คปภ.แนะบริษัทประกันเตรียมพร้อมรับประกันภัยธุรกิจ SME หลังรัฐเร่งส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กเป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ระบุผู้ประกอบการ 2.7 ล้านรายทั่วประเทศมีการทำประกันฯ ไม่ถึง 1% และเป็นตลาดที่น่าสนใจ เหตุแนวโน้มโตตามฐานะการเงิน และเม็ดเงินที่มากขึ้นจากการส่งเสริมของภาครัฐ
นางคนึงนิจ สุจิตจร ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย สำนักงาน คปภ.เปิดเผยว่า นโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนภาคธุรกิจเอสเอ็มอีเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบการประกันภัยมากขึ้น ดังนั้นบริษัทประกันภัยจึงควรต้องเตรียมตัวรองรับตลาดประกันภัยสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีที่คาดว่าจะขยายตัวมากขึ้น โดยปัจจุบันการทำประกันภัยของธุรกิจเอสเอ็มอีมีไม่ถึง 1% ของจำนวนเอสเอ็มอีทั้งหมดที่มีอยู่ประมาณ 2.7 ล้านรายทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอีถือเป็นหัวจักรสำคัญอันหนึ่งที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ การที่ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนเอสเอ็มอีจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมอีกด้วย นอกจากนี้จะทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยเหล่านี้มีฐานะการเงินดีขึ้น มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น และเชื่อว่าผู้ประกอบการจะกันเม็ดเงินส่วนหนึ่งมาทำประกันภัยเพื่อบริหารความเสี่ยงให้กับธุรกิจของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีการทำประกันภัยน้อย ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และอาจยังไม่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้ระบบประกันภัยบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ ดังนั้น คปภ.จึงมีนโยบายเน้นการให้ความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของการทำประกันภัยต่อการประกอบกิจการของเอสเอ็มอีมากขึ้น
นางคนึงนิจ กล่าวอีกว่า ในส่วนของบริษัทประกันภัยนั้น ควรเตรียมการรองรับลูกค้าเอสเอ็มอีที่จะเข้าสู่ระบบประกันภัยมากขึ้น รวมถึงความหลากหลายของธุรกิจเอสเอ็มอีที่จะมีมากขึ้นเช่นกัน บริษัทประกันภัยในฐานะผู้ออกกรมธรรม์ จึงต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการ และเหมาะสมกับธุรกิจของเอสเอ็มอี เพราะนอกจากจะดึงดูดความน่าสนใจแล้วยังเป็นการบริหารความเสี่ยงให้แก่บริษัทประกันภัยเองด้วย
“ธุรกิจเอสเอ็มอีมีหลายประเภท บริษัทประกันภัยเองก็ต้องเตรียมความพร้อมในการรับความเสี่ยงสำหรับธุรกิจนั้นๆ ได้มากมายเพียงใดและอาจจะต้องมีการกระจายความเสี่ยงด้วยการทำประกันภัยต่อไปยังต่างประเทศ การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและความพร้อมของบริษัท จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะบริหารความเสี่ยงของตนด้วย”นางคนึงนิจกล่าว
ขณะที่ความคุ้มครองจากการทำประกันภัย ซึ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรให้ความสำคัญ คือ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน การประกันภัยโจรกรรม การประกันภัยสำหรับเงิน การประกันภัยอุบัติเหตุในสถานประกอบการ การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบันมีกรมธรรม์ประกันภัยขายเป็นแบบแพกเกจให้ผู้ประกอบการ SME เลือกตามความเสี่ยง
นางคนึงนิจ สุจิตจร ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย สำนักงาน คปภ.เปิดเผยว่า นโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนภาคธุรกิจเอสเอ็มอีเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบการประกันภัยมากขึ้น ดังนั้นบริษัทประกันภัยจึงควรต้องเตรียมตัวรองรับตลาดประกันภัยสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีที่คาดว่าจะขยายตัวมากขึ้น โดยปัจจุบันการทำประกันภัยของธุรกิจเอสเอ็มอีมีไม่ถึง 1% ของจำนวนเอสเอ็มอีทั้งหมดที่มีอยู่ประมาณ 2.7 ล้านรายทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอีถือเป็นหัวจักรสำคัญอันหนึ่งที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ การที่ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนเอสเอ็มอีจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมอีกด้วย นอกจากนี้จะทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยเหล่านี้มีฐานะการเงินดีขึ้น มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น และเชื่อว่าผู้ประกอบการจะกันเม็ดเงินส่วนหนึ่งมาทำประกันภัยเพื่อบริหารความเสี่ยงให้กับธุรกิจของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีการทำประกันภัยน้อย ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และอาจยังไม่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้ระบบประกันภัยบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ ดังนั้น คปภ.จึงมีนโยบายเน้นการให้ความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของการทำประกันภัยต่อการประกอบกิจการของเอสเอ็มอีมากขึ้น
นางคนึงนิจ กล่าวอีกว่า ในส่วนของบริษัทประกันภัยนั้น ควรเตรียมการรองรับลูกค้าเอสเอ็มอีที่จะเข้าสู่ระบบประกันภัยมากขึ้น รวมถึงความหลากหลายของธุรกิจเอสเอ็มอีที่จะมีมากขึ้นเช่นกัน บริษัทประกันภัยในฐานะผู้ออกกรมธรรม์ จึงต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการ และเหมาะสมกับธุรกิจของเอสเอ็มอี เพราะนอกจากจะดึงดูดความน่าสนใจแล้วยังเป็นการบริหารความเสี่ยงให้แก่บริษัทประกันภัยเองด้วย
“ธุรกิจเอสเอ็มอีมีหลายประเภท บริษัทประกันภัยเองก็ต้องเตรียมความพร้อมในการรับความเสี่ยงสำหรับธุรกิจนั้นๆ ได้มากมายเพียงใดและอาจจะต้องมีการกระจายความเสี่ยงด้วยการทำประกันภัยต่อไปยังต่างประเทศ การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและความพร้อมของบริษัท จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะบริหารความเสี่ยงของตนด้วย”นางคนึงนิจกล่าว
ขณะที่ความคุ้มครองจากการทำประกันภัย ซึ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรให้ความสำคัญ คือ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน การประกันภัยโจรกรรม การประกันภัยสำหรับเงิน การประกันภัยอุบัติเหตุในสถานประกอบการ การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบันมีกรมธรรม์ประกันภัยขายเป็นแบบแพกเกจให้ผู้ประกอบการ SME เลือกตามความเสี่ยง