xs
xsm
sm
md
lg

ทุกข์ร้อนของ 7 วิชาชีพทางการแพทย์! จัดสรรตำแหน่งไม่พอต่อปชช.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


รายการสภากาแฟเวทีชาวบ้าน แขกรับเชิญ สมคิด เพื่อนรัมย์ ประธานชมรมกายภาพบำบัดชุมชน แห่งประเทศไทย (แกนนำเครือข่าย 7 สหวิชาชีพ) นิทัศน์ น้อยจันอัด ชมรมเทคนิคการแพทย์โรงพยบาลชุมชุน กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลหนองหาน อุดรธานี และผู้ได้รับผลกระทบ



เมื่อวันที่ 25 พ.ค. นายมคิด เพื่อนรัมย์" ประธานชมรมกายภาพบำบัดชุมชน แห่งประเทศไทย (แกนนำเครือข่าย 7 สหวิชาชีพ) พร้อมด้วย นายนิทัศน์ น้อยจันอัด ชมรมเทคนิคการแพทย์โรงพยบาลชุมชุน กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลหนองหาน อุดรธานี และผู้ได้รับผลกระทบ ร่วมเปิดประเด็นในรายการ "สภากาแฟเวทีชาวบ้าน"

นายสมคิด เพื่อนรัมย์ กล่าวว่า ความทุกข์ใจของผู้ที่จบนักกายภาพบำบัด มีพี่น้องที่เป็นนักกายภาพบำบัดทำงานในชุมชนได้ผลกระทบเรื่องของการจัดสรรตำแหน่ง ของกระทรวงสาธารณสุข เพราะตอนนี้มีปัญหาคือ นักกายภาพบำบัดหลายๆ โรงพยาบาลตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบันนี้ มี 1,445 คน ที่ยังไม่ได้บรรจุแต่งตั้ง

นายสมคิด เพื่อนรัมย์ กล่าวเพิ่มว่า ซึ่งปัญหาหลักคือการไม่มั่นคงในชีวิต ที่มีทั้งภาระงานเพื่อมากขึ้น เพราะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขก็รู้ปัญหานี้ มีการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน จริงๆ แล้วอัตตรานักกายภาพบำบัดต้องมีถึง 5,580 กว่าอัตตรา ปัจจุบันทั่วประเทศมีอัตตรากำลังแค่ 2,772 คน นักกายภาพ 1 คน ต้องรับผิดชอบดูแลประมาณ 24,000 คน ซึ่งทำให้มีคนไม่เพียงพอ ใน 2,700 กว่าคน มีรับราชการ 1,445 คน ทำให้มีผลกระทบหลายด้านทั้งขวัญและกำลังใจ อยากขอความเป็นธรรม อยากขอความเห็นใจ กระทรวงสาธาณสุขที่ดูแลเราอยู่ซึ่งได้มีการยืนหนังสือเมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา ต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้รู้ถึงปัญหาเราว่าเรามีความทุกข์ยังไง

นายนิทัศน์ น้อยจันอัด กล่าวว่า สำหรับ 7 วิชาชีพทางการแพทย์ ประกอบด้วย นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ รังสีการแพทย์ เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก นักเวชศาสตร์สื่อความหมาย นักกิจกรรมบำบัด ทรัพยากรการผลิตยังน้อย แต่ยังมีความจำเป็นเพื่อดูแลพี่น้องประชาชน

อานีซ๊ะ ดีแม นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลศูนย์ยะลา กล่าวว่า ทำงานสายวิชาชีพนี้มาได้ 10 ปี จบจากมหาวิทยาลัยรังสิตปี 2549 ในตอนแรกที่จบครอบครัวอยากให้ทำงานในกรุงเทพ แต่เราเป็นคนพื้นที่ต้องไปทำหน้าที่ตรงนั้น ในมนุษย์คนหนึ่งต้องเริ่มจากแรกเกิด เช่น เด็กบางคนไม่สมประกอบ มีเป็นดาวน์ซินโดรม นักกายภาพบำบัดก็จะมีส่วนเกี่นวข้องในการพัฒนาชีวิต ช่วงวัยรุ่น ก็จะเป็นเด็กวัยรุ่นที่มีเรื่องมีปากเสียงกันจนเป็นอัมพฤกษ์ ก็ต้องได้นักกายภาพบำบัดคอยดูแล ช่วงผู้ใหญ่ในวัย 40 ปี บางท่านมีอาการที่จะต้องรักษาแบบกายภาพบำบัด แต่มีปัญหาในการเดินทาง ค่าครองชีพ จึงต้องมีโครงการเยี่ยมบ้าน ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลศูนย์ยะลาที่เดียว แต่มีโรงพยาบาลต่างอำเภอที่มีโครงนี้เช่นกัน ส่วนตำแหน่งงานเรียกว่า พนักงานกระทรวงหรือลูกจ้าง ซึ่งสิทธิ์ไม่ต่างจากลูกจ้างทั่วไป เงินเดือน 15,000 บาท แต่ในปีแรกเริ่มที่ 10,030 บาท เพิ่งมีการปรับขึ้นเมื่อปีกว่าๆ และสภาพความเป็นอยู่ตอนนี้ เราอยู่ต่างอำเภอต้องเข้ามาทำในเมืองระยะเดินทาง 60 กิโลเมตรไปกลับ และไม่มีค่าเสี่ยงภัย ต้องทุกข์ทนถึง 10 ปี

