กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นยังได้รับความนิยม บลจ.ฟินันซ่า และ บลจ.ธนชาต พร้อมใจเปิดขายหน่วยลงทุน ชูผลตอบแทนโดนใจนักลงทุน
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ฟินันซ่า กล่าวว่า เราประเมินจากการที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง จากความคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED อาจส่งผลให้ภาวะเงินทุนต่างชาติให้ไหลออกจากภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งจะเห็นมุมมองที่ชัดเจนจาก FOMC (Federal Open Market Committee) ที่มีการประชุมกันในวันอังคารถึงวันพุธนี้ ด้านสงครามยูเครนและรัสเซียที่เริ่มกลับมาปะทะกันอีกครั้งหลังจากหยุดยิงกันมา 8 วัน โดยมีออสเตรเลียและอังกฤษร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาในการจัดการกับกลุ่ม IS ยังคงสร้างความกังวลให้แก่นักลงทุน อีกทั้งแนวโน้มของประเทศไทยในมุมมองของ S&P ยังทรงตัวคือความเสี่ยงด้านเครดิตมีแนวโน้มคงที่ จากภาวะการเมืองที่ยังไม่แน่นอน และระดับรายได้ของประชาชนค่อนข้างต่ำ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนจากภาคต่างประเทศที่แข็งแกร่ง หนี้ภาครัฐไม่สูงมาก และประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่านมา ในสภาวะตลาดที่มีความผันผวนและมีแนวโน้มไปในทางลบ การลดความเสี่ยงโดยลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ประเภทครบกำหนดอายุโครงการประเภท 3 เดือนตอนนี้ จึงเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ทั้งนี้ บลจ.ฟินันซ่าจึงออกเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือน ชื่อกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรลโอเวอร์ 3เดือน5(FAM FIPR3M5) โดยมีอัตราผลตอบแทนโดยประมาณ 2.70% ต่อปี เปิดเสนอขายระหว่างวันที่ 16-23 กันยายน 57 ซึ่งเป็นกองทุนที่โรลโอเวอร์มาจากการขายกองทุนก่อนหน้านี้ เป็นกองทุน Specific fund
นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ธนชาต จำกัด กล่าวว่า จากปัจจัยเศรษฐกิจไทยที่มีทิศทางฟื้นตัวดีขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะนี้ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยมีแนวโน้มแกว่งตัวแคบๆ ในระยะสั้นบ้าง ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดและธนาคารแห่งประเทศไทยในอนาคต คาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดตราสารหนี้ในระยะกลางถึงยาวต่อไป โดยนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ และยังต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น
ขณะนี้ บลจ.ธนชาตได้เปิดขายกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ต่างประเทศอายุ 1 ปี (T-FixFIF1Y4AI) ระหว่างวันที่ 17-23 กันยายนนี้ ผลตอบแทนประมาณ 3.05% โดยเป็นกองทุนที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยเท่านั้น (AI Fund)
สำหรับตราสารหนี้ที่กองทุน T-FixFIF1Y4AI จะเข้าไปลงทุน คือเงินฝากในจีนและอินโดนีเซีย 40% ตราสารหนี้ Banco ABC Brasil / Banco BTG PACTUAL ประเทศบราซิล 20% ตราสารหนี้ที่ออกโดย Turkiye Garanti Bankasi / Turkiye Vakiflar Bankasi 20% และตราสารหนี้ที่ออกโดย Yapi Ve Kredi Bankasi / AKBank T.A.S. สัดส่วน 20% มีค่าใช้จ่ายกองทุนประมาณ 0.2300% กองทุนดังกล่าวมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน และเป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มีสินทรัพย์ในการลงทุนสูงและสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยผู้ลงทุนต้องลงทุนด้วยเงินขั้นต่ำ 500,000 บาท
ส่วนผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะเวลา 6 เดือน บลจ.ธนชาตก็อยู่ระหว่างการเสนอขาย กองทุนเปิดธนชาต Fixed Income 6M78 (TFI6M78) อายุ 6 เดือน ให้ผลตอบแทนประมาณ 2.55% เริ่มเสนอขาย 17-23 กันยายน 2557 เช่นกัน โดยกองทุนจะเข้าไปลงทุนเงินฝากธนาคารในจีนและอินโดนิเซีย สัดส่วน 44.00% หุ้นกู้ระยะสั้นของ ธ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) / ตั๋วแลกเงินของ บมจ.บัตรกรุงไทย 20% หุ้นกู้ระยะสั้นของ บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด / บริษัท ไอซีบีซีลีสซิ่ง (ไทย) จำกัด 20% หุ้นกู้ระยะสั้นของ ธ.ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) / ธ.ธนชาต จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 16% โดยประมาณค่าใช้จ่ายกองทุนที่ 0.1590%
