปเสนอขายสินค้าให้เขาแต่เนื่องจากตอนนั้นยังไม่มีใครรู้จักเราเลย เราใหม่มากๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เราทำจะเรียกว่าอะไรก็ยังไม่รู้ ยังไม่ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเท่าไหร่เลยค่ะ ย้อนกลับไปตอนนั้นคนก็คงงงๆ ว่ามันคืออะไร ทำไมต้องไม่มีแป้ง จะกินกับอะไร ต้องกินตอนไหน โดนปฏิเสธมาเยอะมาก (ลากเสียงยาว)
เราจะเจอคำถามที่ถามว่า “มันแข็งไปไหม” “มันจะดีเหรอ” เพราะตลาดตอนนั้นเป็นอารมณ์ประมาณว่าความอร่อยต้องมาก่อน หน้าตาขนมก็ต้องเยิ้มๆ ต้องมีช็อกโกแลตชิ้นใหญ่ๆ ส่วนของเรามันเป็นธัญพืช 7 ชนิดที่เห็นแล้วดูจืด มันจะอร่อยเหรออะไรแบบนี้ค่ะ ตอนนั้นอูนคิดไม่ออกแล้วว่าจะทำยังไงดี ยอมรับว่าความคิดเริ่มตันแล้วเหมือนกันค่ะ (ยิ้ม) เพราะก็เปลี่ยนจากบาร์มาแล้ว มาเป็นแผ่นก็แล้ว ก็ยังไม่เวิร์ก ตอนนั้นโรงงานก็เริ่มเสร็จหมดแล้ว ทีนี้ช่วงรอยต่อระหว่างที่จะมาเป็น Diamondgrains ผลิตภัณฑ์ตัวปัจจุบันที่ทำอยู่ตอนนี้ ระหว่างนั้นเราก็เริ่มมองเห็นปัญหาว่าเราไม่สามารถยืนอยู่ในตลาดแบบนี้ได้ แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดว่าเราจะทำไม่ได้อีกเลย ไม่ได้มองว่ามันจะต้องจบ อูนจะมองแค่ว่าจะทำยังไงดีให้มันได้ พอเห็นปัญหาปุ๊บเราก็เริ่มหาช่องทางว่ามันมีอะไรบ้างที่จะสามารถจะทำได้บ้าง
ในระหว่างที่เราลองนู่นลองนี่ไปเรื่อยๆ เราเลยลองติดต่อบริษัททัวร์ไป ซึ่งเรามองว่าบริษัททัวร์ความต้องการของ Snack Box ก็ค่อนข้างเยอะจะเป็นอารมณ์ที่ว่าเราจะมองหาว่าตลาดไหนต้องการเราบ้าง
ตอนนั้นเราเลยโพสต์ลงออนไลน์เลยว่าเรารับทำ Snack Box ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งตรงนี้เราอยากได้ยินจากลูกค้าว่าเขาต้องการอะไร อูนก็ทำแล้วเราก็คุย ดิวงานกันไปเรื่อยๆ สุดท้ายเราก็โดนบริษัทใหญ่ๆ ตัดหน้าไปอยู่ดี เพราะว่าทัวร์ใหญ่เขาก็จะมีสัมปทานที่ต่อกันมาอยู่แล้ว ซึ่งตอนนั้นที่เราทำเราก็รู้แหละว่ามันจะมีตรงนี้ แต่ที่ทำเพราะเราคิดว่าถ้ามีโอกาสเราก็จะต้องคว้า อูนกับพี่แพ็คจะคิดเสมอค่ะว่าแม้มันจะเป็นโอกาสที่เล็กเราก็ต้องเอา เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่ามันอาจจะเป็นช่องทางของการเบิกทางอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นหรือเปล่า
• แล้วเกิดเป็นผลิตภัณฑ์กราโนล่า ในนามของแบรนด์ Diamondgrains ได้อย่างไร
อูน : อูนเริ่มไปปรึกษาทางผู้ใหญ่ ลองเอาผลิตภัณฑ์ไปให้เขาดู เขาเลยเสนอแนะมาว่าลองทำเป็นอะไรที่เคี้ยวง่ายกว่านี้ดูไหม หาอะไรที่สะดวกแล้วก็แพกเกจที่สามารถเข้าห้างฯ ได้ ตอนแรกเลยได้ทำออกมาเป็นอีกตัวหนึ่งเป็นแครกเกอร์
เราลองเล่นกับธัญพืชมาค่อนข้างนานก่อนที่จะมาเป็นกราโนล่า เราทำออกมาแล้วเราคิดเลยว่ายังไงมันก็ต้องขายได้ จากนั้นเราก็เลยไปหาบริษัทที่เขารับทำแพกเกจจิ้ง เราทำแพกเกจจิ้งจริงจังมาก ซึ่งเรารอแพกเกจจิ้งประมาณ 2 เดือนได้ มันก็เลยเป็นประมาณว่าเราจะต้องรออีกแล้วเหรอ
เราก็เริ่มมีประสบการณ์มาแล้วเนอะว่าบางทีสินค้าที่เราคิดว่าดี ไม่ได้หมายความว่าเราจะขายได้ถ้าคนไม่รู้จัก ตอนนั้นก็เริ่มคิดแล้วซึ่งตอนนั้นเราใช้ชื่อว่า Diamondgrains แล้วนะ แต่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ตัวปัจจุบัน
