มหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2541 นั้น เรียกได้ว่าเป็นจุดพีกของวงการกีฬาไทยเลยก็ว่าได้ เพราะถือว่ามีผู้ชมชาวไทยเข้าไปชมเกมในชนิดกีฬาต่างๆ กันแบบมืดฟ้ามัวดิน และยิ่งชนิดกีฬาที่นักกีฬาทีมชาติไทยทำการลงแข่งขันแล้ว แทบไม่ต้องพูดถึงเลย เพราะพี่น้องชาวช้างศึกต่างไปให้กำลังใจกันอย่างคึกคักเลยทีเดียว
และแน่นอน หนึ่งในชนิดกีฬาที่คนไทยยกพลบุกไปให้กำลังใจกันอย่างล้นหลาม นั่นก็คือ “เซปักตะกร้อ” ซึ่งแน่นอนว่าแน่นขนัดตั้งแต่รอบแรกลากยาวไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ และทัพลูกหวายไทยก็ไม่ทำให้แฟนตะกร้อเจ้าบ้านไทยผิดหวัง สามารถคว้าเหรียญทองมาครองได้อย่างสมศักดิ์ศรี ทั้งประเภททีมเดี่ยวและทีมชุด และการแข่งขันในครั้งนั้น ยังเป็นการแจ้งเกิดสำหรับ “โจ้-สืบศักดิ์ ผันสืบ” อีกด้วย
เจ้าของฉายา “โจ้ หลังเท้า” และ “จอมเสิร์ฟหลังเท้า” ถือว่าเป็นราชาแห่งความสำเร็จของวงการเซปักตะกร้อไทยอย่างเต็มภาคภูมิ ในระยะเวลากว่า 15 ปี ที่รับใช้ชาติและสโมสร สืบศักดิ์แทบจะประสบความสำเร็จในเกือบทุกถ้วยที่เข้ามีส่วนร่วมในการแข่งขัน โดยเฉพาะการคว้าแชมป์ในระดับนานาชาติ อย่างซีเกมส์ และเอเชียนเกมส์ ที่สามารถคว้าเหรียญทองมาแบบนับไม่ถ้วน จนกล้าจะเรียกได้ว่า สืบศักดิ์เป็นตำนานอีกบทหนึ่งของวงการกีฬาไทย
แม้ทุกวันนี้ สืบศักดิ์ จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับวงการตะกร้อไทยแล้ว เพราะด้วยหน้าที่ “เจ้าหน้าที่ตำรวจ” ด้วยยศ พันตำรวจตรี นำหน้า พ่วงด้วยตำแหน่ง สารวัตรป้องกันปราบปราม ประจำ สน.พหลโยธิน และเป็นคณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แต่สืบศักดิ์ยังคง ‘เต็มที่’ และ ‘จริงจัง’ กับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่แตกต่างจากสมัยลงหวดลูกตะกร้อในสนาม
เล่นกีฬา “เพราะอยากเท่”
ณ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เด็กชายสืบศักดิ์ในวัยเด็ก ก็มีสภาพที่ไม่ต่างจากเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันนัก ที่มีการเล่นซุกซนไปตามประสาเด็กทั่วไป สลับกับการเล่นกีฬาบ้าง โดยที่ไม่ต้องคิดอะไรมากนัก แต่เมื่อเริ่มอยากเป็นที่สนใจบวกกับความอยากเท่จากการที่เพื่อนของเขาเล่นกีฬาในตอนนั้น ทำให้เด็กชายสืบศักดิ์ ไม่ลังเลที่จะอยากเล่นกีฬากับเขาบ้าง
“คือตอนเด็กเรามีความรู้สึกว่า เราอยากเล่นกีฬา เพราะว่าเราเห็นเพื่อนเล่นแล้วมันเท่ จุดประสงค์แรกเลยนะ เลยเข้าไปขอพ่อว่าอยากเล่นกีฬาโรงเรียน คือไม่รู้ว่าอยากเล่นอะไร ก็มาตรฐาน ฟุตบอลกับตะกร้อ ตอนนั้นก็มีครูวิศิษฐ์ กออภิญญากุล ท่านก็เป็นครูที่สอนตะกร้อกับฟุตบอลที่โรงเรียน เราก็เข้าไปสมัครตอน ป.4 จำได้เลย เข้าไปขอสมัครกับครู คือก่อนหน้านี้เห็นเพื่อนเล่นแล้วเรามีความรู้สึกว่าอยากเป็นแบบนั้นบ้าง เท่มากเลย แถมได้เสื้อโรงเรียนด้วย มีชื่อโรงเรียน ตราโรงเรียน สัญลักษณ์โรงเรียน เราอยากใส่ ซึ่งเรายังไม่มีทักษะอะไร”
“แต่ด้วยความที่คุณพ่อของผมท่านเคยเป็นนักฟุตบอล ก็ชอบเล่นกีฬาอยู่แล้ว ท่านก็สนับสนุนเต็มที่ พอได้เข้ามาแล้ว ด้วยความที่ซ้อมทุกวัน จนเรามีทักษะมากขึ้น ก็เริ่มเล่นกีฬาตอน ป.4 จน ป.5 ได้แข่งขัน และเริ่มได้แชมป์กีฬาอำเภอ จน ม.1 เริ่มแข่งที่กรุงเทพฯ พอตั้งแต่ ม.2 จนถึง ม.6 นี่ได้แชมป์ของกรมพลศึกษาทุกปีเลย เข้ามาแข่งที่กรุงเทพฯ ม.2 ก็เริ่มติดตัวเยาวชนของทีม ธ.กรุงเทพ ก็เริ่มมีเงินเดือนกิน จบ ม.6 ก็คัดตัวทีมชาติ”
ถึงแม้ว่าจะได้เข้าสู่วงการกีฬามาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ แต่การเป็นตัวแทนของจังหวัด ซึ่งต้องห่างไกลจากครอบครัวและบุคคลที่เขาคุ้นเคย เพื่อไปเจอกับบุคคลที่เขาไม่คุ้นชิน และการซ้อมกีฬาที่เข้มข้น จนอาจทำให้ต้องท้อใจว่าจะเลิกเล่นบ้าง แต่ด้วยหน้าที่ที่เขาอยากเป็น ก็คงทำได้เพียงแค่อารมณ์ชั่ววูบเท่านั้น และตั้งหน้าตั้งตาซ้อมต่อไปอย่างไม่ปริปากบ่น
“ตั้งแต่ 10 ขวบ เราก็เล่นกินนอนมา พอเวลาต่อมา ต้องเริ่มไปนอนนอกบ้านแล้ว ตอนนั้นทางจังหวัดเรียกไปคัด เพราะได้แชมป์กีฬาประจำอำเภอไง ต้องคัดตัวไปเป็นกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ไปนอนที่โรงเรียนในจังหวัดเลย คืนแรกร้องไห้เลย ซ้อมเสร็จ 6 โมง ร้องไห้ตั้งแต่หน้าเสาธงเลย เพราะเราไม่เคยออกนอกบ้านไง ตั้งแต่ ป.6 ซ้อมเสร็จโดนโค้ชด่าอะไรไป เพราะสมัยก่อนมันไม่ใช่แบบสมัยนี้ มีอะไรด่าๆ อย่างเดียว แล้วเราไม่ใช่คนคุ้นเคย ไม่ใช่ครูที่สอนเรามาครั้งแรก ไม่ใช่พ่อแม่ เราก็รู้สึกว่า โดนกดดัน ตอนนั้นคิดว่าจะไม่เล่นแล้ว แต่มันก็ได้อารมณ์หลายๆ อย่างที่กีฬาให้มา”
และแน่นอน ด้วยการเป็นนักกีฬาของโรงเรียน จึงทำให้ต้องเสียเวลาความเป็นส่วนตัวไป ขณะที่เพื่อนคนอื่น เรียนเสร็จและกลับบ้าน ไปใช้ชีวิตปกติ สืบศักดิ์ยังต้องซ้อม ซ้อม และซ้อมตะกร้อต่อไป แต่การที่ได้ซ้อมกีฬา ก็ให้ประสบการณ์และความสนุกในตอนนั้น มาเป็นสิ่งทดแทน
“ตอนที่ได้เล่น บางคาบเราต้องลา เพราะว่าเราไปแข่งกรุงเทพฯ ต้องลากิจไป แต่มันก็เหนื่อย ตรงที่ต้องกลับมาทำการบ้าน มานั่งทำสิ่งที่เพื่อนต้องจดอะไรไป ไล่ตามจดทีหลัง มันก็เหนื่อยตรงนี้แหละ นอกนั้นชีวิตเราก็สนุกดีครับ ผมว่าคุ้มค่านะกับที่ต้องแลกมา เพราะว่าถึงไม่ขนาดนี้ ผมว่าก็ได้เรียนรู้นะ ชีวิตกีฬามันมีต่อสู้ มันมีการตัดสินใจ มันมีความตื่นเต้น เราจะทำไง มันได้เห็นสนามที่แบบ โห แล้วใจเต้นแรง มันก็ทำให้เราจิตใจเข้มแข็งขึ้น ก็ผ่านอุปสรรคอะไรต่างๆ แบบแมตช์ที่กดดัน เราก็ต้องมีวิธีที่เราปรับตัวและผ่านมาให้ได้ ก็คุ้มนะ ถ้าเราไม่คิดเรื่องชีวิตนะ คิดถึงเรื่องการตัดสินใจ เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ว่ามีพื้นฐานทุกอย่างเลย ทำให้เราเอามาใช้ได้เลย”
เมื่อเข้าสู่การซ้อมกีฬาตะกร้ออย่างจริงจัง แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงจากการซ้อมในช่วงเวลาเย็น ช่วงเดียว มาเป็นการซ้อมเต็มรูปแบบ ทั้งเวลาเช้าและเย็น และรูปแบบหนักหน่วงมากกว่าเดิม ซึ่งหากเป็นรายอื่นคงถอดใจและคงถอนตัวไปแล้ว แต่สำหรับสืบศักดิ์แล้ว กลับไม่รู้สึกอะไรเลย และยังยินดีที่จะซ้อมได้ทุกรูปแบบต่อไป
“คือตอนอยู่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ซ้อมแค่ตอนเย็นอย่างเดียว แต่พอมาตอนช่วง ม.2 ช่วงมาคัดตัวเยาวชนสโมสรธนาคารกรุงเทพ ที่โรงยิมจุฬาฯ ชีวิตผมเริ่มซ้อม 2 เวลา เพราะเขาขอตัวมาเก็บที่สโมสร 1 เดือน ซ้อมช่วงเช้าและช่วงเย็น เช้าก็ 2-3 ชั่วโมง เย็นก็ 4 ชั่วโมง ชีวิตเริ่มซ้อมเป็นระบบแล้ว ซ้อมจนเหนื่อย เพราะว่ามันมีตัวทีมชาติมาซ้อมด้วย อย่างสโมสรแบงก์กรุงเทพ จะมีทีมชาติทั้งนั้นเลย ซ้อมเสร็จเราก็ไปนั่งดูพี่เขาซ้อมกัน เราอยู่ชุดเยาวชน ก็ไปนั่งดูชุดใหญ่ซ้อม และนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งในแรงบันดาลใจ”
แม้ว่าเวลาซ้อมของทีมเยาวชนของสโมสรธนาคารกรุงเทพ จะหมดลงในแต่ละวัน แต่ สืบศักดิ์ ก็ยังมาดูการซ้อมของนักตะกร้อทีมชุดใหญ่ แทบทุกวัน และนั่นก็เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจในการเล่นตะกร้อสำหรับเขา
“ที่เราได้เห็นทีมชาติบ่อยๆ ชุดนั้นมี ภักดี แดงวัฒนไพบูลย์ หรือ สุรัตน์ ณ เชียงใหม่ ซึ่งนั้นคือแบบตัวเสิร์ฟเทพเลย มันเหมือนเป็นความใฝ่ฝันเลย เพราะได้เห็นพี่เขาจากทีวี แล้วเราได้เห็นทีมชาติ ได้มีโอกาสไปนั่งดูที่ขอบสนามหลังเลิกซ้อมทุกวัน จนทำให้มีแรงบันดาลใจนะ ให้เราอยากเล่นๆ แต่ถึงขั้นทีมชาติ ตอนนั้นอยากเล่นมั้ยก็อยากนะ แต่เราก็คิดนะว่า เฮ้ย เจ๋งว่ะ อย่างน้อยก็มาถึงตรงนี้ได้ ก็เลยถือว่าจริงจังกับการซ้อมและซ้อมหนักขึ้น”
จากแรงบันดาลใจที่ได้รับในระหว่างการฝึกซ้อมอย่างไม่กดดัน และบวกด้วยมีความมุ่งมั่นอย่างไม่ย่อท้อ ผลลัพธ์ที่ได้ ก็ส่งผลให้สืบศักดิ์สามารถติดทีมชาติชุดใหญ่ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
“คือไปตามอัตโนมัติเลย เราก็ไม่ได้คาดหวังไง ส่วนหนึ่งก็พอไม่ได้คาดหวัง เราก็ไม่ได้กดดัน ก็เล่นไปเรื่อยๆ ทุกวัน เราก็เก่งขึ้นมาเอง แล้วก็แบบเราไม่ได้เกเรนะ เพราะผมมองว่า ถ้าเป็นนักกีฬา ผมมองว่าเต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ อดทน ขยัน ระเบียบวินัย ผม 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะผมมองว่ามันต้องอย่างงั้น”
• พอเรารู้ว่าติดทีมชาติแล้ว ตอนนั้นคือมีความรู้สึกยังไง
ผมก็ดีใจนะ เพราะเก็บตัวนานมาก ปีนั้นก็ประมาณ 6 เดือน คัดซีเกมส์ก่อน ผมก็ซ้อมกับรุ่นพี่น่ะครับ พอเริ่มซ้อมๆ มันก็เครียดไง เพราะมันเริ่มมีแข่งขันแล้ว เก็บตัวที 24 คน เอาแค่ 12 คน ก็ต้องคัดกัน ลงซ้อมเจอกันแบบทีม ประลองกันทุกวัน ทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องก็บี้กันตลอด มันก็มีความกดดันที่มีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา มันก็มีการคัดตัวไปแข่งกัน
