คอลัมน์ มนุษย์หุ้น 2.0
โดยชัยภัทร เนื่องคำมา
www.cway-investment.com
เมื่อสัปดาห์ก่อนผมพึ่งจะได้ดู DVD เรื่อง Margin Call เลยไม่พลาดที่จะมารีวิวหนังเรื่องนี้ในแง่มุมของการลงทุนให้ทุกท่านได้อ่านกัน Margin Call เป็นหนังที่นำเอาเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทวาณิชย์ธนกิจแห่งหนึ่งในวอลสตีท ช่วง 1 คืนก่อนปัญหาหนี้เน่าซับไพม์จะระเบิด ตลาดจะพังและปัญหาวิกฤติการเงินสหรัฐจะรุกราม
เนื้อเรื่องสะท้อนถึงภาพการเอาตัวรอดของบริษัทเงินทุน ที่ต้องทำทุกทางเพื่อไม่ให้ล้มละลาย ต้องยอมแม้กระทั่งการทรยศลูกค้า หนังเรื่องนี้เดินเรื่องไม่เร็ว โดยเปิดเรื่องที่เหตุการณ์เช้าวันทำงานวันหนึ่ง ที่บริษัทต้องปลดคนงาน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และแน่นอนว่า คนที่ถูกปลดในเช้าวันนั้น ไม่ใช่คนธรรมดาแต่ดันเป็นตัวจักรสำคัญของเรื่อง นั้นคือ Eric Dale หัวหน้านักวิเคราะห์ความเสี่ยงของบริษัท ซึ่งกำลังทำงานสำคัญค้างอยู่ งานนั้นคือการคำนวณโมเดลคณิตศาสตร์เพื่อประเมินความเสี่ยงของการลงทุนในหลักทรัพย์ MBS(Mortgage-Backed Securities) ของพอร์ตลงทุนบริษัท
แต่ยังไม่ทันทำเสร็จ ก็โดนเด้งฟ้าผ่าให้ออกจากงาน แถมโดนระงับโทรศัพท์ห้ามการติดต่อใดๆ อีกในช่วง 1 วัน แต่ก่อนไป Eric ก็ได้มอบหมายงาน แอบส่ง USB Flash Drive ให้พระเอก Peter Sullivan บอกให้ระวังและลองทำโมเดลนี้ให้เสร็จ แน่นอนว่าทุกคนในแผนกที่ปีเตอร์ไปปรึกษาไม่สนใจ แล้วกำลังออกไปฉลองกันที่บาร์ตามปกติ
แต่ด้วยคำพูดที่ติดหูจาก Eric ทำให้ Peter ดร.หนุ่มอัจฉริยะ ทางด้านวิศวกรรมอากาศยาน ซึ่งเข้ามาทำงานในวอสตรีทเพราะได้เงินเดือนที่สูงกว่า ไม่อาจจะนิ่งเฉยเพราะเกิดสงสัย จึงตัดสินใจใช้เวลาหลังเลิกงาน นั่งประมวลผลแบบจำลองต่อจนเสร็จ เพื่อดูผลลัพธ์
ปรากฏว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นหายนะ อันใหญ่หลวงต่อพอร์ตลงทุนของบริษัท โดยเฉพาะการลงทุนใน MBS ของทั้งตลาด มูลค่า 8 ล้านล้านเหรียญ เพราะสมการอ้างอิงในการวัดมูลค่าหลักทรัพย์นั้นผิดพลาด ทำให้ประเมินมูลค่าสินทรัพย์ค้ำประกันที่สูงเกินไป จนทำให้ค่าความเสี่ยงในการลงทุนมีมากมหาศาล ถึงขนาดทำให้บริษัทอาจจะขาดทุนล้มละลายได้ทันที