อูนมานั่งคิดว่าถ้าเป็น Diamondgrains เราจะต้องทำยังไงให้ตลาดรู้จักก่อน เหมือนเป็นพรีเซลล์ออกไปก่อนโดยไม่จำเป็นต้องรอตัวแครกเกอร์ ขอแค่ให้ตลาดเริ่มมีความรู้ก่อน อูนก็เริ่มไปคุยกับเพื่อนเพราะเพื่อนอูนอยู่ในสายเฮลตี้ เขาก็เลยแนะนำพี่คนหนึ่งมาชื่อว่าพี่เมย์ (Mshappydiet) ซึ่งอูนตกใจมากเพราะอูนไม่เคยรู้จักตลาดอาหารคลีนๆ มาก่อน จนเราได้ไปเจอพี่เขาเราก็เริ่มรู้จักคนนั้น คนนี้ เริ่มรู้จักแบรนด์นั้นแบรนด์นี้ ซึ่งเราไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันมีกลุ่มนี้อยู่
จากนั้นเราก็เริ่มศึกษาวัตถุดิบอีกทีหนึ่งว่า เขากินอะไรกันบ้าง มีวัตถุดิบอะไรบ้างที่กินได้ กินไม่ได้ มันตื่นเต้นมากๆ เพราะตอนแรกเราคิดว่าเรามีสินค้าที่ดี แต่เราไม่เคยเจอคนที่เขาต้องการสินค้าของเรา แล้วพอเราไปเจอกลุ่มนี้กลับกลายเป็นวัตถุดิบทุกอย่างที่เขากินได้ คือเรามีหมดเลย แล้วอะไรที่เขากินไม่ได้อูนก็จะไม่ใส่อยู่แล้ว เราดูจากกลุ่มลูกค้าเลย คือเราจะเปลี่ยนจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์หันมาศึกษาที่กลุ่มลูกค้าแทน
สิ่งที่อูนเห็นคือว่ามื้อเช้าเขากว่าจะกินกันได้คือนานมาก ต้องชั่ง ตวง วัด เหมือนบางคนก็จะทำอันนี้เตรียมไว้เพื่อที่จะไปปนกับอันนั้นที่กินข้างนอก เพราะข้างนอกเขาไม่รู้ว่าแม่ค้าใส่อะไรบ้าง ซึ่งตรงนี้เราเลยมองว่าเราขอเป็นส่วนหนึ่งของเขา แค่มื้อเดียว ที่จะไปอำนวยความสะดวกให้กับเขาได้ในแต่ละวันก็เลยมองเห็น กราโนล่า ซึ่งจะบอกว่าก่อนที่อูนจะทำผลิตภัณฑ์ธัญพืชแบบแท่งขึ้นมา อูนทำกราโนล่าขึ้นมาก่อนแต่ยังไม่ได้คิดที่จะขาย เพราะเรามองว่ากราโนล่า ซีเรียลในตลาดมีเยอะมากแล้ว ถ้าทำไปก็คงขายไม่ได้
พอคิดได้ปุ๊บอูนก็มองแล้วหยิบความถนัดของเราขึ้นมาใช้แต่ทำให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เราชั่งให้เลย วัดปริมาณทุกอย่าง อยู่ในแพกเกจที่คิดว่าเขาไม่ต้องล้าง พกไปไหนก็ได้ไม่ต้องกลัวหก ทานทีเดียวจบไม่ต้องเหลือทิ้ง เปลี่ยนรสได้ไม่ต้องกลัวเบื่อ คือเราก็มองความต้องการ 1 2 3 ถึง 10 ข้อว่ามีอะไรบ้าง แล้วตอบโจทย์ตรงนั้นให้ได้ครบที่สุด ก็เลยคิดว่า กราโนล่าน่าจะเหมาะสมกับการเป็นมื้อเช้าเพราะว่าถ้าเราทำเป็นบาร์แป๊บเดียวคนก็น่าจะเบื่อ แต่ถ้าเป็นกราโนล่าปุ๊บ ลูกค้าสามารถทานกับสลัด ทานกับนม ทานกับโยเกิร์ต มันสามารถสร้างสรรค์เมนูให้ไม่เหมือนกันได้ในแต่ละวัน ซึ่งอูนไม่อยากให้ลูกค้าเบื่อก็ทำออกมาเลย 7 รส (หัวเราะ)
• จากที่ล้มเหลวด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆ มามากมาย หลังจากที่เราเปิดตัวผลิตภัณฑ์ชูโรงด้วยขนมสุขภาพอย่างกราโนล่าแล้ว ผลตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง
อูน : ค่อนข้างไวมาก เพราะก่อนหน้านั้นที่เราจะไม่มีตัวไหนที่ขายออกได้รวดเร็วแบบนี้เลย แต่ตัวกราโนล่า Diamondgrains ต้องขอบคุณลูกค้าคือลูกค้าเป็นกระบอกเสียงของ Diamondgrains อูนให้ 80 เปอร์เซ็นต์เลย เราได้กลับมาเพราะว่าลูกค้าล้วนๆ อูนจะแคร์ลูกค้ามากๆ ซึ่งบางทีเราก็แคร์เกินไป แต่เรารู้สึกว่าเราอยู่ตรงจุดนี้ได้เพราะว่าเราได้รับโอกาสจากลูกค้า เพราะลูกค้าให้โอกาสเรา เขาไว้ใจที่จะจ่ายเงินมาก่อนโดยที่ยังไม่ได้ของ ยอมรอไปรษณีย์เพื่อที่จะซื้อสินค้าเรา อีกอย่างตอนแรกๆ ที่เขาได้ไปเขาก็เอาไปแชร์เท่ากับเขาเอาไปแชร์ให้หนึ่งคนยอดเราก็คูณสอง ถ้าสองคนเอาไปแชร์ให้เป็นสี่คนก็กลายเป็นคูณสี่ อูนเลยมองว่าเพราะลูกค้าเลยทำให้เราแข็งแกร่งเพราะเรามีฐานลูกค้าที่น่ารัก มันกลายเป็นว่าเรามีฐานลูกค้าตรงนี้ไว้อยู่แล้ว เวลาคนอื่นมาคุยกับฐานลูกค้าเราเขาก็จะเชื่อว่าเราจะมอบสินค้าที่ดีให้กับลูกค้าได้ ซึ่งตอนนี้ก็รู้สึกดีใจมาก
