คนหน้าซื่อๆ สวมแว่นตากรอบกว้าง ยืนฉีกยิ้มให้คนอื่นแซวๆ อำๆ ให้ขำเล่นๆ
น่าจะเป็นภาพแรกๆ ที่ผู้คนจำได้ เมื่อเอ่ยถึงผู้ชายคนนี้
“พัน พลุแตก” หรือ “ภานุพันธ์ ครุฑโต” ยืนอยู่ในตำแหน่งดาวโชว์เบอร์ต้นๆ คนหนึ่งในสังกัดของเวิร์คพ้อยท์
นับกันด้วยพรรษานักแสดง...เขาอาจเป็นรุ่นน้องของ “หม่ำ จ๊กมก” ดาวตลกชื่อดัง และเขาอาจมาทีหลัง “เท่ง โหน่ง” และใครต่อใครอีกหลายคน แต่ระยะเวลากว่าสิบปีบนถนนของพิธีกรและนักแสดงในรายการเกมโชว์ “ภานุพันธ์ ครุฑโต” ก็ค่อยๆ สร้างชื่อของตัวเองขึ้นมาจากศูนย์ และอาจนับไปได้อีกไกล
หม่ำ จ๊กมก ขนานนามเขาด้วยถ้อยคำ “สุภาพบุรุษคอเมดี้” ในฐานะที่เล่นตลกได้เรียบร้อย ไร้คำหยาบโลน “ไม่น่ากลัวแต่น่ารัก” หม่ำ จ๊กมก ตกคำเปรียบเปรยให้แก่เขาไว้แบบนี้
ขณะที่ “เสี่ยตา-ปัญญา นิรันดร์กุล” ครุ่นคิดผ่านคำข้าวในมื้อเที่ยงวันหนึ่ง...“ชื่อนี้เลย พัน พลุแตก นี่แหละ พลุแตกหมายถึงโด่งดัง และแทบทุกเทศกาลก็จะมีการจุดพลุเฉลิมฉลอง”
“เหมือนเราได้ใบขับขี่นะ” นักแสดงตลกวัยกลางคน ออกความเห็นสั้นๆ เมื่อเอ่ยถึงฉายาที่เสี่ยปัญญามอบให้
“ก่อนหน้านั้น เหมือนเราขับรถเป็นแต่ไม่มีใบขับขี่ บางคนเรียกเราลุงพันหรือจ่าพัน หรือไอ้แว่น พอเป็นพัน พลุแตก มันเหมือนเป็นชื่อเฉพาะ แบบมีลายเซ็นน่ะ”
อย่างไรก็ดี ก่อนจะมาถึงจุดนี้ของชีวิต
“พัน พลุแตก” หาใช่ “พลัน พลุแตก” ที่เปิดตัวหนแรกก็ดังระเบิดเหมือนพลุในงานเทศกาล
แต่ “พัน พลุแตก” ผ่านทางแยกและลดเลี้ยวเคี้ยวคดของถนนชีวิตมาอย่างโชกโชน
ก่อนจะกลายเป็น “บุคคลสาธารณะ” ในสถานะพิธีกรและนักแสดง
ที่เจ้าตัวออกปากถ่อมตนว่า
“คำว่าดาราตลกนั้นยิ่งใหญ่เกินไปสำหรับผมครับ
ผมไม่ใช่ตลก ผมเป็นเพียงนักแสดงที่สามารถเล่นบทนี้ได้เท่านั้นเอง”...
• เท่าที่สังเกต เหมือนว่าช่วงนี้งานจะชุกเป็นพิเศษ
ก็มีงานทางช่องดิจิตอล และงานหลักๆ ตามรายการที่มีอยู่แล้วครับ ถ่ายรายการเกือบทุกวัน ซึ่งมันก็มีความเหนื่อยบ้างเป็นธรรมดาในเวลาที่เราทำงาน แต่เราสนุกกับมันมากกว่า พอเรารู้สึกสนุกกับมัน ความเหนื่อยนั้นก็จะลดลง เพราะถือว่าเราชอบ เรารักที่จะเป็นแบบนี้ ก็ต้องยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น คืออาจจะเหนื่อยแค่ตอนขับรถเท่านั้นเอง เพราะการเดินทางในกรุงเทพฯ สมัยนี้ไม่แน่ไม่นอน และจริงๆ ทีมงานเขาเหนื่อยกว่าเราเยอะ เขามาเช้ากว่าเรา กลับก็กลับหลังเรา เราเลยรู้สึกว่าเราสบายกว่าเขาเยอะครับ
• พูดได้ไหมว่าทุกอย่างที่เป็นอยู่ ณ ตอนนี้ เป็นความฝันตั้งแต่วัยเด็ก
คือจริงๆ ตอนเด็กผมอยากเป็นพระเอกลิเกนะ เพราะช่วงนั้น คุณย่าจะพาไปลิเกงานวัดเป็นประจำ เราดูแล้วก็รู้สึกว่า “เฮ้ย! มันได้ตังค์เยอะว่ะ” เวลาแม่ยกมาคล้องพวงมาลัย คือจุดประสงค์หลักของความฝัน ณ ตอนนั้น ก็เพราะอยากได้เงินมาให้ครอบครัว แต่ก็ไม่ดูตัวเองว่า หน้าตาและความสามารถเป็นยังไง รู้แค่ว่าโตขึ้นอยากเป็นพระเอกลิเก ต่อมาพอเริ่มโตหน่อย ช่วงประถมก็อยากเป็นพนักงานธนาคาร เพราะธนาคารเงินมันเยอะดี คือเหตุผลหลักๆ อย่างเดียวเลย ก็คือหาเงินมาช่วยที่บ้าน แค่นั้นเองครับ
• ดูเหมือนว่าสภาพครอบครัวในวัยเด็กจะมีอิทธิพลต่อความคิดของเราสูงมาก
ใช่ครับ...ครอบครัวมีอิทธิพลเยอะมาก เหมือนเป็นแรงผลักให้เราจะไปซ้ายขวาได้เลย แม่ผมทำงานโรงงาน พ่อเป็นครู ครอบครัวก็ถือว่าอยู่ในระดับชนชั้นกลางทั่วไป มีหนี้สิน เช่าบ้านอยู่ เราเลยรู้สึกว่าต้องต่อสู้หน่อย แล้วความที่เราเป็นลูกคนโตด้วย มันก็ทำให้เรารับผิดชอบชีวิตเยอะ ซึ่งพอมองย้อนกลับไป ผมว่ามันเป็นสิ่งที่ดีนะ เพราะมันเป็นแรงผลักดันชั้นดีให้กับชีวิตของเราเลย
• มีพ่อเป็นครู การเลี้ยงดูเข้มงวดไหม
ก็มีบ้างครับ แต่เรารู้สึกว่าเรายอมรับได้ ผมไม่ใช่เด็กดื้อนะ เชื่อฟัง เป็นเด็กที่ค่อนข้างเรียบร้อยและเป็นเด็กดีคนหนึ่งของสังคมสมัยนั้นด้วยซ้ำ (หัวเราะ) คือเราถูกปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เราเป็นหลานชายคนแรกๆ ของปู่ย่า ท่านก็พาผมเข้าวัด เราจึงซึมซับสิ่งดีๆ ที่พระสอนและปู่ย่าบอกเราในเรื่องบาปบุญคุณโทษ เรารู้สึกว่าเราถูกกล่อมเกลาโดยครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อม มันทำให้เราไม่ออกนอกลู่นอกทาง เพราะสมัยเด็กๆ ผมกลัวตกนรกมาก ยึดหลักทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราก็เลยเชื่ออย่างนั้น และไม่อยากไปยุ่งกับความชั่ว
• ทุกคนมีจุดเปลี่ยนของชีวิต แล้วจุดเปลี่ยนชีวิตของ “พัน พลุแตก” เริ่มจากจุดไหน
