xs
xsm
sm
md
lg

3 ปี คสช. กับการปฏิรูปตำรวจ สังกัดกระทรวงยุติธรรม ปฏิรูปแล้วหรือ?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


อดีตที่ปรึกษาคณะอนุกรรมธิการปฏิรูประบบตำรวจปฏิรูปแห่งชาติ พร้อมด้วย อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เผยการปฏิรูปตำรวจให้ได้ผลดีที่สุด ในการได้เห็นงานประชาชนมีประสิทธิภาพ คุณภาพตำรวจชีวิตดีขึ้น ผ่านรายการสภากาแฟ เวทีชาวบ้าน COFFEE TALK




เมื่อวันที่ 30 พ.ค. พ.ต.อ. วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร อดีตที่ปรึกษาคณะอนุกรรมธิการปฏิรูประบบตำรวจปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า 3 ปี ของ คสช. ในการจะนำตำรวจไปกระทรวงยุติธรรม ที่มีการต่อสู้การผลักดันของสังคม ซึ่งไม่ได้เป็นประเด็นที่เป็นจริงเป็นจัง มันเป็นข้อเสนอของอดีตตำรวจกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) และสปท. ได้ทำแถลงข่าวขึ้นมา ซึ่งจริงๆ แล้วการปฏิรูปตำรวจมันอยู่ในรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นมาตามแนวทางมาตรา 258 โดยมีคณะกรรมการอิสระขึ้นมาดำเนินการตามมาตรา 260 ที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ สนช. ได้รับเป็นสภาแต่งตั้งขึ้นมา ทำกันอยู่ 3 ปี ในเรื่องการปฏิรูปตำรวจ ซึ่งตำรวจไม่ได้ทำอะไร ในตอนแรกที่เข้ามาได้เสนอเป็นทบวง แล้วไม่มีใครค้านรับก็หายเงียบไป แล้วไม่มีความเคลื่อนไหวอะไรที่เป็นรูปธรรม

นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สำหรับ 3 ปี ของคสช. ในการได้เห็นงานประชาชนมีประสิทธิภาพ คุณภาพตำรวจชีวิตดีขึ้น ก็ยังไม่เห็นอะไรเลย ซึ่งนานมากสำหรับ 3 ปีที่ผ่านมา ผมเสียดายเวลา เสียดายโอกาสการปฏิรูปบ้านเมืองของประเทศและของพี่น้องประชาชน ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. มีอำนาจเต็มเด็ดขาดอยู่เพียงผู้เดียว ตามมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้ก็ยังมีผลกำชับใช้อยู่ แม้ว่าจะมีประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้แล้วก็ตาม รู้สึกเสียดายมาก ซึ่งพี่น้องประชาชนที่อยู่ทางบ้านทุกตนรู้ดีว่า ตำรวจให้ความเป็นธรรมกับประชาชนมากน้อยแค่ไหนเพียงใด หรือเที่ยงธรรมรึไม่ เพราะแท้ที่จริงแล้วตำรวจเป็นกระบวนยุติธรรมเบื้องต้น ที่จะให้ความยุติธรรมกับพี่น้องประชาชน เมื่อมีผู้เสียหายจากคดีอาญาหรือคดีต่างๆ ไปแจ้งความ ร้องทุกข์ กล่าวโทษกับพนักงาน โดยตำรวจตรงนั้นเป็นร้อยเวรที่ต้องรับผิดชอบ แต่ปรากฎว่า พี่น้องประชาชนบางส่วนได้รับความยุติธรรม แต่บางส่วนจำนวนมากไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า "นายพล" และเป็นนายพลบางคนที่ไปสั่งการพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีหรือไม่ดำเนินคดี หรือเป่าคดีในทิศทางที่ตัวเองต้องการ

นายวัชระ กล่าวต่อว่า ถึงขณะที่ว่าโรงพักบางแห่งติดป้ายไว้เลยว่ามาแจ้งความไม่ต้องมีคนฝากมา แต่ถามว่าไม่มีใครฝากมาเขาจะดำเนินคดีให้ได้รับความเที่ยงธรรมอย่างรวดเร็วหรือไม่ ซึ่งพี่น้องประชาชนตำรวจทั่วไปทราบกันดี แต่ปรากฎว่า โรงพักต่างๆ นั้น บางโรงพัก บางคน ตั้งศาลเตี้ยแข่งกับศาลยุติธรรม เพื่อแลกกับอิสรภาพ แลกกับไม่ให้ถูกดำเนินคดี ผู้กำกับบางโรงพักมีการเช่าโรงพัก ซึ่งผู้บังคับบัญชาการตำรวจแห่งชาติมีงบราชการลับปีละ 130 ล้านบาท เพราะฉะนั้นตำรวจอย่าบอกว่าไม่มีเงินที่จะไปสืบสวนสอบสวน ไล่จับคนร้าย เพราะว่าถ้าไม่มีเงินก็เอางบราชการรัฐจากผู้บังคับบัญชาแห่งชาติจ่ายไปได้เลย