• จะว่าไปแล้วคุณทั้งคู่ทำธุรกิจกันตั้งแต่อายุยังน้อยเลย เราได้ไปปรึกษาคุณพ่อคุณแม่บ้างไหมว่าท่านจะเห็นด้วยกับเราหรือเปล่า
อูน : ตอนแรกเราปรึกษากันเองสองคนค่ะ ซึ่งตอนแรกๆ เราแทบจะไม่ได้คุยกับพ่อแม่เเลย ประมาณว่าถึงเวลาที่ต้องคุยกับเขา อูนกับพี่แพ็คเอาแผนธุรกิจเป็นเล่มๆ ไปวางให้เขาดูเลยค่ะ ให้ดูว่าเราวางแผนแบบนี้ แบบนั้นนะ
แพ็ค : ปรึกษาตอนที่จะทำแล้วครับ เราคิดทุกอย่างไว้เสร็จสรรพแล้ว ก็เหมือนประมาณว่าเราอยากทำธุรกิจอะไรกัน เราก็ปรึกษากันครับวางแผนกันสองคน แล้วเราก็ไปปรึกษาท่านทีหลังครับ
• ปรึกษาแล้วคุณพ่อ คุณแม่ว่าอย่างไรบ้าง ท่านโอเคกับความคิดเราไหม
แพ็ค : จริงๆ เขาไม่ได้ว่าอะไรนะครับ เขาก็จะมีพูดๆ มาบ้างว่าเราแน่ใจแล้วหรือยัง เขาจะถามย้ำอยู่เหมือนกันครับว่าเราชัวร์หรือเปล่า ถ้าเราแน่ใจ เขาก็โอเค ก็ทำเลย เขาก็จะลงทุนให้ครับ (ยิ้ม)
• แสดงว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นใจในตัวเรามากเลยนะถึงยอมลงทุนให้ เห็นว่าเป็นหลักล้านเลย
แพ็ค : (หัวเราะ) ครับ เขาบอกว่าถ้าเจ๊งก็หมด ก็เรียบร้อยเนอะอะไรทำนองนี้
อูน : จริงๆ ที่ท่านไว้ใจน่าจะเป็นเพราะที่พี่แพ็คเขาเล่นหุ้นมาตั้งแต่อายุ 19-20 ปีได้ ส่วนอูนก็รับเขียนคอนเทนต์มาตั้งแต่อยู่มหาวิทยาลัยปี 2 เพราะฉะนั้นพ่อกับแม่เขาเลยไม่ได้มองว่าเราเป็นเด็กแล้ว เขามองว่าเรารู้ว่าเงินคืออะไร รู้ว่าการลงทุนคืออะไร พอพูดเรื่องการลงทุนเราจะไม่ได้มองในภาพของเด็กๆ แล้วค่ะ แต่จะมองในภาพของผู้ใหญ่แล้ว ซึ่งพ่อกับแม่จะเห็นว่าเราเริ่มรู้จักการบริหารจัดการการใช้เงินได้ มันก็เลยง่ายกว่าเด็กๆ ทั่วไปที่ไม่เคยทำอะไรมาเลย ซึ่งถ้าไม่เคยทำอะไรมาก่อนอยู่ๆ จะให้เขาเสี่ยงเอาเงินก้อนใหญ่มาลงทุนให้ก็คงจะยากเหมือนกันค่ะ ส่วนพี่แพ็คเขาก็ค่อนข้างจะเป็นผู้ใหญ่ในเรื่องของการจัดการบริหารเงิน อูนก็มีประสบการณ์ในการทำงานแล้ว เพราะอูนเคยไปอยู่ต่างประเทศ เคยไปเป็นเด็กเสิร์ฟ หาเงินใช้เองตั้งแต่เด็กๆ มันเลยทำให้เวลาคุยกับพ่อแม่มันก็จะง่ายหน่อย (ยิ้ม)
• ยอมทุ่มทุนหลายล้านบาทเลย ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่าจะขายได้หรือเปล่า
อูน : อูนกลัวนะคะ (ตอบเร็ว) แต่พี่แพ็คจะไม่ค่อยกลัวเท่าไหร่ ซึ่งสามปีแรกที่เราทำโรงงานเราไม่มีอะไรที่ออกไปขายเลยนะ มีแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียวเลย อาจจะมีลองตลาดแต่มันก็ไม่ได้อยู่ในขั้นที่ขายเพื่อเอากำไร ทุกวันที่อูนตื่นขึ้นมาอูนจะถามเขาเสมอว่าเราทำอะไรอยู่ วันนี้เราจะทำอะไรกันดี วันนี้จะไปไหน ในใจเรากังวลตลอดเวลาว่ามันจะโอเคหรือเปล่า เพราะว่าเรากลัวว่าสิ่งที่เราทำอยู่มันจะกลายเป็นว่าทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ตื่นมาอูนก็จะถามแบบนี้ทุกวันว่าเราจะทำอะไรต่อ ในหัวจะมีแต่คำว่าแล้วไงต่อ แล้วไงต่อ แล้วไงต่อ ซึ่งพี่แพ็คก็จะบอกเสมอว่ากลัวอะไรมีโรงงาน กลัวอะไรยังมีเรา เราก็อยู่ด้วยกันจะกลัวอะไร ซึ่งเราก็โอเคๆ แล้วก็ทำต่อไปเรื่อยๆ
อูนจะมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่าทำแล้วผิดก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย เพราะว่าถ้าเกิดเราไม่ทำอะไรเลย มันก็จะไม่มีอะไรเลย แต่เราทำมันอยู่แล้ว ทำมันตลอด ทุกวันที่ตื่นมาเราจะต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งโดยที่เราไม่รู้หรอกว่าตอนจบจะเป็นอย่างไร จะขายดีไหม แต่เรามองว่ามันจะต้องมีสักวันหนึ่งที่เราจับจุดถูก ซึ่งถ้าเราจับจุดถูกเมื่อไหร่ เราก็สบายแล้วเพราะว่าเราผ่านอะไรมาเยอะ เราจะมองอย่างนั้นตลอด
• ตอนนั้นถ้าจะพูดไปแล้วมันก็เป็นไปได้ยากมากๆ ที่พ่อกับแม่จะไว้ใจลงทุนเป็นหลักล้านให้เด็กอายุไม่ถึง 20 ปีทำธุรกิจ เขาไม่เข้ามามีส่วนร่วมหรือคุมการผลิตให้เราบ้างเหรอ
แพ็ค : จริงๆ ก่อนหน้านั้น แพ็คเล่นหุ้นด้วย แล้วท่านก็อาจจะมองว่าเราโตพอที่จะบริหารจัดการได้ ตอนนั้นที่เล่นหุ้น แรกๆ ที่เล่นแพ็คเป็นคนที่ไม่สนใจปัญหาอะไรทั้งสิ้นก็เจอมาหนักเหมือนกัน มีช่วงที่เล่นหุ้นแล้วร่อแร่เหมือนกันนะครับ เกือบเจ๊งซึ่งเรื่องนี้ที่บ้านก็รู้ กว่าจะกลับมาได้ก็ใช้เวลาสักพักอยู่เหมือนกัน เขาเลยมองเห็นว่าเรามีประสบการณ์ในการบริหารมากขึ้น เคยเจ๊งมาก่อน ไม่ใช่ว่าไม่เคยทำธุรกิจอะไรมาก่อนเลย ตอนที่ขาดทุนช่วงแรกๆ ที่เล่นหุ้นผมโดนไปสองล้าน ก็โดนที่บ้านถามมาเหมือนกันว่ามันคืออะไร เราก็เคลียร์กับที่บ้านแล้วค่อยๆ บริหารกลับคืนมา แล้วเราก็กลับมาจริงจังกับการทำงานมากขึ้นเราก็เลยน่าจะได้โอกาสจากตรงนั้นด้วย เขาคงเห็นว่าเราบริหารได้ เรารู้จักแก้ปัญหา ตรงนี้เลยเป็นส่วนหนึ่งที่เขาไว้ใจเรา
อูน : จะว่าไปแล้วเขาก็มีแอบเป็นห่วงนะคะ อย่างเวลามาที่โรงงาน ช่วงแรกที่เขาไม่เห็นว่าเรามีออเดอร์ อูนก็แอบเห็นสายตานะ ซึ่งเขาไม่ได้พูดหรอกว่าเขารู้สึกยังไง แต่เห็นสายตาเขาเราก็รู้นะว่าเขาเป็นห่วง บางทีเขามาที่โรงงานพอเขาออกจากโรงงานไปก็มีโทร.กลับมาถามนะคะว่า “อยู่กันได้นะลูก” คืออูนก็เข้าใจนะว่าเขาอยากรู้ว่าเราเป็นยังไง เพราะเราก็แค่อัปเดตให้เขาฟังคร่าวๆ ไม่ได้บอกว่ามีปัญหาเยอะมากแค่ไหน แค่บอกว่าอนาคตเราจะทำอะไร ขั้นตอนต่อไปจะเป็นแบบไหนแต่ไม่ได้บอกว่าที่ผ่านมาเราต้องเจอกับอะไร อูนมองว่าเราไม่มีเหตุผลที่จะไปบอกให้เขามานั่งเครียด ซึ่งเขาก็บอกเสมอว่าถ้ามีอะไรก็คุยได้นะ จะไม่เข้าไปวุ่นวาย ซึ่งพ่อกับแม่ก็จะใช้ความเชื่อใจอย่างเดียวเลยจริงๆ
เราโชคดีที่พ่อแม่เราทั้งคู่ไว้ใจ ปล่อยให้เราได้คิด ดีทำธุรกิจด้วยกัน เขาจะไว้ใจและไม่เข้ามาจู้จี้ซึ่งเขาจะไม่มีคำถามที่ทำให้เราไม่สบายใจเลย เหมือนกับว่าเขารู้ว่าในใจลึกๆ เราทำอะไรอยู่ จริงๆ มันก็เสี่ยงสำหรับเขานะคะ แต่เราก็มองว่าเราจะทำให้เขาผิดหวังไม่ได้เหมือนกัน
• เราเริ่มทำงานตั้งแต่วัยรุ่นเลย ไม่คิดว่าเราสูญเสียความเป็นวัยรุ่นไปบ้างเหรอคะ