ตอนผมกำลังจะขึ้นปี 4 (เอกจิตวิทยา) เป็นช่วงที่พ่อล้มป่วย ถึงขนาดต้องตัดขาทิ้ง ชีวิตเปลี่ยนหมดเลย ผมต้องเริ่มหางานทำช่วยเหลือแม่ เพราะแม่ก็ทำงานโรงงาน ลูกอีก 3 คนก็เรียนหมดเลย ไม่มีรายได้ แถมบ้านก็จะถูกยึด คือมันมีปัญหาหลายๆ อย่างเข้ามาโดยไม่ได้นัดหมายเหมือนโปรโมชันอ่ะ มันมีให้มา แล้วแถมมา พอพ่อเสีย บ้านก็ถูกยึด เราก็ย้ายที่อยู่ ตอนนั้นนะ ผมลองอธิษฐานกับพระเจ้าดู แล้วเหมือนชีวิตมันเปลี่ยนไปเพราะความเชื่อที่ผมมีอยู่ในตอนนั้น ช่วยให้ชีวิตพลิกกลับมา ผมได้ไปออกรายการกามเทพผิดคิว แล้วโชคดีได้แจ็กพอต ได้ของเยอะมาก ผมเอาของพวกนั้นไปขายแล้วนำเงินมาใช้หนี้ จากนั้นเราก็ย้ายครอบครัวมาอยู่แถวบางกะปิ ชีวิตเริ่มเปลี่ยน คือช่วงนั้นทำงานฟรีแลนซ์ ทำหลายอย่างมาก
• เห็นว่าเรียนครูแนะแนวมา แต่ไม่ได้ทำในสายนั้นโดยตรง
คือตอนนั้น ผมคิดเพียงแค่ว่าเรียนจบออกมา แล้วทำงานอะไรก็ได้ที่ให้มันได้เงินเยอะๆ เพราะด้วยสภาพครอบครัวที่ต้องยังชีพต่อไป การเลี้ยงตัวให้ได้คือสิ่งสำคัญ ผมจึงรู้สึกว่าตรงนั้นสำคัญมากกว่า ไม่ได้คิดว่าต้องพัฒนาตัวเอง คิดแค่ว่าจบออกมาแล้วช่วยเหลือครอบครัว เลยมุ่งไปที่งานประจำมากกว่า ตอนแรกก็ไปเป็นครูอัตราจ้างที่โรงเรียนศึกษานารี แต่ทำได้แค่ไม่กี่เดือน เพราะต้องยอมรับว่าเงินเดือนครูในสมัยก่อนมันน้อย ถ้าปริญญาตรีก็ประมาณ 6,000 กว่าบาท ตอนนั้นผมรู้เลยว่าไม่พอแน่ เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นดีกว่า
• อย่างอื่นที่ว่านั้น คือ...?
เป็นวิทยากรนำสถานการณ์ ซึ่งผมว่ามันเข้ากับผมมาก ผมเพิ่งเคยเห็นตำแหน่งนี้นะ เขาก็เพิ่งรับสมัครเป็นครั้งแรกด้วย เราไปสมัครแล้วก็ได้เลย ทำที่นั่นอยู่หลายปีเหมือนกัน ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขมาก เพราะได้ทำกิจกรรม ได้พูด ได้คุยทุกวัน มันเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ เราชอบพูด ชอบออกความคิดเห็น ชอบถามครู ก็จะได้เป็นหัวหน้าห้องอยู่บ่อยครั้ง มันเลยต่อยอดให้มาเป็นประธานสี ประธานชมรม เพราะเราเป็นคนสนุกสนานเฮฮา คือเวลามีไมค์ เราก็จะไปพูดทุกครั้ง นำร้องเพลงชาติ สวดมนต์ ไปประกวดมารยาท ผมไปหมด คือทำมาหมดทุกอย่างในโรงเรียน เวลาเขาให้ทำอะไร เป็นหัวหน้า รองหัวหน้า หัวหน้าหมู่ลูกเสือ คืออะไรที่เกี่ยวกับผู้นำ เพื่อนจะเสนอชื่อเราทุกครั้ง ทำเรื่อยมาจนถึงสมัยมหาวิทยาลัย ได้เป็นรองประธาน ประธานเชียร์ ประธานคณะ ชมรมไหนมีกิจกรรม หรือเพื่อนๆ ให้ไปช่วย เราไปหมดเลย
ผมจึงมีความสุขมากกับการทำงานตรงนั้น เพราะใครก็ตามที่สามารถทำงานที่รักได้ทุกวันแล้วมีรายได้ด้วย ผมว่ามันสุดยอดแล้วนะกับการที่เรามีโอกาสได้ทำงานที่รักและได้เงินด้วย แฮปปี้มากเลยช่วงนั้น ถึงแม้จะเหนื่อยก็ตาม คือบ้านอยู่บางแคแต่ไปทำงานแดนเนรมิต เดินทางประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน แต่รู้สึกว่ามีความสุข
• ชีวิตภายหลังออกจากรั้วแดนเนรมิตนั้น เป็นอย่างไรต่อไป
ก็ยังไม่ได้ไปทำงานประจำที่ไหนคับ เพราะมันมีงานฟรีแลนซ์เข้ามาเรื่อยๆ ก็มีไปทำกับพี่ซูโม่กิ๊ก (เกียรติ กิจเจริญ) บ้าง ทำให้มีรายได้เรื่อยๆ มา รู้สึกว่าไม่ต้องทำงานประจำก็อยู่ได้ แถมมีเวลาอยู่กับครอบครัวด้วย ผมคิดอย่างนั้น ก่อนจะมาตกผลึกอีกรอบว่ามันไม่ได้แล้ว เรามีครอบครัว ต้องมีอะไรรองรับ ถ้าหัวหน้าเราเป็นอะไรขึ้นมา ทุกอย่างอาจจะจบ เหมือนโดมิโนตัวแรกล้ม ตัวที่เหลือก็ล้มหมด เพราะฉะนั้นเราต้องเป็นหลัก
• จากนั้นจึงเริ่มหว่านจดหมายไปตามรายการต่างๆ
ใช่ครับ, เขียนจดหมายไปทุกรายการเลย ทุกรายการที่รับคนทางบ้าน ผมไปเล่นหมด แล้วเข้ารอบลึกเกือบหมด สมมติว่ามีผู้เข้าร่วม 12 คน ผมเล่นไปถึงรอบ 8-9 คน ช่วงนั้นเรียกได้ว่าเดินสายเล่นเกมโชว์เลย เพราะเป็นวิธีหาเงินที่ง่ายสุด อีกอย่าง การได้ไปออกรายการทีวีต่างๆ ผมว่ามันได้ลองท้าทายชีวิตเรานะ ได้ไปลองฝีปาก มันทำให้รู้ว่าเราพัฒนาแค่ไหน เราหัวไวแค่ไหน โต้ตอบเขาได้มั้ย ผมทำอย่างนั้นอยู่นานจนถึงช่วงที่ผมย้ายครอบครัวไปอยู่แถวบางกะปิ ชีวิตก็เปลี่ยนอีกครั้ง เมื่อเวิร์คพอยท์รับสมัครฝ่ายบุคคล ผมก็ไปลองสมัครดู ปรากฎว่าได้ ก็เลยได้เริ่มทำงานประจำที่นี่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
• จากนักเล่มเกมโชว์ชิงรางวัล กลายไปเป็นพนักงานฝ่ายบุคคล งานการตรงนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