ด้าน พ.ต.อ. วิรุตม์ กล่าวต่อว่า จะทำยังไงให้ประชาชนมั่นใจในยุติธรรม คือระบบตำรวจในปัจจุบันมันผิดรูป ผิดร่างกับลักษณะของงาน สำนักตำรวจแห่งชาติมีงานอยู่ 2 ลักษณะ คืองานตำรวจกับงานสอบสวน ซึ่งงานสอบสวนไม่ใช่ของตำรวจ โดยตำรวจมาจากคำว่า "ตรวจ" ใครก็ตามมีหน้าในการตรวจตารักษากฎหมายก็ถือว่าเป็นตำรวจด้วยกันทั้งสิ้น สำนักตำรวจแห่งชาติไม่ได้มีแค่ตำรวจ แต่มีกรมป่าไม้ กรมอุทยาน เจ้าท่า การคมนาคมขนส่ง ทางหลวง เขาก็ตรวจตราจับผู้ผิดกฎหมายที่เขารับผิดชอบ เขาก็เป็นบทตำรวจเช่นกัน ซึ่งตำรวจไม่มียศมีมานานแล้ว แล้วประหยัดกว่าตำรวจที่มียศอีก เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่าตำรวจไม่ใช่หมายถึงตำรวจแห่งชาติ ที่เราเรียกร้องปฏิรูปตำรวจ คือเราต้องการปฏิรูประบบทั้งหมดไม่ใช่ปฏิรูปเฉพาะตำรวจแห่งชาติ สนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ก็ได้มีมติโอนตำรวจ 9 หน่วย ไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ระบบตำรวจของเราที่มีปัญหาเพราะเอาความคิดแบบกองทัพ แบบทหารมาใช้กับตำรวจ ทั้งโครงสร้าง องค์กร วัฒนธรรม การบังคับบัญชา ระบบวินัย ซึ่งนำมาชี้นำการสอบสวน โดยพนักงานสอบสวนต้องอิสระทำตามไปพยานและหลักฐาน ซึ่งขัดกับพนักงานสอบสวน

พ.ต.อ. วิรุตม์ กล่าวต่อว่า การปฏิรูปตำรวจมีรายละเอียดเยอะ ถ้าแยกงานสอบสวนออกไป ตำรวจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเอง สังกัดกระทรวงยุติธรรมตั้งเป็นสำนักงานสอบสวนคดีอาญาคู่กับสำนักงานกรมสอบสวนคดีพิเศษ และตำรวจก็จะอยู่เหมือนเดิม เมื่อแยกงานสอบสวนออกไปเป็นสำนักงานสอบสวนคดีอาญา กรมนี้ก็จะมีการสอบสวน มีสายงานที่บังคับบัญชาไป โดยงานสอบสวนมีลักษณะเดียวกับอัยการ และเรื่องการปฏิรูปตำรวจมีอยู่ 2 ประเด็น คือ กับดักการปฏิรูปว่าใครจะมาปฏิรูปก็จะตกกับดัก ได้เงินน้อย งบประมาทไม่พอ และอีกเรื่องสำคัญคือ ตำรวจรู้เรื่องดีก็ให้มาปฏิรูปซึ่งไม่มีใครกล้า ซึ่งเป็นหลักคิดที่ผิด โดยการปฏิรูปต้องมาจากประชาชน และต้องไม่ฟังเสียงตำรวจ โดยเฉพาะตำรวจผู้ใหญ่ที่มีกล้าพูด ผมขอเรียกว่า "รำวงปฏิรูปตำรวจ" แต่เป้าหมายไม่ต้องการปฏิรูป สิ่งที่อยากปฏิรูปจริงๆ คือ การแยกงานสอบสวนให้เป็นอิสระหยุดส่วยด้วยการแยกงานสอบสวน

ด้านนายวัชระ กล่าวทิ้งท้ายว่า เมื่อวานนี้พบได้เข้าพบกับแม่ทัพภาคที่ 1 และพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการปฏิรูปตำรวจ แต่ท่านหัวเราะเพราะเข้าใจในการปฏิรูปตำรวจ โดยท่านพูดว่า ที่ยังปฏิรูปไม่ได้ตอนนี้เพราะว่าสถาบันของเขาตั้งมาเก่าแก่ยาวนาน คือ โรงเรียนที่ผลิตนักเรียนนายร้อยทั้งหลาย ซึ่งทำให้การปฏิรูปตำรวจยังไปไม่ถึงไหน ต้องอยู่ด้วยความหวังว่าเราสามารถที่จะแยกงานสอบสวนจากสำนักตำรวจแห่งชาติได้ และสามารถที่จะทำจริงได้ ไม่ได้เลื่อนลอย และมีหลักการ ซึ่งสามารถทำได้อย่างแน่นอน ถ้าพี่น้องประชาชนร่วมใจกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น