อูน : ความเป็นวัยรุ่นคืออะไร (หัวเราะ) อูนไม่รู้ว่าความเป็นวัยรุ่นคืออะไรเพราะอูนรู้สึกว่าเรามีสิ่งที่เราต้องการครบ คำว่าครบในที่นี้ก็คือ เราได้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ อูนจะเห็นโดยการใช้ชีวิตของคนไทยจะคล้ายๆ กัน เรียนจบปริญญาตรีต้องดูว่าเราจะเรียนปริญญาโทต่อไหม จะต้องไปทำงานบริษัทอะไร บริษัทไหนดีซึ่งมันทำให้เปลือกข้างนอกค่อนข้างสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตที่หรูหราหรืออะไร ตรงนี้อูนอาจจะเลือกเองด้วยว่าเราจะไม่ใช้ชีวิตที่หรูหราจนเกินไปเพราะอูนมองว่ามันไม่ได้ให้ความสุขกับเราเท่ากับการทำงาน เราไม่คิดว่าอยากจะไปทำอย่างอื่น แต่ก็มีบ้างบางครั้งช่วงที่มีปัญหาแรงๆ เข้ามาเราก็จะมีถามตัวเองบ้างว่าเราคิดถูกหรือเปล่าที่เราตัดสินใจทำธุรกิจ เราจะรอดไหม เราจะไหวไหม แต่เราก็สามารถก้าวข้ามความกลัวไปได้
จริงๆ ถ้ามาดูการใช้ชีวิตของเราสองคน เราแทบจะเหมือนกับวัยรุ่นทุกคนทั่วไปเลย แต่แค่เราทำงานกันตั้งแต่ยังเด็ก อย่างตอนนี้ไปเที่ยวถ้าจะให้ไปต่างจังหวัดเหมือนคนอื่นเขาก็ไม่ได้ จะไปต่างประเทศก็คงไม่ได้ไป แต่ถ้าถามว่าแย่มั้ยสำหรับเรา อูนว่ามันก็ไม่แย่นะคะเพราะว่าเรารู้ว่าเราทำอะไรอยู่ เหมือนกับว่าถ้าให้เราเลือก เราก็เลือกทางนี้อยู่ มันเป็นการใช้ชีวิตของเรา เหมือนตื่นมาเราก็ทำงานกันแล้ว เราสามารถทำงานได้ตลอดเวลา (ยิ้ม) เพราะสิ่งที่เราทำตอนนี้มันเหมือนเลือดที่สูบฉีดเราสองคนด้วย จริงๆ เรามีความสุขในแบบนี้ อย่างตอนนี้อูนไปทำงานที่อเมริกา อูนได้รู้เลยว่าจริงๆ แล้วความสุขของเรามันไม่ได้อยู่ที่เราได้ไปกินอาหารหรูๆ ไปฉลอง ไปปาร์ตี้ พอกลับมายังไงมันก็ไม่ใช่ความสุขที่สามารถเติมเต็ม ไม่ใช่ความสุขที่ยั่งยืน มันต่างกับที่เราได้ใช้ชีวิตกับการทำงาน ทุกครั้งที่ได้ผลตอบรับออกมาดีมันได้มากกว่าความสุข เราได้แก้ปัญหา มันไม่ใช่แค่ตัวเราที่ภูมิใจ มีคนข้างหลังเราอีกตั้งเยอะที่เขารอดูความสำเร็จของเรา (ยิ้ม)
แพ็ค : ส่วนตัวผมว่าไม่นะครับเพราะเรามีความสุขที่จะใช้ชีวิตแบบนี้ เราโชคดีด้วยแหละครับที่เราชอบการใช้ชีวิตแบบนี้ (ยิ้ม) มีเท่านี้เราก็พอใจแล้ว ที่เราต่างกับวัยรุ่นคนอื่นๆ ก็น่าจะเพราะเราอาจจะไม่มีโอกาสได้ไปเที่ยวเหมือนพวกเขาแค่นั้นเองครับ นอกนั้นผมว่าเราก็ยังเหมือนวัยรุ่นทั่วๆ ไปที่ไม่ได้มีอะไรดีหรือมากกว่า (ยิ้ม)
ผมมองว่าถ้าเราเป็นวัยรุ่นแล้วติดเที่ยวตอนนี้เราก็จะไปลำบากตอนที่เราอายุเยอะ สำหรับผม ผมว่ามันมีค่าเท่ากันเพราะถ้าไม่ลำบากตอนนี้เราก็ไปลำบากวันข้างหน้าอยู่ดี อยู่ที่ว่าคุณจะเลือกลำบากตอนไหนมากกว่า อีกอย่างผมเป็นคนไม่ชอบเที่ยวอยู่แล้ว อูนก็ไม่ชอบเที่ยวอยู่แล้ว มันเลยกลายเป็นว่าเวลาที่คนอื่นเขาไปเที่ยว ไปกินข้าว ไปสุงสิงกัน ซึ่งเราไม่เคยรู้สึกว่าเราอยากไปทำด้วยซ้ำ เราไม่มีความโหยหาตรงนี้
• จากตอนแรกเห็นว่าธุรกิจเริ่มมาจากสองคน จากแบรนด์เล็กๆ ที่ขายในออนไลน์เพียงอย่างเดียว แต่เห็นว่าตอนนี้ทำเป็นทีมงานแถมผลิตภัณฑ์ได้วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าอย่างที่ใฝ่ฝันไว้แล้วด้วย
อูน : ใช่ค่ะตอนแรกเราทำกันแค่สองคน ส่วนเรื่องขึ้นห้างฯ ทางท็อปส์ซูเปอร์มาร์เกตติดต่อมาค่ะ (ยิ้ม) ตอนนั้นอาจจะยังไม่มีกราโนล่าเจ้าไหน แล้วก็กลายเป็นว่าเราเปิดตลาดกราโนล่าขึ้นมาได้ ซึ่งตรงนี้อูนจะเล่าให้ฟังอย่างหนึ่งว่าแรกๆ เลยเราเคยพยายามทำคุกกี้ธัญพืชซึ่งแพกเกจก็ยังไม่สมบูรณ์ อารมณ์คล้ายเด็กทำขนมแล้วเราก็เคยเข้าไปเสนอห้าง ตอนนั้นเราตัวเล็กมาก (ลากเสียงยาว) มันเป็นอะไรที่เราดูเหมือนเป็นแค่เศษอะไรของเขาก็ไม่รู้ จนวันหนึ่งที่เราทำให้แบรนด์เราแข็งแรงพอที่เขาจะโทร.กลับมาติดต่อ มันเป็นอะไรที่มันไม่ใช่แค่ภูมิใจที่ขนมเราขึ้นห้างได้นะ แต่มันภูมิใจที่เราอดทนมาจนถึงจุดที่เราทำให้มันแข็งแรงได้
