xs
xsm
sm
md
lg

รู้จัก REIT Managerให้มากขึ้น ผ่าน “อมร” ผู้บริหารมือทองจาก TMAN (ชมคลิป)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ต้องยอมรับว่าเรื่องของ “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า“รีต” นั้นยังเป็นการลงทุนที่ยังแปลกใหม่สำหรับนักลงทุนไทย แม้ว่าการลงทุนจะมีอะไรหลายอย่างคล้ายกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่เราคุ้นเคยกัน แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังมีข้อข้องใจอยู่บ้าง วันนี้ “ทีมงาน ASTVผู้จัดการ” จะอาสาพาไปรู้จัก “รีต” ที่ว่านี้ และทำรู้จักกับ REIT Manager ให้มากขึ้น

<

โดย อมร จุฬาลักษณานุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทคอน แมนเนจเมนท์ จำกัด หรือ TMAN ได้เริ่มต้นว่า หลักการและวิธีการจัดการทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ รีต (REIT: REAL ESTATE INVESTMENT TRUST) นั้น สิ่งแรกคือต้องนึกถึงกองทุนอสังหาริมทรัพย์เสียก่อน กองทุนอสังหาฯ นั้นคนที่เป็นผู้จัดการกองทุน (Fund manager) ก็คือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ บลจ. ส่วนผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ (Aseet manager) นั้นก็คือผู้จัดการทรัพย์สินที่กองทุนได้ว่าจ้างไป โดยลักษณะกองทุนอสังหาฯ นี้ก็มีทรัสตี (Trustee) ด้วยเช่นกัน แต่เพียงดูแลเรื่องทั่วไปๆ รวมไปถึงเรื่องเอกสาร

แต่ในส่วนของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ รีต ทุกอย่างจะแยกออกมาอย่างชัดเจน คือตัวของผู้บริหารจัดการทรัพย์สินนั้นเข้ามาจัดการทรัพย์สินเองทั้งหมด ขณะที่ทรัสตีก็จะถูกยกระดับให้มีการควบคุมดูแลผู้บริหารจัดการของรีต สำหรับผู้บริหารจัดการนั้นจะมีทั้งผู้จัดการกองทุน และผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ โดยข้อแตกต่างนั้นก็คือ มีกฎเกณฑ์และกฎหมายควบคุมคนละแบบ

“ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ เลย ทรัสตีจะเป็นคนว่าจ้าง REIT manager หลังจากนั้น REIT manager ก็จะไปว่าจ้างผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (Property Manager) เป็นผู้ดูแลสินทรัพย์และจัดการสินทรัพย์ เช่น ทรัตส์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไทคอน ที่เรากำลังทำอยู่โฉนดและสิทธิการเช่า 45 ชิ้น จะอยู่ในชื่อของทรัสตีทั้งหมดเลยนั้นก็คือ บลจ.บัวหลวง โดย TMAN ซึ่งเป็น REIT manager ก็จะว่าจ้างผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์เข้ามาดูแล”

สำหรับ TMAN นั้น เราเป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มไทคอน โดยเป้าหมายหลักคือก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจผู้จัดการบริหารกองทรัสต์ (REIT Manager) เพื่อรองรับแนวโน้มการเติบโตของการลงทุนในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC จะส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก

ในส่วนของแผนงานต่อไปของบริษัทคือการหาพันธมิตรธุรกิจที่เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนเป็นเป้าหมายถัดไปของ TMAN เนื่องจากเรามองว่าศักยภาพประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซียนั้นยังมีสินทรัพย์ที่น่าสนใจอีกมาก ซึ่งหากข้อบังคับและกฎระเบียบมีความชัดเจนก็คาดว่าจะมีการลงทุนใหม่ๆ เกิดขึ้น

ก่อนทิ้งท้ายจากกัน อมร กล่าวว่า สำหรับทรัตส์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไทคอน (T-Rite) นั้นกำลังอยู่ในช่วงการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. คาดว่าจะสามารถเปิดไอพีโอได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ สำหรับรายละเอียดของกองรีตนี้จะมีพื้นที่ประเภทโรงงาน และคลังสินค้าให้เช่า ของกลุ่มบริษัทไทคอน ประมาณ 305 ไร่ คิดเป็น 214,523 ตารางเมตร โดยมีพื้นที่ 66% เป็นพรีโฮลด์ ส่วนที่เหลือเป็นลีสโฮลด์ โดยเรามีแผนที่จะสร้างมูลค่าของกอง REIT ให้เติบโตในระยะยาว ด้วยการเพิ่มทรัพย์สินประเภทอื่นๆ เข้ามาในอนาคต โดยเป้าหมายที่สำคัญคือ การเพิ่มขนาดของกองให้มีการเติบโตไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาทอีกด้วย



กำลังโหลดความคิดเห็น