แต่ที่มันยังไปอยู่ได้เพราะ อารมณ์ตลาดและความโลภของนักลงทุนที่ยังเชื่อมั่นว่า อนาคตหลักทรัพย์นี้ยังมีมูลค่าที่สูงขึ้น ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับระเบิดเวลาดีๆนั้นเอง เมื่อปีเตอร์รายงานเรื่องนี้ต่อ หัวหน้าแผนก ทำให้เกิดการเรียกประชุมฉุกเฉินตั้งแต่ระดับผู้บริหารทุกฝ่าย และ CEO ของบริษัทเพื่อหาทางจัดการกับปัญหานี้
ทางออกของปัญหาจากที่ประชุมด่วน ตอน 03.00 น. CEO ของบริษัทก็ตัดสินใจ รักษาบริษัท โดยพยายามระบายหลักทรัพย์ประเภท MBS ที่บริษัทมีออกขายสู่ตลาดให้หมด การตัดสินใจตรงนี้ เป็นจุดไคลแม็คของหนัง เพราะหลายในบริษัทคนไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ มันเป็นการต่อสู้กันระหว่างผลประโยชน์และมโนธรรมในจิตใจ
เนื่องจากผลที่ตามมาของการกระทำคือหายนะของตลาดหุ้น และผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ John ซึ่งเป็น CEO ของบริษัท กลับเลือกที่จะรักษาบริษัท ให้เหตุผลว่า ถ้าเราไม่ทำก่อน บริษัทอื่นเมื่อรู้ความจริงนี้ ก็ต้องทำ ตลาดก็ต้องเสียหายอยู่ดี
เขากล่าวว่าจากประสบการณ์หลายปีที่ได้เรียนรู้ การจะอยู่รอดหรือเอาชนะคู่แข่งในวอลสตีท มีอยู่ 3 อย่างคือ ทำคนแรก, ฉลาดกว่า หรือโกงแม่งเลย เขาตัดสินใจที่จะทำคนแรก เพื่อความอยู่รอดจึงไม่ผิด งานใหญ่ของ John ไม่ใช่แค่ตัดสินใจ แต่เขาต้องไปโน้มนาวให้หลายคนยอมทำตาม โดยเฉพาะ Sam Rogers ผู้บริหารของฝ่ายขาย เพราะ Sam ไม่เห็นด้วยกับการทรยศลูกค้า ทำลายจรรยาบรรณของอาชีพตนเองตามแผนของ John ซึ่งต้องเร่งนำ MBS หลักทรัพย์เน่าๆไร้มูลค่า ออกขายลูกค้า เพื่อให้บริษัทรอด
Sam คิดว่านั้นคือการทรยศ คือการที่เขาและลูกน้องอีกหลายสิบชีวิต ต้องทำลายอาชีพตัวเอง ต้องทำให้นักลงทุนมาเป็นแพะ ในความโลภและคงามผิดพลาดของบริษัท ผลการกระทำนั่นหมายถึงการหมดความน่าเชื่อถือของมาร์เก็ตติ้ง และหมดความเคารพในตนเอง เพราะแผนกเขาต้องเป็นคนลั่นไก ปืน สังหารหมู่นักลงทุนในตลาด ด้วยกลเม็ดและกลยุทธในการขายที่ต้องทำให้สำเร็จ
สุดท้าย Sam ที่ทำงานกับบริษัทมาหลายสิบปี ก็ต้องยอมทำตามเพื่อรักษาบริษัทเอาไว้ เขาทำตามแผนของ John นั้นคือการเร่งลดพอร์ตของบริษัทเพื่อขาย MBS ออกให้หมด โดยเขาเลือกบอกความจริงกับลูกทีมนักขาย เพื่อให้ทุกคนทำด้วยความสมัครใจ และเสนอโบนัสมหาศาล ทั้งค่าคอมมิชั่นพิเศษจากยอดการขาย ถ้าใครขายหมดตามโควต้าที่กำหนด รับเงิน 1.3 ล้านเหรียญไปเลยทันที
แรงจูงใจมหาศาล ทำให้ทุกคนเร่งขายหลักทรัพย์ ทั้งแก่นักลงทุนทั่วไป ลูกค้ารายใหญ่ กองทุน โบรกเกอร์ย่อยและอื่นๆ ในราคาหลักทรัพย์ที่ต่ำกว่า ตลาดอย่างมาก เพื่อเร่งระบายของให้หมดก่อนตลาดปิด
