xs
xsm
sm
md
lg

ปชป.ยัน"อภิสิทธิ์"ไม่ได้สั่งฆ่าปชช.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แจงเหตุสลายชุมนุมปี 53 ยืันยัน นายอภิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯไม่ได้สั่งฆ่าประชาขน ย้ำศาลฎีกาตัดสินชัดแล้วใครทำผิด

ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถงข่าวถึงกรณีที่มีการกล่าวพาดพิง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคฯแลพอดีคนายกรัญมนตรี เรื่องการสลายการชุมนุมทำให้คนเสียชีวิต ว่า กลุ่มที่ออกมากล่าวหานั้น เป็นการสร้างวาทะกรรมทางการเมืองเพื่อทำลายนายอภิสิทธิ์ ทั้งที่เรื่องดังกล่าวได้ผ่านการพิสูจน์จากกระบวนการยุติธรรมแล้วว่านายอภิสิทธิ์ ไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา

ทั้ง หลักฐานจากรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ยืนยันชัดเจนในเรื่องการชุมนุมเมื่อ ปี 2553 การชุมนุมครั้งนั้นเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยของศาลฯชัดเจน และในบริเวณการชุมนุมดังกล่าวก็มีกลุ่มชายชุดดำแฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมมีการใช้อาวุธสงคราม รายงานของ คอป. มีรายละเอียดเป็นจำนวนมากที่ยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องต่าง ๆ


นายราเมศ ระบุอีกว่า กระบวนการยุติธรรม ที่มีการยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ ต่อศาลอาญาในข้อหาเจตนาฆ่าผู้ชุมนุม ได้ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการใช้ สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยต่าง ๆ เข้าปฏิบัติการผลักดันผู้ชุมนุม สลายการชุมชุม ตามประมวลกฎหมายอาญานั้น ศาลฎีกาศมีคำพิพากษายกฟ้องตามศสลชั้ยต้นและศาลอุทรณ์เช่นกัน แต่คดีนี้ยังไม่จบ เพราะเมื่อคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลอาญา อำนาจการพิจารณาคดีก็ตกไปอยู่กับ ปปช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่มีอำนาจโดยตรง มีการยื่นคำร้องให้เอาผิดทั้งหมด 3 คน คือ 1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี 3. พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ในข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ สั่งใช้กำลังทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือนเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช. จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการ ปปช. รับฟังเป็นยุติว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยให้เหตุผลไว้น่าสนใจคือ “อยู่ในช่วงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลว่าการชุมนุมของกลุ่ม นปช. มิใช่การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ และมีบุคคลที่มีอาวุธปืนปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. จึงมีเหตุจำเป็นที่ ศอฉ. ต้องใช้มาตรการขอพื้นที่คืน เพื่อให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมือง


อีกทั้ง คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ปปช. ระบุไว้ชัดเจนว่า นายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และพลเอกอนุพงษ์ ไม่ได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหา และศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยไว้ว่า การกระทำของนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

นายราเมศ ระบุว่า เรื่องนี้ควรจะยุติ เพราะได้ผ่านกระบวนการยุติธรรมแล้ว ไม่ควรที่จะมาใช้วาทะกรรมในการปลุกปั่นให้ประชาชนเข้าใจผิดในข้อมูล


ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมเผาอาคารพาณิชย์ของประชาชน ศาลพิพากษาให้แกนนำชดใช้ค่าเสียหาย 19,347,000 บาท โจทก์ทั้ง 4 ที่ถูกบุคคลผู้ชุมนุมในกลุ่ม นปช. วางเพลิงเผาทำลายนั้น เป็นผลที่เกิดจากคำปราศรัยของจำเลยที่ 6 ถึง ที่ 8 โดยเข้าลักษณะเป็นผู้ยุยงส่งเสริมในการละเมิดของบุคคลผู้ชุมนุมในกลุ่ม นปช. ที่ร่วมกันเผาอาคาร ซึ่งจำเลยที่ 6 ถึง 8 คือ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ที่กระทำตามคำสั่งของ นายทักษิณ ขินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนายราเมศ ยังถามต่ออีกว่า “ตนอยากจะถามว่า นายทักษิณ จะช่วยจ่ายค่าเสียหาย หรือร่วมรับผิดชอบกับเหตุการณ์นี้หรือไม่?”

เมื่อถามว่า นายอภิสิทธิ์ เตรียมที่จะดำเนินคดีทางกฎหมายกับกลุ่มที่ปล่อยวาทะกรรมทางการเมือง เพื่อโจมตีอย่างไรบ้างนั้น นายราเมศ เผยว่า นายอภิสิทธิ์ ได้สั่งการให้ฝ่ายกฎหมายเตรียมข้อมูลที่ใส่ร้ายป้ายสี รวมถึงพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่จะดำเนินคดีกับกลุ่มคนที่ใส่ร้ายป้ายสีแล้ว
กำลังโหลดความคิดเห็น