บลจ.กสิกรไทยเปิดขายกองทุนตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนสูงสุด 2.55% ต่อปี เปิดเสนอขาย 10-16 กุมภาพันธ์ 2558 มองเงินเฟ้อต่ำ การส่งออกชะลอ อาจเกิดการลดดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีแรกได้
นางสาวยุพาวดี ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในวันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ 2558 บลจ.กสิกรไทยจะเปิดเสนอขายกองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ 6 เดือน ซีพี (KFI6MCP) ประมาณการผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายกองทุนที่ 2.30% ต่อปี
และกองทุนเปิดเค เอ็นแฮนซท์ ตราสารหนี้ 6 เดือน เอช (KEFI6MH) ประมาณการผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายกองทุนที่ 2.55% ต่อปี โดยกองทุนดังกล่าวมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน
และสำหรับผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาไม่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทยยังได้เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนต่อเนื่องให้ผู้ถือหน่วยลงทุนกับกองทุนตราสารหนี้แบบที่มีกำหนดอายุโครงการ (Fixed Term Fund) ของ บลจ.กสิกรไทย ซึ่งเมื่อกองทุนครบกำหนดอายุโครงการ บริษัทจัดการจะนำเงินค่าขายคืนอัตโนมัติไปซื้อหน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนเลือกได้กองทุนใดกองทุนหนึ่งใน 3 กองทุน คือ กองทุนเปิดเค ตลาดเงิน (K-MONEY) กองทุนเปิดเค ตราสารรัฐระยะสั้น (K-TREASURY) หรือกองทุนเปิดเค เอ็มพลัส (K-MPLUS) ซึ่งอยู่ในกลุ่มกองทุนรวมตราสารหนี้ของ บลจ.กสิกรไทย เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
สำหรับตราสารหนี้ที่กองทุนเปิดเค เอ็นแฮนซท์ ตราสารหนี้ 6 เดือน เอช (KEFI6MH) จะเข้าไปลงทุนในเบื้องต้นประกอบด้วย เงินฝาก Bank of China, เงินฝาก Akbank T.A.S., ประเทศตุรกี, ตราสารหนี้ Yapi Kredi Bankasi A.S., ประเทศตุรกี และตราสารหนี้ Banco ABC Brasil S.A., ประเทศบราซิล นอกจากนี้ยังลงทุนในตราสารหนี้ประเทศไทยของธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
โดยกองทุนดังกล่าวมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน และเป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มีสินทรัพย์ในการลงทุนสูงและสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยผู้ลงทุนต้องลงทุนด้วยเงินขั้นต่ำ 1,000,000 บาท
อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุนทั่วไปที่ยอมรับความเสี่ยงได้ต่ำ แต่ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่าการลงทุนกับตราสารหนี้ภายในประเทศเพียงอย่างเดียว
บลจ.กสิกรไทยขอแนะนำกองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ 6 เดือน ซีพี (KFI6MCP) ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะลงทุนในเงินฝาก Bank of China, เงินฝาก China Construction Bank Corporation, ตราสารหนี้ Standard Bank of South Africa, ประเทศแอฟริกาใต้ และตราสารหนี้ Bank of East Asia Ltd. นอกจากนี้ยังลงทุนในตราสารหนี้ประเทศไทยของธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
โดยตราสารที่กล่าวมามีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) และกองทุนดังกล่าวมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน ทั้งนี้ผู้ลงทุนสามารถลงทุนด้วยเงินขั้นต่ำเพียง 5,000 บาท
ด้านมุมมองการลงทุนและเศรษฐกิจในช่วงนี้ นางสาวยุพาวดีกล่าวว่า สำหรับมุมมองการลงทุนภายในประเทศ จากการที่คาดการณ์ตัวเลขการส่งออกของไทยคาดว่าจะออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงปัจจัยเรื่องอัตราเงินเฟ้อของไทยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ จึงอาจมีผลทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) สามารถพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้ภายในช่วงครึ่งปีแรก
ด้านสถานการณ์เศรษฐกิจในต่างประเทศ ยังคงมีความกังวลในเรื่องกรีซ ซึ่งคาดว่าจะมีความเสี่ยงจากการถอดตัวออกจากกลุ่ม EU โดยล่าสุด S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงสู่ระดับ B- จาก B ซึ่งถือเป็นระดับ Junk Bond และมีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม กองทุนตราสารหนี้ของ บลจ.กสิกรไทย ปัจจุบันไม่มีลงทุนในตราสารหนี้ดังกล่าว จึงไม่มีผลกระทบต่อกองทุนแต่อย่างใด