จำได้ว่าครั้งแรกไปแข่งที่ออสเตรเลีย และก็เจอกับทีมชาติมาเลเซีย ซึ่งตอนนั้นเขาเหนือกว่า เป็นแชมป์ตลอด แล้วเราต้องแข่งกับเค้า 3 วัน ผมก็สำรองกับพี่เค้าไปคนหนึ่ง ไปกับทีมชุดใหญ่ไป มีพี่เกรียงไกร มุทาลัย พี่ไพศาล ใหม่หันลา และ พี่กัมพล ทัตสิทธิ์ แล้วก็ผม ตอนนั้นมีแค่ 4 คน ในทีมนี้ ก็วันแรก ก็แข่งเจอกัน ในตอนแรก พี่ทั้ง 3 คน ลงไปก่อน ผมก็นั่งสำรอง เซตแรกเราน่าจะแพ้ไปก่อน ผมต้องลงไปเล่นในเซ็ท 2 แต่อากาศมันเย็นไง ผมก็ยังวอร์มไม่เต็มที่ไง เราเป็นเด็กใหม่ ตอนนั้นก็เพิ่ง 18 ยังอ่อนหัด ไม่รู้เรื่อง นั่งสำรองเราก็นั่งดูสบายๆ คือคิดว่าพี่ๆ น่าจะเอาชนะได้ เราก็นั่งตบมือไป แต่ในเมื่อเซตแรกแพ้ เซตสองเราก็ต้องลงแล้วไง
• การลงสนามครั้งแรกของคุณเป็นยังไงบ้าง
เราก็เอาแล้วไง วอร์มเลย ตื่นเต้นเลย พอจังหวะที่เรายกขากระตุ้นตัวเอง สะโพกซ้ายก็มีอาการเลย เราก็อะไรวะ แต่ปวดแบบหน่วงๆ ผมก็ลงไปใส่เลย เราก็ไม่กลัวไง เพราะซ้อมมาดี ก็ใส่ไม่ยั้งเลย ปรากฏว่าพลิกกลับมาชนะได้ แต่พอจบเกม ผมกลับปวดก้นเลย เราก็สงสัยว่าเป็นอะไร เพราะตอนนั้นเรายังดูแลตัวเองไม่เป็น คืออะไรก็แล้วแต่ในร่างกาย ที่มันปวดบวมเนี่ย มันควรจะลงด้วยน้ำแข็งก่อน 72 ชั่วโมง แต่ตอนนั้นเราทาเคาน์เตอร์เพนไป แข่งเสร็จก็นวดใหญ่เลย สรุปสุดท้ายผมนอนปวดทั้งคืนเลย ปวดมากเลย คือจะต้องเล่นในอีก 2 วันนะ แต่มันไม่ไหวแล้ว ปวดมาก สรุปกล้ามเนื้อสะโพกฉีก เช้ามาก็พาไปหาหมอ จบเลยเล่นไม่ได้แล้ว ในครั้งนั้น ซึ่ง 2 วันสุดท้ายก็ชนะนะ สรุปผมได้เล่นประมาณเซตกว่าๆ ก็จบกันไป
• อาการกล้ามเนื้อฉีกในครั้งแรกที่ลงสนาม นับว่าเป็นบทเรียนให้กับคุณได้เป็นอย่างดี
คือตอนนั้นรู้เลยว่าการเตรียมตัว คือเพิ่งมาติดไง คือนักกีฬามันควรจะพร้อม 5 นาทีคุณต้องลงไปได้แล้ว แต่เราไม่รู้ ไม่มีใครบอกเรา โค้ชก็ไม่คิดว่าเราจะอ่อนขนาดนี้ พี่สามคนในตอนนั้น ถือว่าเทพแล้วนะ ชุดนั้น ฝั่งมาเลย์ก็กลัวแล้ว แต่ในตอนนั้น มาเลย์ก็เก๋าไง มันก็ชนะเรามาตลอด ซึ่งเราก็คิดว่ามันไม่ยาก เพราะจริงๆ เราก็ต้องเตรียมตัวกว่านี้ แต่เราก็ยังนั่งเฉยๆ ดูไป นั่งตบมือไป ไม่คิดว่าลงหรอก คิดว่าได้ลงแมตช์หลังๆ ชะล่าใจ
แต่มันก็เป็นครูให้กับเราว่า มันต้องพร้อมจริงๆ คนเรา หลังจากนั้นก็พร้อมตลอด คือมันก็ดีนะครับ สำหรับเหตุการณ์ครั้งนั้น มันก็สอนน้องๆ ได้ ควรจะประคบด้วยน้ำแข็งนะ ไม่ใช่เอาเคาน์เตอร์เพนไปทา นวดๆ มันอาจจะทำให้แผลบวมกว่าเดิม นอนแบบปวดทั้งคืน กินอะไรก็ไม่หายนะ ก็เป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ จำไว้เลย
ทีมชาติชุดใหญ่ และสมญานาม “โจ้ หลังเท้า”
ถึงแม้ว่าการลงเล่นทีมชาติครั้งแรกของสืบศักดิ์ จะจบลงด้วยอาการบาดเจ็บ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เขาควรจะได้พักรักษาตัวจากอาการดังกล่าว แต่โอกาสที่ได้จากผู้เป็นโค้ช ให้เข้าร่วมแข่งขันทัวร์นาเมนต์หลัก ทำให้เขาไม่พลาดโอกาสสำคัญที่จะร่วมทำการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย
“หลังจากนั้นอีกประมาณ 2-3 เดือนถัดมา ในช่วงปี 2540 มันจะมีทัวร์นาเมนต์ซีเกมส์ที่ประเทศอินโดนีเซีย กำลังจะแข่ง แต่ตอนนั้นเราก็ยังเจ็บอยู่ แต่ก็พยายามฝืนไป ซึ่ง อ.กมล ตันกิมหงษ์ หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติ ยังให้โอกาส คือฝึกซ้อมในช่วงเช้า ตอนกลางวันไปกายภาพบำบัด เย็นก็มาฝึกซ้อมอีก เป็นแบบนี้ทุกวัน มาเช็กตลอดเลย ซึ่งอาการกล้ามเนื้อฉีกจริงๆ จะหายประมาณ 3 เดือน แต่เราต้องซ้อมในลักษณะนี้ทุกวัน จนกระทั่งช่วงแข่งขัน ซึ่งได้เล่นแค่ทีมเดี่ยว ได้เล่นกับพี่เกรียงไกร กับ พี่ไพศาล ก็เป็นทีมเดียวกับที่ไปออสเตรเลียในวันนั้น สรุปว่าเราสามารถเอาชนะและคว้าเหรียญทองมาได้”
ถึงแม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับทัวร์นาเมนต์เป็นครั้งแรก แต่ทัวร์นาเมนต์สำคัญอย่างเอเชียนเกมส์ ในปลายปี พ.ศ. 2541 รออยู่ จึงได้มีการเก็บตัวฝึกซ้อม ก่อนแข่งขันเป็นเวลาถึง 11 เดือน ซึ่งในช่วงเวลานี้ ก็เป็นช่วงเวลาประสบการณ์ที่สำคัญในชีวิตของสืบศักดิ์อีกช่วงหนึ่งเลยทีเดียว
“สำหรับการเก็บตัวฝึกซ้อมก่อนแข่งเอเชียนเกมส์ที่กรุงเทพฯ ก็ได้อะไรจากปีนั้นเยอะมากเลยครับ ที่สำคัญที่สุดที่ได้จากการเก็บตัวครั้งนั้น คือ จิตวิทยาการกีฬา ที่มี ดร.พิชิต เมืองนาโพธิ์ ท่านก็เป็นนักจิตวิทยา เข้ามาพูดคุยกับทีม เดือนแรกๆ เลย เข้ามาพูดคุยว่า จิตวิทยาการกีฬามันเกี่ยวข้องยังไงกับการกีฬา แกก็เปรียบเทียบเหมือนคนเวลาไฟไหม้แล้วสามารถยกโอ่งน้ำ ยกตู้เย็นหรือทีวีได้ มันเหมือนเป็นแรงขับทางจิต เราก็เลือกมาใช้เพื่อฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง รู้จักวิธีใช้งานของมัน ก็ควบคุมความคิดและจิตใจประมาณนี้ เลยมาประยุกต์ใช้ในการเล่นกีฬา ก็ถือว่าใช้ได้ครับ และก็ปรับมาใช้ในชีวิตประจำวันก็ได้ ถือว่าดี เพราะผมนิ่งมากเลย”
“ตอนนั้นอายุ 20 แล้วนิ่งเลย เจอแบบแมตช์กดดัน แล้วสบายมากไม่กลัวใครเลย คือ หนึ่ง มีฝีมือ สอง รู้วิธี ควบคุมตัวเองได้มั้ย ทุกคนมีความตื่นเต้นหมด เวลาเจอการแข่งขันอะไรต่างๆ แต่ที่สำคัญคือ ใครควบคุมมันได้ดีกว่ากัน ผมจะควบคุมตัวเองได้ เพราะว่าเจอการฝึกจิตวิทยา เจอฝึกการผ่อนคลายแล้วแต่ มันทำให้เรานิ่งและคอนโทรลตัวเองได้หมดเลย แล้วก็เรื่องฟิตเนส ในเรื่องของจิตใจ เราก็เริ่มรู้ว่ามันสำคัญทุกอย่างเลย เพราะกีฬา ปัจจัยคือ ร่างกาย แล้วก็ทักษะกีฬา และจิตใจ ร่างกายมันได้ตรงความแข็งแรง วิทยาศาสตร์กีฬา เวท เทรนนิ่งกันไป ในเรื่องทักษะ ทุกคนก็เก่งอยู่แล้วล่ะ ทีนี้เรื่องจิตใจมันฝึกกันลำบาก แต่ผมจะมีการสวดมนต์มาตั้งแต่เด็กแล้ว พ่อสอนให้สวด เพราะบ้านอยู่ติดวัดเลย สวดชินบัญชรตั้งแต่ 10 ขวบ สวดก่อนไปเรียนทุกวันเลย จนท่องได้ปากเปล่ามาตั้งแต่เด็กแล้ว มันก็เลยได้ทักษะตรงนี้มาหน่อย แล้วก็ปรับใช้กับชีวิตกีฬา พอมันมาเชื่อมโยงกัน ก็มาปรับใช้กับในการเล่นกีฬา ก่อนเสิร์ฟทุกครั้งก็จะมีแบบสูดลมหายใจ ผ่อนคลาย แล้วก็เสิร์ฟ มันฝึกจนกระทั่ง หายใจทีเดียว กระบวนทางความคิดมันไปหมดเลย มาจดจ้องต่อสิ่งที่หมาย ทำบ่อยๆ จนเป็นอัตโนมัติเลย นอนหายใจ 3 ครั้ง หลับเลย มันได้ขนาดนั้นเลยนะ ทุกอย่างผ่อนคลายด้วยเวลาอันสั้น เพราะเวลาแข่งทุกคนเครียดหมดเลย เพราะฉะนั้น มันก็มีวิธีที่ผ่อนคลายตัวเอง ตรงนี้ช่วยได้เยอะ ก็ใช้มาตลอดเลย สุดยอดมาก”
และจากการเตรียมตัวอย่างดีเยี่ยม ทำให้สืบศักดิ์และเพื่อนร่วมทีม มีกำลังกายและใจอย่างเต็มเปี่ยม เพื่อสู้ศึกในทัวร์นาเมนต์ดังกล่าว จนเมื่อการแข่งขันเริ่มขึ้น ทัพลูกพลาสติกช้างศึกไทยก็ไม่ทำให้แฟนกีฬาผิดหวัง สามารถชำระแค้นทั้งต้นและดอก ด้วยการเอาชนะ ‘เสือเหลือง’ มาเลเซีย และคว้าเหรียญทองทั้งประเภททีมชุดและทีมเดี่ยว ได้สำเร็จ
“ตอนนั้นเรารู้สึกว่าเราซ้อมดี เตรียมตัวดีแล้ว ไม่กลัวใครหรอก เราพร้อม เราไม่กลัวใคร เพราะเราคิดแค่นี้นะ ผมไม่ได้คิดมากกว่านี้ จะแพ้ยังไงช่างมัน เพราะทุกอย่างมันสอนให้คิดอย่างงี้เลย การซ้อมดี เตรียมตัวดี เรามีจิตวิทยา เรามีพร้อมน่ะ เราก็พร้อมเจอได้หมดนะ เพียงแต่ว่ากีฬาเรายังไม่รู้ไง มันก็ยังไม่แข่ง แข่งเสร็จเราก็ยังไม่รู้ว่าใครจะแพ้ชนะ แต่เวลาเราลงเรารู้สึกว่ามั่นใจแค่นั้นเอง เราเตรียมตัวดีแล้ว ทำทุกอย่างที่เราต้องทำแล้ว ไม่มีแบบว่า ลูกนี้ซ้อมเยอะกว่าไม่มี ไม่เคยเลย ผมซ้อมเต็มที่”
“การแข่งขันครั้งนั้น เราได้ 2 เหรียญทอง ทั้งทีมเดี่ยว และทีมชุด รอบแรกผมไปแข่งที่หาดใหญ่ คนมาดูเยอะมากเลย พอรอบลึกๆ มาแข่งที่อินดอร์ฯ หัวหมาก คนมาดูกันเต็มความจุ จนผมตกใจ ผมวอร์มข้างใต้ แยกกันกับมาเลย์ แต่พอเดินลงสนามคู่กันมา เงยหน้าขึ้นมา คนเยอะมาก เพราะปีนั้นคนมาดูเยอะแถมอยู่ในใจกลางกรุงเทพด้วย เดินทางอะไรก็สะดวก เกมนั้นก็เป็นเกมประทับใจเลย และรู้สึกว่า คนเยอะมากที่สุดในชีวิตแล้วที่มาดู”
ขณะเดียวกัน จากความสำเร็จในครั้งนั้น ก็สร้างชื่อให้กับตัวเขา จนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ซึ่งสืบศักดิ์กลับไม่ได้หลงระเริงกับชื่อเสียงเหล่านั้นไม่ และยังคงที่จะฝึกซ้อมต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อน เพราะด้วยความเชื่อที่ว่า ‘ชีวิตนักกีฬาจะรักษาอย่างไรให้ยาวนานที่สุด’
“บางสิ่งบางอย่างเราทำไม่ได้แล้ว หมายความว่าเราจะสบายเกินไปไม่ได้แล้ว พอเราเริ่มมีชื่อเสียง พูดตรงๆ คือ บางทีมันก็ต้องรักษาภาพลักษณ์ไว้ให้ดี มันชวนให้คิดแบบนั้น เพราะเรามองว่า ในเมื่อสังคมเขาให้เกียรติเรา ไปไหนมาไหนคนก็เรียกกินข้าว ทักทาย หรือถ่ายรูป ผมมีความรู้สึกว่าทุกคนเขาให้เกียรติเรา เชียร์และให้กำลังใจเรา เราควรจะตอบแทนอะไรเขาบ้าง อย่างน้อยก็เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชนละวะ จะให้แบบเห็นสืบศักดิ์เดินอยู่หลังสนามเล่นเสร็จ ซ้อมเสร็จ แม่งดูดบุหรี่ ผมว่ามันไม่ใช่แล้ว ซึ่งผมไม่เคยนะ ผมมองว่า ผมทำอะไรไม่ได้เลยเนี่ย ก็ควรจะเป็นแบบอย่างให้เยาวชน ให้เขาเห็นว่า เล่นกีฬาแล้วมันดี ไม่ใช่แบบ เล่นกีฬาแล้วเท่มาก แนวมาก แล้วไปทำอะไรที่มันไม่สมควรในนามทีมชาติน่ะ”
“ผมจะพูดกับน้องๆ เสมอเลยว่า อย่าไปซีเรียสกับชีวิต ผมแค่รู้สึกว่า ทำยังไงให้มันเหมาะสมแค่นั้นเอง ไม่ได้แบบห้ามทำนู่นทำนี่หรอก แต่ให้เหมาะสม ถามกลับว่า คุณจะเป็นทีมชาติได้กี่ปี เต็มที่ 10 ปี แต่ผม 15-16 ปี อาจจะยาวหน่อย แต่บางคนก็ไม่ถึงนะ เป็นแค่ 2 ปีเอง แต่ 2 ปีที่ติด คุณควรที่จะเต็มที่เท่านั้นเอง แต่หลังจากที่คุณไม่ติดแล้ว อยากไปทำอะไรก็ไปทำ จะไปกินเหล้าเมายา จะไปดูดบุหรี่ก็เรื่องของคุณ มันมีเวลาสั้นมากเลย ฉะนั้น ทำอะไรก็ได้ที่มันเป็นตัวอย่างแก่สังคม แต่มันก็ดีตรงที่มันหล่อหลอมให้เราไปในสิ่งที่ควรจะเป็น ผู้หลักผู้ใหญ่ บางคนอาจจะมองเราว่าโอเค มองเราดี และได้รับโอกาสอะไรที่มันดีๆ มากขึ้นเรื่อยๆ”
