xs
xsm
sm
md
lg

ศูนย์ข้อมูลฯโควิด-19 เผยพบผู้ป่วยเพิ่ม35 ราย ยอดสะสม 212 ราย

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




ศูนย์ข้อมูลฯโควิด-19 เผยพบผู้ป่วยเพิ่ม35 ราย ยอดสะสม 212 ราย ย้ำมาตรการ 6 ด้านควบคุมการแพร่ระบาดเข้มข้นขึ้น


นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) แถลงข่าวผ่านศูนย์แถลงข่าว ทำเนียบรัฐบาล ถึงสถานการณ์ทั่วไปของโควิค 19 ปัจจุบันพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก 35 ราย รวมมีผู้ป่วยสะสม 212 ราย มีผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 42 ราย เหลือผู้ป่วยที่รักษาปัจจุบัน 170 ราย เป็นผู้ป่วยที่เฝ้าระวังอยู่อีก 7,546 ราย และยังคงมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจถึง 6 มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดวานนี้ เน้นย้ำมาตรการในขณะนี้ไม่ได้มีการปิดกรุงเทพมหานคร ปิดเมือง หรือ ปิดประเทศ แต่เป็นมาตรการสกัดกั้นการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศ และชะลอการระบาดในประเทศให้เข้มข้นขึ้น พร้อมยอมรับว่าการมีมาตรการต่างๆ ย่อมส่งผลกระทบกับประชาชน ต้องขอโทษที่อาจไม่ได้ความสะดวกสบายในระยะหนึ่ง จนกว่าสถานการ์จะกลับสู่ภาวะปกติ แต่การจะเดินทงยังใช้ชีวิตตามปกติ


ด้านนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวงและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าหากมองสถานการณ์ทั่วโลก ขณะนี้มีประเทศพบผู้ป่วยติดเขื้อแล้ว 161 ประเทศ ผู้ป่วยยืนยัน 194,000 คน แต่ยังคงเป็นการเพิ่มแบบคงตัว มีผู้ป่วยหนัก 6,700 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 3.4 สิ่งสำคัญประเทศที่เจอผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และระบบสาธารณสุขรองรับไม่ได้ สำหรับในส่วนของประเทศไทย ได้พยายามค้นหาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว เพื่อเข้าควบคุมโรค ซึ่งผู้ป่วยที่พบในวันนี้เพิ่ม 35 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก 29 ราย เป็นกลุ่มที่สัมผัสผู้ป่วย มาจากกลุ่มสนามมวย 13 ราย สถานบันเทิง 4 ราย สัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด 12 ราย ส่วนอีกกลุ่มเป็นผู้ป่วยกลุ่มใหม่ 6 ราย มาจากต่างประเทศ ย้ำไทยเพิ่มมาตรการคัดกรองเข้มข้นทุกด่าน 68 ด่าน คัดกรอง5 ล้าน 6 แสนคน


ขณะที่รองศาสตราจารย์ จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานระบุว่า เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจจะเกิดจากการลงทะเบียนของแรงงานต่างด้าวในขณะนี้ กระทรวงแรงงานได้มีมาตรการควบคุมแรงงานสำหรับกลุ่ม ที่ลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวและมีการนัดหมายเรียบร้อย ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ ไม่ต้องไปดำเนินการที่ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ แต่ให้นายจ้างนำลูกจ้างไปลงตราวีซ่า ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือ ตม. ส่วนการไปทำบัตรสีชมพู ให้ไปติดต่อที่สำนักงานเขต ทั้ง 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ส่วนใบอนุญาตทำงาน ให้ไปที่สำนักงานจัดหางาน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1-10 โดยให้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 30 มิถุนายน 2563 ส่วนกลุ่มที่ 3 สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้มายื่นบัญชีรายชื่อ ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อ ผ่านระบบออนไลน์ หรือมายื่นที่ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ทั้ง 4 แห่ง โดยไม่ต้องพาลูกจ้างเดินทางมาด้วย เปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันพรุ่งนี้ จนถึง 31 มีนาคม 2563 แม้ว่าการยื่นบัญชีรายชื่อจะสิ้นสุดภายในเดือนนี้ แต่ก็อยากให้มาดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อน

ทั้งนี้ หากลูกจ้างยังทำงานอยู่ แต่ วีซ่า หมดอายุ ไม่ต้องเป็นกังวล หากได้ทำการยื่นบัญชีรายชื่อเรียบร้อยแล้ว จะมีการผ่อนผันให้สามารถมารถมาดำเนินการได้ จนถึง วันที่ 30 มิถุนายน ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่จะเป็นผู้พิจารณาปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสม เพราะแต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกันออกไป หากนายจ้างท่านใดเกิดความสงสัย สามารถโทรสอบถามได้ที่ สายด่วน 1506 กด 2


พลตำรวจโทโสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงมาตรการปิดพื้นที่เสี่ยง 14 วัน โดยชี้แจง 8 ประเภท ธุรกิจที่ต้องดำเนินการปิด คือ 1.สถานประกอบการอาบอบนวด 2 กิจการอบไอน้ำ อบสมุนไพร หรือ ซาวน่า 3 โรงมหรศพ ทั้งโรงภาพยนต์ โรงละคร 4 ฟิสเนต 5.สถานบริการและสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ 6.สนามมวย 7.สนามกีฬา และ 8 สนามม้า โดยสถานประกอบการตามข้อ 5 ที่มีการสอบถามมามากที่สุดและเข้าข่ายที่ต้องปิดคือ สถานบันเทิง ที่มีผู้คนจำนวนมาก ต้องนั่งติดกัน มีการเต้นรำ แสดงดนตรี มีลักษณะของพนักงานที่ดูแลใกล้ชิดก็จะต้องปิดชั่วคราว เช่นเดียวกับสนามฟุตซอล สนามแบดมินตัน หากอยู่ในสถานที่ปิดก็ต้องปิดดำเนินการ ส่วนร้านอาหารริมทางที่มีลักษณะเปิดในที่โล่งแจ้ง สามารถเปิดได้ตามปกติ เช่น สาธารณะหรือสถานที่ออกกำลังกายแบบเปิดสามารถที่เปิดให้บริการประชาชนได้ แต่ต้องมีมาตรการดูแลคัดกรอง โดยสถานที่ที่อยู่ในการดูแลของ กทม. ยืนยันมีเจ้าหน้าที่ในการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย มีจุดตั้งเจลล้างมือ


ส่วนมาตรการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ และประชาชนโดยภาพรวมในพื้นที่ กทม. เบื้องต้นได้มีการลด ค่าเช้าแผงร้อยละ 25 ให้กับผู้ที่ทำสัญญาไว้ กับ กทม. กว่า 20,000 ราย ระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่เดือน เม.ย.ถึง ก.ค. นี้ รวมถึงขยายระยะเวลาการจ่ายดอกเบี้ยในสถานธนานุบาลใน กทม. จาก 4 เดือนเป็น 8 เดือน พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยในระหว่างที่ปิดบริการชั่วคราว ทาง กทม. ก็หวังว่า กิจการทั้ง 8 ประเภท จะใช้ช่วงของการปิดชั่วคราวปรับปรุงกิจการ และ ทำการฆ่าเชื้อในร้านต่างๆด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น