แพ็ค : ยอมรับว่าธุรกิจเติบโตขึ้นเยอะนะครับ เติบโตขึ้นทุกเดือน แต่มันจะออกมาประมาณว่าสามเดือนจะโตขึ้นครั้งหนึ่ง สามเดือนแล้วก็หยุดประมาณนี้ครับ (ยิ้ม) ตอนนี้มีขายตามท็อปส์ซูเปอร์มาร์เกตแล้ว 18 สาขาครับ แต่ภายในสามเดือนจากนี้จะขยายเป็น 60 สาขาให้ได้ครับ ซึ่งเขาเปิดมาแล้วว่าขอเป็น 60 สาขาแต่เราขอเลื่อนออกไปก่อนเนื่องจากยังผลิตไม่ทันแล้วกลัวในเรื่องของคุณภาพด้วย
• เห็นว่าตอนนี้ใครๆ ก็ทำอาหารเพื่อสุขภาพขาย อีกอย่างกราโนล่าก็มีขายเต็มเลยตามท้องตลาด การแข่งขันค่อนข้างสูงแบบนี้เรารับมืออย่างไรบ้าง
อูน : จริงๆ การที่เรามีคู่แข่ง ครั้งแรกเลยเราก็กลัวนะคะเพราะว่าเราไม่เคยเข้าใจความรู้สึกของการมีคู่แข่งมาก่อน แต่พอเราเจอคู่แข่งเราแล้วเราจะต้องศึกษาเหมือนกันว่า จุดแข็งของเขาคืออะไร จุดดีของเขาคืออะไร ถ้าจุดแข็งของเขาไม่เหมือนของเรา เราก็จะไม่เป็นไร เราก็อนุญาตให้เขาทำนะคะเพราะอูนมองว่าลูกค้ามีสิทธิที่จะเลือก คือเราจะไปบังคับลูกค้าให้กินแต่ของเรามันเป็นไปไม่ได้ ถ้าเขาไปเจออะไรที่ดีกว่า อร่อยกว่า เหมาะสมกับการบริโภคของเขามากกว่านั่นก็คือเรื่องของลูกค้า หน้าที่ของเรามีอย่างเดียวคือทำให้ดีที่สุด ไม่เคยมองเลยว่าเราจะต้องไปแข่งกับเจ้าไหน อูนจะมองแค่ว่าถ้ามันดีสำหรับลูกค้าอูนก็จะทำ แล้วถ้ามันดีสำหรับลูกค้ามากขึ้นเราก็ทำ ซึ่งอูนเชื่อว่าเราไปห้ามใครไม่ได้
อย่างช่วงที่ออเดอร์เยอะมากๆ ร้านค้าที่เราเอาไปส่งเขาก็จะต้องรอของนาน บางเจ้าที่เขาไม่เข้าใจเขาก็จะพูดเสมอว่า “ระวังเถอะเขาจะไปหาคู่แข่ง” อูนก็ได้แต่พยายามอธิบายไปแต่ไม่ได้ไปบังคับอะไรเขา การที่คู่แข่งมากขึ้นก็เท่ากับว่าตลาดใหญ่ขึ้น ถ้าเรายังดีที่สุดอยู่เราก็จะไม่กลัวอะไร (ยิ้ม)
แพ็ค : ผมมองว่าจุดแข็งของแบรนด์เราจริงๆ คือการเอาใจใส่ลูกค้า วันหนึ่งเขาจะดูแลลูกค้ามากๆ ตื่นมาเขาจะดูแล้วว่าลูกค้าต้องการอะไร มีออเดอร์ผิดพลาดหรือเปล่าซึ่งจุดนี้ก็เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ สำหรับเรา
• คิดว่าเราเป็นเบอร์หนึ่งของตลาดแล้วหรือยัง
อูน : ถ้าเป็นเรื่องกราโนล่าอูนเชื่อว่าแบรนด์ของเรา (Diamondgrains) เป็นเบอร์หนึ่ง แล้วอูนก็มีความคิดแบบนั้นมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นวันไหนที่มีคู่แข่งเข้ามาเยอะขนาดไหน อูนจะพยายามทำให้มันเป็นที่หนึ่งตลอดเพราะว่ามันเป็นความจริง มันเป็นสิ่งที่เราเริ่มต้นมาก่อน มันเป็นสิ่งที่เราทำให้เขารู้จัก เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้มันคงอยู่และแข็งแรงขึ้น
เรามองว่ามันไม่ใช่ความผิดของใครไม่ใช่ความผิดของคู่แข่งเราที่เขาทำตาม แต่เรามองว่าเราต้องก้าวข้ามตรงนี้ไปแล้วลุกขึ้นทำอะไรบางอย่างให้ลูกค้าเขาเห็นชัดไปเลยว่าของเราคืออะไร ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำไม่ใช่หน้าที่ของคู่แข่ง ไม่ใช่หน้าที่ของลูกค้าที่จะต้องมานั่งสังเกตด้วยว่าใช่แบรนด์เราไหม มันเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องพัฒนาล้วนๆ