คือโดยทั่วไปฝ่ายนี้จะมีความโหดใช้ได้ แต่ผมก็พยายามช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า ฝ่ายบุคคลไม่ใช่แบบนั้น ผมจึงเปลี่ยนรูปแบบให้มีกิจกรรมที่ให้กับพนักงานในองค์กร ทั้งสอนคอมพิวเตอร์ให้พนักงาน จัดบอร์ดวันเกิด จัดอบรมเผื่อพนักงานสนใจ จัดบอร์ดให้ความรู้ คือเริ่มคิดจากกลุ่มเป้าหมายมากกว่า โดยเราลองเปรียบเทียบจากเราว่า ถ้าเราเป็นเขา เราต้องการอะไรจากตรงนี้ นั่นก็คือสิ่งที่เราต้องการจะให้ ปรากฏว่ากระแสมันดี เพราะมันไม่เคยมีใครทำแบบนี้ และถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
• เป็นฝ่ายบุคคลอยู่เบื้องหลัง แล้วทำยังไงถึงได้ไปอยู่หน้ากล้อง
จริงๆ คงต้องเริ่มตั้งแต่ผมได้เข้าไปทำในส่วนฝ่ายผลิตรายการ...จำได้ว่างานตรงนั้นยากมากในตอนแรก เพราะไม่มีพื้นฐานเลย เราเรียนครูมา ชอบความบันเทิงแต่ไม่มีทักษะ ก็เหมือนกับไปเรียนรู้ เริ่มนับศูนย์ใหม่ พวกพี่ๆ ก็สอนเรา เราต้องทำการบ้านหนักกว่าเพื่อน เพราะเราออกสตาร์ททีหลังเขา เหมือนนักวิ่ง คนอื่นเขาวิ่งนำหน้าไปแล้ว แต่เราเพิ่งเริ่มสตาร์ท เริ่มวิ่ง ฉะนั้น เราต้องสปีดหน่อย ทั้งกำลังเราเอง ความรู้เราเอง ต้องมาเริ่มใหม่หมด ทั้งเขียนบท ไปตัดต่อในห้อง ไปคุมช่างมิกซ์เสียง ช่วยมิกซ์ลงสตูดิโอ สั่งคิว แคสต์นักแสดง ซึ่งงานที่เกี่ยวกับฝ่ายผลิต เราต้องเรียนรู้และทำทั้งหมด
ก็เรียนรู้งานนานอยู่เหมือนกัน ประมาณเกือบปีได้ เพราะมันต้องเรียนรู้แบบทีละขั้นๆ ไป โดยส่วนใหญ่ เพื่อนร่วมงานจะมีประสบการณ์กันมาก่อน แต่ของเราจะเป็นแบบเริ่มต้นใหม่ เพราะไม่ได้เรียนสายนี้มา จะงงมากเป็นพิเศษ แต่ก็โอเค เราปรึกษาเพื่อนร่วมงานหมด ซึ่งโชคดีที่เรามีเพื่อนดี ทำให้ผมเรียนรู้เพิ่มเติม คือมันเป็นทางลัด อย่างปกติเรียนนิเทศฯ ต้องใช้เวลา 3-4 ปี ใช่ไหม แต่นี่เรามาเรียนในเวลาไม่กี่เดือน เหมือนผมได้เรียน กศน.นิเทศฯ น่ะ มาเรียนที่เวิร์คพ้อยท์ มาเรียนที่ประสบการณ์และสถานที่จริง
• แล้วตอนที่ได้ไปทำงานเบื้องหน้าจริงๆ เริ่มต้นตรงไหน
มันเป็นช่วงที่รายการระเบิดเถิดเทิงต่อยอดเป็นซิตคอม “ระเบิดเถิดเทิงวันหยุด” ซึ่งมีบทบาทหนึ่งที่เป็นตำรวจ น่าจะเป็นทีมงานพี่จิก (ประภาศ ชลศรานนท์) พี่ตา (ปัญญา นิรันดร์กุล) ที่เห็นแววเรา คือปกติเขาจะจ้างเอ็กซ์ตร้ามา เล่นได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เขาก็คิดว่าทำไมเราไม่เอาคนของเราไปเล่นเลยล่ะ ซึ่งเขาน่าจะเล่นได้ เขาเลยให้ผมลองไปเล่นดู เป็นจ่าพันในซอยเถิดเทิง ก็เล่นมาเรื่อยๆ นะ ผมก็ลุยๆ ไป จากนั้นมาทางเวิร์คพอยท์ก็ทำรายการเด็ก (สู้เพื่อแม่) ผมก็ได้ทำ แรกๆ ก็เป็นพิธีกรคู่กับพี่ธงชัย ประสงค์สันติ เราเหมือนผู้ช่วยพี่ธง ซึ่งน่าจะเต็มตัวก็รายการนี้แหละ เมื่อปี 2547 ถือว่าเป็นอีกขั้นหนึ่ง
• อีกขั้นหนึ่งซึ่งถือว่าสำคัญมากๆ คือการได้แสดงใน “ชิงร้อยชิงล้าน” และ “ตลก 6 ฉาก”
สำหรับ “ชิงร้อยชิงล้าน” ผมก็มารับบทเป็นตำรวจบ้าง พิธีกรในละครบ้าง ก๊อกๆ แก๊กๆ ไป ก็นานหลายปีนะ จนพี่ๆ ผู้บริหารและทีมงานเขาคงเห็นว่าคนนี้ได้ คือผมก็งงเหมือนกันนะ เพราะคาแรกเตอร์ของชิงร้อยชิงล้าน แต่ละคนชัดมาก แต่เราจะเป็นบุคลิกภาพเหมือนคุณครู ไม่น่าจะมาเล่นตลก ช่วงแรกๆ ที่มาเล่น ฟังวิเคราะห์วิจารณ์หลายๆ ที่ มีคนบอกว่าไม่เหมาะที่จะอยู่ในรายการเราก็รับฟัง เออ...ใช่ เราไม่เหมาะว่ะ เคยคิดนะว่า หรือว่าเราจะหยุดดี ไปเป็นพิธีกรรายการอื่นดีกว่า แต่มันเหมือนสิ่งหนึ่งซึ่งยึดโยงผมไปในความเชื่อนะ เหมือนพระเจ้าคงนำทางน่ะ การมาอยู่ชิงร้อยฯ มันส่งผลให้คนรู้จักผมมากขึ้น เพราะเราอยู่ในทีมชุดใหญ่ เหมือนนักเตะเอเชียที่อยู่ในทีมแมนฯ ยูฯ แล้วเวลาทีมเขามีงาน ทีมเรามีงาน มันก็ต้องพ่วงไปเป็นทีม แก๊งสามช่า ทีมชิงร้อย คนเห็นเราในงานต่างๆ ก็เข้ามา ผมว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
• คิดว่าอะไรที่ยึดโยงเราไว้ในช่วงนั้น ไม่ให้ใจถอยออกจากสิ่งที่ทำอยู่
ผมคิดเสมอว่าเราต้องทำให้ได้ ทำให้สุดๆ คือถ้าเราทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ค่อยปล่อยมือ แต่สุดท้ายเราก็เล่นไป ค้นหาตัวเองว่าเรามีคาแรกเตอร์แบบไหน ไปเล่นกับเขา ก็ศึกษาข้อมูล ดูเทปตลกเก่าๆ อ่านหนังสือดูหนังเพื่อพัฒนาตัวเอง ผมเคยคุยกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านบอกว่า หม่ำเท่งโหน่งคือแก๊งสามช่า พี่ส้มอีกทาง แต่ผมก็คือผมที่ต้องมีในชิงร้อยฯ มันควรจะมีคาแรกเตอร์ที่ไม่เหมือนใคร เพราะถ้าคุณไปเหมือนหม่ำ คนเขาก็เลือกหม่ำไม่ดีกว่าเหรอ คือเป็นตัวของตัวเองนี่แหละ เป็นเหมือนซูเปอร์ซับอะไรแบบนั้น คำสอนนั้นทำให้ผมกลับมาคิดว่า บางทีเราต้องมองตัวเองอย่างมีคุณค่าก่อน ก่อนที่คนอื่นจะมองเรามีคุณค่า ทำให้รู้สึกว่าเราอยากทำตัวมีคุณค่า แล้วคนอื่นจะเห็นเอง