เมื่อชื่อเสียงในฐานะนักกีฬามากขึ้นเป็นทวีคูณ แน่นอนว่า สืบศักดิ์ก็ย่อมถูกวงการมายากวักมือเรียกเข้าไปหาในตัวเขา ซึ่งผลงานทั้งการแสดงและพรีเซนเตอร์โฆษณาสินค้าต่างๆ ซึ่งในความเห็นของเขา มองว่า สิ่งเหล่านี้ เป็นประสบการณ์ที่เขาขอลองผ่านมาซักครั้งในชีวิตก็พอแล้ว
“จริงๆ ผมเป็นคนจริงจังนะ ผมมองว่ามันก็แค่นี้นะชีวิต มันก็เป็นช่วงสั้นๆ ของนักกีฬาครับ ถ้าเราทำได้ก็ทำ อย่างพวกบันเทิงก็เคยนะ ไปออกรายการ ถ่ายหนัง ผมก็เคย เพียงแต่มันไม่ใช่เป้าหมายของผม เป้าหมายที่แท้จริงในชีวิตระยะยาวคือรับราชการ ระยะสั้นคือทำยังไงให้ติดทีมชาติด้วยสถิติที่นานที่สุด แค่นั้นเอง ผมวางเป้าหมายชัดเจน ฉะนั้น ผมก็มีโอกาสที่ได้รับให้ไปเล่นละคร เล่นหนัง มันเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่ผมไม่รู้จัก ผมอยากรู้จัก ผมก็ไปรู้จักเลย ซึ่งมันก็ดีนะ เพราะว่าได้เห็นการทำงานซึ่งมันจริงจังนะ ไม่แพ้อาชีพนักกีฬาเลย ต้องมีระเบียบวินัย ต้องมีทุกอย่างเหมือนกันแหละ เพียงแต่ว่าวงการบันเทิงเค้าจะมีอะไรที่หวือหวาเท่านั้นเอง แต่พอเข้าไปก็โอเค ก็ดีใจที่ได้มีโอกาสได้เข้าไป ไปมาก็มาเปรียบเทียบก็ได้ลิ้มรสประมาณนั้น ผมว่าคนทุกคนมันมีความใช่และไม่ใช่นะ คือใช่ในสิ่งที่ควรใช่ บางคนมันก็ใช่ก็ดีไป ซึ่งจะให้ใช่ทุกอย่างมันจะยอดมนุษย์ไป”
ลีลา โจ้ สืบศักดิ์ ในการชิงเหรียญทองเอเชียนเกมส์ที่ โดฮา กาตาร์ เมื่อปี ค.ศ.2006
• เรียกได้ว่าแทบจะเป็นแชมป์มาโดยตลอด แล้วเคยมีมั้ยที่เราเคยพ่ายแพ้
มีครับ ตอนซีเกมส์ที่ฟิลิปปินส์ เมื่อปี พ.ศ. 2548 ตอนนั้นผมไม่ได้ลงเซตแรก มีน้องลงไปก่อน พอเซตสองผมลงไปก็ทำอะไรไม่ทันแล้ว เซตแรกโดนไป 9-21 แล้ว มันไม่ไหว เพราะต่อให้ผมเพิ่งลงไปก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว คู่หน้าไปหมดแล้ว 3 คน แพ้ 9-21 พอมาเซตสอง สภาพจิตใจยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย เกมไปไวอีก 21 แต้มแป๊บเดียวอีก บางทีผมซ้อมกันเอง ไม่ถึง 10 นาที โดนไปเซต 2 ไม่ทันแล้ว เบียดๆ ไปสูสีๆ กำลังใจทั้งทีมก็หมดเลย พอจบเกม ผมร้องไห้เลยนะ เพราะมันน่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ แต่ถือว่าโอเค โค้ชจะวางตัวก็เรื่องของโค้ชไป แต่ผมมั่นใจว่าถ้าวันนั้นได้ลงก่อน อาจจะไม่แพ้ง่าย แพ้แค่ไทเบรก ก็ต้องให้เกียรติโค้ชไปว่าโค้ชจัดตัวอย่างนี้
หลังจากเกมนั้น มันทำให้สอนอะไรได้หลายอย่างเลยนะว่า มันไม่มีอะไรที่แน่นอน เรามองว่า ชีวิตง่ายๆ มันไม่ใช่แค่เราซ้อมดีนะ ความคิดเราเริ่มแตกแล้วว่า แม่งไม่ใช่แค่ซ้อมดีแล้วชนะเสมอไป มันมีปัจจัยอะไรมากมายในช่วงเวลานั้น มันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ก็เป็นประสบการณ์นะ ชนะมาตลอด ได้คิดอีกแบบ พอแพ้ก็คิดอีกแบบหนึ่ง ก็ดีเหมือนกัน แล้วก็คลายความกดดันไปหน่อย จากที่แชมป์ๆ มาตลอด แต่ยังไงก็ยังเป็นสืบศักดิ์น่ะ จะแพ้ยังไง แต่ว่ายังคงต้องใช้ชีวิตต่อไป ในความเป็นตัวเราทุกคนก็อยากจะล้มเราให้ได้ แล้วเราต้องทำไง ก็ต้องป้องกันแชมป์ๆ เพราะมันทำให้ผมซีเรียสกับการซ้อมมาโดยตลอด การดูแลตัวเองมันก็เป๊ะๆ ตลอด
• ในท่ามกลางความสำเร็จที่เกิดขึ้นซะเป็นส่วนใหญ่ เคยมีสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจบ้างมั้ย
ด้วยบุคลิกผมในการเล่นกีฬามันชัดเจน จริงจัง ไม่เคยว่าทำตัวเป็นดาราซูเปอร์สตาร์ ไม่เคย เพราะผมไม่เคยโดนอวยว่าเป็นเทพ ไม่มีเลย มีแต่โดนกดทุกครั้งไป อย่างผู้จัดการทีมทุกครั้ง ผมเล่นมานานมาก คือตำแหน่งนี้เปลี่ยนอยู่เรื่อยเลย แล้วผมก็เหมือนไม่ใช่พวกเขา พอเข้ามาก็อยากเชียร์คนของเขาแถมยังดิสเครดิตผม อันนี้คือเรื่องจริงนะ หลายครั้งที่ไปแข่งต่างประเทศ บางทีผมเข้าไปเปลี่ยนชุดในโรงยิม ผู้จัดการทีมไปนั่งสัมภาษณ์ในห้องน้ำ เขาบอกเลยว่า ต่างประเทศไม่รู้จักสืบศักดิ์หรอก รู้จักแต่ในประเทศ แต่เขาอวยเด็กว่า ต่างประเทศรู้จักหมดทุกคน พอผมได้ยิน ผมอึ้งเลยนะ กำลังใจเสีย ถามว่าเสียใจมั้ย เสียใจมาก อะไรวะ เขาพูดแบบนี้เหรอ เราคิดด้วยความที่เราเป็นเด็กว่า เราเป็นนักกีฬาทีมชาติ แต่คุณมีเด็กคุณ มาพูดแบบนี้ ผมไม่ว่า ก็ไม่เป็นไร ผมเป็นนักกีฬา ผมจิตใจเข้มแข็ง ผมก็ผ่านไป
หรือบางที ก่อนจะลงสนาม ก็จะมีแบ็กสองคน จะมีแบบอวยเด็กตัวเองว่า ทำอย่างงี้ๆ นะ ทั้งๆ ที่ผมมีชื่อตัวจริง แต่ผู้จัดการบางคน ไปนั่งบอกเด็กข้างๆ เลยว่า เดี๋ยวลงไปเสิร์ฟอย่างงี้ หยอดอย่างงี้นะ เราก็งงนะว่า จนต้องไปถามโค้ชว่ายังไง คือทุกอย่างมันกัดกร่อนกำลังใจนักกีฬา แต่ผมผ่านมาได้ ผมลงไปก็ชนะ ก็แปรเป็นพลังงานให้ จบ มาเจอแบบนี้ มันมีอะไรมากว่าคนภายนอกจะรู้ ตอนเล่นผมก็พูดอะไรไม่ได้หรอก แต่พอออกมาแล้วผมก็บอกได้ เพียงแต่ว่าไม่ต้องการให้ใครมากดดันนักกีฬา ใครจะทำอะไรอยู่ที่ตัวเองว่า สู้ ทุกอย่างก็โอเค คุณไม่มีฝีมือ เขาก็ไม่คุณหรอก คำว่าเส้นสายมันมี แต่เขาต้องแสดงฝีมือด้วยนะ ไม่ใช่แบบ เชียร์เหมือนสินค้าว่าดีมากเลยนะ แต่พอไปใช้แล้วมันไม่ดีอ่ะ จบ บางตัวไม่ต้องเชียร์ แต่ดีด้วยตัวมันเอง ก็ไปได้
• จากการที่เราจริงจังกับการกีฬามาตลอด แต่พออยู่ดีๆ ก็ขออำลา ตอนนั้นเป็นเพราะอะไร
ผมว่าชีวิตคนเรามันเป็นช่วงเวลานะ ช่วงเวลาผมตั้งแต่เริ่มเล่นกีฬาตอน 10 ขวบ จน 30 ปี ช่วงนี้คือช่วงเล่น แต่ก็ยังหางานทำเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวอยู่ดี แต่พอหลัง 30 มันคือวัยทำงานแล้ว 30-60 ปี มันคือการทำงานแล้ว ผมว่าจะมาช่วงสนุกสนานเฮฮาก็ไม่ได้แล้ว บางคนก็บอกว่า เป็นโค้ชแน่ๆ แต่มันก็ไม่ได้เป็นเป้าหมายผม คือต้องยอมรับว่า นักกีฬากับโค้ชมันคนละทักษะกัน นักกีฬาคือคิดแล้วเล่น แต่โค้ชนี่คือ คิดแล้วบริหารเลย มันต้องเรียนรู้เยอะ ซึ่งผมยังไม่อยากเรียนรู้ โค้ชผมก็อบรมนะ ได้เอไลเซนส์ของตะกร้อ แต่สิ่งที่ผมเจอมา 16 ปี โปรแกรมการซ้อม วิธีความคิด การคุมคน ดูแลทุกอย่างยังไง การดูแลตัวเอง มันอยู่ในหัวหมดแล้ว เพราะเราผ่านมาหมด แต่เราอยากทำงาน อยากมีอีกโลกหนึ่งที่ยังไม่เคยเจอ ฉะนั้นมันคือหมดเวลาแล้วที่เราวางแผนไว้
• แน่นอนว่าย่อมรู้สึกว่าใจหายบ้างเป็นธรรมดา
มีเหมือนกัน แบบเราเล่นทีมชาติมา 15-16 ปี แต่อยู่ดีๆ วันหนึ่งก็เปลี่ยนไป คือเราเข้าใจนะ แต่เราก็มองว่า 30 ปี ข้างหน้า มันรออยู่ ว่าเราสิ่งที่มีประโยชน์ คือทำงาน คือชอบมีคนบอกว่า นักกีฬาจะชอบอยู่แบบกีฬา ทำงานไม่เป็น เรารู้สึกว่าไม่ดีหรอก เพราะนักกีฬามีวินัย ขยัน อดทน ซึ่งงานตำรวจก็เช่นเดียวกัน ผมว่ามันไม่ยากหรอก คุณก็ไปเรียนรู้หน้างานว่าทำอะไรบ้าง ก็ไปทำ ไม่ยากนะ อย่าให้เขาว่าได้ว่านักกีฬาไม่ทำงาน จะขอตัวไปซ้อมไปแข่งที ผมมองว่า คุณประมาทนะ มันดูแบบว่า เราอย่าให้เขาว่าได้ ทำงานซะ
บางคนบอกว่า เราต้องจบสวย ต้องอลังการ แต่เราเฉยๆ ไง ซึ่งการจบมันไม่เกี่ยวหรอก มันอยู่ที่ระยะทางมากกว่า ปลายทางทุกคนน่ะ ยังไงมันต้องมีวันเลิก มันไม่มีใครเลิกสวยๆ หรอก เพราะสิ่งสวยงามมันอยู่ที่ระหว่างทางมากกว่า แชมป์นั่นนี่ ได้เจอคน ได้มีโอกาสของชีวิต เจอผู้ใหญ่ช่วยเหลือเมตตา ก็คือ จบคือจบ แต่สิ่งสวยงามสำหรับเราคือ ได้เริ่มใหม่กับงานที่เรารัก ที่เราอยากทำ มีความสุข ส่วนเลิก มันก็คือความคิดถึงไง ความผูกพัน เราอยู่กับมันมา ใส่รองเท้า ถุงเท้า เสิร์ฟ เตะ ออกกำลังกาย แล้วนอน ตื่นเสร็จก็ซ้อมๆ แต่พอเราเริ่มงานที่เราวางไว้แล้ว ได้อย่างที่เราตั้งใจไว้ ก็มีความสุข คือหลังจากเลิกเล่นปุ๊บเราก็ตัดขาดจากตะกร้อ ไม่ได้ไปยุ่งเลย แต่ก็มีปีที่แล้ว ที่ได้รับเชิญไปเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตวอลเลย์ของสมาคม ซึ่งปีที่แล้วมีเอเชียนบีชเกมที่ภูเก็ต ก็ได้แชมป์เหรียญทอง ก็ได้มีส่วนในครั้งนี้
งานผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ คือความสุขในปัจจุบัน
นับเป็นเวลากว่า 16 ปี ที่รับใช้ทีมชาติ ด้วยสถานะนักกีฬาเซปักตะกร้อ จนเลิกเล่นทุกระดับ หลังจากทัวร์นาเมนต์เอเชียนเกมส์ ที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. 2553 สืบศักดิ์ก็หันมารับราชการตำรวจอย่างเต็มตัว ซี่งตัวเขาเองก็ไต่เต้าตำแหน่งมาจากชั้นประทวนในแรกเริ่ม จนกระทั่งปัจจุบันนับเป็นเวลา 13 ปี ในชุดข้าราชการสีกากี และด้วยผลงานทางราชการ ทำให้ปัจจุบัน สืบศักดิ์ มีความเจริญในหน้าที่การงานตามลำดับ
“คือเราไต่เต้ามาจากชั้นประทวน เข้ามาเป็นพลสำรองพิเศษเลย เมื่อปี พ.ศ. 2545 ตอนนั้นเป็นสายตรวจ 191 พอต่อมาท่านเสรีพิศุทธิ์ (เตมียาเวส) ท่านบอกว่า ใครมีวุฒิปริญญาโท จะปรับเป็นสัญญาบัตร ก็ได้มาเป็นช่วงนั้น ก็อยู่สายตรวจ 191 มาตลอด จนปัจจุบันขึ้นมาเป็นสารวัตรแล้วครับ”