• ถ้าให้มองย้อนกลับไปจากที่เราเคยล้มเหลวมาก่อน เคยถูกคนมองข้ามจนวันนี้กลายเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมียอดขายหลายพันถ้วยต่อวัน เรารู้สึกอย่างไรบ้าง เรามองว่าเราประสบความสำเร็จแล้วหรือยัง ชีวิตเพอร์เฟกต์แล้วหรือยัง
อูน : โห ห่างไกลคำว่าเพอร์เฟกต์มากค่ะ (หัวเราะ) คนอาจจะมองว่าเรามีธุรกิจของตัวเอง ชีวิตดี๊ดี แต่คำว่าประสบความสำเร็จของบางคนอูนมองว่ามันไม่เหมือนกัน ของพี่แพ็คก็อาจจะเป็นอย่างหนึ่ง ของอูนก็อาจจะเป็นอย่างหนึ่ง
อูนว่าคนที่มองมาอาจจะคิดว่าเราจะต้องภูมิใจมากแน่ๆ เลย แต่ด้วยพื้นฐานที่เราตื่นมาทำงานกันทุกวันมันมองไม่เห็นหรอกค่ะว่าเราตัวใหญ่แค่ไหน เพราะเราก็ยังมองว่าเราตัวเล็กเท่าเดิม แต่ว่ามันจะมีบ้างที่เราดีใจว่าเราทำได้จริงๆ เหรอ เราทำได้ใช่ไหม จริงๆ เราจะมองไม่เห็น มีคนมาสะกิดให้เรามองดูสิว่าเรามาถึงขนาดนี้แล้วนะ เหมือนช่วงแรกที่เข้าห้างฯ ได้ซึ่งจากเดิมมันก็เป็นความฝันของเราอยู่แล้วด้วย พอเข้าห้างฯ ได้ อาทิตย์แรกเราไม่ได้มีเวลาเข้าไปดูเลยนะ แต่พอหลังๆ บางทีเรามีโอกาสได้เดินผ่านแล้วมองไปเห็น เราก็จะรู้สึกว่าเฮ้ย !! มันเป็นไปได้ว่ะ (ยิ้ม) เรามองว่าคำว่าประสบความสำเร็จมันอาจจะไม่ได้มีอะไรที่ตัดได้ว่ามันจบแล้ว เราก็จะทำต่อไปเรื่อยๆ อูนไม่ได้มองว่าตัวเองประสบความสำเร็จแต่แค่รู้ว่าเรามาถูกทางแล้วเท่านั้นเองค่ะ
แพ็ค : ผมว่าก็ยังนะครับ เราไม่อยากมองอย่างนั้น เราจะยังไม่มองว่าเราประสบความสำเร็จแล้วแต่เราจะมองว่าเราจะต้องพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นในทุกวัน พัฒนาทั้งตัวเรา พัฒนาทั้งสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าเพื่อตอบสนองลูกค้าต่อไป คือจริงๆ ถ้าเป็นเรื่องของการทำธุรกิจเมื่อก่อนผมอาจจะมองว่าถ้าเราอยากประสบความสำเร็จได้ เราต้องมีบริษัทใหญ่ๆ มียอดขายมากๆ แต่พอได้มาทำจริงๆ มุมมองของเราก็จะค่อยๆ เปลี่ยนซึ่งเราจะมองในส่วนของลูกค้ามากกว่าว่าเขาพอใจไหม ถ้าลูกค้าพอใจ ผมก็โอเค เราก็อยู่ได้นั่นแหละเราประสบความสำเร็จแล้ว อาจจะได้มองถึงยอดขายว่าจะต้องเยอะ ถ้าลูกค้าเขาชอบ เขายังอยู่กับเรานั่นแหละผมว่าเราประสบความสำเร็จแล้ว
• ถ้าตัดเรื่องของเงินทองออกไป เราได้อะไรจากการทำธุรกิจตรงนี้บ้างคะ
อูน : เยอะมาก (หัวเราะ) แต่เราเป็นผู้หญิงส่วนหนึ่งก็มีอารมณ์ที่จะค่อนข้างอ่อนไหวกับทุกอย่าง แต่พอเราได้ทำธุรกิจเราจะรู้เลยว่าตัวเราแข็งแรงขึ้นนะ เรามีสติในการแก้ปัญหามากขึ้น เราสามารถแยกปัญหาออกจากความรู้สึกของเราได้ง่ายขึ้นเยอะมาก (ลากเสียงยาว) ถ้าเป็นแต่ก่อนเราคงตายไปแล้ว ตอนนี้เราจะมองว่าปัญหาก็คือปัญหา ตัวเราก็คือตัวเรา เรามองจากมุมของคนที่กำลังจะแก้มัน ไม่ใช่คนที่จะจมอยู่กับมัน แล้วอีกอย่างอูนยังได้เรียนรู้คน ได้เรียนรู้พี่แพ็คว่าเขาเป็นยังไง เพราะการเป็นแฟนกันทุกคนก็อยากที่จะมีอารมณ์มุ้งมิ้ง แต่จะมีสักกี่คนที่ต้องผ่านจุดที่แย่ ที่มีปัญหาหนักๆ วันๆ ไม่ทำอะไรเลยนอกจากนั่งร้องไห้ พอผ่านตรงนั้นมาได้ก็เลยมองว่ามันไม่มีอะไรน่ากลัวอีกต่อไปแล้ว