นายสมคิด เพื่อนรัมย์ กล่าวต่อว่า นักกายภาพบำบัดที่อยู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ร่วมงานกับหมอและพยาบาล บางคนที่ไม่รับราชการก็จะไม่มีเบี้ยเสี่ยงชีวิต พนักกระทรวงหรือลูกจ้าง เงินเดือน 15,000 บาท ตอนแรก 10,030 บาท เพิ่งมีการปรับขึ้นไม่กี่ปีที่ผ่านมา

นักเทคนิคการแพทย์หญิงวนิดา แคนสา จากโรงพยาบาลบ้านผื้อ จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า หน้าที่ของนักเทคนิคการแพทย์ คือกระทำต่อสิ่งมนุษย์ให้ได้สิ่งส่งตรวจ สิ่งส่งตรวจคือ อุจจาระ ปัสสวะ เลือด น้ำหนองต่างๆ เพื่อเรานำมาใช้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลออกมาวินิจฉัย ติดตามโรค ไปจนถึงการป้องกันโรค ทำตั้งแต่ปี 2554 ยังไม่ได้บรรจุ เป็นลูกจ้างมา 6 ปี งานส่วนใหญ่เป็นงานหนักคือ คนไข้เรื้อรัง คนไข้เบาหวาน มาโรงพยาบาลต้องมีการมีเจาะเลือดทุกคนซึ่งมาไม่ต่ำกว่า 200 กว่าคน วันที่ทำงานทำจันทร์-ศุกร์ เป็นปกติ และบางทีต้องมีเวรดึกจนถึงเช้าก็บริการคนไข้เหมือนเดิม เพราะในหนึ่งวันเราต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ตามนโยบายของโรงพยาบาล

นายสมคิด เพื่อนรัมย์ กล่าวว่า 7 วิชาชีพ เราถูกผลิตขึ้นมาเพื่อบริการประชาชน แต่มีข้อจำกัดบางอย่างที่ทั้ง 7 วิชาชีพ มีผลกระทบคล้ายกัน คือ ปริมาณงานที่มีกับคนที่สอดคล้องกันไม่เท่ากัน อยากให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบปัญหานี้ และพรุ่งนี้ วันที่ 26 พ.ค. เวลา 08.00 ที่กระทรวงสาธารณสุข โดย 7 วิชาชีพ จะมาขอติดตาม พบผู้บริหารที่เราได้ยืนเรื่องไปก่อนหน้านี้ ว่าพวกเรามีความเดือดร้อน อยากให้กระทรวงเห็นใจช่วยเหลือ นักกายภาพบำบัด และวิชาชีพอื่นๆ ในการจัดสรรตำแหน่งให้พอดี

นายนิทัศน์ น้อยจันอัด กล่าวว่า น้องทุกๆ วันนี้ ได้รับเงินเดือน เดือนละ 11,470 บาท จบปริญาตรี มีสวัสดิการแค่ประกันสังคม แต่ต้องจ่ายประกันสังคมด้วย ได้รับสวัสดิการที่แต่ต่างจากวิชาชีพอื่น ทำให้ไม่มีขวัญกำลังใจในการทำงานในการเป็นลูกจ้าง โดยการเป็นลูกจ้างจะได้เลื่อนเงินเดือนปีละครั้งจำนวน 300 -500 บาท แต่ถ้าน้องๆ ได้บบรจุเป็นข้าราชการฐานเงินเดือนก็จะขึ้นเรื่อยๆ โดยการทำงานของเทคนิคการจะเริ่มตั้งแต่ 6.30 ก่อนวิชาชีพอื่นๆ

สมคิด อยากให้ผู้ใหญ่จัดสรรกำลังให้มีเท่าเทียมและทั่วถึง หรือความใกล้เคียง ให้เดินไปด้วยกันไม่อยากให้ปล่อยวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งไว้ข้างหลัง อยากให้ระบบสุขภาพไทยก้าวไปด้วยกัน เราไม่ได้มีเจตนาจะประท้วง แต่มาเรื่องร้องขอความเป็นธรรมและความเห็นใจว่า เราอยากให้ท่านพิจารณาถึงกลุ่ม 7 วิชาชีพ ที่ได้รับผลกระทบจริงๆ

อานีซ๊ะ ดีแม นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลศูนย์ยะลา กล่าวเพิ่มว่า ขอขอบคุณพี่ๆ น้องๆ ทั้ง 12 เขต ที่ได้ลงขันกันออกค่าเครื่องบินในการเดินทางมาครั้งนี้ เพื่อมายืนหนังสือให้กระทรวงสาธาณสุขอีกครั้ง โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเป็นประจำตามสถานพยาบาล เทคนิคการแพทย์มา บางท่านติดเวรก็ไม่สามารถมาได้ งบที่เดินทางมาไม่ได้มีการเบิกกับหน่วยที่เกี่ยวข้องใดใด

โดยในวันที่ 26 พ.ค.ตัวแทนจาก 7 วิชาชีพ จำนวน 200 กว่าชีวิตทั่วประเทศ จะขอยืนหนังสือต่อกระทรวงสาธารณสุขอีกครั้ง ถึงความทุกข์ที่ 7 วิชาชีพได้รับความเดือดร้อน ซึ่งในครั้งนี้เป็นการทวงถามความคืบหน้าขอเรื่องราวที่ยืนหนังสือไป
กำลังโหลดความคิดเห็น