xs
xsm
sm
md
lg

ดอกเบี้ยต่ำแล้วต่ำอีก ลงทุนอย่างไรดี

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


โดยทีมจัดการการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด

“อยากออมเงิน แต่เห็นดอกเบี้ยเงินฝากแล้วก็เหนื่อยใจ”
“ฝากเงินมาตั้งหนึ่งปี ทำไมได้ดอกเบี้ยแค่นี้”
“ทำไมเงินฝากของเราโตช้าจัง”

คำถามเหล่านี้น่าจะเป็นคำถามของใครหลายคนที่ชอบฝากเงินไว้กับธนาคาร อาจเป็นเพราะเราเติบโตมาด้วยความคุ้นเคยกับการฝากเงิน และเชื่อมั่นว่าธนาคารที่เราฝากเงินนั้นมีความมั่นคงสูง อย่างไรก็ดี วันนี้เรามีอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการออมเงินมาแนะนำ เผื่อไว้ให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเป็นทางเลือกนะครับ

ก่อนอื่นขอตอบคำถามที่ว่า ทำไมดอกเบี้ยเงินฝากถึงได้ต่ำขนาดนี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ในช่วงที่ชะลอตัว ทำให้ธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก ต่างใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายทางการเงินแบบยืดหยุ่น ซึ่งหนึ่งในมาตรการดังกล่าว ก็คือการลดดอกเบี้ยลงนั่นเอง โดยหวังว่า การที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำนั้น จะเป็นการกระตุ้นให้คนนำเงินออกมาจับจ่ายใช้สอย รวมถึงกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ กู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อไปลงทุนขยายธุรกิจ ทำให้เงินเข้าไปหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น และท้ายที่สุดก็จะทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น เศรษฐกิจก็จะดีขึ้น

ในมุมของผู้ประกอบการทำธุรกิจ ก็คงจะดีไม่น้อย ถ้าต้นทุนการกู้ยืมเงินของบริษัทต่ำลง บริษัทก็คงจะสามารถทำกำไรได้มากขึ้น แต่ในมุมของคนออมเงินล่ะ ผลตอบแทนของการฝากเงินนั้นแทบไม่เพียงพอแม้แต่จะเอาชนะเงินเฟ้อได้เลย เงินเฟ้อนี้แหละที่เป็นตัวลดทอนอำนาจซื้อของเงินเรา นั่นคือ ถ้าเรามีเงินจำนวนเท่าเดิม เราก็อาจจะซื้อของชิ้นเดิมในอนาคตไม่ได้ แล้วควรทำอย่างไรไม่ให้เงินออมของเราด้อยค่าลงไปในอนาคต ตำตอบก็คือการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ แล้วอะไรคือสินทรัพย์ที่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ เราลองมาดูกันนะครับ

1.พันธบัตรรัฐบาล การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลนับเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด เพราะลูกหนี้ของเราคือรัฐบาล โอกาสที่รัฐบาลจะผิดนัดชำระหนี้เรานั้นมีน้อยมาก แต่อัตราผลตอบแทนที่เราได้รับก็จะน้อยด้วยเช่นกัน

2.หุ้นกู้ภาคเอกชน เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน ลูกหนี้ของเราก็คือบริษัทผู้ออกตราสาร ซึ่งผลตอบแทนของหุ้นกู้ภาคเอกชนก็จะสูงกว่าผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล และความเสี่ยงก็จะสูงกว่าด้วยเช่นกัน สิ่งสำคัญสำหรับการลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนก็คือ การพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร เนื่องจากความมั่นคงทางการเงินของบริษัทเหล่านี้ก็แตกต่างกันออกไป เราจะดูเพียงอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกให้เพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องดูความเสี่ยงของบริษัทควบคู่กันไปด้วย โดยอาจจะเริ่มจากการศึกษาข้อมูลในงบการเงินของบริษัทก่อนว่า บริษัทมีภาระหนี้สินมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับส่วนของทุน รวมถึงบริษัทมีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืนมากน้อยไปเพียงใด โดยอัตราส่วนทางการเงินหลักๆ ที่ควรต้องพิจารณาก่อนการลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชน ได้แก่ อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio), อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) และอัตราส่วนวัดความสามารถในการชำระหนี้ (Debt Service Coverage Ratio) เป็นต้น