• จากอดีตนักศึกษาวิชาครู สู่การทำอะไรโน่นนี่มากมาย มองย้อนกลับไป จากจุดนั้นจนถึงจุดนี้ คิดเห็นกับวิถีของตัวเองอย่างไรบ้าง
ผมมองว่าเวลามันเดินตลอด ถ้าเราก้าวไปกับมัน บางคนก้าวเร็ว บางคนล้มบ้าง แต่อย่างน้อยเราตัดสินใจที่จะก้าว ผมว่ามันจำเป็น เพราะทุกคนก็ต้องก้าวต่อไป ไม่ว่าคุณจะก้าวสั้น ก้าวยาว หรือพักเหนื่อย สุดท้ายคุณก็ต้องก้าว ไม่งั้นคุณก็อยู่ที่เดิม
เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา เหมือนนักกีฬาที่ต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหมด ประมาณว่าฝึกให้มันอยู่มือ ทำไมนักฟุตบอลที่เก่ง ต้องฝึกยิงฟรีคิกวันละพันลูก แสดงว่าการฝึกฝนมันช่วยได้ มันเหมือนกับพรสวรรค์ที่มาพร้อมกับพรแสวง แม่สอนผมมาตลอดตั้งแต่ผมยังเป็นเด็กว่า ถ้าเราไม่เก่ง เราก็ต้องขยันนะ คนเก่งแพ้คนขยัน แสดงว่าเราเป็นคนเก่งได้ ถ้าเราขยัน คือแม่ผมจบ ป.4 แต่สิ่งที่ท่านให้กับลูก คือทัศนคติเรื่องการเป็นคนดี ตอบแทนสังคม ท่านให้การศึกษา แต่ที่เหลือลูกต้องไปไขว่คว้าเอง เหมือนกับให้โอกาสแก่เรา ให้เรามีเครื่องไม้เครื่องมือ และสิ่งนั้นมันก็อยู่ในตัวเราตลอด
• กว่าสิบปีที่ได้ทำงานเบื้องหน้า มองว่าตนเองประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไร
สำหรับผู้ชายธรรมดาๆ คนหนึ่ง ผมว่ามันโอเคแล้วนะ ผมไม่ได้คาดหวังอะไรมากมายนักในชีวิต ก็คิดแค่ว่าให้ครอบครัวอยู่ได้ มีอยู่มีกิน มาถึงขั้นนี้โอเคมาก อนาคตข้างหน้าค่อยว่ากันไปทีละขั้น และกับทุกสิ่งที่ผ่านมา ผมมองว่าเป็นเรื่องโอกาส...โอกาสที่ได้รับการหยิบยื่นจากเวิร์คพอยท์ พี่จิก พี่ตา และทีมงาน นั่นคือโอกาสที่ผมได้ และต่อยอดเป็นความสุขในการทำงาน คนที่ดูผมก็มีความสุขด้วย เหมือนส่งไม้ผลัดให้เขารับ แล้วเขาก็วิ่งต่อไป เหมือนต้นไม้ที่มันออกดอกไปเรื่อยๆ ไปไหนมาไหนคนรู้จักเราก็เป็นสิ่งดี ทุกสิ่งที่ผมได้รับ ถือว่าเกินความคาดหมายมากมายครับ
• สิ่งไหนที่ถือว่าสำคัญมากๆ สำหรับชีวิตการทำงานของพัน พลุแตก
การเรียนรู้ครับ ผมว่าคนทุกคนเรียนรู้ได้ไม่หมดสิ้นนะ ไม่มีวันหมด ทุกประสบการณ์มันเป็นเหมือนวัคซีนที่ฉีดให้ร่างกาย แล้ววันหนึ่งเมื่อเราไปเจอสิ่งเหล่านั้นอีก วัคซีนตัวนี้ก็ทำงานในการที่จะต่อสู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างภูมิต้านทานให้กับเราได้ ผมคิดว่าเป็นอย่างงั้น ในแต่ละวันมันก็มีบทเรียนที่มีคุณค่าสำหรับเรา ผ่านคน เหตุการณ์ และคำพูด ผ่านวิธีคิด ผ่านสิ่งที่เราได้เห็น บางทีเราเห็นบางประโยค มันก็ทำให้เรามีกำลังใจ บางทีเราฟังเด็กๆ เขาคุยกัน เราก็กลับมาคิดอะไรได้
ทุกสิ่งรอบตัวเรา เป็นบทเรียนนะผมว่า อยู่ที่เราจะเรียนรู้มันหรือเปล่า พร้อมจะรับมันมั้ย การได้ทำงานกับคนเก่งๆ มันเป็นประสบการณ์ที่ไม่มีอีกแล้วในชีวิตนี้ มันล้ำค่ายิ่งกว่าทองอีก และเราก็พัฒนาฝีมือเพื่อคนรุ่นต่อไป ฝากผลงานไว้ให้คนเขาเห็น มันเป็นหน้าที่เรา เราอยู่วงการบันเทิง สิ่งหนึ่งคือเราสร้างความบันเทิง สร้างความสุข สนุกสนาน เพราะเราทำหน้าที่ได้แฮปปี้กับสิ่งที่เราทำ เรามีความสุขแล้วล่ะ คนอื่นเขายิ้มและหัวเราะ มีความสุขกับเราก็เป็นเรื่องดี คนชอบบ้างไม่ชอบบ้าง นั่นเป็นเรื่องปกติ
• เปรียบชีวิตของพัน พลุแตก ควรจะเปรียบกับอะไรถึงจะเหมาะสม
คงเหมือนนักวิ่งมาราธอนนะครับ ประมาณว่าเมื่อก่อนจะเป็นนักวิ่งตามสวนสาธารณะ คือวิ่งเพื่อให้แข็งแรง แต่พอมีอะไรหลายอย่างซึ่งเราต้องทำต้องรับผิดชอบ ทำให้เรากลายเป็นนักวิ่งมาราธอนที่มีเป้าหมาย มีความฝัน มีความมุ่งมั่น คือเราไม่ได้วิ่งไปแบบครบ 3 รอบแล้วกลับบ้านไปดื่มน้ำเปล่า แต่ต้องวิ่งเพื่อแข่งกับตัวเองและแข่งกับคนอื่นที่เขาวิ่งนำหน้าเรา แล้วต้องไปถึงเป้าหมายให้ได้ ซึ่งระหว่างทางอาจจะแวะกินน้ำบ้าง ล้มบ้าง ร่างกายเจ็บป่วยบ้าง โดนชน โดนกระแทกบ้าง ก็ว่ากันไป แต่ก็ลุกขึ้นมาได้ทุกครั้ง เพราะว่าเราต้องไปให้ถึงเป้าหมาย
โดยส่วนตัว ผมคิดว่าผมถึงเส้นชัยมาหลายสนามแล้วล่ะ แต่ผมจะต้องแข่งอยู่เรื่อยๆ ตราบใดที่ผมยังมีแรงวิ่งอยู่ เพราะเป้าหมายมันเกิดขึ้นเรื่อยๆ พอสำเร็จเป้าหมายหนึ่ง ก็จะมีเป้าหมายใหม่ที่เราต้องไปต่อ เรี่ยวแรงอาจน้อยลง แต่ความมุ่งมั่นยังคงรักษาไว้ ยังต้องมีไฟอยู่เสมอ ไม่งั้นมันจะไม่มีแสงสว่าง เหมือนปกติ เราเล่นบอลแบ็กซ้าย แล้วปรับมาเป็นเซ็นเตอร์แบ็ก แต่ความเก๋ามันยังมี และสามารถจะเป็นที่ปรึกษาให้ลูกทีมต่อไปได้ด้วย