“คือช่วงที่เราเป็นรองสารวัตร ผมทำสายตรวจ 191 ลักษณะเป็นงานปราบปราม ก็แสดงกำลังป้องกันเหตุ พอมาประจำการที่นี่ ก็เป็นงานแบบนี้เช่นกัน แต่จริงๆ แล้ว มียศสูงขึ้น มีหน้าที่สูงขึ้น และก็มีความรับผิดชอบสูงขึ้นแค่นั้นเอง คุมดูแลทีมงานน่ะครับ ให้ปฎิบัติหน้าที่ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา เพราะอยู่พื้นที่ สน. มันจะมีมาตรการต่างๆ มีคำสั่ง มีวิธีการป้องกันเหตุ เพื่อไม่ให้มันเกิดขึ้น อย่างเช่นมาตรการทิ้งทุ่น เราก็ต้องไปประจำจุดตามธนาคาร หรือ ร้านทอง ในช่วงเวลาที่กำหนด ช่วงเช้า ช่วงสาย ช่วงบ่าย หรือ มาตรการพิทักษ์เด็ก ก็จะไปตรวจเด็กหลัง 2 ทุ่ม ถึง 4 ทุ่ม ก็ไปดูซิว่าเด็กยังอยู่ร้านเกมอยู่มั้ย และไปดูตามสถานประกอบการต่างๆ ว่ายังมีเด็กแอบเข้าไปมั้ย เราก็คอยดู คือเหมือนกลายเป็นประจำวันน่ะครับ ที่เราทำ เพราะถ้าเกี่ยวกับเรื่องเด็ก มันก็เหมือนเป็นลูกหลานเราน่ะ เราก็ดูพิเศษหน่อย เพราะผมให้ความสำคัญมากกับเด็ก มันเป็นปัญหาสังคมตั้งแต่ครอบครัวเลย พ่อแม่อาจจะไม่ทราบว่า ลูกออกมา หรือ เพื่อนชักชวนมา ก็มาเที่ยวมั่วสุมอะไรแบบนี้ครับ เราก็ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ”
“พอเราขึ้นมาเป็นสารวัตรแล้ว มันก็ความรับผิดชอบเยอะขึ้นน่ะครับ งานมันอาจจะไม่ได้เหนื่อยแตกต่างกันมาก แต่ว่าเรารู้สึกรับผิดชอบ ต้องคิดมากขึ้น ต้องวางแผนว่า ทำยังไงใช้ทรัพยากร ใช้ลูกน้อง ใช้ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ไปทำงานให้เราแบบเต็มที่และเต็มใจ ผมมองว่าคนเรา การอยู่ร่วมกัน โอเค มันมีสายผู้บังคับบัญชา สั่งให้ทำนู่นทำนี่ แต่มันก็คือคน ทุกคนมีจิตใจ มีความคิด มีหลายอย่างข้างใน เพราะฉะนั้น ผมมองว่า ถ้าเราสั่งเขาทำได้ และทำด้วยความเต็มใจ มันจะดีมาก แล้วผลที่ได้ก็จะได้กับประชาชนเอง ทุกอย่างเลยที่นโยบายของเจ้านายออกมา อย่างมาตรการต่างๆ ถ้าเราสั่งให้ทำ แต่เขาทำไปงั้น ไม่ได้ทำแบบตรวจแบบละเอียด มันก็มีผล เพราะฉะนั้น ผมมองว่า ทุกอย่างมันก็ต้องคิดมาก และก็ทำยังไงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเค้าทำตามคำสั่งเราอย่างเต็มที่และเต็มใจทำ มันก็ส่งผลต่อสังคมให้มันดีขึ้น อันนี้สำคัญ
“เหมือนคล้ายๆ ว่าเราเป็นกัปตันทีมนะ วันแรกที่มาผมก็บอกเลยนะว่า ผมเป็นกัปตันทีมแหละ ทุกคนคือผู้เล่น เปรียบเทียบให้เหมือนกับฟุตบอลเลย ทุกคนคือผู้เล่นเลย กองหลัง กองหน้า แบ่งหน้าที่ชัดเจนเลย เพราะทุกคนแบ่งไปแต่ละเขต แต่ละหน้างาน ทุกคนชัดเจน รู้บทบาทหน้าที่ตัวเองชัดเจน เพียงแต่ว่าผมเป็นหัวหน้าทีม ทำยังไงให้ทุกคนตั้งใจเล่น และก็เล่นด้วยความเต็มใจ ผู้บังคับบัญชา ผู้กำกับ ก็เหมือนกับตัวโค้ช ผู้จัดการทีม คนวางแผน เป็นเหมือนสปอนเซอร์หลัก คอยดู คอยให้ความสะดวก จะเป็นอย่างงั้น เพราะเราต้องทำงานด้วยกัน บางทีมันจะต่างคนต่างทำก็ไม่ได้ อย่างคนนี้ทำ ก็ทำคนเดียว ไอ้นี่ไม่ทำ ก็ไม่ทำอยู่วันยังค่ำ มันก็ต้องมีวิธีการจัดการว่า เฮ้ย คนอื่นเค้าทำกันนะ คุณจะไม่ทำกันเหรอ อะไรแบบนี้ มันก็ต้องมีวิธีที่จะสื่อสารกันได้”
• ทำไมถึงสนใจในด้านเด็กและเยาวชนเป็นพิเศษ
เมื่อก่อนผมอยู่สายตรวจ 191 มันไม่ลงลึกมาก พอมาอยู่ สน.พหลโยธิน มันก็มีสถาบันการศึกษา มีโรงเรียน มีห้างสรรพสินค้า มีหลากหลายครับ เราก็ได้มองปัญหาเด็กแบบว่า อย่างเด็กตีกัน ช่างกลดักตีกัน แล้วขว้างระเบิดอะไรกัน เราก็มองว่า เยาวชนพวกนี้เราไม่รู้ว่า ที่เขาทำสิ่งนี้นั้น มันเพราะอะไร เป็นเพราะครอบครัวสังคม เป็นที่บ้าน หรือว่าเพื่อนชักชวน หรือว่าเป็นที่ตัวสถาบัน แล้วก็บางทีเด็กออกจากบ้านกลางค่ำกลางคืนเตร่ๆ อย่างงี้ เราเป็นห่วง เหมือนกับเรามองเราตอนเด็กๆ แต่ตอนนั้นเรามีกีฬา มีกีฬาควบคุมอยู่ เรียนเสร็จเย็น เราซ้อมกีฬาเสร็จ เราก็กลับบ้านนอน เพราะเราเหนื่อย แต่สังคมเมืองมันไม่เหมือนต่างจังหวัด อย่างต่างจังหวัด ตอนเย็นก็เห็นเด็กๆ ออกไปเตะบอลกันหมดแล้ว เตะบอล แล้วก็วิ่ง นู่นนั่นนี่ มันก็โอเคไม่น่าห่วง กลางคืนก็ต้องง่วงโดยปริยาย แต่สังคมเมืองมันไม่มีสถานที่ออกกำลังกาย มันไม่เอื้ออำนวยขนาดนั้น
เพราะฉะนั้น เด็กมันก็จะติดเพื่อนติดเกม มันมีสิ่งล่อตาล่อใจ ไปห้าง ไปเล่นเกม ไปตรงนี้มันเยอะ ปัญหามันก็สุ่มเสี่ยงเยอะ เราก็เลยเป็นห่วงว่า เรามองตัวเราว่า เราโชคดีที่เราได้กีฬาในการคอนโทรลชีวิตเรา มีความขยันอดทนระเบียบวินัยอย่างเงี้ย มันก็รอดมาได้ เพียงแต่อยากให้น้องๆ หลานๆ อยู่ในปริมาณที่ไม่ก่อให้เป็นปัญหาสังคมน่ะครับ บางทีเห็นนักเรียนตีกัน เราก็จะปรามๆ ไว้ แล้วถ้าพฤติกรรมเหล่านั้นมันหายไปก็ดี แต่ถ้าถึงขั้นที่ไม่มีใครไปควบคุมเลย ต่อไปมันอาจจะมากกว่านี้ เราก็เป็นห่วง
• ในฐานะที่คุณดำรงสถานะเป็นตำรวจ แน่นอนว่าต้องรับมือกับประชาชนเป็นธรรมดา
ทุกวันเลย ง่ายๆ เลย อย่างเราไม่ได้คุมงานจราจร แต่เราก็เห็นปัญหาชาวบ้านเจอตำรวจ มาหาพนักงานสอบสวน หรือ มาเจอ สจ.100 ก็ส่วนหนึ่ง แต่ที่พี่เจอบ่อยๆ ก็ตอนไปปิดสถานบริการ สถานประกอบการ คือมันมีเวลากำหนดอยู่แล้ว ซึ่งถ้าทุกคนมีระเบียบ ตำรวจไม่เหนื่อยหรอก อันนี้โอเคเราเข้าใจว่าคุณทำธุรกิจ ก็อาจจะมีเลย มีอะไร เพื่อผลประกอบการ มันก็เป็นงานที่ตำรวจก็เห็นใจนะ คือแทนที่ตำรวจจะออกไปป้องกันเหตุในจุดเสี่ยง จุดล่อแหลม ที่มันควรจะเป็น แต่กลับต้องมาดูแลสถานประกอบการที่มันดื้อๆ น่ะ บางทีเราก็ต้องไปเอง ไปถึงก็เจอแบบเมาๆ เลย พูดจาแบบท้าทายเลย จนเราแปลกใจนะว่าโตแล้วไม่รู้กฎหมายรึไง คือไม่ใส่ใจหรือมึน ทุกอย่างมีกรอบ ก็ว่ากันไป แต่คุณพูดเหมือนตำรวจไปแกล้งคุณ บางทีก็ไม่ใช่ เพราะเราทำงาน เราใส่เครื่องแบบ เราอดนอน ต้องไปทำงานป้องกันเหตุ ไหนจะต้องไปแสดงตัว ปิดช่องโหว่และโอกาสที่โจรผู้ร้ายจะก่อเหตุ แต่ต้องมาอยู่ร้าน ต้องมาไล่
คือเราเฉพาะเจอกับคนที่มีสติปกติบางทีก็ควบคุมยากอยู่แล้ว เจอคนเมา เราต้องเข้าใจเลยว่า อยู่ในอุดมคติของตำรวจ คือ ต้องทนกับความเจ็บใจ เพียงอยากจะบอกสังคมว่า งานตำรวจมีมากมายหลายอย่าง เราไม่ได้ขอความเห็นใจหรอก อันนี้คือหน้าที่ ทุกคนสมัครใจมาเป็นตำรวจเอง แต่บางทีด้วยภารกิจของเรา เราเจอมาเยอะมาก ทั้งข้างนอกข้างในออกไป อย่างประชาชนมองมา ผู้ประกอบการ หรือ ผู้บังคับบัญชา มันก็เครียด ก็ต้องเข้าใจบทบาท ทุกคนมันมีหน้าที่ กฎกติกาชัดเจน ให้มันดูแล
อย่างผมเนี่ย ไปดูแลเรื่องเด็กในสถานประกอบการ ว่าเด็กเค้าใช้บริการมั้ย บางร้านที่ผมไปตรวจ ที่มีเรื่องร้องเรียนมา ผมก็ไปวันนั้นเลย แล้วปรึกษาหัวหน้า ท่านก็ให้รีบไปดูเลยว่ามีจริงมั้ย ปรากฏว่ามี ผมก็เรียกเด็กมาตักเตือน โทร.ตามพ่อแม่มารับตัว แล้วก็ตักเตือนร้าน ซึ่งเขาก็อ้างว่า บางทีก็ไม่พกบัตร คือไม่ได้คุณต้องพก ประชาชนไทยจะไปไหนต้องพกบัตรอยู่แล้ว คุณไม่พกบัตร คุณก็ผิดกฎหมายอยู่แล้ว ต้องรู้ จะอ้างไปนู่นนี่ คือเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีมั้ย เอาเวลาไปป้องกันเหตุดีกว่ามั้ย ที่คนร้ายมันหาเหยื่ออยู่น่ะ มันมีเหยื่อ และก็มีโอกาส สังคมเรามันมีคนร้ายและเหยื่ออยู่ตลอดเวลาแหละ แต่เราเป็นตำรวจป้องกันเหตุ เราก็ไม่อยากให้มันมีโอกาส เพราะฉะนั้นผมมีโอกาส ก็ไปตามที่ต่างๆ เลย ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนมา หรือไปซอยที่เปลี่ยวๆ ไป เอามาตรงนี้ดีกว่า
• จากการที่เราทุ่มเทมาทั้งนักกีฬาทีมชาติ และการเป็นตำรวจ มันให้อะไรเราได้เพิ่มเติมบ้าง
อย่างแรกคือ ได้ความภาคภูมิใจอย่างชัดเจนนะ ที่เราได้ทำหน้าที่ของเรา แล้วบริหารให้เจ้าหน้าที่ของเรา กระตือรือร้นในการทำงาน เราภาคภูมิใจแล้วส่วนหนึ่ง อีกอย่างที่ตามมาคือผู้ใหญ่เห็นเราทำงาน เราไม่ได้มาเห็นแบบเราสร้างภาพนะ คือเราทำเต็มที่อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอะไรที่มันควรจะเป็น ก็ต้องเป็นอยู่แล้ว ถ้าผิดกฎหมาย เราก็ต้องทำตามกฎหมาย แค่นั้นเอง เรามีบทบาท บทผมชัดเจนน่ะ ก็ทำตามกฎหมาย ทุกวันนี้ เราก็ยังสนุกกับงานนะ บางทีนอนตี 4-ตี 5 แล้วตื่นเช้าเงี้ย คือตำรวจบางทีเจอประชาชนด่า ต้องโดนปะทะตลอดเวลา ตั้งแต่งานจราจร ถ้าคุณฝ่าไฟแดงมา ไม่มีใบขับขี่ หรือ ดัดแปลงรถ คุณก็ผิดกฎหมาย ทุกอย่างผิดหมด แล้วยิ่งเป็นเรื่องที่กระทบโดยตรง มันก็ยิ่งไปใหญ่ ผมก็มองว่าเป็นคนๆ ไป คุณเห็นตำรวจคนไหนไม่ดีก็โพสต์ว่า แต่ถ้าคุณด่ากราด มันก็เสียกำลังใจ ผมไม่ได้พูดเข้าข้างตำรวจนะ คือรู้ปัญหาดี ว่าทัศนคติของประชาชนกับตำรวจเป็นยังไง รู้ดีว่ามันกระทบกระทั่งกัน มีอะไรหลายอย่างที่มองดีไม่ได้ เพียงแต่คุณก็เอาเป็นรายๆ ไป เดี๋ยวนี้โลกออนไลน์มันเร็วมาก ทำดีแป๊บเดียว ดังดีไปเลย ถ้าไม่ดีก็เร็วเหมือนกัน เพียงแค่มันอาจจะเร็วไปหน่อย ทำดีรู้กันชั่วโมงเดียวทั่วประเทศ แต่ถ้าทำไม่ดี ภายใน 5 นาทีเอง ผมรักในอาชีพตำรวจ และก็ไม่อยากให้ตำรวจโดนมองไม่ดี ผมมองว่า ตำรวจและประชาชนต้องอยู่ด้วยกัน แล้วนโยบายของผู้บังคับบัญชาระดับสูงเนี่ย ก็ชัดเจนเลยว่า ทำยังไงให้ประชาชนรักตำรวจมากที่สุด ไม่ได้รักจากการสร้างภาพนะ คือทำให้เห็นเลย แต่คุณช่วยมาดูหน่อย
และสำคัญที่สุดนะ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ช่วยตัวเองตลอด ไม่มีใครช่วยเรา เราต้องทำให้เห็นก่อน อย่างที่ผมมาถึงขั้นนี้ได้ ที่สำคัญสุด ผู้บังคับบัญชาและเจ้านายเห็นความดี เห็นความตั้งใจทำงานขยัน จึงให้มาปฎิบัติหน้าที่ ก็โชคดีที่ได้เจ้านายที่เค้าเห็นเราทำงาน แล้วให้ตอบแทนเรา จนให้เราเลื่อนขั้นมา ก็ขอขอบคุณที่เค้ามองเห็น ก็มีกำลังใจ เราก็พูดเสมอเลย คนพูดทุกคนเลยว่า ตั้งใจทำงานนะ ไม่มีเลยนะว่า มึงไม่ต้องทำงานหรอก ไม่มี คำพูดนี้ฟังมาตั้งแต่อดีต ผบ.ตร. หรือใครก็ตาม ให้ทำงานเพื่อประชาชน ให้ประชาชนรัก เราฟังมาตลอด เหมือนเป็นหน้าที่ เราได้มาแล้วขอตอบแทน ซึ่งที่เจ้านายพูดมา ทำงานให้เต็มที่ ส่วนอื่นค่อยว่ากัน
