xs
xsm
sm
md
lg

แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 20 ก.พ.51

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


วันนี้(20 ก.พ.)นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกรัฐบาล แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ดังนี้

ครม.ตั้ง “น้องเขยแม้ว”คุมแผนบริหารราชการแผ่นดิน
นายจักรภพ แถลงว่า แนวทางการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล หลังจากที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งจะแล้วเสร็จวันนี้ รัฐบาลได้วางตัวบุคคลที่จะได้ทำงานตามแผนการในกรอบนโยบายดังกล่าวนั้น โดยที่มีรายละเอียด ดังนี้

รัฐบาลจะต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติการของกระทรวงระยะ 4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2552 โดยในมาตรา 76 ของรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยแผนการบริหารราชการแผ่นดินนั้น ครม.ได้อนุมัติจัดองค์ประกอบในการทำงาน ดังนี้

ให้รองนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย เลขาธิการ ครม. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นต้น โดยมีรองเลขาธิการสภาพัฒน์ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็นเลขานุการ นี่คือชุดที่จัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน

ส่วนเรื่องของแนวทางดำเนินการนั้น ให้กำหนดดังนี้
1. ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวง ได้มอบหมายให้ส่วนราชการนำนโยบายของรัฐบาลมาใช้ในการจัดทำยุทธศาสตร์ แนวทาง แผนงาน และโครงการ
2. นอกจากนโยบายของรัฐบาลแล้ว ให้นำแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และแผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 และยุทธศาสตร์กระทรวง มาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนด้วย
3. ในกรณีปีงบประมาณ 2551 กระทรวงสามารถปรับแผนให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลได้
4. การกำหนดตัวชี้วัดในตารางข้อมูล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ให้ใช้ตัวชี้วัดในระดับนโยบาย

ส่วนตัวบุคคล ครม.ได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มนโยบายเร่งด่วนที่ได้แถลงต่อรัฐสภาไปแล้ว และวางคนดังนี้
กลุ่มนโยบายเร่งด่วนกลุ่มที่ 1 ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน งานจะประกอบด้วย
1. ดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท และดูแลระดับราคาสินค้าอุปโภค บริโภค และราคาพลังงาน
2. ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน
ในงานในกลุ่มนี้ให้รองนายกรัฐมนตรี 2 ท่าน คือ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็นหัวหน้ากลุ่มนโยบายเร่งด่วน กระทรวงที่รับผิดชอบ มีกระทรวงการคลัง ซึ่งรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 การลดรายจ่ายของประชาชน มีงานดังนี้
- สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร
- วางระบบการถือครองที่ดิน และกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดิน
- ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center)
- สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง
งานในกลุ่มที่ 2 นี้ ให้รองนายกรัฐมนตรี 2 ท่าน คือ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นผู้ประสานงาน หรือเป็นหัวหน้ากลุ่มก็ว่าได้

กลุ่มที่ 3 การเพิ่มรายได้ของประชาชน มีงานดังนี้
- เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
- จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากรให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน ก็คือ เอสเอ็มแอล
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (โอท็อป)
- สานต่อโครงการธนาคารประชาชน
- พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน
- สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน
กลุ่มที่ 3 ที่พูดไปนี้เรียกว่ากลุ่มเพิ่มรายได้ของประชาชน ให้รองนายกรัฐมนตรี นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นผู้ดูแล

กลุ่มที่ 4 การลงทุน และการใช้จ่ายภาครัฐ มีงานดังนี้
- เร่งรัดการลงทุน เช่น ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน การขนส่งระบบราง และท่าอากาศยานสากล
- ขยายพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน
- ประกาศปีแห่งการลงทุน (ระหว่างปี 2551-2552)
- เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ
- ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนจากต่างประเทศ ตรงนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องค้าปลีก
กลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่มที่ 4 การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ ให้รองนายกรัฐมนตรี 2 ท่านดูแล คือ นายสหัส บัณฑิตกุล และนายสุวิทย์ คุณกิตติ

กลุ่มที่ 5 การหารายได้เข้าประเทศ มีงานหลักๆ 1 งาน คือ ประกาศปีแห่งการท่องเที่ยวไทย (ปี 2551 - 2552) ให้รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ดูแล

