คอลัมน์บัวหลวง Money Tips
โดยเสกสรร โตวิวัฒน์
และวรวรรณ ธาราภูมิ
กองทุนบัวหลวง
กองทุน LTF ของทั้งอุตสาหกรรมกองทุนรวมมีทั้งหมด 52 กองทุน มีนโยบายจ่ายปันผล 26 กองทุน และไม่จ่ายปันผล 26 กองทุน หรืออย่างละครึ่ง โดย LTF ของกองทุนบัวหลวงทั้ง 2 กองทุน คือ BLTF และ BLTF75 ล้วนไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล โดยมีเหตุผลคือ
1. เงินปันผลที่ได้รับจาก LTF ก็เหมือนกับที่ได้รับจากกองทุนรวมอื่นๆ คือผู้ลงทุนรายบุคคลจะต้องเสียภาษี ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ดังนั้น การที่ผู้ลงทุนใน LTF เป็นผู้ใช้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีอยู่แล้ว การจะต้องไปเสียภาษีอีก 10% จึงดูไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุน เพราะการขายคืน LTF เมื่อใดก็ได้หลังครบเงื่อนไข และจะได้รับยกเว้นภาษีกำไรจากการลงทุนด้วย
2. การลงทุนใน LTF ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับรายได้ประจำสม่ำเสมอจากกองทุน เราจึงให้ความสำคัญต่อผลตอบแทนทบต้น (Compound Interest) ที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาวมากกว่าการปันผลเป็นประจำสม่ำเสมอ เพราะการปันผลออกไปจากกองทุนจะลดทอนพลังในการเกิดผลตอบแทนทบต้น
ดังนั้น หากผู้ลงทุนต้องการรายได้ประจำสม่ำเสมอ ก็น่าจะลงทุนในกองทุนรวมอื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อการปันผล มากกว่าจะไปลงทุนในกองทุน LTF ที่ต้องการให้ลงทุนสะสมเพื่อเพิ่มพลังของผลตอบแทนในระยะยาว
เรื่องเวลาลงทุน เมื่อลงทุนแล้วก็พบว่า 5 ปีปฏิทิน เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่ได้นานเลย เดี๋ยวนี้ผู้ลงทุน LTF ที่ครบเงื่อนไขแล้วกลับไม่รีบขายคืน เพราะเงินลงทุนใหม่ก็มาจากรายได้แต่ละปี ไม่จำเป็นต้องรีบขาย และการปล่อยให้ลงทุนต่อก็ยังสร้างผลตอบแทนระยะยาวได้น่าพอใจ
แต่เดิมตอนที่ตั้งกองทุน LTF ใหม่ๆ ผู้ลงทุนยังกังวลกับเงื่อนไขลงทุนยาว กองทุนที่มีนโยบายการจ่ายปันผลจึงได้รับความสนใจ เพราะคิดว่าการได้เงินกลับคืนมาบ้างจะสร้างความอุ่นใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ลงทุนจำนวนมากก็ได้เรียนรู้ว่า เงินลงทุนในหุ้นระยะยาวเป็นเรื่องที่ดี เพราะระยะเวลาลงทุนนานๆ ช่วยลดความผันผวนจากการลงทุนได้มาก
นอกจากนี้ ผลตอบแทนของกองทุน LTF ก็สร้างความพอใจให้แก่ผู้ลงทุนอย่างมาก แถมกองทุนที่ไม่ได้จ่ายปันผลก็สะสมผลกำไรไว้ในกองทุน ทำให้ผู้จัดการกองทุนนำเงินเหล่านั้นไปลงทุนต่อได้ จึงยิ่งเพิ่มผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุนมากขึ้น
คำเตือน :ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและคู่มือภาษีของกองทุนรวม RMF และ LTF ก่อนตัดสินใจลงทุน
โดยเสกสรร โตวิวัฒน์
และวรวรรณ ธาราภูมิ
กองทุนบัวหลวง
กองทุน LTF ของทั้งอุตสาหกรรมกองทุนรวมมีทั้งหมด 52 กองทุน มีนโยบายจ่ายปันผล 26 กองทุน และไม่จ่ายปันผล 26 กองทุน หรืออย่างละครึ่ง โดย LTF ของกองทุนบัวหลวงทั้ง 2 กองทุน คือ BLTF และ BLTF75 ล้วนไม่มีนโยบายการจ่ายปันผล โดยมีเหตุผลคือ
1. เงินปันผลที่ได้รับจาก LTF ก็เหมือนกับที่ได้รับจากกองทุนรวมอื่นๆ คือผู้ลงทุนรายบุคคลจะต้องเสียภาษี ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ดังนั้น การที่ผู้ลงทุนใน LTF เป็นผู้ใช้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีอยู่แล้ว การจะต้องไปเสียภาษีอีก 10% จึงดูไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงทุน เพราะการขายคืน LTF เมื่อใดก็ได้หลังครบเงื่อนไข และจะได้รับยกเว้นภาษีกำไรจากการลงทุนด้วย
2. การลงทุนใน LTF ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับรายได้ประจำสม่ำเสมอจากกองทุน เราจึงให้ความสำคัญต่อผลตอบแทนทบต้น (Compound Interest) ที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาวมากกว่าการปันผลเป็นประจำสม่ำเสมอ เพราะการปันผลออกไปจากกองทุนจะลดทอนพลังในการเกิดผลตอบแทนทบต้น
ดังนั้น หากผู้ลงทุนต้องการรายได้ประจำสม่ำเสมอ ก็น่าจะลงทุนในกองทุนรวมอื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อการปันผล มากกว่าจะไปลงทุนในกองทุน LTF ที่ต้องการให้ลงทุนสะสมเพื่อเพิ่มพลังของผลตอบแทนในระยะยาว
เรื่องเวลาลงทุน เมื่อลงทุนแล้วก็พบว่า 5 ปีปฏิทิน เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่ได้นานเลย เดี๋ยวนี้ผู้ลงทุน LTF ที่ครบเงื่อนไขแล้วกลับไม่รีบขายคืน เพราะเงินลงทุนใหม่ก็มาจากรายได้แต่ละปี ไม่จำเป็นต้องรีบขาย และการปล่อยให้ลงทุนต่อก็ยังสร้างผลตอบแทนระยะยาวได้น่าพอใจ
แต่เดิมตอนที่ตั้งกองทุน LTF ใหม่ๆ ผู้ลงทุนยังกังวลกับเงื่อนไขลงทุนยาว กองทุนที่มีนโยบายการจ่ายปันผลจึงได้รับความสนใจ เพราะคิดว่าการได้เงินกลับคืนมาบ้างจะสร้างความอุ่นใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ลงทุนจำนวนมากก็ได้เรียนรู้ว่า เงินลงทุนในหุ้นระยะยาวเป็นเรื่องที่ดี เพราะระยะเวลาลงทุนนานๆ ช่วยลดความผันผวนจากการลงทุนได้มาก
นอกจากนี้ ผลตอบแทนของกองทุน LTF ก็สร้างความพอใจให้แก่ผู้ลงทุนอย่างมาก แถมกองทุนที่ไม่ได้จ่ายปันผลก็สะสมผลกำไรไว้ในกองทุน ทำให้ผู้จัดการกองทุนนำเงินเหล่านั้นไปลงทุนต่อได้ จึงยิ่งเพิ่มผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุนมากขึ้น
คำเตือน :ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและคู่มือภาษีของกองทุนรวม RMF และ LTF ก่อนตัดสินใจลงทุน