ส่วนแพะรับบาปงานนี้ของบริษัทก็คือ Sarah Robertson (เดมี่่ มัวร์ สุดเซ็กซี่) รับตำแหน่งเป็น หัวหน้าแผนกบริหารจัดการความเสี่ยง ของบริษัท โดย John ต้องการให้เป็นแพะ ออกหน้ารับผิดชอบแทนบริษัท ในการลงทุนและขาดทุนครั้งนี้
ผลที่ตามมาของการกระทำคือความปั่นป่วนของตลาดหุ้น และราคาหลักทรัพย์ MBS ร่วงระนาว เนื่องจากรายใหญ่กระหน่ำขายเช่นนี้ ทำให้ราคาตกลง ผู่เล่นรายใหญ่อื่นๆก็จำเป็นต้องขายตาม จุดจบของเรื่องนี้คือหายนะของตลาดหุ้นและนักลงทุน ที่ผลสุดท้ายเกิดวิกฤติการเงิน หลังจาก MBS หลักทรัพย์ที่เกิดจากการผูกเอาสินทรัพย์หนี้จำนอง มูลค่าเหลือเป็นศูนย์
เพราะความโลภของบริษัทวาณิชธนกิจ ความต้องการทำกำไรจากการปล่อยหนี้และขายสัญญาจำนองหลักทรัพย์ ทำให้ปล่อยดอกเบี้ยถูก ปล่อยกู้ง่าย เพื่อหาลูกค้าจำนวนมากๆ มาสร้างสัญญา MBS ไปขายให้นักลงทุน ใช้บริษัทจัดอันดับมาออกเรตติ้งความเสี่ยงดีๆ ขณะที่การตีมูลค่าจำนองของสินทรัพย์ค้ำประกันสูงเกินความจริง เมื่อใครก็กู้ได้ และเกิดการกู้จนเกินตัว การกู้เพื่อนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์มาเก็งกำไรต่อ
เมื่อเศรษฐกิจมีปัญหา ชะลอตัว คนตกงาน คนไม่มีสภาพคล่อง ไม่มีเงินมาจ่ายหนี้ ส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์ต้องโดนยึด กลายเป็นหนี้เน่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ ร่วงลงต่ำสุด ฟองสบู่แตก ทุกอย่างพินาศ
แน่นอนว่านักลงทุน รายใหญ่ รายย่อย ในตลาดหลักทรัพย์ ที่ถือ MBS มูลค่านั้นก็ต้องตกลงแทบจะกลายเป็นศูนย์ ฉากจบเรื่องนี้ ทิ้งภาพไว้น่าสนใจมาก เป็นภาพของ Sam ผู้จัดการฝ่ายขาย กำลังขุดหลุม ฝั่งหมาของตัวเองที่ป่วยตาย คล้ายกับการแสดงนัยยะว่า พวกวาณิชยธนกิจ จากวอลสตรีท ก็คือคนที่ ขุดหลุมฝั่ง เศรษฐกิจของประเทศ
หนังเรื่องนี้อาจจะออกแนวดราม่า ดูเรื่อยๆไม่เร้าใจ แต่ได้แง่คิดหนึ่งที่ผมว่า เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างดีนั้นคือเรื่องของความโลภ ถ้าการลงทุนที่ตั้งอยู่บนความโลภ ความอยากได้กำไร เป็นใหญ่ ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน ใหญ่แค่ไหน ก็ล้มได้เพราะความประมาท