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พัน พลุแตก
น่าจะเป็นภาพแรกๆ ที่ผู้คนจำได้ เมื่อเอ่ยถึงผู้ชายคนนี้
“พัน พลุแตก” หรือ “ภานุพันธ์ ครุฑโต” ยืนอยู่ในตำแหน่งดาวโชว์เบอร์ต้นๆ คนหนึ่งในสังกัดของเวิร์คพ้อยท์
นับกันด้วยพรรษานักแสดง...เขาอาจเป็นรุ่นน้องของ “หม่ำ จ๊กมก” ดาวตลกชื่อดัง และเขาอาจมาทีหลัง “เท่ง โหน่ง” และใครต่อใครอีกหลายคน แต่ระยะเวลากว่าสิบปีบนถนนของพิธีกรและนักแสดงในรายการเกมโชว์ “ภานุพันธ์ ครุฑโต” ก็ค่อยๆ สร้างชื่อของตัวเองขึ้นมาจากศูนย์ และอาจนับไปได้อีกไกล
หม่ำ จ๊กมก ขนานนามเขาด้วยถ้อยคำ “สุภาพบุรุษคอเมดี้” ในฐานะที่เล่นตลกได้เรียบร้อย ไร้คำหยาบโลน “ไม่น่ากลัวแต่น่ารัก” หม่ำ จ๊กมก ตกคำเปรียบเปรยให้แก่เขาไว้แบบนี้
ขณะที่ “เสี่ยตา-ปัญญา นิรันดร์กุล” ครุ่นคิดผ่านคำข้าวในมื้อเที่ยงวันหนึ่ง...“ชื่อนี้เลย พัน พลุแตก นี่แหละ พลุแตกหมายถึงโด่งดัง และแทบทุกเทศกาลก็จะมีการจุดพลุเฉลิมฉลอง”
“เหมือนเราได้ใบขับขี่นะ” นักแสดงตลกวัยกลางคน ออกความเห็นสั้นๆ เมื่อเอ่ยถึงฉายาที่เสี่ยปัญญามอบให้
“ก่อนหน้านั้น เหมือนเราขับรถเป็นแต่ไม่มีใบขับขี่ บางคนเรียกเราลุงพันหรือจ่าพัน หรือไอ้แว่น พอเป็นพัน พลุแตก มันเหมือนเป็นชื่อเฉพาะ แบบมีลายเซ็นน่ะ”
อย่างไรก็ดี ก่อนจะมาถึงจุดนี้ของชีวิต
“พัน พลุแตก” หาใช่ “พลัน พลุแตก” ที่เปิดตัวหนแรกก็ดังระเบิดเหมือนพลุในงานเทศกาล
แต่ “พัน พลุแตก” ผ่านทางแยกและลดเลี้ยวเคี้ยวคดของถนนชีวิตมาอย่างโชกโชน
ก่อนจะกลายเป็น “บุคคลสาธารณะ” ในสถานะพิธีกรและนักแสดง
ที่เจ้าตัวออกปากถ่อมตนว่า
“คำว่าดาราตลกนั้นยิ่งใหญ่เกินไปสำหรับผมครับ
ผมไม่ใช่ตลก ผมเป็นเพียงนักแสดงที่สามารถเล่นบทนี้ได้เท่านั้นเอง”...
• เท่าที่สังเกต เหมือนว่าช่วงนี้งานจะชุกเป็นพิเศษ
ก็มีงานทางช่องดิจิตอล และงานหลักๆ ตามรายการที่มีอยู่แล้วครับ ถ่ายรายการเกือบทุกวัน ซึ่งมันก็มีความเหนื่อยบ้างเป็นธรรมดาในเวลาที่เราทำงาน แต่เราสนุกกับมันมากกว่า พอเรารู้สึกสนุกกับมัน ความเหนื่อยนั้นก็จะลดลง เพราะถือว่าเราชอบ เรารักที่จะเป็นแบบนี้ ก็ต้องยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น คืออาจจะเหนื่อยแค่ตอนขับรถเท่านั้นเอง เพราะการเดินทางในกรุงเทพฯ สมัยนี้ไม่แน่ไม่นอน และจริงๆ ทีมงานเขาเหนื่อยกว่าเราเยอะ เขามาเช้ากว่าเรา กลับก็กลับหลังเรา เราเลยรู้สึกว่าเราสบายกว่าเขาเยอะครับ
• พูดได้ไหมว่าทุกอย่างที่เป็นอยู่ ณ ตอนนี้ เป็นความฝันตั้งแต่วัยเด็ก
คือจริงๆ ตอนเด็กผมอยากเป็นพระเอกลิเกนะ เพราะช่วงนั้น คุณย่าจะพาไปลิเกงานวัดเป็นประจำ เราดูแล้วก็รู้สึกว่า “เฮ้ย! มันได้ตังค์เยอะว่ะ” เวลาแม่ยกมาคล้องพวงมาลัย คือจุดประสงค์หลักของความฝัน ณ ตอนนั้น ก็เพราะอยากได้เงินมาให้ครอบครัว แต่ก็ไม่ดูตัวเองว่า หน้าตาและความสามารถเป็นยังไง รู้แค่ว่าโตขึ้นอยากเป็นพระเอกลิเก ต่อมาพอเริ่มโตหน่อย ช่วงประถมก็อยากเป็นพนักงานธนาคาร เพราะธนาคารเงินมันเยอะดี คือเหตุผลหลักๆ อย่างเดียวเลย ก็คือหาเงินมาช่วยที่บ้าน แค่นั้นเองครับ
• ดูเหมือนว่าสภาพครอบครัวในวัยเด็กจะมีอิทธิพลต่อความคิดของเราสูงมาก
ใช่ครับ...ครอบครัวมีอิทธิพลเยอะมาก เหมือนเป็นแรงผลักให้เราจะไปซ้ายขวาได้เลย แม่ผมทำงานโรงงาน พ่อเป็นครู ครอบครัวก็ถือว่าอยู่ในระดับชนชั้นกลางทั่วไป มีหนี้สิน เช่าบ้านอยู่ เราเลยรู้สึกว่าต้องต่อสู้หน่อย แล้วความที่เราเป็นลูกคนโตด้วย มันก็ทำให้เรารับผิดชอบชีวิตเยอะ ซึ่งพอมองย้อนกลับไป ผมว่ามันเป็นสิ่งที่ดีนะ เพราะมันเป็นแรงผลักดันชั้นดีให้กับชีวิตของเราเลย
• มีพ่อเป็นครู การเลี้ยงดูเข้มงวดไหม
ก็มีบ้างครับ แต่เรารู้สึกว่าเรายอมรับได้ ผมไม่ใช่เด็กดื้อนะ เชื่อฟัง เป็นเด็กที่ค่อนข้างเรียบร้อยและเป็นเด็กดีคนหนึ่งของสังคมสมัยนั้นด้วยซ้ำ (หัวเราะ) คือเราถูกปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เราเป็นหลานชายคนแรกๆ ของปู่ย่า ท่านก็พาผมเข้าวัด เราจึงซึมซับสิ่งดีๆ ที่พระสอนและปู่ย่าบอกเราในเรื่องบาปบุญคุณโทษ เรารู้สึกว่าเราถูกกล่อมเกลาโดยครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อม มันทำให้เราไม่ออกนอกลู่นอกทาง เพราะสมัยเด็กๆ ผมกลัวตกนรกมาก ยึดหลักทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราก็เลยเชื่ออย่างนั้น และไม่อยากไปยุ่งกับความชั่ว
• ทุกคนมีจุดเปลี่ยนของชีวิต แล้วจุดเปลี่ยนชีวิตของ “พัน พลุแตก” เริ่มจากจุดไหน