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ปวริศร์ แพงราช
และแน่นอน หนึ่งในชนิดกีฬาที่คนไทยยกพลบุกไปให้กำลังใจกันอย่างล้นหลาม นั่นก็คือ “เซปักตะกร้อ” ซึ่งแน่นอนว่าแน่นขนัดตั้งแต่รอบแรกลากยาวไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ และทัพลูกหวายไทยก็ไม่ทำให้แฟนตะกร้อเจ้าบ้านไทยผิดหวัง สามารถคว้าเหรียญทองมาครองได้อย่างสมศักดิ์ศรี ทั้งประเภททีมเดี่ยวและทีมชุด และการแข่งขันในครั้งนั้น ยังเป็นการแจ้งเกิดสำหรับ “โจ้-สืบศักดิ์ ผันสืบ” อีกด้วย
เจ้าของฉายา “โจ้ หลังเท้า” และ “จอมเสิร์ฟหลังเท้า” ถือว่าเป็นราชาแห่งความสำเร็จของวงการเซปักตะกร้อไทยอย่างเต็มภาคภูมิ ในระยะเวลากว่า 15 ปี ที่รับใช้ชาติและสโมสร สืบศักดิ์แทบจะประสบความสำเร็จในเกือบทุกถ้วยที่เข้ามีส่วนร่วมในการแข่งขัน โดยเฉพาะการคว้าแชมป์ในระดับนานาชาติ อย่างซีเกมส์ และเอเชียนเกมส์ ที่สามารถคว้าเหรียญทองมาแบบนับไม่ถ้วน จนกล้าจะเรียกได้ว่า สืบศักดิ์เป็นตำนานอีกบทหนึ่งของวงการกีฬาไทย
แม้ทุกวันนี้ สืบศักดิ์ จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับวงการตะกร้อไทยแล้ว เพราะด้วยหน้าที่ “เจ้าหน้าที่ตำรวจ” ด้วยยศ พันตำรวจตรี นำหน้า พ่วงด้วยตำแหน่ง สารวัตรป้องกันปราบปราม ประจำ สน.พหลโยธิน และเป็นคณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แต่สืบศักดิ์ยังคง ‘เต็มที่’ และ ‘จริงจัง’ กับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่แตกต่างจากสมัยลงหวดลูกตะกร้อในสนาม
เล่นกีฬา “เพราะอยากเท่”
ณ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เด็กชายสืบศักดิ์ในวัยเด็ก ก็มีสภาพที่ไม่ต่างจากเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันนัก ที่มีการเล่นซุกซนไปตามประสาเด็กทั่วไป สลับกับการเล่นกีฬาบ้าง โดยที่ไม่ต้องคิดอะไรมากนัก แต่เมื่อเริ่มอยากเป็นที่สนใจบวกกับความอยากเท่จากการที่เพื่อนของเขาเล่นกีฬาในตอนนั้น ทำให้เด็กชายสืบศักดิ์ ไม่ลังเลที่จะอยากเล่นกีฬากับเขาบ้าง
“คือตอนเด็กเรามีความรู้สึกว่า เราอยากเล่นกีฬา เพราะว่าเราเห็นเพื่อนเล่นแล้วมันเท่ จุดประสงค์แรกเลยนะ เลยเข้าไปขอพ่อว่าอยากเล่นกีฬาโรงเรียน คือไม่รู้ว่าอยากเล่นอะไร ก็มาตรฐาน ฟุตบอลกับตะกร้อ ตอนนั้นก็มีครูวิศิษฐ์ กออภิญญากุล ท่านก็เป็นครูที่สอนตะกร้อกับฟุตบอลที่โรงเรียน เราก็เข้าไปสมัครตอน ป.4 จำได้เลย เข้าไปขอสมัครกับครู คือก่อนหน้านี้เห็นเพื่อนเล่นแล้วเรามีความรู้สึกว่าอยากเป็นแบบนั้นบ้าง เท่มากเลย แถมได้เสื้อโรงเรียนด้วย มีชื่อโรงเรียน ตราโรงเรียน สัญลักษณ์โรงเรียน เราอยากใส่ ซึ่งเรายังไม่มีทักษะอะไร”
“แต่ด้วยความที่คุณพ่อของผมท่านเคยเป็นนักฟุตบอล ก็ชอบเล่นกีฬาอยู่แล้ว ท่านก็สนับสนุนเต็มที่ พอได้เข้ามาแล้ว ด้วยความที่ซ้อมทุกวัน จนเรามีทักษะมากขึ้น ก็เริ่มเล่นกีฬาตอน ป.4 จน ป.5 ได้แข่งขัน และเริ่มได้แชมป์กีฬาอำเภอ จน ม.1 เริ่มแข่งที่กรุงเทพฯ พอตั้งแต่ ม.2 จนถึง ม.6 นี่ได้แชมป์ของกรมพลศึกษาทุกปีเลย เข้ามาแข่งที่กรุงเทพฯ ม.2 ก็เริ่มติดตัวเยาวชนของทีม ธ.กรุงเทพ ก็เริ่มมีเงินเดือนกิน จบ ม.6 ก็คัดตัวทีมชาติ”
ถึงแม้ว่าจะได้เข้าสู่วงการกีฬามาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ แต่การเป็นตัวแทนของจังหวัด ซึ่งต้องห่างไกลจากครอบครัวและบุคคลที่เขาคุ้นเคย เพื่อไปเจอกับบุคคลที่เขาไม่คุ้นชิน และการซ้อมกีฬาที่เข้มข้น จนอาจทำให้ต้องท้อใจว่าจะเลิกเล่นบ้าง แต่ด้วยหน้าที่ที่เขาอยากเป็น ก็คงทำได้เพียงแค่อารมณ์ชั่ววูบเท่านั้น และตั้งหน้าตั้งตาซ้อมต่อไปอย่างไม่ปริปากบ่น
“ตั้งแต่ 10 ขวบ เราก็เล่นกินนอนมา พอเวลาต่อมา ต้องเริ่มไปนอนนอกบ้านแล้ว ตอนนั้นทางจังหวัดเรียกไปคัด เพราะได้แชมป์กีฬาประจำอำเภอไง ต้องคัดตัวไปเป็นกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ไปนอนที่โรงเรียนในจังหวัดเลย คืนแรกร้องไห้เลย ซ้อมเสร็จ 6 โมง ร้องไห้ตั้งแต่หน้าเสาธงเลย เพราะเราไม่เคยออกนอกบ้านไง ตั้งแต่ ป.6 ซ้อมเสร็จโดนโค้ชด่าอะไรไป เพราะสมัยก่อนมันไม่ใช่แบบสมัยนี้ มีอะไรด่าๆ อย่างเดียว แล้วเราไม่ใช่คนคุ้นเคย ไม่ใช่ครูที่สอนเรามาครั้งแรก ไม่ใช่พ่อแม่ เราก็รู้สึกว่า โดนกดดัน ตอนนั้นคิดว่าจะไม่เล่นแล้ว แต่มันก็ได้อารมณ์หลายๆ อย่างที่กีฬาให้มา”
และแน่นอน ด้วยการเป็นนักกีฬาของโรงเรียน จึงทำให้ต้องเสียเวลาความเป็นส่วนตัวไป ขณะที่เพื่อนคนอื่น เรียนเสร็จและกลับบ้าน ไปใช้ชีวิตปกติ สืบศักดิ์ยังต้องซ้อม ซ้อม และซ้อมตะกร้อต่อไป แต่การที่ได้ซ้อมกีฬา ก็ให้ประสบการณ์และความสนุกในตอนนั้น มาเป็นสิ่งทดแทน
“ตอนที่ได้เล่น บางคาบเราต้องลา เพราะว่าเราไปแข่งกรุงเทพฯ ต้องลากิจไป แต่มันก็เหนื่อย ตรงที่ต้องกลับมาทำการบ้าน มานั่งทำสิ่งที่เพื่อนต้องจดอะไรไป ไล่ตามจดทีหลัง มันก็เหนื่อยตรงนี้แหละ นอกนั้นชีวิตเราก็สนุกดีครับ ผมว่าคุ้มค่านะกับที่ต้องแลกมา เพราะว่าถึงไม่ขนาดนี้ ผมว่าก็ได้เรียนรู้นะ ชีวิตกีฬามันมีต่อสู้ มันมีการตัดสินใจ มันมีความตื่นเต้น เราจะทำไง มันได้เห็นสนามที่แบบ โห แล้วใจเต้นแรง มันก็ทำให้เราจิตใจเข้มแข็งขึ้น ก็ผ่านอุปสรรคอะไรต่างๆ แบบแมตช์ที่กดดัน เราก็ต้องมีวิธีที่เราปรับตัวและผ่านมาให้ได้ ก็คุ้มนะ ถ้าเราไม่คิดเรื่องชีวิตนะ คิดถึงเรื่องการตัดสินใจ เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ว่ามีพื้นฐานทุกอย่างเลย ทำให้เราเอามาใช้ได้เลย”
เมื่อเข้าสู่การซ้อมกีฬาตะกร้ออย่างจริงจัง แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงจากการซ้อมในช่วงเวลาเย็น ช่วงเดียว มาเป็นการซ้อมเต็มรูปแบบ ทั้งเวลาเช้าและเย็น และรูปแบบหนักหน่วงมากกว่าเดิม ซึ่งหากเป็นรายอื่นคงถอดใจและคงถอนตัวไปแล้ว แต่สำหรับสืบศักดิ์แล้ว กลับไม่รู้สึกอะไรเลย และยังยินดีที่จะซ้อมได้ทุกรูปแบบต่อไป
“คือตอนอยู่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ซ้อมแค่ตอนเย็นอย่างเดียว แต่พอมาตอนช่วง ม.2 ช่วงมาคัดตัวเยาวชนสโมสรธนาคารกรุงเทพ ที่โรงยิมจุฬาฯ ชีวิตผมเริ่มซ้อม 2 เวลา เพราะเขาขอตัวมาเก็บที่สโมสร 1 เดือน ซ้อมช่วงเช้าและช่วงเย็น เช้าก็ 2-3 ชั่วโมง เย็นก็ 4 ชั่วโมง ชีวิตเริ่มซ้อมเป็นระบบแล้ว ซ้อมจนเหนื่อย เพราะว่ามันมีตัวทีมชาติมาซ้อมด้วย อย่างสโมสรแบงก์กรุงเทพ จะมีทีมชาติทั้งนั้นเลย ซ้อมเสร็จเราก็ไปนั่งดูพี่เขาซ้อมกัน เราอยู่ชุดเยาวชน ก็ไปนั่งดูชุดใหญ่ซ้อม และนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งในแรงบันดาลใจ”
แม้ว่าเวลาซ้อมของทีมเยาวชนของสโมสรธนาคารกรุงเทพ จะหมดลงในแต่ละวัน แต่ สืบศักดิ์ ก็ยังมาดูการซ้อมของนักตะกร้อทีมชุดใหญ่ แทบทุกวัน และนั่นก็เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจในการเล่นตะกร้อสำหรับเขา
“ที่เราได้เห็นทีมชาติบ่อยๆ ชุดนั้นมี ภักดี แดงวัฒนไพบูลย์ หรือ สุรัตน์ ณ เชียงใหม่ ซึ่งนั้นคือแบบตัวเสิร์ฟเทพเลย มันเหมือนเป็นความใฝ่ฝันเลย เพราะได้เห็นพี่เขาจากทีวี แล้วเราได้เห็นทีมชาติ ได้มีโอกาสไปนั่งดูที่ขอบสนามหลังเลิกซ้อมทุกวัน จนทำให้มีแรงบันดาลใจนะ ให้เราอยากเล่นๆ แต่ถึงขั้นทีมชาติ ตอนนั้นอยากเล่นมั้ยก็อยากนะ แต่เราก็คิดนะว่า เฮ้ย เจ๋งว่ะ อย่างน้อยก็มาถึงตรงนี้ได้ ก็เลยถือว่าจริงจังกับการซ้อมและซ้อมหนักขึ้น”
จากแรงบันดาลใจที่ได้รับในระหว่างการฝึกซ้อมอย่างไม่กดดัน และบวกด้วยมีความมุ่งมั่นอย่างไม่ย่อท้อ ผลลัพธ์ที่ได้ ก็ส่งผลให้สืบศักดิ์สามารถติดทีมชาติชุดใหญ่ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
“คือไปตามอัตโนมัติเลย เราก็ไม่ได้คาดหวังไง ส่วนหนึ่งก็พอไม่ได้คาดหวัง เราก็ไม่ได้กดดัน ก็เล่นไปเรื่อยๆ ทุกวัน เราก็เก่งขึ้นมาเอง แล้วก็แบบเราไม่ได้เกเรนะ เพราะผมมองว่า ถ้าเป็นนักกีฬา ผมมองว่าเต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ อดทน ขยัน ระเบียบวินัย ผม 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะผมมองว่ามันต้องอย่างงั้น”
• พอเรารู้ว่าติดทีมชาติแล้ว ตอนนั้นคือมีความรู้สึกยังไง
ผมก็ดีใจนะ เพราะเก็บตัวนานมาก ปีนั้นก็ประมาณ 6 เดือน คัดซีเกมส์ก่อน ผมก็ซ้อมกับรุ่นพี่น่ะครับ พอเริ่มซ้อมๆ มันก็เครียดไง เพราะมันเริ่มมีแข่งขันแล้ว เก็บตัวที 24 คน เอาแค่ 12 คน ก็ต้องคัดกัน ลงซ้อมเจอกันแบบทีม ประลองกันทุกวัน ทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องก็บี้กันตลอด มันก็มีความกดดันที่มีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา มันก็มีการคัดตัวไปแข่งกัน
จำได้ว่าครั้งแรกไปแข่งที่ออสเตรเลีย และก็เจอกับทีมชาติมาเลเซีย ซึ่งตอนนั้นเขาเหนือกว่า เป็นแชมป์ตลอด แล้วเราต้องแข่งกับเค้า 3 วัน ผมก็สำรองกับพี่เค้าไปคนหนึ่ง ไปกับทีมชุดใหญ่ไป มีพี่เกรียงไกร มุทาลัย พี่ไพศาล ใหม่หันลา และ พี่กัมพล ทัตสิทธิ์ แล้วก็ผม ตอนนั้นมีแค่ 4 คน ในทีมนี้ ก็วันแรก ก็แข่งเจอกัน ในตอนแรก พี่ทั้ง 3 คน ลงไปก่อน ผมก็นั่งสำรอง เซตแรกเราน่าจะแพ้ไปก่อน ผมต้องลงไปเล่นในเซ็ท 2 แต่อากาศมันเย็นไง ผมก็ยังวอร์มไม่เต็มที่ไง เราเป็นเด็กใหม่ ตอนนั้นก็เพิ่ง 18 ยังอ่อนหัด ไม่รู้เรื่อง นั่งสำรองเราก็นั่งดูสบายๆ คือคิดว่าพี่ๆ น่าจะเอาชนะได้ เราก็นั่งตบมือไป แต่ในเมื่อเซตแรกแพ้ เซตสองเราก็ต้องลงแล้วไง