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ฟินันซ่า กล่าวว่า เราประเมินจากการที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง จากความคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED อาจส่งผลให้ภาวะเงินทุนต่างชาติให้ไหลออกจากภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งจะเห็นมุมมองที่ชัดเจนจาก FOMC (Federal Open Market Committee) ที่มีการประชุมกันในวันอังคารถึงวันพุธนี้ ด้านสงครามยูเครนและรัสเซียที่เริ่มกลับมาปะทะกันอีกครั้งหลังจากหยุดยิงกันมา 8 วัน โดยมีออสเตรเลียและอังกฤษร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาในการจัดการกับกลุ่ม IS ยังคงสร้างความกังวลให้แก่นักลงทุน อีกทั้งแนวโน้มของประเทศไทยในมุมมองของ S&P ยังทรงตัวคือความเสี่ยงด้านเครดิตมีแนวโน้มคงที่ จากภาวะการเมืองที่ยังไม่แน่นอน และระดับรายได้ของประชาชนค่อนข้างต่ำ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนจากภาคต่างประเทศที่แข็งแกร่ง หนี้ภาครัฐไม่สูงมาก และประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่านมา ในสภาวะตลาดที่มีความผันผวนและมีแนวโน้มไปในทางลบ การลดความเสี่ยงโดยลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ประเภทครบกำหนดอายุโครงการประเภท 3 เดือนตอนนี้ จึงเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ทั้งนี้ บลจ.ฟินันซ่าจึงออกเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือน ชื่อกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรลโอเวอร์ 3เดือน5(FAM FIPR3M5) โดยมีอัตราผลตอบแทนโดยประมาณ 2.70% ต่อปี เปิดเสนอขายระหว่างวันที่ 16-23 กันยายน 57 ซึ่งเป็นกองทุนที่โรลโอเวอร์มาจากการขายกองทุนก่อนหน้านี้ เป็นกองทุน Specific fund
นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ธนชาต จำกัด กล่าวว่า จากปัจจัยเศรษฐกิจไทยที่มีทิศทางฟื้นตัวดีขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะนี้ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยมีแนวโน้มแกว่งตัวแคบๆ ในระยะสั้นบ้าง ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดและธนาคารแห่งประเทศไทยในอนาคต คาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดตราสารหนี้ในระยะกลางถึงยาวต่อไป โดยนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ และยังต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น
ขณะนี้ บลจ.ธนชาตได้เปิดขายกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ต่างประเทศอายุ 1 ปี (T-FixFIF1Y4AI) ระหว่างวันที่ 17-23 กันยายนนี้ ผลตอบแทนประมาณ 3.05% โดยเป็นกองทุนที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยเท่านั้น (AI Fund)
สำหรับตราสารหนี้ที่กองทุน T-FixFIF1Y4AI จะเข้าไปลงทุน คือเงินฝากในจีนและอินโดนีเซีย 40% ตราสารหนี้ Banco ABC Brasil / Banco BTG PACTUAL ประเทศบราซิล 20% ตราสารหนี้ที่ออกโดย Turkiye Garanti Bankasi / Turkiye Vakiflar Bankasi 20% และตราสารหนี้ที่ออกโดย Yapi Ve Kredi Bankasi / AKBank T.A.S. สัดส่วน 20% มีค่าใช้จ่ายกองทุนประมาณ 0.2300% กองทุนดังกล่าวมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน และเป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มีสินทรัพย์ในการลงทุนสูงและสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยผู้ลงทุนต้องลงทุนด้วยเงินขั้นต่ำ 500,000 บาท
ส่วนผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะเวลา 6 เดือน บลจ.ธนชาตก็อยู่ระหว่างการเสนอขาย กองทุนเปิดธนชาต Fixed Income 6M78 (TFI6M78) อายุ 6 เดือน ให้ผลตอบแทนประมาณ 2.55% เริ่มเสนอขาย 17-23 กันยายน 2557 เช่นกัน โดยกองทุนจะเข้าไปลงทุนเงินฝากธนาคารในจีนและอินโดนิเซีย สัดส่วน 44.00% หุ้นกู้ระยะสั้นของ ธ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) / ตั๋วแลกเงินของ บมจ.บัตรกรุงไทย 20% หุ้นกู้ระยะสั้นของ บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด / บริษัท ไอซีบีซีลีสซิ่ง (ไทย) จำกัด 20% หุ้นกู้ระยะสั้นของ ธ.ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) / ธ.ธนชาต จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 16% โดยประมาณค่าใช้จ่ายกองทุนที่ 0.1590%