นางสาวยุพาวดี ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในวันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ 2558 บลจ.กสิกรไทยจะเปิดเสนอขายกองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ 6 เดือน ซีพี (KFI6MCP) ประมาณการผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายกองทุนที่ 2.30% ต่อปี
และกองทุนเปิดเค เอ็นแฮนซท์ ตราสารหนี้ 6 เดือน เอช (KEFI6MH) ประมาณการผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายกองทุนที่ 2.55% ต่อปี โดยกองทุนดังกล่าวมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน
และสำหรับผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาไม่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทยยังได้เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนต่อเนื่องให้ผู้ถือหน่วยลงทุนกับกองทุนตราสารหนี้แบบที่มีกำหนดอายุโครงการ (Fixed Term Fund) ของ บลจ.กสิกรไทย ซึ่งเมื่อกองทุนครบกำหนดอายุโครงการ บริษัทจัดการจะนำเงินค่าขายคืนอัตโนมัติไปซื้อหน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนเลือกได้กองทุนใดกองทุนหนึ่งใน 3 กองทุน คือ กองทุนเปิดเค ตลาดเงิน (K-MONEY) กองทุนเปิดเค ตราสารรัฐระยะสั้น (K-TREASURY) หรือกองทุนเปิดเค เอ็มพลัส (K-MPLUS) ซึ่งอยู่ในกลุ่มกองทุนรวมตราสารหนี้ของ บลจ.กสิกรไทย เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
สำหรับตราสารหนี้ที่กองทุนเปิดเค เอ็นแฮนซท์ ตราสารหนี้ 6 เดือน เอช (KEFI6MH) จะเข้าไปลงทุนในเบื้องต้นประกอบด้วย เงินฝาก Bank of China, เงินฝาก Akbank T.A.S., ประเทศตุรกี, ตราสารหนี้ Yapi Kredi Bankasi A.S., ประเทศตุรกี และตราสารหนี้ Banco ABC Brasil S.A., ประเทศบราซิล นอกจากนี้ยังลงทุนในตราสารหนี้ประเทศไทยของธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
โดยกองทุนดังกล่าวมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน และเป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มีสินทรัพย์ในการลงทุนสูงและสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยผู้ลงทุนต้องลงทุนด้วยเงินขั้นต่ำ 1,000,000 บาท
อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุนทั่วไปที่ยอมรับความเสี่ยงได้ต่ำ แต่ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่าการลงทุนกับตราสารหนี้ภายในประเทศเพียงอย่างเดียว
บลจ.กสิกรไทยขอแนะนำกองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ 6 เดือน ซีพี (KFI6MCP) ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะลงทุนในเงินฝาก Bank of China, เงินฝาก China Construction Bank Corporation, ตราสารหนี้ Standard Bank of South Africa, ประเทศแอฟริกาใต้ และตราสารหนี้ Bank of East Asia Ltd. นอกจากนี้ยังลงทุนในตราสารหนี้ประเทศไทยของธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
โดยตราสารที่กล่าวมามีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) และกองทุนดังกล่าวมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน ทั้งนี้ผู้ลงทุนสามารถลงทุนด้วยเงินขั้นต่ำเพียง 5,000 บาท
ด้านมุมมองการลงทุนและเศรษฐกิจในช่วงนี้ นางสาวยุพาวดีกล่าวว่า สำหรับมุมมองการลงทุนภายในประเทศ จากการที่คาดการณ์ตัวเลขการส่งออกของไทยคาดว่าจะออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงปัจจัยเรื่องอัตราเงินเฟ้อของไทยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ จึงอาจมีผลทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) สามารถพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้ภายในช่วงครึ่งปีแรก
ด้านสถานการณ์เศรษฐกิจในต่างประเทศ ยังคงมีความกังวลในเรื่องกรีซ ซึ่งคาดว่าจะมีความเสี่ยงจากการถอดตัวออกจากกลุ่ม EU โดยล่าสุด S&P ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงสู่ระดับ B- จาก B ซึ่งถือเป็นระดับ Junk Bond และมีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม กองทุนตราสารหนี้ของ บลจ.กสิกรไทย ปัจจุบันไม่มีลงทุนในตราสารหนี้ดังกล่าว จึงไม่มีผลกระทบต่อกองทุนแต่อย่างใด