• การลงสนามครั้งแรกของคุณเป็นยังไงบ้าง
เราก็เอาแล้วไง วอร์มเลย ตื่นเต้นเลย พอจังหวะที่เรายกขากระตุ้นตัวเอง สะโพกซ้ายก็มีอาการเลย เราก็อะไรวะ แต่ปวดแบบหน่วงๆ ผมก็ลงไปใส่เลย เราก็ไม่กลัวไง เพราะซ้อมมาดี ก็ใส่ไม่ยั้งเลย ปรากฏว่าพลิกกลับมาชนะได้ แต่พอจบเกม ผมกลับปวดก้นเลย เราก็สงสัยว่าเป็นอะไร เพราะตอนนั้นเรายังดูแลตัวเองไม่เป็น คืออะไรก็แล้วแต่ในร่างกาย ที่มันปวดบวมเนี่ย มันควรจะลงด้วยน้ำแข็งก่อน 72 ชั่วโมง แต่ตอนนั้นเราทาเคาน์เตอร์เพนไป แข่งเสร็จก็นวดใหญ่เลย สรุปสุดท้ายผมนอนปวดทั้งคืนเลย ปวดมากเลย คือจะต้องเล่นในอีก 2 วันนะ แต่มันไม่ไหวแล้ว ปวดมาก สรุปกล้ามเนื้อสะโพกฉีก เช้ามาก็พาไปหาหมอ จบเลยเล่นไม่ได้แล้ว ในครั้งนั้น ซึ่ง 2 วันสุดท้ายก็ชนะนะ สรุปผมได้เล่นประมาณเซตกว่าๆ ก็จบกันไป
• อาการกล้ามเนื้อฉีกในครั้งแรกที่ลงสนาม นับว่าเป็นบทเรียนให้กับคุณได้เป็นอย่างดี
คือตอนนั้นรู้เลยว่าการเตรียมตัว คือเพิ่งมาติดไง คือนักกีฬามันควรจะพร้อม 5 นาทีคุณต้องลงไปได้แล้ว แต่เราไม่รู้ ไม่มีใครบอกเรา โค้ชก็ไม่คิดว่าเราจะอ่อนขนาดนี้ พี่สามคนในตอนนั้น ถือว่าเทพแล้วนะ ชุดนั้น ฝั่งมาเลย์ก็กลัวแล้ว แต่ในตอนนั้น มาเลย์ก็เก๋าไง มันก็ชนะเรามาตลอด ซึ่งเราก็คิดว่ามันไม่ยาก เพราะจริงๆ เราก็ต้องเตรียมตัวกว่านี้ แต่เราก็ยังนั่งเฉยๆ ดูไป นั่งตบมือไป ไม่คิดว่าลงหรอก คิดว่าได้ลงแมตช์หลังๆ ชะล่าใจ
แต่มันก็เป็นครูให้กับเราว่า มันต้องพร้อมจริงๆ คนเรา หลังจากนั้นก็พร้อมตลอด คือมันก็ดีนะครับ สำหรับเหตุการณ์ครั้งนั้น มันก็สอนน้องๆ ได้ ควรจะประคบด้วยน้ำแข็งนะ ไม่ใช่เอาเคาน์เตอร์เพนไปทา นวดๆ มันอาจจะทำให้แผลบวมกว่าเดิม นอนแบบปวดทั้งคืน กินอะไรก็ไม่หายนะ ก็เป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ จำไว้เลย
ทีมชาติชุดใหญ่ และสมญานาม “โจ้ หลังเท้า”
ถึงแม้ว่าการลงเล่นทีมชาติครั้งแรกของสืบศักดิ์ จะจบลงด้วยอาการบาดเจ็บ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เขาควรจะได้พักรักษาตัวจากอาการดังกล่าว แต่โอกาสที่ได้จากผู้เป็นโค้ช ให้เข้าร่วมแข่งขันทัวร์นาเมนต์หลัก ทำให้เขาไม่พลาดโอกาสสำคัญที่จะร่วมทำการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย
“หลังจากนั้นอีกประมาณ 2-3 เดือนถัดมา ในช่วงปี 2540 มันจะมีทัวร์นาเมนต์ซีเกมส์ที่ประเทศอินโดนีเซีย กำลังจะแข่ง แต่ตอนนั้นเราก็ยังเจ็บอยู่ แต่ก็พยายามฝืนไป ซึ่ง อ.กมล ตันกิมหงษ์ หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติ ยังให้โอกาส คือฝึกซ้อมในช่วงเช้า ตอนกลางวันไปกายภาพบำบัด เย็นก็มาฝึกซ้อมอีก เป็นแบบนี้ทุกวัน มาเช็กตลอดเลย ซึ่งอาการกล้ามเนื้อฉีกจริงๆ จะหายประมาณ 3 เดือน แต่เราต้องซ้อมในลักษณะนี้ทุกวัน จนกระทั่งช่วงแข่งขัน ซึ่งได้เล่นแค่ทีมเดี่ยว ได้เล่นกับพี่เกรียงไกร กับ พี่ไพศาล ก็เป็นทีมเดียวกับที่ไปออสเตรเลียในวันนั้น สรุปว่าเราสามารถเอาชนะและคว้าเหรียญทองมาได้”
ถึงแม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับทัวร์นาเมนต์เป็นครั้งแรก แต่ทัวร์นาเมนต์สำคัญอย่างเอเชียนเกมส์ ในปลายปี พ.ศ. 2541 รออยู่ จึงได้มีการเก็บตัวฝึกซ้อม ก่อนแข่งขันเป็นเวลาถึง 11 เดือน ซึ่งในช่วงเวลานี้ ก็เป็นช่วงเวลาประสบการณ์ที่สำคัญในชีวิตของสืบศักดิ์อีกช่วงหนึ่งเลยทีเดียว
“สำหรับการเก็บตัวฝึกซ้อมก่อนแข่งเอเชียนเกมส์ที่กรุงเทพฯ ก็ได้อะไรจากปีนั้นเยอะมากเลยครับ ที่สำคัญที่สุดที่ได้จากการเก็บตัวครั้งนั้น คือ จิตวิทยาการกีฬา ที่มี ดร.พิชิต เมืองนาโพธิ์ ท่านก็เป็นนักจิตวิทยา เข้ามาพูดคุยกับทีม เดือนแรกๆ เลย เข้ามาพูดคุยว่า จิตวิทยาการกีฬามันเกี่ยวข้องยังไงกับการกีฬา แกก็เปรียบเทียบเหมือนคนเวลาไฟไหม้แล้วสามารถยกโอ่งน้ำ ยกตู้เย็นหรือทีวีได้ มันเหมือนเป็นแรงขับทางจิต เราก็เลือกมาใช้เพื่อฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง รู้จักวิธีใช้งานของมัน ก็ควบคุมความคิดและจิตใจประมาณนี้ เลยมาประยุกต์ใช้ในการเล่นกีฬา ก็ถือว่าใช้ได้ครับ และก็ปรับมาใช้ในชีวิตประจำวันก็ได้ ถือว่าดี เพราะผมนิ่งมากเลย”
“ตอนนั้นอายุ 20 แล้วนิ่งเลย เจอแบบแมตช์กดดัน แล้วสบายมากไม่กลัวใครเลย คือ หนึ่ง มีฝีมือ สอง รู้วิธี ควบคุมตัวเองได้มั้ย ทุกคนมีความตื่นเต้นหมด เวลาเจอการแข่งขันอะไรต่างๆ แต่ที่สำคัญคือ ใครควบคุมมันได้ดีกว่ากัน ผมจะควบคุมตัวเองได้ เพราะว่าเจอการฝึกจิตวิทยา เจอฝึกการผ่อนคลายแล้วแต่ มันทำให้เรานิ่งและคอนโทรลตัวเองได้หมดเลย แล้วก็เรื่องฟิตเนส ในเรื่องของจิตใจ เราก็เริ่มรู้ว่ามันสำคัญทุกอย่างเลย เพราะกีฬา ปัจจัยคือ ร่างกาย แล้วก็ทักษะกีฬา และจิตใจ ร่างกายมันได้ตรงความแข็งแรง วิทยาศาสตร์กีฬา เวท เทรนนิ่งกันไป ในเรื่องทักษะ ทุกคนก็เก่งอยู่แล้วล่ะ ทีนี้เรื่องจิตใจมันฝึกกันลำบาก แต่ผมจะมีการสวดมนต์มาตั้งแต่เด็กแล้ว พ่อสอนให้สวด เพราะบ้านอยู่ติดวัดเลย สวดชินบัญชรตั้งแต่ 10 ขวบ สวดก่อนไปเรียนทุกวันเลย จนท่องได้ปากเปล่ามาตั้งแต่เด็กแล้ว มันก็เลยได้ทักษะตรงนี้มาหน่อย แล้วก็ปรับใช้กับชีวิตกีฬา พอมันมาเชื่อมโยงกัน ก็มาปรับใช้กับในการเล่นกีฬา ก่อนเสิร์ฟทุกครั้งก็จะมีแบบสูดลมหายใจ ผ่อนคลาย แล้วก็เสิร์ฟ มันฝึกจนกระทั่ง หายใจทีเดียว กระบวนทางความคิดมันไปหมดเลย มาจดจ้องต่อสิ่งที่หมาย ทำบ่อยๆ จนเป็นอัตโนมัติเลย นอนหายใจ 3 ครั้ง หลับเลย มันได้ขนาดนั้นเลยนะ ทุกอย่างผ่อนคลายด้วยเวลาอันสั้น เพราะเวลาแข่งทุกคนเครียดหมดเลย เพราะฉะนั้น มันก็มีวิธีที่ผ่อนคลายตัวเอง ตรงนี้ช่วยได้เยอะ ก็ใช้มาตลอดเลย สุดยอดมาก”
และจากการเตรียมตัวอย่างดีเยี่ยม ทำให้สืบศักดิ์และเพื่อนร่วมทีม มีกำลังกายและใจอย่างเต็มเปี่ยม เพื่อสู้ศึกในทัวร์นาเมนต์ดังกล่าว จนเมื่อการแข่งขันเริ่มขึ้น ทัพลูกพลาสติกช้างศึกไทยก็ไม่ทำให้แฟนกีฬาผิดหวัง สามารถชำระแค้นทั้งต้นและดอก ด้วยการเอาชนะ ‘เสือเหลือง’ มาเลเซีย และคว้าเหรียญทองทั้งประเภททีมชุดและทีมเดี่ยว ได้สำเร็จ
“ตอนนั้นเรารู้สึกว่าเราซ้อมดี เตรียมตัวดีแล้ว ไม่กลัวใครหรอก เราพร้อม เราไม่กลัวใคร เพราะเราคิดแค่นี้นะ ผมไม่ได้คิดมากกว่านี้ จะแพ้ยังไงช่างมัน เพราะทุกอย่างมันสอนให้คิดอย่างงี้เลย การซ้อมดี เตรียมตัวดี เรามีจิตวิทยา เรามีพร้อมน่ะ เราก็พร้อมเจอได้หมดนะ เพียงแต่ว่ากีฬาเรายังไม่รู้ไง มันก็ยังไม่แข่ง แข่งเสร็จเราก็ยังไม่รู้ว่าใครจะแพ้ชนะ แต่เวลาเราลงเรารู้สึกว่ามั่นใจแค่นั้นเอง เราเตรียมตัวดีแล้ว ทำทุกอย่างที่เราต้องทำแล้ว ไม่มีแบบว่า ลูกนี้ซ้อมเยอะกว่าไม่มี ไม่เคยเลย ผมซ้อมเต็มที่”
“การแข่งขันครั้งนั้น เราได้ 2 เหรียญทอง ทั้งทีมเดี่ยว และทีมชุด รอบแรกผมไปแข่งที่หาดใหญ่ คนมาดูเยอะมากเลย พอรอบลึกๆ มาแข่งที่อินดอร์ฯ หัวหมาก คนมาดูกันเต็มความจุ จนผมตกใจ ผมวอร์มข้างใต้ แยกกันกับมาเลย์ แต่พอเดินลงสนามคู่กันมา เงยหน้าขึ้นมา คนเยอะมาก เพราะปีนั้นคนมาดูเยอะแถมอยู่ในใจกลางกรุงเทพด้วย เดินทางอะไรก็สะดวก เกมนั้นก็เป็นเกมประทับใจเลย และรู้สึกว่า คนเยอะมากที่สุดในชีวิตแล้วที่มาดู”
ขณะเดียวกัน จากความสำเร็จในครั้งนั้น ก็สร้างชื่อให้กับตัวเขา จนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ซึ่งสืบศักดิ์กลับไม่ได้หลงระเริงกับชื่อเสียงเหล่านั้นไม่ และยังคงที่จะฝึกซ้อมต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อน เพราะด้วยความเชื่อที่ว่า ‘ชีวิตนักกีฬาจะรักษาอย่างไรให้ยาวนานที่สุด’
“บางสิ่งบางอย่างเราทำไม่ได้แล้ว หมายความว่าเราจะสบายเกินไปไม่ได้แล้ว พอเราเริ่มมีชื่อเสียง พูดตรงๆ คือ บางทีมันก็ต้องรักษาภาพลักษณ์ไว้ให้ดี มันชวนให้คิดแบบนั้น เพราะเรามองว่า ในเมื่อสังคมเขาให้เกียรติเรา ไปไหนมาไหนคนก็เรียกกินข้าว ทักทาย หรือถ่ายรูป ผมมีความรู้สึกว่าทุกคนเขาให้เกียรติเรา เชียร์และให้กำลังใจเรา เราควรจะตอบแทนอะไรเขาบ้าง อย่างน้อยก็เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชนละวะ จะให้แบบเห็นสืบศักดิ์เดินอยู่หลังสนามเล่นเสร็จ ซ้อมเสร็จ แม่งดูดบุหรี่ ผมว่ามันไม่ใช่แล้ว ซึ่งผมไม่เคยนะ ผมมองว่า ผมทำอะไรไม่ได้เลยเนี่ย ก็ควรจะเป็นแบบอย่างให้เยาวชน ให้เขาเห็นว่า เล่นกีฬาแล้วมันดี ไม่ใช่แบบ เล่นกีฬาแล้วเท่มาก แนวมาก แล้วไปทำอะไรที่มันไม่สมควรในนามทีมชาติน่ะ”
“ผมจะพูดกับน้องๆ เสมอเลยว่า อย่าไปซีเรียสกับชีวิต ผมแค่รู้สึกว่า ทำยังไงให้มันเหมาะสมแค่นั้นเอง ไม่ได้แบบห้ามทำนู่นทำนี่หรอก แต่ให้เหมาะสม ถามกลับว่า คุณจะเป็นทีมชาติได้กี่ปี เต็มที่ 10 ปี แต่ผม 15-16 ปี อาจจะยาวหน่อย แต่บางคนก็ไม่ถึงนะ เป็นแค่ 2 ปีเอง แต่ 2 ปีที่ติด คุณควรที่จะเต็มที่เท่านั้นเอง แต่หลังจากที่คุณไม่ติดแล้ว อยากไปทำอะไรก็ไปทำ จะไปกินเหล้าเมายา จะไปดูดบุหรี่ก็เรื่องของคุณ มันมีเวลาสั้นมากเลย ฉะนั้น ทำอะไรก็ได้ที่มันเป็นตัวอย่างแก่สังคม แต่มันก็ดีตรงที่มันหล่อหลอมให้เราไปในสิ่งที่ควรจะเป็น ผู้หลักผู้ใหญ่ บางคนอาจจะมองเราว่าโอเค มองเราดี และได้รับโอกาสอะไรที่มันดีๆ มากขึ้นเรื่อยๆ”
