บลจ.ยูโอบีเชื่อหุ้นไทย-ญี่ปุ่นเติบโตระยะยาวแม้ตลาดโลกผันผวน ระบุไทยมีปัจจัยบวกจากโครงการภาครัฐหนุนตลาด ส่วนญี่ปุ่นยังมีสัญญาณการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดโชว์ 2 กองทุนทริกเกอร์ทั้งไทย-ญี่ปุ่นทำผลงานแจ่มเข้าเป้าหมายแรก 3% และ 4% หลังเปิดขายกองทุนเพียง 2 เดือน
นางสาวณัชชา สุนทรธาราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจ กล่าวว่า ล่าสุดบริษัทสามารถบริหารกองทุนเปิด ไทย ทริกเกอร์ 3% พลัส 3% (10) (T3P3(10)) และกองทุนเปิด เจแปน ทริกเกอร์ ฟันด์ 4% พลัส 4% (2) (JT4P4(2)) ซึ่งเสนอขายครั้งแรกไปเมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา สามารถสร้างผลตอบแทนถึงเป้าหมายแรกได้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือน ทั้งนี้ กองทุนจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัติโนมัติในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 และ 4 กุมภาพันธ์ 2558 ตามลำดับ
“อีกครั้งกับความสำเร็จของ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) โดยสามารถบริหารกองทุน T3P3 (10) และ JT4P4(2) เป็นไปตามเป้าหมายแรกได้สำเร็จ แม้ว่าจะนำเสนอขายในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างมาก ส่งผลต่อความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลก แต่ บลจ.ยูโอบียังคงมีความมั่นใจว่าตลาดหุ้นไทยและญี่ปุ่นยังคงมีศักยภาพการเติบโตได้ในระยะยาว”
กองทุน T3P3 (10) ได้เข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดหุ้นไทยในขณะนั้นจะมีความผันผวนจากแรงกดดันราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) มองว่าปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพียงบางกลุ่ม ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และส่งผลดีต่อหลายๆ กลุ่มธุรกิจที่มีน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตหลัก ในระยะต่อไปปัจจัยที่ยังคงต้องติดตามคือ การอนุมัติงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้มีการอนุมัติโครงการซ่อมแซมถนนทั่วประเทศมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท และงบบริหารจัดการน้ำมูลค่า 2.4 แสนล้านบาท ซึ่งสร้างบรรยากาศเชิงบวกต่อการลงทุนตลาดหุ้นไทย
ส่วน JT4P4(2) ที่ลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้น ยังคงเห็นเศรษฐกิจมีสัญญาณการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากที่นายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 และได้ผลักดันนโยบาย Abenomics อย่างต่อเนื่อง โดยการอนุมัติงบประมาณใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มอีกเป็นจำนวนเงิน 3.5 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 950,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการเติบโตของผู้บริโภคภายในประเทศ และยังคงมีการทยอยปรับสัดส่วนการลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญญี่ปุ่น (GPIF) โดยมีเป้าหมายเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารทุนที่ 25% จากเดิม 18% ซึ่งเป็นการสนับสนุนการลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นในระยะยาว
นางสาวณัชชา สุนทรธาราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจ กล่าวว่า ล่าสุดบริษัทสามารถบริหารกองทุนเปิด ไทย ทริกเกอร์ 3% พลัส 3% (10) (T3P3(10)) และกองทุนเปิด เจแปน ทริกเกอร์ ฟันด์ 4% พลัส 4% (2) (JT4P4(2)) ซึ่งเสนอขายครั้งแรกไปเมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา สามารถสร้างผลตอบแทนถึงเป้าหมายแรกได้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือน ทั้งนี้ กองทุนจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัติโนมัติในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 และ 4 กุมภาพันธ์ 2558 ตามลำดับ
“อีกครั้งกับความสำเร็จของ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) โดยสามารถบริหารกองทุน T3P3 (10) และ JT4P4(2) เป็นไปตามเป้าหมายแรกได้สำเร็จ แม้ว่าจะนำเสนอขายในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างมาก ส่งผลต่อความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลก แต่ บลจ.ยูโอบียังคงมีความมั่นใจว่าตลาดหุ้นไทยและญี่ปุ่นยังคงมีศักยภาพการเติบโตได้ในระยะยาว”
กองทุน T3P3 (10) ได้เข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดหุ้นไทยในขณะนั้นจะมีความผันผวนจากแรงกดดันราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) มองว่าปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพียงบางกลุ่ม ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และส่งผลดีต่อหลายๆ กลุ่มธุรกิจที่มีน้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตหลัก ในระยะต่อไปปัจจัยที่ยังคงต้องติดตามคือ การอนุมัติงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้มีการอนุมัติโครงการซ่อมแซมถนนทั่วประเทศมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท และงบบริหารจัดการน้ำมูลค่า 2.4 แสนล้านบาท ซึ่งสร้างบรรยากาศเชิงบวกต่อการลงทุนตลาดหุ้นไทย
ส่วน JT4P4(2) ที่ลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้น ยังคงเห็นเศรษฐกิจมีสัญญาณการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากที่นายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 และได้ผลักดันนโยบาย Abenomics อย่างต่อเนื่อง โดยการอนุมัติงบประมาณใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มอีกเป็นจำนวนเงิน 3.5 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 950,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการเติบโตของผู้บริโภคภายในประเทศ และยังคงมีการทยอยปรับสัดส่วนการลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญญี่ปุ่น (GPIF) โดยมีเป้าหมายเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตราสารทุนที่ 25% จากเดิม 18% ซึ่งเป็นการสนับสนุนการลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นในระยะยาว