xs
xsm
sm
md
lg

BBLชู8มิติสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านเจตนารมณ์ ESG

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ธนาคารกรุงเทพ จับมือผู้เชี่ยวชาญ-นักวิชาการ พัฒนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยง ชวนลูกค้าปรับโมเดลธุรกิจใหม่ พร้อมเดินหน้าแนวทางปฏิบัติ 8 มิติอย่างต่อเนื่อง ย้ำจุดยืน ‘เพื่อนคู่คิด’ ผนึกกำลังทุกภาคส่วน ก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน ผ่านเจตนารมณ์ ESG

นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารให้ความสำคัญกับดำเนินธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Emission) ผ่านเจตนารมณ์ด้าน ESG หรือการคำนึงถึงประเด็นพื้นฐานทั้ง 3 มิติ ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental) มิติสังคม (Social) และมิติธรรมาภิบาล (Governance) หรือ ESG โดยได้ประยุกต์แนวทางดังกล่าวเข้ากับรูปแบบการดำเนินธุรกิจด้านการเงินธนาคาร ,ประสานการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการเพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินความเสี่ยงทางกายภาพของภาวะโลกร้อน (Physical risk) และความเสี่ยงจากการปรับเปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Transition risk) 

ขณะเดียวกัน ธนาคารยังทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อปรับเปลี่ยน Business Model ที่จะนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน โดยธนาคารให้การสนับสนุนทั้งด้านการเงินและการให้คำแนะนำที่จะช่วยให้ลูกค้าพัฒนากระบวนการทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของกิจการ

ธนาคารกรุงเทพ ดำเนินการในหลากหลายด้าน เพื่อสนับสนุนภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งลูกค้าและสังคม ให้สามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันใน 8 มิติ ประกอบด้วย

1.) การให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะการพัฒนากระบวนการบริหารและเครื่องมือที่ช่วยประเมินความเสี่ยงด้าน ESG

2.) การสนับสนุนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในปี 2564 ที่ธนาคารผู้รับประกันการจัดจำหน่าย (Underwriter) ตราสารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Bond ในสัดส่วนถึง 66% ของมูลค่าตราสารดังกล่าว

3.) บริการสินเชื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสำหรับเอสเอ็มอี เป็นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับธุรกิจที่ต้องการลงทุนด้านธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

4.) การสนับสนุนเอสเอ็มอี ภาคเกษตรกรรมและชุมชน ผ่านการสร้างเครือข่าย ‘บัวหลวงเอสเอ็มอี’ และ ‘โครงการเกษตรก้าวหน้า’

5.) การสนับสนุนการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน สนับสนุนตั้งแต่การสร้างโรงเรียนในพื้นที่ชนบท การพัฒนาศักยภาพบุคลากรครู และความรู้ด้านการเงิน

6.) การดูแลกลุ่มเปราะบาง ด้วยการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างเท่าเทียมสำหรับผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการ

7.) การอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ด้วยการจัดกิจกรรมและประกวดเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักและเห็นคุณค่าด้านศิลปะและวัฒนธรรมของไทย และ 8.) การทำนุบำรุงศาสนา โดยในด้านพิธีการทางศาสนาและการสนับสนุนการศึกษาตามหลักสูตรคณะสงฆ์


นายจรัมพร กล่าวด้วยว่า ธนาคารกรุงเทพ มุ่งมั่นพัฒนาเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ในด้าน ESG แต่กระบวนการเหล่านี้ธนาคารคงไม่สามารถทำตามลำพังได้ หากแต่เราได้พยายามประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย ทั้งผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่มีข้อมูลความรู้ ทั้งลูกค้าที่ต้องตระหนักถึงความสำคัญถึงประเด็นเหล่านี้และยินดีปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจไปด้วยกัน เพราะแน่นอนว่า ในหลาย ๆ กระบวนการทำงานแบบใหม่ อาจมีต้นทุนเพิ่มและสุดท้ายก็ต้องถูกส่งต่อไปถึงลูกค้าที่ปลายทางของห่วงโซ่อุปทานในที่สุด รวมถึงอาจทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งธนาคารพร้อมจะเป็น “เพื่อนคู่คิด” ที่ช่วยสนับสนุนทั้งด้านบริการทางการเงินและคำแนะนำต่างๆ เพื่อการลงทุนสำหรับความเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืนไปด้วยกัน โดยเชื่อมั่นว่าจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเข้มแข็ง(Robust) ยืดหยุ่น(Resilient) และ ยั่งยืน(Sustainable) ในระยะยาวอย่างแน่นอน


กำลังโหลดความคิดเห็น