เมื่อชื่อเสียงในฐานะนักกีฬามากขึ้นเป็นทวีคูณ แน่นอนว่า สืบศักดิ์ก็ย่อมถูกวงการมายากวักมือเรียกเข้าไปหาในตัวเขา ซึ่งผลงานทั้งการแสดงและพรีเซนเตอร์โฆษณาสินค้าต่างๆ ซึ่งในความเห็นของเขา มองว่า สิ่งเหล่านี้ เป็นประสบการณ์ที่เขาขอลองผ่านมาซักครั้งในชีวิตก็พอแล้ว
“จริงๆ ผมเป็นคนจริงจังนะ ผมมองว่ามันก็แค่นี้นะชีวิต มันก็เป็นช่วงสั้นๆ ของนักกีฬาครับ ถ้าเราทำได้ก็ทำ อย่างพวกบันเทิงก็เคยนะ ไปออกรายการ ถ่ายหนัง ผมก็เคย เพียงแต่มันไม่ใช่เป้าหมายของผม เป้าหมายที่แท้จริงในชีวิตระยะยาวคือรับราชการ ระยะสั้นคือทำยังไงให้ติดทีมชาติด้วยสถิติที่นานที่สุด แค่นั้นเอง ผมวางเป้าหมายชัดเจน ฉะนั้น ผมก็มีโอกาสที่ได้รับให้ไปเล่นละคร เล่นหนัง มันเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่ผมไม่รู้จัก ผมอยากรู้จัก ผมก็ไปรู้จักเลย ซึ่งมันก็ดีนะ เพราะว่าได้เห็นการทำงานซึ่งมันจริงจังนะ ไม่แพ้อาชีพนักกีฬาเลย ต้องมีระเบียบวินัย ต้องมีทุกอย่างเหมือนกันแหละ เพียงแต่ว่าวงการบันเทิงเค้าจะมีอะไรที่หวือหวาเท่านั้นเอง แต่พอเข้าไปก็โอเค ก็ดีใจที่ได้มีโอกาสได้เข้าไป ไปมาก็มาเปรียบเทียบก็ได้ลิ้มรสประมาณนั้น ผมว่าคนทุกคนมันมีความใช่และไม่ใช่นะ คือใช่ในสิ่งที่ควรใช่ บางคนมันก็ใช่ก็ดีไป ซึ่งจะให้ใช่ทุกอย่างมันจะยอดมนุษย์ไป”
ลีลา โจ้ สืบศักดิ์ ในการชิงเหรียญทองเอเชียนเกมส์ที่ โดฮา กาตาร์ เมื่อปี ค.ศ.2006
• เรียกได้ว่าแทบจะเป็นแชมป์มาโดยตลอด แล้วเคยมีมั้ยที่เราเคยพ่ายแพ้
มีครับ ตอนซีเกมส์ที่ฟิลิปปินส์ เมื่อปี พ.ศ. 2548 ตอนนั้นผมไม่ได้ลงเซตแรก มีน้องลงไปก่อน พอเซตสองผมลงไปก็ทำอะไรไม่ทันแล้ว เซตแรกโดนไป 9-21 แล้ว มันไม่ไหว เพราะต่อให้ผมเพิ่งลงไปก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว คู่หน้าไปหมดแล้ว 3 คน แพ้ 9-21 พอมาเซตสอง สภาพจิตใจยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย เกมไปไวอีก 21 แต้มแป๊บเดียวอีก บางทีผมซ้อมกันเอง ไม่ถึง 10 นาที โดนไปเซต 2 ไม่ทันแล้ว เบียดๆ ไปสูสีๆ กำลังใจทั้งทีมก็หมดเลย พอจบเกม ผมร้องไห้เลยนะ เพราะมันน่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ แต่ถือว่าโอเค โค้ชจะวางตัวก็เรื่องของโค้ชไป แต่ผมมั่นใจว่าถ้าวันนั้นได้ลงก่อน อาจจะไม่แพ้ง่าย แพ้แค่ไทเบรก ก็ต้องให้เกียรติโค้ชไปว่าโค้ชจัดตัวอย่างนี้
หลังจากเกมนั้น มันทำให้สอนอะไรได้หลายอย่างเลยนะว่า มันไม่มีอะไรที่แน่นอน เรามองว่า ชีวิตง่ายๆ มันไม่ใช่แค่เราซ้อมดีนะ ความคิดเราเริ่มแตกแล้วว่า แม่งไม่ใช่แค่ซ้อมดีแล้วชนะเสมอไป มันมีปัจจัยอะไรมากมายในช่วงเวลานั้น มันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ก็เป็นประสบการณ์นะ ชนะมาตลอด ได้คิดอีกแบบ พอแพ้ก็คิดอีกแบบหนึ่ง ก็ดีเหมือนกัน แล้วก็คลายความกดดันไปหน่อย จากที่แชมป์ๆ มาตลอด แต่ยังไงก็ยังเป็นสืบศักดิ์น่ะ จะแพ้ยังไง แต่ว่ายังคงต้องใช้ชีวิตต่อไป ในความเป็นตัวเราทุกคนก็อยากจะล้มเราให้ได้ แล้วเราต้องทำไง ก็ต้องป้องกันแชมป์ๆ เพราะมันทำให้ผมซีเรียสกับการซ้อมมาโดยตลอด การดูแลตัวเองมันก็เป๊ะๆ ตลอด
• ในท่ามกลางความสำเร็จที่เกิดขึ้นซะเป็นส่วนใหญ่ เคยมีสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจบ้างมั้ย
ด้วยบุคลิกผมในการเล่นกีฬามันชัดเจน จริงจัง ไม่เคยว่าทำตัวเป็นดาราซูเปอร์สตาร์ ไม่เคย เพราะผมไม่เคยโดนอวยว่าเป็นเทพ ไม่มีเลย มีแต่โดนกดทุกครั้งไป อย่างผู้จัดการทีมทุกครั้ง ผมเล่นมานานมาก คือตำแหน่งนี้เปลี่ยนอยู่เรื่อยเลย แล้วผมก็เหมือนไม่ใช่พวกเขา พอเข้ามาก็อยากเชียร์คนของเขาแถมยังดิสเครดิตผม อันนี้คือเรื่องจริงนะ หลายครั้งที่ไปแข่งต่างประเทศ บางทีผมเข้าไปเปลี่ยนชุดในโรงยิม ผู้จัดการทีมไปนั่งสัมภาษณ์ในห้องน้ำ เขาบอกเลยว่า ต่างประเทศไม่รู้จักสืบศักดิ์หรอก รู้จักแต่ในประเทศ แต่เขาอวยเด็กว่า ต่างประเทศรู้จักหมดทุกคน พอผมได้ยิน ผมอึ้งเลยนะ กำลังใจเสีย ถามว่าเสียใจมั้ย เสียใจมาก อะไรวะ เขาพูดแบบนี้เหรอ เราคิดด้วยความที่เราเป็นเด็กว่า เราเป็นนักกีฬาทีมชาติ แต่คุณมีเด็กคุณ มาพูดแบบนี้ ผมไม่ว่า ก็ไม่เป็นไร ผมเป็นนักกีฬา ผมจิตใจเข้มแข็ง ผมก็ผ่านไป
หรือบางที ก่อนจะลงสนาม ก็จะมีแบ็กสองคน จะมีแบบอวยเด็กตัวเองว่า ทำอย่างงี้ๆ นะ ทั้งๆ ที่ผมมีชื่อตัวจริง แต่ผู้จัดการบางคน ไปนั่งบอกเด็กข้างๆ เลยว่า เดี๋ยวลงไปเสิร์ฟอย่างงี้ หยอดอย่างงี้นะ เราก็งงนะว่า จนต้องไปถามโค้ชว่ายังไง คือทุกอย่างมันกัดกร่อนกำลังใจนักกีฬา แต่ผมผ่านมาได้ ผมลงไปก็ชนะ ก็แปรเป็นพลังงานให้ จบ มาเจอแบบนี้ มันมีอะไรมากว่าคนภายนอกจะรู้ ตอนเล่นผมก็พูดอะไรไม่ได้หรอก แต่พอออกมาแล้วผมก็บอกได้ เพียงแต่ว่าไม่ต้องการให้ใครมากดดันนักกีฬา ใครจะทำอะไรอยู่ที่ตัวเองว่า สู้ ทุกอย่างก็โอเค คุณไม่มีฝีมือ เขาก็ไม่คุณหรอก คำว่าเส้นสายมันมี แต่เขาต้องแสดงฝีมือด้วยนะ ไม่ใช่แบบ เชียร์เหมือนสินค้าว่าดีมากเลยนะ แต่พอไปใช้แล้วมันไม่ดีอ่ะ จบ บางตัวไม่ต้องเชียร์ แต่ดีด้วยตัวมันเอง ก็ไปได้
• จากการที่เราจริงจังกับการกีฬามาตลอด แต่พออยู่ดีๆ ก็ขออำลา ตอนนั้นเป็นเพราะอะไร
ผมว่าชีวิตคนเรามันเป็นช่วงเวลานะ ช่วงเวลาผมตั้งแต่เริ่มเล่นกีฬาตอน 10 ขวบ จน 30 ปี ช่วงนี้คือช่วงเล่น แต่ก็ยังหางานทำเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวอยู่ดี แต่พอหลัง 30 มันคือวัยทำงานแล้ว 30-60 ปี มันคือการทำงานแล้ว ผมว่าจะมาช่วงสนุกสนานเฮฮาก็ไม่ได้แล้ว บางคนก็บอกว่า เป็นโค้ชแน่ๆ แต่มันก็ไม่ได้เป็นเป้าหมายผม คือต้องยอมรับว่า นักกีฬากับโค้ชมันคนละทักษะกัน นักกีฬาคือคิดแล้วเล่น แต่โค้ชนี่คือ คิดแล้วบริหารเลย มันต้องเรียนรู้เยอะ ซึ่งผมยังไม่อยากเรียนรู้ โค้ชผมก็อบรมนะ ได้เอไลเซนส์ของตะกร้อ แต่สิ่งที่ผมเจอมา 16 ปี โปรแกรมการซ้อม วิธีความคิด การคุมคน ดูแลทุกอย่างยังไง การดูแลตัวเอง มันอยู่ในหัวหมดแล้ว เพราะเราผ่านมาหมด แต่เราอยากทำงาน อยากมีอีกโลกหนึ่งที่ยังไม่เคยเจอ ฉะนั้นมันคือหมดเวลาแล้วที่เราวางแผนไว้
• แน่นอนว่าย่อมรู้สึกว่าใจหายบ้างเป็นธรรมดา
มีเหมือนกัน แบบเราเล่นทีมชาติมา 15-16 ปี แต่อยู่ดีๆ วันหนึ่งก็เปลี่ยนไป คือเราเข้าใจนะ แต่เราก็มองว่า 30 ปี ข้างหน้า มันรออยู่ ว่าเราสิ่งที่มีประโยชน์ คือทำงาน คือชอบมีคนบอกว่า นักกีฬาจะชอบอยู่แบบกีฬา ทำงานไม่เป็น เรารู้สึกว่าไม่ดีหรอก เพราะนักกีฬามีวินัย ขยัน อดทน ซึ่งงานตำรวจก็เช่นเดียวกัน ผมว่ามันไม่ยากหรอก คุณก็ไปเรียนรู้หน้างานว่าทำอะไรบ้าง ก็ไปทำ ไม่ยากนะ อย่าให้เขาว่าได้ว่านักกีฬาไม่ทำงาน จะขอตัวไปซ้อมไปแข่งที ผมมองว่า คุณประมาทนะ มันดูแบบว่า เราอย่าให้เขาว่าได้ ทำงานซะ
บางคนบอกว่า เราต้องจบสวย ต้องอลังการ แต่เราเฉยๆ ไง ซึ่งการจบมันไม่เกี่ยวหรอก มันอยู่ที่ระยะทางมากกว่า ปลายทางทุกคนน่ะ ยังไงมันต้องมีวันเลิก มันไม่มีใครเลิกสวยๆ หรอก เพราะสิ่งสวยงามมันอยู่ที่ระหว่างทางมากกว่า แชมป์นั่นนี่ ได้เจอคน ได้มีโอกาสของชีวิต เจอผู้ใหญ่ช่วยเหลือเมตตา ก็คือ จบคือจบ แต่สิ่งสวยงามสำหรับเราคือ ได้เริ่มใหม่กับงานที่เรารัก ที่เราอยากทำ มีความสุข ส่วนเลิก มันก็คือความคิดถึงไง ความผูกพัน เราอยู่กับมันมา ใส่รองเท้า ถุงเท้า เสิร์ฟ เตะ ออกกำลังกาย แล้วนอน ตื่นเสร็จก็ซ้อมๆ แต่พอเราเริ่มงานที่เราวางไว้แล้ว ได้อย่างที่เราตั้งใจไว้ ก็มีความสุข คือหลังจากเลิกเล่นปุ๊บเราก็ตัดขาดจากตะกร้อ ไม่ได้ไปยุ่งเลย แต่ก็มีปีที่แล้ว ที่ได้รับเชิญไปเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตวอลเลย์ของสมาคม ซึ่งปีที่แล้วมีเอเชียนบีชเกมที่ภูเก็ต ก็ได้แชมป์เหรียญทอง ก็ได้มีส่วนในครั้งนี้
งานผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ คือความสุขในปัจจุบัน
นับเป็นเวลากว่า 16 ปี ที่รับใช้ทีมชาติ ด้วยสถานะนักกีฬาเซปักตะกร้อ จนเลิกเล่นทุกระดับ หลังจากทัวร์นาเมนต์เอเชียนเกมส์ ที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. 2553 สืบศักดิ์ก็หันมารับราชการตำรวจอย่างเต็มตัว ซี่งตัวเขาเองก็ไต่เต้าตำแหน่งมาจากชั้นประทวนในแรกเริ่ม จนกระทั่งปัจจุบันนับเป็นเวลา 13 ปี ในชุดข้าราชการสีกากี และด้วยผลงานทางราชการ ทำให้ปัจจุบัน สืบศักดิ์ มีความเจริญในหน้าที่การงานตามลำดับ
“คือเราไต่เต้ามาจากชั้นประทวน เข้ามาเป็นพลสำรองพิเศษเลย เมื่อปี พ.ศ. 2545 ตอนนั้นเป็นสายตรวจ 191 พอต่อมาท่านเสรีพิศุทธิ์ (เตมียาเวส) ท่านบอกว่า ใครมีวุฒิปริญญาโท จะปรับเป็นสัญญาบัตร ก็ได้มาเป็นช่วงนั้น ก็อยู่สายตรวจ 191 มาตลอด จนปัจจุบันขึ้นมาเป็นสารวัตรแล้วครับ”
“คือช่วงที่เราเป็นรองสารวัตร ผมทำสายตรวจ 191 ลักษณะเป็นงานปราบปราม ก็แสดงกำลังป้องกันเหตุ พอมาประจำการที่นี่ ก็เป็นงานแบบนี้เช่นกัน แต่จริงๆ แล้ว มียศสูงขึ้น มีหน้าที่สูงขึ้น และก็มีความรับผิดชอบสูงขึ้นแค่นั้นเอง คุมดูแลทีมงานน่ะครับ ให้ปฎิบัติหน้าที่ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา เพราะอยู่พื้นที่ สน. มันจะมีมาตรการต่างๆ มีคำสั่ง มีวิธีการป้องกันเหตุ เพื่อไม่ให้มันเกิดขึ้น อย่างเช่นมาตรการทิ้งทุ่น เราก็ต้องไปประจำจุดตามธนาคาร หรือ ร้านทอง ในช่วงเวลาที่กำหนด ช่วงเช้า ช่วงสาย ช่วงบ่าย หรือ มาตรการพิทักษ์เด็ก ก็จะไปตรวจเด็กหลัง 2 ทุ่ม ถึง 4 ทุ่ม ก็ไปดูซิว่าเด็กยังอยู่ร้านเกมอยู่มั้ย และไปดูตามสถานประกอบการต่างๆ ว่ายังมีเด็กแอบเข้าไปมั้ย เราก็คอยดู คือเหมือนกลายเป็นประจำวันน่ะครับ ที่เราทำ เพราะถ้าเกี่ยวกับเรื่องเด็ก มันก็เหมือนเป็นลูกหลานเราน่ะ เราก็ดูพิเศษหน่อย เพราะผมให้ความสำคัญมากกับเด็ก มันเป็นปัญหาสังคมตั้งแต่ครอบครัวเลย พ่อแม่อาจจะไม่ทราบว่า ลูกออกมา หรือ เพื่อนชักชวนมา ก็มาเที่ยวมั่วสุมอะไรแบบนี้ครับ เราก็ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ”