แพ็ค : ผมว่าเราได้เรียนรู้นะครับว่าการที่เราจะทำธุรกิจเราต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม ทั้งการเตรียมใจและเรื่องอื่นๆ อีกอย่างมันทำให้ผมได้รู้ว่าเราหยุดพักได้แต่ไม่ใช่หยุดไปเลย พอเรามีโอกาสใหม่เราก็ต้องไปต่อ
• ในอนาคตมีเป้าหมายอย่างไรต่อไปบ้างไหม
อูน : ตอนนี้ระบบเว็บเราจะแข็งแรงมากขึ้น จะมีการสะสมแต้ม จะเริ่มมีระบบสมาชิกที่จริงจัง จะมีการตอบแทนลูกค้าเก่าและลูกค้าประจำ อีกอย่างการกระจายสินค้าก็จะมีมากขึ้น พอทุกอย่างลงตัวก็จะเริ่มมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาให้เห็นค่ะ (ยิ้ม)
อูนอยากให้ Diamondgrains เป็นแบรนด์กราโนล่าที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทยจนถึงขั้นส่งออก จนถึงขั้นที่เอาง่ายๆ ประมาณว่าถ้าเกิดเราอยากกินนมเปรี้ยว เราก็จะนึกถึงยาคูลท์ ถ้าไปกินแบรนด์อื่นมันก็จะไม่เหมือนยาคูลท์ซึ่งอูนอยากให้เป็นแบบนั้นค่ะ (ยิ้ม) อาจจะมีแบรนด์อื่นเข้ามาทดแทนได้ในบางโอกาสแต่สุดท้ายก็ยังอยากให้กลับมาหาเรา
• ท้ายนี้มีเคล็ดลับอะไรหรืออยากฝากอะไรถึงคนที่อยากทำธุรกิจหรือทำธุรกิจแล้วแต่หยิบจับอะไรก็ล้มเหลวบ้างไหมคะ
แพ็ค : ผมมองว่าต้องกล้าที่จะคิดต่าง กล้าที่จะลงมือทำ มองถึงความเสี่ยงว่าความเสี่ยงในธุรกิจนั้นๆ ตัวเองรับได้ไหม ถ้ารับได้ก็ลงมือทำได้เลย เพราะว่าถ้าเรามองเห็นความเสี่ยงว่ามันเสี่ยงเกินไปกับเราซึ่งแค่เริ่มต้นเราก็มองว่ามันเสี่ยงมากแล้วถ้าเข้าไปทำจริงๆ มันจะยากกว่านั้นเยอะ ผมอยากให้มองดีๆ ก่อน จากนั้นถ้ามันโอเคสำหรับเรา เราก็ลุยอย่างเดียว (ยิ้ม)
อูน : สำหรับอูนมองว่าความล้มเหลวมันไม่ได้อยู่ตรงข้ามกับความสำเร็จ มันเป็นขั้นหนึ่ง ขั้นสอง ขั้นสาม สี่ ห้า ของความสำเร็จ ยิ่งล้มเหลวมากเราก็จะยิ่งรู้เยอะว่าอะไรที่เราไม่ควรจะทำ แล้วอะไรที่เราทำแล้วมันจะโอเค ก็อย่าไปมองว่ามันเป็นจุดจบ มันก็เป็นแค่ประสบการณ์ซึ่งทุกคนเจออยู่แล้วเพราะน้อยมากที่ใครจะทำอะไรแล้วสำเร็จตั้งแต่แรก มองให้เป็นเส้นเดียวกัน มองว่าเรากำลังจะไปหาอะไร เราต้องผ่านมันไปให้ได้ทีละอย่างซึ่งเราไม่รู้หรอกว่าเราจะต้องผ่านไปอีกกี่สิบอย่าง แต่ถ้าเรากำลังเดินไปในทางที่ถูกต้องอูนว่าเดี๋ยวเราก็จะเจอทางออกได้เองค่ะ (ยิ้ม)
กราโนล่าคืออะไร ??
กราโนล่า เป็นชื่อที่ใช้เรียกอาหารประเภทหนึ่งซึ่ง “ทำมาจากธัญพืชไม่ขัดสีอบรวมกันจนกรุบกรอบ” นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารเช้าคู่กับนมหรือโยเกิร์ตแบบซีเรียล หรือจะกินเป็นขนมก็ได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพหรือใช้ชีวิตแบบ Active เพราะอัดแน่นไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ประโยชน์ของกราโนล่า
1.ดีต่อระบบย่อยอาหารและช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจได้ดี
2.ป้องกันท้องผูก ช่วยปรับสมดุลเรื่องการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี
3.ลดคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดให้หลอดเลือดแข็งแรง
4.ลดความรู้สึกสำหรับผู้ที่โหยน้ำตาลหรืออยากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
5.เหมาะกับผู้ที่รักษารูปร่าง
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : จิรโชค พันทวี และ www.diamondgrains.com