xs
xsm
sm
md
lg

ประเทศไทย กับสารพัดเอเลี่ยนสปีชีส์ปลา!ต้องจัดการเคร่งครัด ไม่ต่างจาก'ปลาหมอคางดำ'

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ประเทศไทย กับเอเลี่ยนสปีชีส์ปลาหลายสายพันธุ์ กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ทำลายสัตว์น้ำท้องถิ่น อาชีพประมง วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกมาตรการควบคุมจัดการอย่างเคร่งครัดไม่ต่างจาก 'ปลาหมอคางดำ'

สมชาย เศรษฐสกุล ผู้ชำนาญการด้านสัตว์น้ำ ระบุ จากกรณีล่าสุดที่มีการพบเห็น 'ปลาช่อนอเมซอน'ขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไทย ปลาชนิดนี้ได้ชื่อว่าเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ชื่อ 'ปลาอะราไพม่า' ด้วยมีแหล่งกำเนิดในแม่น้ำอเมซอน จึงนิยมเรียกกันในภาษาไทยว่า 'ปลาช่อนยักษ์อเมซอน' เป็นปลาที่สามารถกินปลาและสัตว์น้ำท้องถิ่นได้ทีละจำนวนมาก และด้วยขนาดที่ใหญ่ จึงเป็นผู้ล่าในจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร แทบไม่มีสัตว์ผู้ล่าชนิดอื่นมาคอยควบคุม การแพร่ระบาดของปลาช่อนยักษ์อเมซอนในแหล่งน้ำของไทยหลายพื้นที่ เป็นอีกตัวอย่างที่ชัดเจนของปัญหาการรุกรานของสัตว์น้ำต่างถิ่นหรือเอเลี่ยนสปีชีส์ในประเทศไทย

ไม่เพียงแต่ปลาช่อนอเมซอน หรือปลาหมอคางดำ ที่เป็นกระแสอยู่ในปัจจุบัน ในประเทศไทย ยังพบปลาสายพันธุ์ต่างถิ่นอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ปลาซัคเกอร์ ปลาหมอมายัน ปลาหมอบัตเตอร์ และปลาดุกบิ๊กอุย ที่ถูกนำเข้ามาเลี้ยงในไทยอย่าง แล้วหลุดออกสู่ธรรมชาติ

ปลาต่างถิ่นเหล่านี้ รวมถึงปลาหมอคางดำ มีผู้ประกอบการหลายรายนำเข้ามาสู่ประเทศอย่างผิดกฎหมาย จึงยากที่จะทราบต้นตอที่ชัดเจนและจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างมหาศาล

หนึ่งในปลาเอเลี่ยนที่ระบาดมากที่สุดชนิดหนึ่งคือ 'ปลาซัคเกอร์ 'ซึ่งถูกนำเข้ามาเพื่อทำความสะอาดตู้ปลาสวยงาม อย่างไรก็ตามด้วยนิสัยดุร้าย ทนต่อสภาพแวดล้อมและการแพร่พันธุ์เร็ว


นอกจากนี้ ยังมีปลาหมอต่างถิ่นต้องห้ามอีกสองชนิด ที่พบในแหล่งน้ำสำคัญของไทย เป็นสายพันธุ์ที่ถูกประกาศห้ามนำเข้าและห้ามเลี้ยงเช่นเดียวกับปลาหมอคางดำ ได้แก่ ปลาหมอมายัน และปลาหมอบัตเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันปลา 2 ชนิดก็รุกรานและเป็นอันตรายกับปลาท้องถิ่น อย่างปลาหมอมายัน มีนิสัยดุร้ายและหวงถิ่น และปลาหมอบัตเตอร์ ก็แพร่พันธุ์เร็วไม่แพ้ปลาหมอคางดำและมีนิสัยกินทุกอย่าง ทั้งปลาหมอมายัน และปลาหมอบัตเตอร์ก็กินปลาขนาดเล็กและไข่ปลา ทำให้ปลาพื้นบ้านและสัตว์น้ำในธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง จนกังวลว่าจะทำให้สัตว์น้ำประจำถิ่นสูญพันธุ์

ส่วน'ปลาดุกอัฟริกัน' หรือที่เรียกกันว่า 'บิ๊กอุย' กินพืชและสัตว์ขนาดเล็กหลากหลายชนิด ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเพราะเบียดเบียนสัตว์น้ำท้องถิ่นด้วยการแย่งอาหารและที่อยู่อาศัย

การระบาดของเอเลี่ยนสปีชี่ส์ในประเทศไทยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ทั้งการทำลายสัตว์น้ำท้องถิ่น การเสียสมดุลของระบบนิเวศ อาชีพประมง และการใช้ทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การมีอยู่ของปลาต่างถิ่นหลากหลายสายพันธุ์ รวมถึงปลาต้องห้ามในแหล่งน้ำธรรมชาติในหลายพื้นที่ของไทย จึงเป็นตัวบ่งชี้ว่าเกิดช่องโหว่ในกำกับดูแลการนำเข้าและการบริหารจัดการปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ของไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมและจัดการอย่างเคร่งครัดไม่ต่างจากปลาหมอคางดำ เพื่อป้องกันไม่ให้เอเลี่ยนสปีชีส์เหล่านี้แพร่พันธุ์และสร้างความเสียหายเพิ่มเติมในอนาคต




กำลังโหลดความคิดเห็น