โบรกเกอร์กองทุนรวมแนะนักลงทุนรอดูความชัดเจนการแก้ปัญหา Fiscal Cliff ก่อนค่อยกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง พร้อมแนะนักลงทุน RMF เลือกกองทุนตลาดเงินเพื่อการเลี้ยงชีพไปก่อน รอให้ภาพเศรษฐกิจดีขึ้นค่อยสับเปลี่ยนไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น
นายสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล Fund SuperMart Analyst บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การลงทุนในเดือนพฤศจิกายนนี้เรายังคงเน้นลงทุนรักษาเงินต้นให้ปลอดภัยไว้ก่อน แม้ว่าระยะสั้นแรงหนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะส่งให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้น แต่เริ่มเห็นความผันผวนเพิ่มขึ้น และเราเชื่อว่าโอกาสที่จะมีความผันผวนรุนแรงยังมีอยู่ตลอดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหา Fiscal Cliff, ปัญหาหนี้ยุโรป และภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ สําหรับกองทุนตลาดเงินเรายังคงแนะนํา PCASH, FAM VF และ SCBTMFPLUS (Class I) สําหรับ RMF หากนักลงทุนยังไม่แน่ใจว่าจะซื้อกองทุนประเภทไหนดี เราแนะนําให้ลงทุนเก็บไว้ในกองทุนตลาดเงินเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยกองทุนที่แนะนําเป็น NMRFM ของ บลจ.ธนชาต
สำหรับผลประกอบการไตรมาส 3 ของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ออกมาไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไหร่ ขณะที่เศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่อ่อนแอ และยังมีความเสี่ยงจากปัญหาหนี้ยุโรปรบกวนอยู่ตลอด รวมถึงความเสี่ยงปัญหา Fiscal Cliff ที่จะถูกพูดถึงกันมากขึ้น ทําให้เรายังคงมองว่าราคาหุ้นมีโอกาสแกว่งตัวแรงได้เสมอ แนะนําให้รอโอกาสและดูสถานการณ์ให้ชัดเจนก่อน จึงอยากให้นักลงทุนปรับน้ำหนักการลงทุนต่อไป โดยเรายังคงเน้นการลงทุนในประเทศตลาดเกิดใหม่ และเอเชียตามเดิม สําหรับ LTF ปีนี้เราแนะนํากองทุน KFLTFDIV ของ บลจ.กรุงศรี และ RMF หุ้น เป็น กองทุน ABSC-RMF ของ บลจ.อเบอร์ดีน
ส่วนมาตรการ QE3 และการคงอัตราดอกเบี้ยต่ําไปอีกหลายปี ทําให้เรายังคงน้ำหนักการลงทุนไว้ในกองทุนทองคํา สถานการณ์ปัญหาหนี้ยุโรป และเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าจะดูดีขึ้นเป็นลําดับแต่ความเสี่ยงยังมีอยู่ แนวโน้มค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเรามองว่ามีโอกาสอ่อนค่าลงอีก ดังนั้นเราจึงยังคงน้ำหนักการลงทุนในกองทุนทองคําไว้ตามเดิม ระยะสั้นอาจมีแกว่งตัวจากแรงเก็งกําไรบ้าง แต่เชื่อว่าระยะยาวยังคงมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นต่อไป โดยกองทุนที่เราแนะนํายังคงเป็น T-GoldBullion-H ของ บลจ.ธนชาต ขณะที่ราคาน้ำมันแนวโน้มผันผวนแรงจากความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปัจจัยที่จะทําให้ราคาน้ำมันคงอยู่ในระดับสูงได้คือความตึงเครียดในตะวันออกกลาง การเก็งกําไรยังคงต้องใช้ความระมัดระวังต่อไป
นายสานุพงศ์ กล่าวต่อว่า สําหรับวิธีบริหาร RMF ที่ดีที่สุดคือการจัดสรรเงินลงทุนอย่างเหมาะสม (Asset Allocation) เป็นการสร้างผลตอบแทนที่เพียงพอจะบรรลุเป้าหมายสําหรับการเกษียณเป็นสําคัญ และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เรารับได้ และเมื่อได้พอร์ตที่เหมาะสมแล้ว ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะดูถึงภาพรวมตลาดและเศรษฐกิจ (สําหรับนักลงทุนที่ทํา Tactical Asset Allocation ซึ่งพอร์ตการลงทุนจะปรับให้เข้ากับสภาวะตลาดและเศรษฐกิจในขณะนั้น) เพื่อใช้ในการปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับภาวะตลาดในขณะนั้น ซึ่งจากปัจจัยเสี่ยงที่ใกล้เข้ามา ทั้งปัญหาหนี้ยุโรปที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง หรือจะเป็นความไม่ชัดเจนว่าจะเกิดหน้าผาการคลัง (Fiscal Cliff) หรือไม่
โดยเฉพาะ Fiscal Cliff ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เรามองว่าไม่ค่อยคุ้มที่จะเข้าไปเสี่ยงจนเกินตัว เพราะหากไม่เกิดก็แค่เสมอตัว ซึ่งสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ใช่ว่าจะดีขึ้นผิดหูผิดตาจากเดิม การปรับตัวขึ้นของราคาสินทรัพย์เสี่ยงอาจจะปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โอกาสนั้นเราค่อยปรับพอร์ตเพิ่มน้ำหนักกองทุนหุ้น RMF ตามก็ แต่หากเกิด Fiscal Cliff จริงในภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวแบบนี้ก็คงเลี่ยงไม่ได้ที่เศรษฐกิจโลกอาจจะกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง ซึ่งจะทําให้เกิดความผันผวนรุนแรงของราคาสินทรัพย์เสี่ยงขึ้น ดังนั้นใน 2 เดือนที่เหลือนี้เราจึงแนะนําให้นักลงทุนลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินเพื่อการเลี้ยงชีพไปก่อน และรอให้ภาพของ Fiscal Cliff ชัดเจนกว่านี้แล้วค่อยสับเปลี่ยนไปยังกองทุน RMF ประเภทอื่นๆ ต่อไป