3.กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากการลงทุนตรงในพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ภาคเอกชนส่วนมาก มักจะต้องใช้จำนวนเงินต่อครั้งที่สูง ยกตัวอย่างเช่น กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำต่อการซื้อตราสาร 1 ใบไว้ที่ 1 แสนบาท หรือ 1 ล้านบาท ทำให้โอกาสในการลงทุนก็จะทำได้ยากขึ้น ขณะที่การลงทุนในกองทุนรวม อาจจะใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 1,000 บาท ก็สามารถลงทุนได้ ที่สำคัญ การลงทุนในกองทุนรวมจะช่วยกระจายความเสี่ยงของเงินลงทุน เนื่องจากในพอร์ตกองทุนรวมก็จะประกอบไปด้วยตราสารที่ออกโดยผู้ออกหลายๆ บริษัท หากผู้ออกตราสารรายใดรายหนึ่งมีปัญหาในการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น ก็จะกระทบต่อเงินลงทุนของเราเพียงบางส่วน แต่หากเราลงทุนตรงในหุ้นกู้ภาคเอกชนเพียงรายเดียว แล้วบริษัทนั้นเกิดมีปัญหาในการชำระหนี้คืน เราอาจจะต้องสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดก็เป็นได้
สำหรับนักลงทุนมือใหม่ การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากอาจจะยังมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอ การมีผู้จัดการกองทุน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนและมีการติดตามผลประกอบการของบริษัทผู้ออกตราสารอย่างสม่ำเสมอ คอยช่วยคัดสรรหุ้นกู้ของบริษัทที่มีคุณภาพเข้ามาในพอร์ต ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการลงทุนไปได้มากเช่นกัน

4.กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนประเภทนี้มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกับตราสารหนี้ในแง่ของการจ่ายผลตอบแทนที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ เนื่องจากทรัพย์สินที่กองทุนเข้าไปลงทุน มักเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในช่วงที่รายได้เริ่มคงที่แล้ว ทำให้มีรายได้รับที่แน่นอนและสามารถจ่ายเงินปันผลออกมาได้อย่างสม่ำเสมอ แต่จะต่างจากตราสารหนี้ตรงที่เงินปันผลในแต่ละงวดอาจจะมากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของทรัพย์สินที่กองทุนนั้นถืออยู่
โดยส่วนมากกองทุนประเภทนี้ มักให้ผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ แต่ก็จะแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงกว่าเช่นกัน เนื่องจากกองทุนประเภทนี้มักจะมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งราคาสามารถผันผวนขึ้นลงได้ตามสภาวะตลาด ดังนั้น กองทุนนี้จึงเหมาะสำหรับคนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง และต้องการผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ หรือคนที่ต้องการเพิ่มผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ต แต่อาจจะยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นไม่ได้

5.กองทุนรวมผสม เป็นกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป ข้อดีของการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท ก็คือการช่วยสร้างสมดุลให้กับพอร์ต ในบางช่วงเวลาอาจมีปัจจัยที่เข้ามากระทบสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง ทำให้ผลตอบแทนของสินทรัพย์นั้นลดลง แต่ก็ยังมีสินทรัพย์อีกประเภทหนึ่งที่ยังให้ผลตอบแทนที่ดี ช่วยให้ทั้งพอร์ตการลงทุนยังเติบโตได้ ยกตัวอย่างเช่น กองทุนผสมที่ลงทุนในตราสารหนี้และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ จะเห็นได้ว่า ในสภาวะดอกเบี้ยต่ำอย่างเช่นในปัจจุบัน การลงทุนในตราสารหนี้เพียงอย่างเดียว ก็อาจจะทำให้เงินลงทุนของเรานั้นเติบโตได้ช้า แต่หากเราเพิ่มการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เข้าไปบางส่วน ก็จะช่วยให้พอร์ตของเราเติบโตได้เร็วขึ้น และสามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ด้วย

บลจ.ทิสโก้ มีการออกแบบกองทุนรวมแบบผสมหลายสินทรัพย์ เพื่อรองรับระดับของการยอมรับความเสี่ยงของนักลงทุนที่แตกต่างกัน สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ เรามีกองทุนเปิด TISCO Conservative Income - Equity Zero Fund หรือ TCIEZERO ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ ทั้งพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน รวมถึงมีการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มให้กับกองทุน
กำลังโหลดความคิดเห็น