ตอนผมกำลังจะขึ้นปี 4 (เอกจิตวิทยา) เป็นช่วงที่พ่อล้มป่วย ถึงขนาดต้องตัดขาทิ้ง ชีวิตเปลี่ยนหมดเลย ผมต้องเริ่มหางานทำช่วยเหลือแม่ เพราะแม่ก็ทำงานโรงงาน ลูกอีก 3 คนก็เรียนหมดเลย ไม่มีรายได้ แถมบ้านก็จะถูกยึด คือมันมีปัญหาหลายๆ อย่างเข้ามาโดยไม่ได้นัดหมายเหมือนโปรโมชันอ่ะ มันมีให้มา แล้วแถมมา พอพ่อเสีย บ้านก็ถูกยึด เราก็ย้ายที่อยู่ ตอนนั้นนะ ผมลองอธิษฐานกับพระเจ้าดู แล้วเหมือนชีวิตมันเปลี่ยนไปเพราะความเชื่อที่ผมมีอยู่ในตอนนั้น ช่วยให้ชีวิตพลิกกลับมา ผมได้ไปออกรายการกามเทพผิดคิว แล้วโชคดีได้แจ็กพอต ได้ของเยอะมาก ผมเอาของพวกนั้นไปขายแล้วนำเงินมาใช้หนี้ จากนั้นเราก็ย้ายครอบครัวมาอยู่แถวบางกะปิ ชีวิตเริ่มเปลี่ยน คือช่วงนั้นทำงานฟรีแลนซ์ ทำหลายอย่างมาก
• เห็นว่าเรียนครูแนะแนวมา แต่ไม่ได้ทำในสายนั้นโดยตรง
คือตอนนั้น ผมคิดเพียงแค่ว่าเรียนจบออกมา แล้วทำงานอะไรก็ได้ที่ให้มันได้เงินเยอะๆ เพราะด้วยสภาพครอบครัวที่ต้องยังชีพต่อไป การเลี้ยงตัวให้ได้คือสิ่งสำคัญ ผมจึงรู้สึกว่าตรงนั้นสำคัญมากกว่า ไม่ได้คิดว่าต้องพัฒนาตัวเอง คิดแค่ว่าจบออกมาแล้วช่วยเหลือครอบครัว เลยมุ่งไปที่งานประจำมากกว่า ตอนแรกก็ไปเป็นครูอัตราจ้างที่โรงเรียนศึกษานารี แต่ทำได้แค่ไม่กี่เดือน เพราะต้องยอมรับว่าเงินเดือนครูในสมัยก่อนมันน้อย ถ้าปริญญาตรีก็ประมาณ 6,000 กว่าบาท ตอนนั้นผมรู้เลยว่าไม่พอแน่ เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นดีกว่า
• อย่างอื่นที่ว่านั้น คือ...?
เป็นวิทยากรนำสถานการณ์ ซึ่งผมว่ามันเข้ากับผมมาก ผมเพิ่งเคยเห็นตำแหน่งนี้นะ เขาก็เพิ่งรับสมัครเป็นครั้งแรกด้วย เราไปสมัครแล้วก็ได้เลย ทำที่นั่นอยู่หลายปีเหมือนกัน ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขมาก เพราะได้ทำกิจกรรม ได้พูด ได้คุยทุกวัน มันเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือ เราชอบพูด ชอบออกความคิดเห็น ชอบถามครู ก็จะได้เป็นหัวหน้าห้องอยู่บ่อยครั้ง มันเลยต่อยอดให้มาเป็นประธานสี ประธานชมรม เพราะเราเป็นคนสนุกสนานเฮฮา คือเวลามีไมค์ เราก็จะไปพูดทุกครั้ง นำร้องเพลงชาติ สวดมนต์ ไปประกวดมารยาท ผมไปหมด คือทำมาหมดทุกอย่างในโรงเรียน เวลาเขาให้ทำอะไร เป็นหัวหน้า รองหัวหน้า หัวหน้าหมู่ลูกเสือ คืออะไรที่เกี่ยวกับผู้นำ เพื่อนจะเสนอชื่อเราทุกครั้ง ทำเรื่อยมาจนถึงสมัยมหาวิทยาลัย ได้เป็นรองประธาน ประธานเชียร์ ประธานคณะ ชมรมไหนมีกิจกรรม หรือเพื่อนๆ ให้ไปช่วย เราไปหมดเลย
ผมจึงมีความสุขมากกับการทำงานตรงนั้น เพราะใครก็ตามที่สามารถทำงานที่รักได้ทุกวันแล้วมีรายได้ด้วย ผมว่ามันสุดยอดแล้วนะกับการที่เรามีโอกาสได้ทำงานที่รักและได้เงินด้วย แฮปปี้มากเลยช่วงนั้น ถึงแม้จะเหนื่อยก็ตาม คือบ้านอยู่บางแคแต่ไปทำงานแดนเนรมิต เดินทางประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน แต่รู้สึกว่ามีความสุข
• ชีวิตภายหลังออกจากรั้วแดนเนรมิตนั้น เป็นอย่างไรต่อไป
ก็ยังไม่ได้ไปทำงานประจำที่ไหนคับ เพราะมันมีงานฟรีแลนซ์เข้ามาเรื่อยๆ ก็มีไปทำกับพี่ซูโม่กิ๊ก (เกียรติ กิจเจริญ) บ้าง ทำให้มีรายได้เรื่อยๆ มา รู้สึกว่าไม่ต้องทำงานประจำก็อยู่ได้ แถมมีเวลาอยู่กับครอบครัวด้วย ผมคิดอย่างนั้น ก่อนจะมาตกผลึกอีกรอบว่ามันไม่ได้แล้ว เรามีครอบครัว ต้องมีอะไรรองรับ ถ้าหัวหน้าเราเป็นอะไรขึ้นมา ทุกอย่างอาจจะจบ เหมือนโดมิโนตัวแรกล้ม ตัวที่เหลือก็ล้มหมด เพราะฉะนั้นเราต้องเป็นหลัก
• จากนั้นจึงเริ่มหว่านจดหมายไปตามรายการต่างๆ
ใช่ครับ, เขียนจดหมายไปทุกรายการเลย ทุกรายการที่รับคนทางบ้าน ผมไปเล่นหมด แล้วเข้ารอบลึกเกือบหมด สมมติว่ามีผู้เข้าร่วม 12 คน ผมเล่นไปถึงรอบ 8-9 คน ช่วงนั้นเรียกได้ว่าเดินสายเล่นเกมโชว์เลย เพราะเป็นวิธีหาเงินที่ง่ายสุด อีกอย่าง การได้ไปออกรายการทีวีต่างๆ ผมว่ามันได้ลองท้าทายชีวิตเรานะ ได้ไปลองฝีปาก มันทำให้รู้ว่าเราพัฒนาแค่ไหน เราหัวไวแค่ไหน โต้ตอบเขาได้มั้ย ผมทำอย่างนั้นอยู่นานจนถึงช่วงที่ผมย้ายครอบครัวไปอยู่แถวบางกะปิ ชีวิตก็เปลี่ยนอีกครั้ง เมื่อเวิร์คพอยท์รับสมัครฝ่ายบุคคล ผมก็ไปลองสมัครดู ปรากฎว่าได้ ก็เลยได้เริ่มทำงานประจำที่นี่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
• จากนักเล่มเกมโชว์ชิงรางวัล กลายไปเป็นพนักงานฝ่ายบุคคล งานการตรงนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
