คอลัมน์ moneyguru
โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
(เกษมทัศน์ ทรรทรานนท์)
บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ได้มองถึงปัจจัยสำคัญอยู่ 4 ประการที่จะเป็นปัจจัยผลักดันราคาน้ำมันดิบในอีก 12 เดือนข้างหน้า คือ
ประการที่หนึ่ง ต้นทุนในการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 10% ต่อปี จากผลสำรวจบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ 50 แห่งของ Financial Times ได้บ่งชี้ว่ามีบริษัทน้ำมันถึง 10% ที่มีจุดคุ้มทุนในการขุดเจาะน้ำมันสูงถึง $92/brl ในปี 2554 จากแหล่งทรัพยากรที่หาได้ยาก และมีต้นทุนในการขุดเจาะเพิ่มสูงขึ้น
ประการที่สอง แนวโน้มการอ่อนค่าในระยะยาวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จากนโยบายคงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.25% ไปจนถึงปี 2558 และมาตรการผ่อนคลายเชิงนโยบายครั้งที่ 3 (QE3) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ นอกจากนี้ ธนาคารกลางทั่วโลกที่ยังคงมีแนวโน้มลด หรือคงดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ ได้ทำให้ผลตอบแทนของสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรรัฐบาลอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งต้นทุนของเงินทุนอยู่ในระดับต่ำจะเป็นปัจจัยกระตุ้นความต้องการเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดตราสารทุน และสินค้าโภคภัณฑ์
ประการที่สาม ภาวะขาดแคลนน้ำมันแก๊สโซลีนในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากพายุเฮอริเคนอิซัคได้ทำให้กำลังการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ลดลง ซึ่งในปัจจุบันราคาน้ำมันเบนซิน และดีเซลในบางพื้นที่ของสหรัฐฯ ได้พุ่งสูงขึ้นเป็นระดับสูงสุดในประวัติการณ์ซึ่งจากระดับสต๊อกแก๊สโซลีนของสหรัฐฯ ที่อยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี และค่าการกลั่นที่อยู่ในระดับสูง จะเป็นปัจจัยกระตุ้นความต้องการน้ำมันดิบ จากการเพิ่มกำลังการผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันในการเพิ่มระดับสต๊อกแก๊สโซลีนในตลาดอีกครั้งในช่วงฤดูหนาว
ประการที่สี่ ความไม่สงบในตะวันออกกลาง ซึ่งประชาคมโลกและสหภาพยุโรปที่ยังคงมีนโยบายที่จะเพิ่มการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน และความขัดแย้งระหว่างประเทศตุรกีและซีเรียที่ยังคงมีการปะทะทางการทหารระหว่างทั้งสองประเทศยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บลจ.เอ็มเอฟซีคาดการณ์ถึงราคาน้ำมัน WTI เฉลี่ยในปี 2556 ใน Base case ที่ $100/brl หากเศรษฐกิจโลกและปริมาณความต้องการใช้น้ำมันดิบมีการฟื้นตัวเล็กน้อยในปีหน้า และธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงมีการใช้มาตรการดอกเบี้ยต่ำ และอัดฉีดสภาพคล่อง
โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
(เกษมทัศน์ ทรรทรานนท์)
บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ได้มองถึงปัจจัยสำคัญอยู่ 4 ประการที่จะเป็นปัจจัยผลักดันราคาน้ำมันดิบในอีก 12 เดือนข้างหน้า คือ
ประการที่หนึ่ง ต้นทุนในการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 10% ต่อปี จากผลสำรวจบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ 50 แห่งของ Financial Times ได้บ่งชี้ว่ามีบริษัทน้ำมันถึง 10% ที่มีจุดคุ้มทุนในการขุดเจาะน้ำมันสูงถึง $92/brl ในปี 2554 จากแหล่งทรัพยากรที่หาได้ยาก และมีต้นทุนในการขุดเจาะเพิ่มสูงขึ้น
ประการที่สอง แนวโน้มการอ่อนค่าในระยะยาวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จากนโยบายคงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.25% ไปจนถึงปี 2558 และมาตรการผ่อนคลายเชิงนโยบายครั้งที่ 3 (QE3) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ นอกจากนี้ ธนาคารกลางทั่วโลกที่ยังคงมีแนวโน้มลด หรือคงดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ ได้ทำให้ผลตอบแทนของสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรรัฐบาลอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งต้นทุนของเงินทุนอยู่ในระดับต่ำจะเป็นปัจจัยกระตุ้นความต้องการเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดตราสารทุน และสินค้าโภคภัณฑ์
ประการที่สาม ภาวะขาดแคลนน้ำมันแก๊สโซลีนในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากพายุเฮอริเคนอิซัคได้ทำให้กำลังการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ลดลง ซึ่งในปัจจุบันราคาน้ำมันเบนซิน และดีเซลในบางพื้นที่ของสหรัฐฯ ได้พุ่งสูงขึ้นเป็นระดับสูงสุดในประวัติการณ์ซึ่งจากระดับสต๊อกแก๊สโซลีนของสหรัฐฯ ที่อยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี และค่าการกลั่นที่อยู่ในระดับสูง จะเป็นปัจจัยกระตุ้นความต้องการน้ำมันดิบ จากการเพิ่มกำลังการผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันในการเพิ่มระดับสต๊อกแก๊สโซลีนในตลาดอีกครั้งในช่วงฤดูหนาว
ประการที่สี่ ความไม่สงบในตะวันออกกลาง ซึ่งประชาคมโลกและสหภาพยุโรปที่ยังคงมีนโยบายที่จะเพิ่มการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน และความขัดแย้งระหว่างประเทศตุรกีและซีเรียที่ยังคงมีการปะทะทางการทหารระหว่างทั้งสองประเทศยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บลจ.เอ็มเอฟซีคาดการณ์ถึงราคาน้ำมัน WTI เฉลี่ยในปี 2556 ใน Base case ที่ $100/brl หากเศรษฐกิจโลกและปริมาณความต้องการใช้น้ำมันดิบมีการฟื้นตัวเล็กน้อยในปีหน้า และธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงมีการใช้มาตรการดอกเบี้ยต่ำ และอัดฉีดสภาพคล่อง