บี.กริมชูกองทุน ABPIF คือทางเลือกนักลงทุนในสถาการณ์ปัจจุบัน เผยเล็งนำเงินที่ระดมทุนกว่า 6,200 ล้านบาทลงทุนต่อเนื่องในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมอีก 5 โรง
นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ (ABPIF) ซึ่งทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา ด้วยขนาดกองทุน 6,300 ล้านบาท เป็นทางเลือกที่น่าสนใจของนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่มั่นคง สร้างความสมดุลให้พอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะกับสภาวการณ์ปัจจุบันที่ตลาดหลักทรัพย์ ทองคำ อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนอย่างมาก ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ยากแก่การคาดเดาทิศทางตลาดทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
โดยกองทุน ABPIF ให้ผลตอบแทนที่มั่นคง เนื่องจากรายได้ของกองทุนขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 1 และ 2 (บี.กริม 1 และ 2) ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ซึ่งเปิดดำเนินการมากว่า 10 ปี โดยผลประกอบการ 4 ปีย้อนหลังของโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งมีรายได้ก่อนดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อม (EBITDA) เฉลี่ยรวมปีละ 1,360 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดสุทธิ (Net Cash Flow) เฉลี่ยปีละประมาณ 800-900 ล้านบาท โดยบริษัทคาดว่ากระแสเงินสดที่นำส่งให้กองทุนตลอดปี 2556 จะเป็นไปตามประมาณการ และไม่น้อยกว่าอดีตที่ผ่านมา
นอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของ บี.กริม 1 และ 2 แล้ว ในส่วนของลูกค้าอุตสาหกรรมของโรงไฟฟ้าก็มีการกระจายตัวที่หลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ และอื่นๆ ซึ่งมียอดการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องมาจากความแข็งแกร่งของภาคเอกชนโดยเฉพาะสายการผลิตที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองแต่อย่างใด ผลประกอบการของ บี.กริม 1 และ 2 จึงมีความมั่นคง เพราะไม่ว่าสถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศเป็นอย่างไร ภาคการผลิตและการบริโภคก็ยังคงมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเป็นพื้นฐานอยู่ดี
ทั้งนี้ บริษัทจะนำส่งเงินเข้ากองทุนทั้งปี พ.ศ. 2556 ครบในช่วงเดือน มี.ค. 2557 ซึ่งคาดว่ากองทุนน่าจะมีเงินที่คืนให้แก่ผู้ถือหน่วยทั้งในรูปของการประกาศจ่ายปันผลและการลดราคาพาร์ในหน่วยลงทุน บริษัทมีความมั่นใจว่ากระแสเงินสดที่นำส่งให้กองทุนตลอดอายุกองทุนจะไม่น้อยกว่ากระแสเงินสดที่บริษัทเคยทำได้ในอดีต ซึ่งถ้าเทียบกับขนาดกองทุนที่ 6,300 ล้านบาทแล้ว กระแสเงินสดนำส่งก็น่าจะเกินกว่า 10% ทุกปี ส่วนสัดส่วนของเงินปันผลหรือการลดทุนที่กองทุนประกาศจ่ายจะเป็นเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับสัญญาโอนผลประโยชน์ฯ และมาตรฐานบัญชีของไทย ทั้งนี้ บริษัทอยากเน้นย้ำว่ากระแสเงินสดที่บริษัทนำส่งให้กองทุนขึ้นอยู่กับผลประกอบการของโรงไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์หรือการเปลี่ยนแปลงราคาของกองทุน ABPIF ในตลาดแต่อย่างใด
นางปรียนาถกล่าวต่อว่า กลุ่ม บี.กริมมีแผนในการนำเงินที่ระดมทุนได้กว่า 6,200 ล้านบาทไปลงทุนต่อเนื่องในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมอีก 5 โรงที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและการพัฒนา เมื่อนับรวมกับอีก 5 โรงที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว กลุ่ม บี.กริมก็จะมีโรงไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและอมตะซิตี้ 10 โรง หรือประมาณ 1,340 เมกะวัตต์ ประกอบกับโรงไฟฟ้าอีก 5 โรงที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและการพัฒนาทั้งในสวนอุตสาหกรรมบางกะดี นิคมอุตสาหกรรมเหมราช และนิคมฯ อื่นๆ กลุ่ม บี.กริมก็จะมีโรงไฟฟ้ารวม 15 โรง กำลังการผลิตรวมประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ภายในปี พ.ศ. 2562 เราจึงอยากให้ความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนที่ชื่นชอบการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย เช่น การลงทุนในธุรกิจไฟฟ้า ว่ากลุ่ม บี.กริมยังคงต้องระดมทุนในตลาดอีกเป็นจำนวนมาก เราจึงอยากสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุน ABPIF ให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนกับกลุ่ม บี.กริม ติดตามการลงทุนไปกับกลุ่ม บี.กริม และเดินหน้าก้าวสู่ความเป็นหนึ่งในผู้นำของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนไปด้วยกัน
นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ (ABPIF) ซึ่งทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา ด้วยขนาดกองทุน 6,300 ล้านบาท เป็นทางเลือกที่น่าสนใจของนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่มั่นคง สร้างความสมดุลให้พอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะกับสภาวการณ์ปัจจุบันที่ตลาดหลักทรัพย์ ทองคำ อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนอย่างมาก ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ยากแก่การคาดเดาทิศทางตลาดทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
โดยกองทุน ABPIF ให้ผลตอบแทนที่มั่นคง เนื่องจากรายได้ของกองทุนขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 1 และ 2 (บี.กริม 1 และ 2) ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ซึ่งเปิดดำเนินการมากว่า 10 ปี โดยผลประกอบการ 4 ปีย้อนหลังของโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งมีรายได้ก่อนดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อม (EBITDA) เฉลี่ยรวมปีละ 1,360 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดสุทธิ (Net Cash Flow) เฉลี่ยปีละประมาณ 800-900 ล้านบาท โดยบริษัทคาดว่ากระแสเงินสดที่นำส่งให้กองทุนตลอดปี 2556 จะเป็นไปตามประมาณการ และไม่น้อยกว่าอดีตที่ผ่านมา
นอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของ บี.กริม 1 และ 2 แล้ว ในส่วนของลูกค้าอุตสาหกรรมของโรงไฟฟ้าก็มีการกระจายตัวที่หลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ และอื่นๆ ซึ่งมียอดการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องมาจากความแข็งแกร่งของภาคเอกชนโดยเฉพาะสายการผลิตที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองแต่อย่างใด ผลประกอบการของ บี.กริม 1 และ 2 จึงมีความมั่นคง เพราะไม่ว่าสถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศเป็นอย่างไร ภาคการผลิตและการบริโภคก็ยังคงมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเป็นพื้นฐานอยู่ดี
ทั้งนี้ บริษัทจะนำส่งเงินเข้ากองทุนทั้งปี พ.ศ. 2556 ครบในช่วงเดือน มี.ค. 2557 ซึ่งคาดว่ากองทุนน่าจะมีเงินที่คืนให้แก่ผู้ถือหน่วยทั้งในรูปของการประกาศจ่ายปันผลและการลดราคาพาร์ในหน่วยลงทุน บริษัทมีความมั่นใจว่ากระแสเงินสดที่นำส่งให้กองทุนตลอดอายุกองทุนจะไม่น้อยกว่ากระแสเงินสดที่บริษัทเคยทำได้ในอดีต ซึ่งถ้าเทียบกับขนาดกองทุนที่ 6,300 ล้านบาทแล้ว กระแสเงินสดนำส่งก็น่าจะเกินกว่า 10% ทุกปี ส่วนสัดส่วนของเงินปันผลหรือการลดทุนที่กองทุนประกาศจ่ายจะเป็นเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับสัญญาโอนผลประโยชน์ฯ และมาตรฐานบัญชีของไทย ทั้งนี้ บริษัทอยากเน้นย้ำว่ากระแสเงินสดที่บริษัทนำส่งให้กองทุนขึ้นอยู่กับผลประกอบการของโรงไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์หรือการเปลี่ยนแปลงราคาของกองทุน ABPIF ในตลาดแต่อย่างใด
นางปรียนาถกล่าวต่อว่า กลุ่ม บี.กริมมีแผนในการนำเงินที่ระดมทุนได้กว่า 6,200 ล้านบาทไปลงทุนต่อเนื่องในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมอีก 5 โรงที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและการพัฒนา เมื่อนับรวมกับอีก 5 โรงที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว กลุ่ม บี.กริมก็จะมีโรงไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและอมตะซิตี้ 10 โรง หรือประมาณ 1,340 เมกะวัตต์ ประกอบกับโรงไฟฟ้าอีก 5 โรงที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและการพัฒนาทั้งในสวนอุตสาหกรรมบางกะดี นิคมอุตสาหกรรมเหมราช และนิคมฯ อื่นๆ กลุ่ม บี.กริมก็จะมีโรงไฟฟ้ารวม 15 โรง กำลังการผลิตรวมประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ภายในปี พ.ศ. 2562 เราจึงอยากให้ความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนที่ชื่นชอบการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย เช่น การลงทุนในธุรกิจไฟฟ้า ว่ากลุ่ม บี.กริมยังคงต้องระดมทุนในตลาดอีกเป็นจำนวนมาก เราจึงอยากสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุน ABPIF ให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนกับกลุ่ม บี.กริม ติดตามการลงทุนไปกับกลุ่ม บี.กริม และเดินหน้าก้าวสู่ความเป็นหนึ่งในผู้นำของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนไปด้วยกัน