คือโดยทั่วไปฝ่ายนี้จะมีความโหดใช้ได้ แต่ผมก็พยายามช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า ฝ่ายบุคคลไม่ใช่แบบนั้น ผมจึงเปลี่ยนรูปแบบให้มีกิจกรรมที่ให้กับพนักงานในองค์กร ทั้งสอนคอมพิวเตอร์ให้พนักงาน จัดบอร์ดวันเกิด จัดอบรมเผื่อพนักงานสนใจ จัดบอร์ดให้ความรู้ คือเริ่มคิดจากกลุ่มเป้าหมายมากกว่า โดยเราลองเปรียบเทียบจากเราว่า ถ้าเราเป็นเขา เราต้องการอะไรจากตรงนี้ นั่นก็คือสิ่งที่เราต้องการจะให้ ปรากฏว่ากระแสมันดี เพราะมันไม่เคยมีใครทำแบบนี้ และถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
• เป็นฝ่ายบุคคลอยู่เบื้องหลัง แล้วทำยังไงถึงได้ไปอยู่หน้ากล้อง
จริงๆ คงต้องเริ่มตั้งแต่ผมได้เข้าไปทำในส่วนฝ่ายผลิตรายการ...จำได้ว่างานตรงนั้นยากมากในตอนแรก เพราะไม่มีพื้นฐานเลย เราเรียนครูมา ชอบความบันเทิงแต่ไม่มีทักษะ ก็เหมือนกับไปเรียนรู้ เริ่มนับศูนย์ใหม่ พวกพี่ๆ ก็สอนเรา เราต้องทำการบ้านหนักกว่าเพื่อน เพราะเราออกสตาร์ททีหลังเขา เหมือนนักวิ่ง คนอื่นเขาวิ่งนำหน้าไปแล้ว แต่เราเพิ่งเริ่มสตาร์ท เริ่มวิ่ง ฉะนั้น เราต้องสปีดหน่อย ทั้งกำลังเราเอง ความรู้เราเอง ต้องมาเริ่มใหม่หมด ทั้งเขียนบท ไปตัดต่อในห้อง ไปคุมช่างมิกซ์เสียง ช่วยมิกซ์ลงสตูดิโอ สั่งคิว แคสต์นักแสดง ซึ่งงานที่เกี่ยวกับฝ่ายผลิต เราต้องเรียนรู้และทำทั้งหมด
ก็เรียนรู้งานนานอยู่เหมือนกัน ประมาณเกือบปีได้ เพราะมันต้องเรียนรู้แบบทีละขั้นๆ ไป โดยส่วนใหญ่ เพื่อนร่วมงานจะมีประสบการณ์กันมาก่อน แต่ของเราจะเป็นแบบเริ่มต้นใหม่ เพราะไม่ได้เรียนสายนี้มา จะงงมากเป็นพิเศษ แต่ก็โอเค เราปรึกษาเพื่อนร่วมงานหมด ซึ่งโชคดีที่เรามีเพื่อนดี ทำให้ผมเรียนรู้เพิ่มเติม คือมันเป็นทางลัด อย่างปกติเรียนนิเทศฯ ต้องใช้เวลา 3-4 ปี ใช่ไหม แต่นี่เรามาเรียนในเวลาไม่กี่เดือน เหมือนผมได้เรียน กศน.นิเทศฯ น่ะ มาเรียนที่เวิร์คพ้อยท์ มาเรียนที่ประสบการณ์และสถานที่จริง
• แล้วตอนที่ได้ไปทำงานเบื้องหน้าจริงๆ เริ่มต้นตรงไหน
มันเป็นช่วงที่รายการระเบิดเถิดเทิงต่อยอดเป็นซิตคอม “ระเบิดเถิดเทิงวันหยุด” ซึ่งมีบทบาทหนึ่งที่เป็นตำรวจ น่าจะเป็นทีมงานพี่จิก (ประภาศ ชลศรานนท์) พี่ตา (ปัญญา นิรันดร์กุล) ที่เห็นแววเรา คือปกติเขาจะจ้างเอ็กซ์ตร้ามา เล่นได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เขาก็คิดว่าทำไมเราไม่เอาคนของเราไปเล่นเลยล่ะ ซึ่งเขาน่าจะเล่นได้ เขาเลยให้ผมลองไปเล่นดู เป็นจ่าพันในซอยเถิดเทิง ก็เล่นมาเรื่อยๆ นะ ผมก็ลุยๆ ไป จากนั้นมาทางเวิร์คพอยท์ก็ทำรายการเด็ก (สู้เพื่อแม่) ผมก็ได้ทำ แรกๆ ก็เป็นพิธีกรคู่กับพี่ธงชัย ประสงค์สันติ เราเหมือนผู้ช่วยพี่ธง ซึ่งน่าจะเต็มตัวก็รายการนี้แหละ เมื่อปี 2547 ถือว่าเป็นอีกขั้นหนึ่ง
• อีกขั้นหนึ่งซึ่งถือว่าสำคัญมากๆ คือการได้แสดงใน “ชิงร้อยชิงล้าน” และ “ตลก 6 ฉาก”
สำหรับ “ชิงร้อยชิงล้าน” ผมก็มารับบทเป็นตำรวจบ้าง พิธีกรในละครบ้าง ก๊อกๆ แก๊กๆ ไป ก็นานหลายปีนะ จนพี่ๆ ผู้บริหารและทีมงานเขาคงเห็นว่าคนนี้ได้ คือผมก็งงเหมือนกันนะ เพราะคาแรกเตอร์ของชิงร้อยชิงล้าน แต่ละคนชัดมาก แต่เราจะเป็นบุคลิกภาพเหมือนคุณครู ไม่น่าจะมาเล่นตลก ช่วงแรกๆ ที่มาเล่น ฟังวิเคราะห์วิจารณ์หลายๆ ที่ มีคนบอกว่าไม่เหมาะที่จะอยู่ในรายการเราก็รับฟัง เออ...ใช่ เราไม่เหมาะว่ะ เคยคิดนะว่า หรือว่าเราจะหยุดดี ไปเป็นพิธีกรรายการอื่นดีกว่า แต่มันเหมือนสิ่งหนึ่งซึ่งยึดโยงผมไปในความเชื่อนะ เหมือนพระเจ้าคงนำทางน่ะ การมาอยู่ชิงร้อยฯ มันส่งผลให้คนรู้จักผมมากขึ้น เพราะเราอยู่ในทีมชุดใหญ่ เหมือนนักเตะเอเชียที่อยู่ในทีมแมนฯ ยูฯ แล้วเวลาทีมเขามีงาน ทีมเรามีงาน มันก็ต้องพ่วงไปเป็นทีม แก๊งสามช่า ทีมชิงร้อย คนเห็นเราในงานต่างๆ ก็เข้ามา ผมว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
• คิดว่าอะไรที่ยึดโยงเราไว้ในช่วงนั้น ไม่ให้ใจถอยออกจากสิ่งที่ทำอยู่
ผมคิดเสมอว่าเราต้องทำให้ได้ ทำให้สุดๆ คือถ้าเราทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ค่อยปล่อยมือ แต่สุดท้ายเราก็เล่นไป ค้นหาตัวเองว่าเรามีคาแรกเตอร์แบบไหน ไปเล่นกับเขา ก็ศึกษาข้อมูล ดูเทปตลกเก่าๆ อ่านหนังสือดูหนังเพื่อพัฒนาตัวเอง ผมเคยคุยกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ท่านบอกว่า หม่ำเท่งโหน่งคือแก๊งสามช่า พี่ส้มอีกทาง แต่ผมก็คือผมที่ต้องมีในชิงร้อยฯ มันควรจะมีคาแรกเตอร์ที่ไม่เหมือนใคร เพราะถ้าคุณไปเหมือนหม่ำ คนเขาก็เลือกหม่ำไม่ดีกว่าเหรอ คือเป็นตัวของตัวเองนี่แหละ เป็นเหมือนซูเปอร์ซับอะไรแบบนั้น คำสอนนั้นทำให้ผมกลับมาคิดว่า บางทีเราต้องมองตัวเองอย่างมีคุณค่าก่อน ก่อนที่คนอื่นจะมองเรามีคุณค่า ทำให้รู้สึกว่าเราอยากทำตัวมีคุณค่า แล้วคนอื่นจะเห็นเอง