“พอเราขึ้นมาเป็นสารวัตรแล้ว มันก็ความรับผิดชอบเยอะขึ้นน่ะครับ งานมันอาจจะไม่ได้เหนื่อยแตกต่างกันมาก แต่ว่าเรารู้สึกรับผิดชอบ ต้องคิดมากขึ้น ต้องวางแผนว่า ทำยังไงใช้ทรัพยากร ใช้ลูกน้อง ใช้ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ไปทำงานให้เราแบบเต็มที่และเต็มใจ ผมมองว่าคนเรา การอยู่ร่วมกัน โอเค มันมีสายผู้บังคับบัญชา สั่งให้ทำนู่นทำนี่ แต่มันก็คือคน ทุกคนมีจิตใจ มีความคิด มีหลายอย่างข้างใน เพราะฉะนั้น ผมมองว่า ถ้าเราสั่งเขาทำได้ และทำด้วยความเต็มใจ มันจะดีมาก แล้วผลที่ได้ก็จะได้กับประชาชนเอง ทุกอย่างเลยที่นโยบายของเจ้านายออกมา อย่างมาตรการต่างๆ ถ้าเราสั่งให้ทำ แต่เขาทำไปงั้น ไม่ได้ทำแบบตรวจแบบละเอียด มันก็มีผล เพราะฉะนั้น ผมมองว่า ทุกอย่างมันก็ต้องคิดมาก และก็ทำยังไงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเค้าทำตามคำสั่งเราอย่างเต็มที่และเต็มใจทำ มันก็ส่งผลต่อสังคมให้มันดีขึ้น อันนี้สำคัญ
“เหมือนคล้ายๆ ว่าเราเป็นกัปตันทีมนะ วันแรกที่มาผมก็บอกเลยนะว่า ผมเป็นกัปตันทีมแหละ ทุกคนคือผู้เล่น เปรียบเทียบให้เหมือนกับฟุตบอลเลย ทุกคนคือผู้เล่นเลย กองหลัง กองหน้า แบ่งหน้าที่ชัดเจนเลย เพราะทุกคนแบ่งไปแต่ละเขต แต่ละหน้างาน ทุกคนชัดเจน รู้บทบาทหน้าที่ตัวเองชัดเจน เพียงแต่ว่าผมเป็นหัวหน้าทีม ทำยังไงให้ทุกคนตั้งใจเล่น และก็เล่นด้วยความเต็มใจ ผู้บังคับบัญชา ผู้กำกับ ก็เหมือนกับตัวโค้ช ผู้จัดการทีม คนวางแผน เป็นเหมือนสปอนเซอร์หลัก คอยดู คอยให้ความสะดวก จะเป็นอย่างงั้น เพราะเราต้องทำงานด้วยกัน บางทีมันจะต่างคนต่างทำก็ไม่ได้ อย่างคนนี้ทำ ก็ทำคนเดียว ไอ้นี่ไม่ทำ ก็ไม่ทำอยู่วันยังค่ำ มันก็ต้องมีวิธีการจัดการว่า เฮ้ย คนอื่นเค้าทำกันนะ คุณจะไม่ทำกันเหรอ อะไรแบบนี้ มันก็ต้องมีวิธีที่จะสื่อสารกันได้”
• ทำไมถึงสนใจในด้านเด็กและเยาวชนเป็นพิเศษ
เมื่อก่อนผมอยู่สายตรวจ 191 มันไม่ลงลึกมาก พอมาอยู่ สน.พหลโยธิน มันก็มีสถาบันการศึกษา มีโรงเรียน มีห้างสรรพสินค้า มีหลากหลายครับ เราก็ได้มองปัญหาเด็กแบบว่า อย่างเด็กตีกัน ช่างกลดักตีกัน แล้วขว้างระเบิดอะไรกัน เราก็มองว่า เยาวชนพวกนี้เราไม่รู้ว่า ที่เขาทำสิ่งนี้นั้น มันเพราะอะไร เป็นเพราะครอบครัวสังคม เป็นที่บ้าน หรือว่าเพื่อนชักชวน หรือว่าเป็นที่ตัวสถาบัน แล้วก็บางทีเด็กออกจากบ้านกลางค่ำกลางคืนเตร่ๆ อย่างงี้ เราเป็นห่วง เหมือนกับเรามองเราตอนเด็กๆ แต่ตอนนั้นเรามีกีฬา มีกีฬาควบคุมอยู่ เรียนเสร็จเย็น เราซ้อมกีฬาเสร็จ เราก็กลับบ้านนอน เพราะเราเหนื่อย แต่สังคมเมืองมันไม่เหมือนต่างจังหวัด อย่างต่างจังหวัด ตอนเย็นก็เห็นเด็กๆ ออกไปเตะบอลกันหมดแล้ว เตะบอล แล้วก็วิ่ง นู่นนั่นนี่ มันก็โอเคไม่น่าห่วง กลางคืนก็ต้องง่วงโดยปริยาย แต่สังคมเมืองมันไม่มีสถานที่ออกกำลังกาย มันไม่เอื้ออำนวยขนาดนั้น
เพราะฉะนั้น เด็กมันก็จะติดเพื่อนติดเกม มันมีสิ่งล่อตาล่อใจ ไปห้าง ไปเล่นเกม ไปตรงนี้มันเยอะ ปัญหามันก็สุ่มเสี่ยงเยอะ เราก็เลยเป็นห่วงว่า เรามองตัวเราว่า เราโชคดีที่เราได้กีฬาในการคอนโทรลชีวิตเรา มีความขยันอดทนระเบียบวินัยอย่างเงี้ย มันก็รอดมาได้ เพียงแต่อยากให้น้องๆ หลานๆ อยู่ในปริมาณที่ไม่ก่อให้เป็นปัญหาสังคมน่ะครับ บางทีเห็นนักเรียนตีกัน เราก็จะปรามๆ ไว้ แล้วถ้าพฤติกรรมเหล่านั้นมันหายไปก็ดี แต่ถ้าถึงขั้นที่ไม่มีใครไปควบคุมเลย ต่อไปมันอาจจะมากกว่านี้ เราก็เป็นห่วง
• ในฐานะที่คุณดำรงสถานะเป็นตำรวจ แน่นอนว่าต้องรับมือกับประชาชนเป็นธรรมดา
ทุกวันเลย ง่ายๆ เลย อย่างเราไม่ได้คุมงานจราจร แต่เราก็เห็นปัญหาชาวบ้านเจอตำรวจ มาหาพนักงานสอบสวน หรือ มาเจอ สจ.100 ก็ส่วนหนึ่ง แต่ที่พี่เจอบ่อยๆ ก็ตอนไปปิดสถานบริการ สถานประกอบการ คือมันมีเวลากำหนดอยู่แล้ว ซึ่งถ้าทุกคนมีระเบียบ ตำรวจไม่เหนื่อยหรอก อันนี้โอเคเราเข้าใจว่าคุณทำธุรกิจ ก็อาจจะมีเลย มีอะไร เพื่อผลประกอบการ มันก็เป็นงานที่ตำรวจก็เห็นใจนะ คือแทนที่ตำรวจจะออกไปป้องกันเหตุในจุดเสี่ยง จุดล่อแหลม ที่มันควรจะเป็น แต่กลับต้องมาดูแลสถานประกอบการที่มันดื้อๆ น่ะ บางทีเราก็ต้องไปเอง ไปถึงก็เจอแบบเมาๆ เลย พูดจาแบบท้าทายเลย จนเราแปลกใจนะว่าโตแล้วไม่รู้กฎหมายรึไง คือไม่ใส่ใจหรือมึน ทุกอย่างมีกรอบ ก็ว่ากันไป แต่คุณพูดเหมือนตำรวจไปแกล้งคุณ บางทีก็ไม่ใช่ เพราะเราทำงาน เราใส่เครื่องแบบ เราอดนอน ต้องไปทำงานป้องกันเหตุ ไหนจะต้องไปแสดงตัว ปิดช่องโหว่และโอกาสที่โจรผู้ร้ายจะก่อเหตุ แต่ต้องมาอยู่ร้าน ต้องมาไล่
คือเราเฉพาะเจอกับคนที่มีสติปกติบางทีก็ควบคุมยากอยู่แล้ว เจอคนเมา เราต้องเข้าใจเลยว่า อยู่ในอุดมคติของตำรวจ คือ ต้องทนกับความเจ็บใจ เพียงอยากจะบอกสังคมว่า งานตำรวจมีมากมายหลายอย่าง เราไม่ได้ขอความเห็นใจหรอก อันนี้คือหน้าที่ ทุกคนสมัครใจมาเป็นตำรวจเอง แต่บางทีด้วยภารกิจของเรา เราเจอมาเยอะมาก ทั้งข้างนอกข้างในออกไป อย่างประชาชนมองมา ผู้ประกอบการ หรือ ผู้บังคับบัญชา มันก็เครียด ก็ต้องเข้าใจบทบาท ทุกคนมันมีหน้าที่ กฎกติกาชัดเจน ให้มันดูแล
อย่างผมเนี่ย ไปดูแลเรื่องเด็กในสถานประกอบการ ว่าเด็กเค้าใช้บริการมั้ย บางร้านที่ผมไปตรวจ ที่มีเรื่องร้องเรียนมา ผมก็ไปวันนั้นเลย แล้วปรึกษาหัวหน้า ท่านก็ให้รีบไปดูเลยว่ามีจริงมั้ย ปรากฏว่ามี ผมก็เรียกเด็กมาตักเตือน โทร.ตามพ่อแม่มารับตัว แล้วก็ตักเตือนร้าน ซึ่งเขาก็อ้างว่า บางทีก็ไม่พกบัตร คือไม่ได้คุณต้องพก ประชาชนไทยจะไปไหนต้องพกบัตรอยู่แล้ว คุณไม่พกบัตร คุณก็ผิดกฎหมายอยู่แล้ว ต้องรู้ จะอ้างไปนู่นนี่ คือเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีมั้ย เอาเวลาไปป้องกันเหตุดีกว่ามั้ย ที่คนร้ายมันหาเหยื่ออยู่น่ะ มันมีเหยื่อ และก็มีโอกาส สังคมเรามันมีคนร้ายและเหยื่ออยู่ตลอดเวลาแหละ แต่เราเป็นตำรวจป้องกันเหตุ เราก็ไม่อยากให้มันมีโอกาส เพราะฉะนั้นผมมีโอกาส ก็ไปตามที่ต่างๆ เลย ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนมา หรือไปซอยที่เปลี่ยวๆ ไป เอามาตรงนี้ดีกว่า
• จากการที่เราทุ่มเทมาทั้งนักกีฬาทีมชาติ และการเป็นตำรวจ มันให้อะไรเราได้เพิ่มเติมบ้าง
อย่างแรกคือ ได้ความภาคภูมิใจอย่างชัดเจนนะ ที่เราได้ทำหน้าที่ของเรา แล้วบริหารให้เจ้าหน้าที่ของเรา กระตือรือร้นในการทำงาน เราภาคภูมิใจแล้วส่วนหนึ่ง อีกอย่างที่ตามมาคือผู้ใหญ่เห็นเราทำงาน เราไม่ได้มาเห็นแบบเราสร้างภาพนะ คือเราทำเต็มที่อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอะไรที่มันควรจะเป็น ก็ต้องเป็นอยู่แล้ว ถ้าผิดกฎหมาย เราก็ต้องทำตามกฎหมาย แค่นั้นเอง เรามีบทบาท บทผมชัดเจนน่ะ ก็ทำตามกฎหมาย ทุกวันนี้ เราก็ยังสนุกกับงานนะ บางทีนอนตี 4-ตี 5 แล้วตื่นเช้าเงี้ย คือตำรวจบางทีเจอประชาชนด่า ต้องโดนปะทะตลอดเวลา ตั้งแต่งานจราจร ถ้าคุณฝ่าไฟแดงมา ไม่มีใบขับขี่ หรือ ดัดแปลงรถ คุณก็ผิดกฎหมาย ทุกอย่างผิดหมด แล้วยิ่งเป็นเรื่องที่กระทบโดยตรง มันก็ยิ่งไปใหญ่ ผมก็มองว่าเป็นคนๆ ไป คุณเห็นตำรวจคนไหนไม่ดีก็โพสต์ว่า แต่ถ้าคุณด่ากราด มันก็เสียกำลังใจ ผมไม่ได้พูดเข้าข้างตำรวจนะ คือรู้ปัญหาดี ว่าทัศนคติของประชาชนกับตำรวจเป็นยังไง รู้ดีว่ามันกระทบกระทั่งกัน มีอะไรหลายอย่างที่มองดีไม่ได้ เพียงแต่คุณก็เอาเป็นรายๆ ไป เดี๋ยวนี้โลกออนไลน์มันเร็วมาก ทำดีแป๊บเดียว ดังดีไปเลย ถ้าไม่ดีก็เร็วเหมือนกัน เพียงแค่มันอาจจะเร็วไปหน่อย ทำดีรู้กันชั่วโมงเดียวทั่วประเทศ แต่ถ้าทำไม่ดี ภายใน 5 นาทีเอง ผมรักในอาชีพตำรวจ และก็ไม่อยากให้ตำรวจโดนมองไม่ดี ผมมองว่า ตำรวจและประชาชนต้องอยู่ด้วยกัน แล้วนโยบายของผู้บังคับบัญชาระดับสูงเนี่ย ก็ชัดเจนเลยว่า ทำยังไงให้ประชาชนรักตำรวจมากที่สุด ไม่ได้รักจากการสร้างภาพนะ คือทำให้เห็นเลย แต่คุณช่วยมาดูหน่อย
และสำคัญที่สุดนะ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ช่วยตัวเองตลอด ไม่มีใครช่วยเรา เราต้องทำให้เห็นก่อน อย่างที่ผมมาถึงขั้นนี้ได้ ที่สำคัญสุด ผู้บังคับบัญชาและเจ้านายเห็นความดี เห็นความตั้งใจทำงานขยัน จึงให้มาปฎิบัติหน้าที่ ก็โชคดีที่ได้เจ้านายที่เค้าเห็นเราทำงาน แล้วให้ตอบแทนเรา จนให้เราเลื่อนขั้นมา ก็ขอขอบคุณที่เค้ามองเห็น ก็มีกำลังใจ เราก็พูดเสมอเลย คนพูดทุกคนเลยว่า ตั้งใจทำงานนะ ไม่มีเลยนะว่า มึงไม่ต้องทำงานหรอก ไม่มี คำพูดนี้ฟังมาตั้งแต่อดีต ผบ.ตร. หรือใครก็ตาม ให้ทำงานเพื่อประชาชน ให้ประชาชนรัก เราฟังมาตลอด เหมือนเป็นหน้าที่ เราได้มาแล้วขอตอบแทน ซึ่งที่เจ้านายพูดมา ทำงานให้เต็มที่ ส่วนอื่นค่อยว่ากัน
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ปวริศร์ แพงราช