เงินเฟ้อไทยเดือนเมษายน กลับมาบวก 3.4% ขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 ปี4 เดือน ตามราคาพลังงาน จับตาโควิดระลอกใหม่ และการออกมาตรการลดค่าครองชีพเพิ่มเติม ฉุดเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม ปรับลดลงอีกครั้ง
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือ สนค. รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนเมษายน 2564 กลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในรอบ 14 เดือน และ ขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 ปี4 เดือน เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้เมื่อเทียบกับฐานราคา ที่ต่ำมากในปีก่อน ประกอบกับมาตรการลดค่าครองชีพด้านสาธารณูปโภคของรัฐสิ้นสุดลง รวมทั้งอาหารสดหลายชนิด ปรับตัวสูงขึ้นตามผลผลิตที่ลดลง ขณะที่สินค้าและบริการอื่นๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ
เงินเฟ้อในเดือน เม.ย.64 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 3.41 % (YoY) โดยมีสาเหตุส าคัญจาก สินค้าในกลุ่มพลังงานที่ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด 36.38 % (เทียบกับ 1.35% ในเดือนก่อน)ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก ฐานราคาน้ำมันที่ต่ำมากในปีก่อน และระดับราคาขายปลีกน้ ามันเชื้อเพลิงในประเทศปีนี้ยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคาตลาดโลก ประกอบกับมาตรการลดค่าไฟฟ้า และค่าน้ าประปาของรัฐได้สิ้นสุดลง
สินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะ เนื้อสุกร ผักและผลไม้ ขยายตัว 0.11% เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง ส าหรับสินค้าในหมวดอื่นๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับผลผลิต การส่งเสริมการขายและความต้องการ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ 0.30% (YoY) ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ที่ขยายตัว 0.09 %
นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการ สนค. กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพฤษภาคม 2564 มีแนวโน้มขยายตัวสูงต่อเนื่องจากเดือนเมษายน (หากไม่มีมาตรการลด ค่าครองชีพอื่นเพิ่มเติมจากรัฐ) โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง และฐานราคาพลังงานที่ยังต่ำมากในปีก่อน ขณะที่สินค้าและบริการอื่นๆ ยังเคลื่อนไหวตามผลผลิตและความต้องการ โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐที่คาดว่ าจะออกมาอย่างต่อเนื่อง น่าจะช่วยเพิ่มอุปสงค์ในประเทศ ชดเชยอุปสงค์ที่ลดลงจากการท่องเที่ยวได้
ขณะที่การฟื้นตัวของโลกน่าจะช่วยให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส าหรับผลผลิตสินค้าเกษตรยังมีโอกาสผันผวน ตามสภาพอากาศซึ่งส่งผลต่อราคาอาหารสด
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ยังคงเป็นแรงกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป
สนค. ยังคงกรอบเงินเฟ้อปี 2564 เคลื่อนไหว 0.7 ถึง 1.7% โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 1.2% ภายใต้สมมติฐาน จีดีพี โต 2.5-3.5% ,ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีที่ 55-65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และค่าเงินบาททั้งปี อยู่ที่ 29-31 บาทต่อดอลลาร์ฯ แต่หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ สนค.จะทบทวนเป้าเงินเฟ้อใหม่อีกครั้ง