• จากอดีตนักศึกษาวิชาครู สู่การทำอะไรโน่นนี่มากมาย มองย้อนกลับไป จากจุดนั้นจนถึงจุดนี้ คิดเห็นกับวิถีของตัวเองอย่างไรบ้าง
ผมมองว่าเวลามันเดินตลอด ถ้าเราก้าวไปกับมัน บางคนก้าวเร็ว บางคนล้มบ้าง แต่อย่างน้อยเราตัดสินใจที่จะก้าว ผมว่ามันจำเป็น เพราะทุกคนก็ต้องก้าวต่อไป ไม่ว่าคุณจะก้าวสั้น ก้าวยาว หรือพักเหนื่อย สุดท้ายคุณก็ต้องก้าว ไม่งั้นคุณก็อยู่ที่เดิม
เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา เหมือนนักกีฬาที่ต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหมด ประมาณว่าฝึกให้มันอยู่มือ ทำไมนักฟุตบอลที่เก่ง ต้องฝึกยิงฟรีคิกวันละพันลูก แสดงว่าการฝึกฝนมันช่วยได้ มันเหมือนกับพรสวรรค์ที่มาพร้อมกับพรแสวง แม่สอนผมมาตลอดตั้งแต่ผมยังเป็นเด็กว่า ถ้าเราไม่เก่ง เราก็ต้องขยันนะ คนเก่งแพ้คนขยัน แสดงว่าเราเป็นคนเก่งได้ ถ้าเราขยัน คือแม่ผมจบ ป.4 แต่สิ่งที่ท่านให้กับลูก คือทัศนคติเรื่องการเป็นคนดี ตอบแทนสังคม ท่านให้การศึกษา แต่ที่เหลือลูกต้องไปไขว่คว้าเอง เหมือนกับให้โอกาสแก่เรา ให้เรามีเครื่องไม้เครื่องมือ และสิ่งนั้นมันก็อยู่ในตัวเราตลอด
• กว่าสิบปีที่ได้ทำงานเบื้องหน้า มองว่าตนเองประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไร
สำหรับผู้ชายธรรมดาๆ คนหนึ่ง ผมว่ามันโอเคแล้วนะ ผมไม่ได้คาดหวังอะไรมากมายนักในชีวิต ก็คิดแค่ว่าให้ครอบครัวอยู่ได้ มีอยู่มีกิน มาถึงขั้นนี้โอเคมาก อนาคตข้างหน้าค่อยว่ากันไปทีละขั้น และกับทุกสิ่งที่ผ่านมา ผมมองว่าเป็นเรื่องโอกาส...โอกาสที่ได้รับการหยิบยื่นจากเวิร์คพอยท์ พี่จิก พี่ตา และทีมงาน นั่นคือโอกาสที่ผมได้ และต่อยอดเป็นความสุขในการทำงาน คนที่ดูผมก็มีความสุขด้วย เหมือนส่งไม้ผลัดให้เขารับ แล้วเขาก็วิ่งต่อไป เหมือนต้นไม้ที่มันออกดอกไปเรื่อยๆ ไปไหนมาไหนคนรู้จักเราก็เป็นสิ่งดี ทุกสิ่งที่ผมได้รับ ถือว่าเกินความคาดหมายมากมายครับ
• สิ่งไหนที่ถือว่าสำคัญมากๆ สำหรับชีวิตการทำงานของพัน พลุแตก
การเรียนรู้ครับ ผมว่าคนทุกคนเรียนรู้ได้ไม่หมดสิ้นนะ ไม่มีวันหมด ทุกประสบการณ์มันเป็นเหมือนวัคซีนที่ฉีดให้ร่างกาย แล้ววันหนึ่งเมื่อเราไปเจอสิ่งเหล่านั้นอีก วัคซีนตัวนี้ก็ทำงานในการที่จะต่อสู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างภูมิต้านทานให้กับเราได้ ผมคิดว่าเป็นอย่างงั้น ในแต่ละวันมันก็มีบทเรียนที่มีคุณค่าสำหรับเรา ผ่านคน เหตุการณ์ และคำพูด ผ่านวิธีคิด ผ่านสิ่งที่เราได้เห็น บางทีเราเห็นบางประโยค มันก็ทำให้เรามีกำลังใจ บางทีเราฟังเด็กๆ เขาคุยกัน เราก็กลับมาคิดอะไรได้
ทุกสิ่งรอบตัวเรา เป็นบทเรียนนะผมว่า อยู่ที่เราจะเรียนรู้มันหรือเปล่า พร้อมจะรับมันมั้ย การได้ทำงานกับคนเก่งๆ มันเป็นประสบการณ์ที่ไม่มีอีกแล้วในชีวิตนี้ มันล้ำค่ายิ่งกว่าทองอีก และเราก็พัฒนาฝีมือเพื่อคนรุ่นต่อไป ฝากผลงานไว้ให้คนเขาเห็น มันเป็นหน้าที่เรา เราอยู่วงการบันเทิง สิ่งหนึ่งคือเราสร้างความบันเทิง สร้างความสุข สนุกสนาน เพราะเราทำหน้าที่ได้แฮปปี้กับสิ่งที่เราทำ เรามีความสุขแล้วล่ะ คนอื่นเขายิ้มและหัวเราะ มีความสุขกับเราก็เป็นเรื่องดี คนชอบบ้างไม่ชอบบ้าง นั่นเป็นเรื่องปกติ
• เปรียบชีวิตของพัน พลุแตก ควรจะเปรียบกับอะไรถึงจะเหมาะสม
คงเหมือนนักวิ่งมาราธอนนะครับ ประมาณว่าเมื่อก่อนจะเป็นนักวิ่งตามสวนสาธารณะ คือวิ่งเพื่อให้แข็งแรง แต่พอมีอะไรหลายอย่างซึ่งเราต้องทำต้องรับผิดชอบ ทำให้เรากลายเป็นนักวิ่งมาราธอนที่มีเป้าหมาย มีความฝัน มีความมุ่งมั่น คือเราไม่ได้วิ่งไปแบบครบ 3 รอบแล้วกลับบ้านไปดื่มน้ำเปล่า แต่ต้องวิ่งเพื่อแข่งกับตัวเองและแข่งกับคนอื่นที่เขาวิ่งนำหน้าเรา แล้วต้องไปถึงเป้าหมายให้ได้ ซึ่งระหว่างทางอาจจะแวะกินน้ำบ้าง ล้มบ้าง ร่างกายเจ็บป่วยบ้าง โดนชน โดนกระแทกบ้าง ก็ว่ากันไป แต่ก็ลุกขึ้นมาได้ทุกครั้ง เพราะว่าเราต้องไปให้ถึงเป้าหมาย
โดยส่วนตัว ผมคิดว่าผมถึงเส้นชัยมาหลายสนามแล้วล่ะ แต่ผมจะต้องแข่งอยู่เรื่อยๆ ตราบใดที่ผมยังมีแรงวิ่งอยู่ เพราะเป้าหมายมันเกิดขึ้นเรื่อยๆ พอสำเร็จเป้าหมายหนึ่ง ก็จะมีเป้าหมายใหม่ที่เราต้องไปต่อ เรี่ยวแรงอาจน้อยลง แต่ความมุ่งมั่นยังคงรักษาไว้ ยังต้องมีไฟอยู่เสมอ ไม่งั้นมันจะไม่มีแสงสว่าง เหมือนปกติ เราเล่นบอลแบ็กซ้าย แล้วปรับมาเป็นเซ็นเตอร์แบ็ก แต่ความเก๋ามันยังมี และสามารถจะเป็นที่ปรึกษาให้ลูกทีมต่อไปได้ด้วย
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พัน พลุแตก