กลุ่มสุดท้าย กลุ่มที่ 6 การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีงานเดียว คือ เร่งรัดมาตรการและโครงการ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตโลกร้อน ให้รองนายกรัฐมนตรี นายสหัส บัณฑิตกุล ดูแล
ที่ได้รายงานให้ทราบนี้เป็นการวางตัวบุคคลในระดับรองนายกรัฐมนตรี เพื่อเตรียมปฏิบัติการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

ครม.อนุมัติแนวทางปฏิบัติในการขออนุมัติใช้เงินงบกลางสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉิน
นายจักรภพ แถลงว่า ครม.ได้อนุมัติแนวทางปฏิบัติกรณีการขออนุมัติการใช้เงินงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น แนวทางสั้นและเหมือนเดิม คือ ครม.อนุมัติตามที่ได้มีการนำเสนอเรื่องขึ้นมา โดยหลักการคือ ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดที่มีความจำเป็น จะต้องใช้จ่ายงบประมาณนอกเหนือจากที่ได้รับจัดสรร หรือได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้วไม่เพียงพอ ให้พิจารณาตรวจสอบและปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับ เป็นลำดับแรกก่อน พูดง่ายๆ ว่าให้ใช้เงินตัวเองก่อนเป็นลำดับแรก แต่ถ้าหากพบว่าเมื่อเกลี่ยแล้ว บริหารแล้ว ไม่สามารถจะทำได้ด้วยเงินที่มีอยู่ จึงจะพิจารณาสู่ขั้นที่ 2 คือการขอใช้งบกลาง ไม่ใช่ใช้งบกลางก่อนเป็นอันดับแรก

ครม.นัดพบปะทูต 26ก.พ.นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล
นายจักรภพ แถลงว่า ต่อมาคือเรื่องของภารกิจด้านต่างประเทศของรัฐบาลที่นายกฯ ได้กำชับเป็นพิเศษ รัฐบาลจะมีภารกิจด้านต่างประเทศหลายเรื่อง แต่เรื่องที่นายกฯ ให้ความสำคัญ และอยู่ในระยะเวลาที่จะถึงนี้ คือในวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ เวลา 18.00 น.ที่ตึกสันติไมตรี หลังนอก จะมีการพบปะระหว่าง ครม.ของไทยและคณะทูตานุทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย ทั้ง 2 คณะ ท่านนายกฯ ได้ให้นโยบายด้วยวาจาว่า ขอให้รัฐมนตรีเข้าร่วมทุกคน อย่างน้อยเพื่อที่จะได้ทำความรู้จักมักคุ้นกับคณะทูตานุทูตจากต่างประเทศ และถือโอกาสนี้ชี้แจงนโยบายด้านการต่างประเทศกับท่านทูตเหล่านี้ด้วย เพราะฉะนั้นนี่ก็จะเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญที่ ครม.ทั้งคณะจะได้มีภารกิจในเรื่องของต่างประเทศตามที่นายกฯ ได้สั่งการ

ครม.ตั้งวิปรัฐบาล ยก “พ่อเนวิน” เป็นประธาน
นายจักรภพ แถลงว่า ครม.ได้รับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร รายละเอียดต่างๆ เชื่อว่าพวกเราสื่อมวลชนทราบดีอยู่แล้ว ก็จะไปที่องค์ประกอบเลย

องค์ประกอบของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร หรือที่เรียกว่า วิป ประธานกรรมการ คือนายชัย ชิดชอบ รองประธานกรรมการ 6 คน ประกอบด้วย นายชูศักดิ์ ศิรินิล นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ นายวิทยา บุรณศิริ นายไพจิตร ศรีวรขาน นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และนายไชยยศ จิรเมธากร และมีกรรมการร่วมด้วยอีก 49 ท่าน จากทุกพรรคการเมือง เลขานุการ ได้แก่ นายสามารถ แก้วมีชัย

ครม.เห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมืองหลายตำแหน่ง
นายจักรภพ แถลงว่า ครม.ได้เห็นควรแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการ รมว.คลัง ซึ่งคือเลขาฯ ของ รมช.ระนองรักษ์ ได้แก่ นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์

ในส่วนของรองนายกฯ และ รมว.คลัง นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ได้เสนอแต่งตั้งและ ครม.อนุมัติ ดังนี้ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองของรองนายกฯ สุรพงษ์ ได้แก่ นายชัยยงค์ รัตนอังกูร ที่ปรึกษารองนายกฯ ของรองนายกฯ สุรพงษ์ ได้แก่ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร

รองนายกฯ นายสหัส บัณฑิตกุล ขอเสนอแต่งตั้งและ ครม.อนุมัติ ดังนี้ รองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี ที่ปรึกษารองนายกฯ นายมงคล กิมสูนจันทร์

รองนายกฯ และ รมว.ศึกษาธิการ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เสนอแต่งตั้งและ ครม.อนุมัติ ดังนี้ ที่ปรึกษารองนายกฯ พล.ต.ต.เกษม รัตนสุนทร รองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ

รมต.ประจำสำนักนายกฯ นายชูศักดิ์ ศิรินิล ได้เสนอแต่งตั้ง และ ครม.อนุมัติ ดังนี้ ที่ปรึกษา รมต.ประจำสำนักนายกฯ นายยืนหยัด ใจสมุทร เลขานุการ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ของ อ.ชูศักดิ์ ได้แก่ นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ

รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ได้เสนอแต่งตั้งและ ครม.อนุมัติ ดังนี้ ที่ปรึกษารองนายกฯ นายประวัฒน์ อุตตะโมต รองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์

รมว.ยุติธรรม นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ได้เสนอแต่งตั้งและ ครม.อนุมัติ ดังนี้ ที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม นายสุรพล เอกโยคยะ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม นายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์

รองนายกฯ สุวิทย์ คุณกิตติ ซึ่งควบตำแหน่ง รมว.อุตสาหกรรม เสนอแต่งตั้งและ ครม.อนุมัติ ดังนี้ ที่ปรึกษา รมว.อุตสาหกรรม นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล เลขานุการ รมว.อุตสาหกรรม นางมุกดา พงษ์สมบัติ

กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมมาด้วยกันทั้ง รมว.นายไชยา สะสมทรัพย์ และรมช. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เสนอแต่งตั้งและ ครม.อนุมัติ ดังนี้ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษา รมช.สาธารณสุข นายธวัชชัย สุทธิบงกช เลขานุการ รมว.สาธารณสุข นายสุพจน์ ฤชุพันธ์ ผช.เลขานุการ รมว.สาธารณสุข นายวัน อยู่บำรุง

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้มีการเสนอแต่งตั้ง และอนุมัติดังนี้ ที่ปรึกษา รมว.ไอซีที นายภูวเดช อินทวงศ์ เลขานุการ รมว.ไอซีที นายศราวุธ เพชรพนมพร

กระทรวงมหาดไทย รมว.มหาดไทย ได้เสนอแต่งตั้งและได้รับอนุมัติ ดังนี้ ที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ที่ปรึกษา รมช.มหาดไทย นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ เลขานุการ รมว.มหาดไทย พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ผช.เลขานุการ รมว.มหาดไทย นายสุริยะ ร่วมพัฒนา

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รมว.พม.ได้เสนอแต่งตั้งและได้รับอนุมัติ ดังนี้ ที่ปรึกษา รมว.พม.นายเอนก หุตังคบดี เลขานุการ รมว.พม.นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ

กระทรวงมหาดไทย ในส่วนของ รมช.มหาดไทย ได้มีการเสนอแต่งตั้งดังนี้ ที่ปรึกษา รมช.มหาดไทย นายศานิต ว่องศักดิ์ธนพงศ์ (***) ผช.เลขานุการ รมว.มหาดไทย นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รมว.ทส.ได้เสนอแต่งตั้งและได้รับอนุมัติ ดังนี้ ที่ปรึกษา รมว.ทส. พล.ต.อินทรัตน์ ยอดบางเตย เลขานุการ รมว.ทส.นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา

กระทรวงวัฒนธรรม รมว.วัฒนธรรม ได้เสนอแต่งตั้งเลขานุการ รมว.วัฒนธรรม ดังนี้ ทพญ.ศรีญาดา ชินวัตร

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เสนอแต่งตั้งเลขานุการ รมว.วิทย์ฯ และได้รับอนุมัติ ดังนี้ น.ส.เพ็ญชิสา หงส์อุปถัมภ์ชัย

กระทรวงพลังงาน รมว.พลังงาน ได้เสนอแต่งตั้งที่ปรึกษา รมว.พลังงาน ดังนี้ ร.ต.ประภาส ลิมปพันธุ์

กระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอแต่งตั้งที่ปรึกษา รมว.ต่างประเทศ และได้รับอนุมัติ ดังนี้ นายพิทยา พุกกะมาน

กระทรวงแรงงาน ได้เสนอแต่งตั้งและได้รับอนุมัติ คือ ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน นายไพจิตร เทียนไพฑูรย์ เลขานุการ รมว.แรงงาน นายสันติ บุญสถาพร

ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ นายยุรนันท์ ภมรมนตรี เลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ น.ส.ลีลาวดี วัชโรบล ที่ปรึกษา รมช.ศึกษาธิการ ของ รมต.พงศกร อรรณนพพร คือนายสมบัติ รัตโน ผช.เลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ คือเลขาฯ รมต.พงศกร ได้แก่ นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ที่ปรึกษา รมช.ศึกษาธิการ ซึ่งที่เป็นที่ปรึกษา รมต.บุญลือ ได้แก่ นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ ผช.เลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งจะเป็นเลขาฯ รมต.บุญลือ นายณัฐพล เกียรติวินัยสกุล

กระทรวงพาณิชย์ รองนายกฯ และ รมวงพาณิชย์ ได้เสนอในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ดังนี้ ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ นางนลินี ทวีสิน ที่ปรึกษา รมช.พาณิชย์ คือของ รมช.วิรุฬ เตชะไพบูลย์ ได้แก่ นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ เลขานุการ รมว.พาณิชย์ นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ผช.เลขานุการ รมว.พาณิชย์ คือเลขาฯ ของ รมช.วิรุฬ คือนายเกรียงไกร กิตติธเนศวร

กระทรวงพาณิชย์ ในส่วนของ รมช. พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอและได้รับอนุมัติ ดังนี้ ที่ปรึกษา รมช.พาณิชย์ นายวีระศักดิ์ จินารัตน์ ผช.เลขานุการ รมว.พาณิชย์ ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปรึกษา รมว.เกษตรฯ นายสันต์ศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ ที่ปรึกษา รมช.เกษตรฯ คือที่ปรึกษา รมต.ธีระชัย แสนแก้ว ได้แก่ นายบัวสอน ประชามอญ เลขานุการ รมว.เกษตรฯ นายอารมณ์ ขำคมกุล ผช.เลขานุการ รมว.เกษตรฯ นายก่อเกียรติ ด่านชัยวิจิตร ผช.เลขานุการ รมว.เกษตรฯ นายวิสันต์ เดชเสน

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เสนอแต่งตั้งที่ปรึกษา รมว.ท่องเที่ยวฯ และได้รับอนุมัติ ดังนี้ นางบุปผา รอบรู้

กระทรวงการคลัง รองนายกฯ และ รมว.คลัง ได้เสนอแต่งตั้งและได้รับอนุมัติในส่วนของ ก.คลัง ดังนี้ ที่ปรึกษา รมว.คลัง นายสำราญ ภูอนันตานนท์ เลขานุการ รมว.คลัง นางสาวภูวนิดา คูณผลิน

ผช.เลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ นายเกษมสันต์ วีระกุล

กระทรวงคมนาคม ที่ปรึกษา รมว.คมนาคม นายภาคิน สมมิตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในส่วนของรัฐมนตรีทรงศักดิ์ ทองศรี ได้แก่ นายศุภชัย ใจสมุทร ที่ปรึกษา รมช.คมนาคม ในส่วนของรัฐมนตรีอนุรักษ์ จุรีมาศ ได้แก่ นายธีรวัฒน์ ศิริวรรณสารเลขานุการ รมว.คมนาคม นางสาวสุนีย์ เหลืองวิจิตร ผช.เลขานุการ รมว.คมนาคม ในส่วนของรัฐมนตรีทรงศักดิ์ ทองศรี ได้แก่ นายชัยศรี กีฬา ผช.เลขานุการ รมว.คมนาคม ในส่วนของรัฐมนตรีอนุรักษ์ จุรีมาศ ได้แก่ นายบัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย

กระทรวงการต่างประเทศ เพิ่มเติม แยกคำสั่งกัน
รมว.ต่างประเทศได้เสนอและได้รับอนุมัติดังนี้ เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ นางสาวศิลัมพา เลิศนุวัฒน์

กระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เสนอแต่งตั้งและได้รับอนุมัติ ดังนี้ เลขานุการ รมว.กลาโหม พล.อ.อุดมชัย องคสิงห์

รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายจักรภพ เพ็ญแข ได้เสนอแต่งตั้งและได้รับอนุมัติ ดังนี้ ที่ปรึกษา รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายแสวง ฤกษ์จรัญ เลขานุการ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายจารุวงศ์ เรืองสุวรรณ

กำลังโหลดความคิดเห็น