อีกประการที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ นั้นคือความเห็นแก่ตัวในโลกการเงิน การเอาตัวรอดของบริษัทวณิชธนกิจ ต้นตอของปัญหา ที่ไม่ว่าจะวิกฤติการเงินครั้งไหนๆก็จะมาจากการแสวงหาผลกำไรที่เกินตัว และสุดท้ายฟองสบู่แตก งานเลี้ยงเลิก เศรษฐกิจย่อยยับ ประชาชนเดือดร้อน แต่พวกนี้ก็ยังลอยตัว มีรัฐบาลมาช่วยไม่ให้ล้มเพราะกลัว คนจะเดือดร้อนมากกว่านี้ , CEO ยังมีรายได้ มีเงินเดือนต่อปี มีโบนัสที่สูง ใช้ชีวิตสุขสบายแม้ทำผิดพลาด ที่สำคัญบริษัทเหล่านี้ยังทำกำไรในช่วงขาลงของตลาดได้อีก จากพวกอนุพันธ์และสัญญาการซื้อขายล่วงหน้า ดูเหมือนโลกนี้จะไม่ยุติธรรม และระบบทุนนิยมมันก็ยังต้องดำเนินกันต่อไป
โดยชัยภัทร เนื่องคำมา
www.cway-investment.com
เมื่อสัปดาห์ก่อนผมพึ่งจะได้ดู DVD เรื่อง Margin Call เลยไม่พลาดที่จะมารีวิวหนังเรื่องนี้ในแง่มุมของการลงทุนให้ทุกท่านได้อ่านกัน Margin Call เป็นหนังที่นำเอาเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทวาณิชย์ธนกิจแห่งหนึ่งในวอลสตีท ช่วง 1 คืนก่อนปัญหาหนี้เน่าซับไพม์จะระเบิด ตลาดจะพังและปัญหาวิกฤติการเงินสหรัฐจะรุกราม
เนื้อเรื่องสะท้อนถึงภาพการเอาตัวรอดของบริษัทเงินทุน ที่ต้องทำทุกทางเพื่อไม่ให้ล้มละลาย ต้องยอมแม้กระทั่งการทรยศลูกค้า หนังเรื่องนี้เดินเรื่องไม่เร็ว โดยเปิดเรื่องที่เหตุการณ์เช้าวันทำงานวันหนึ่ง ที่บริษัทต้องปลดคนงาน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และแน่นอนว่า คนที่ถูกปลดในเช้าวันนั้น ไม่ใช่คนธรรมดาแต่ดันเป็นตัวจักรสำคัญของเรื่อง นั้นคือ Eric Dale หัวหน้านักวิเคราะห์ความเสี่ยงของบริษัท ซึ่งกำลังทำงานสำคัญค้างอยู่ งานนั้นคือการคำนวณโมเดลคณิตศาสตร์เพื่อประเมินความเสี่ยงของการลงทุนในหลักทรัพย์ MBS(Mortgage-Backed Securities) ของพอร์ตลงทุนบริษัท
แต่ยังไม่ทันทำเสร็จ ก็โดนเด้งฟ้าผ่าให้ออกจากงาน แถมโดนระงับโทรศัพท์ห้ามการติดต่อใดๆ อีกในช่วง 1 วัน แต่ก่อนไป Eric ก็ได้มอบหมายงาน แอบส่ง USB Flash Drive ให้พระเอก Peter Sullivan บอกให้ระวังและลองทำโมเดลนี้ให้เสร็จ แน่นอนว่าทุกคนในแผนกที่ปีเตอร์ไปปรึกษาไม่สนใจ แล้วกำลังออกไปฉลองกันที่บาร์ตามปกติ
แต่ด้วยคำพูดที่ติดหูจาก Eric ทำให้ Peter ดร.หนุ่มอัจฉริยะ ทางด้านวิศวกรรมอากาศยาน ซึ่งเข้ามาทำงานในวอสตรีทเพราะได้เงินเดือนที่สูงกว่า ไม่อาจจะนิ่งเฉยเพราะเกิดสงสัย จึงตัดสินใจใช้เวลาหลังเลิกงาน นั่งประมวลผลแบบจำลองต่อจนเสร็จ เพื่อดูผลลัพธ์
ปรากฏว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นหายนะ อันใหญ่หลวงต่อพอร์ตลงทุนของบริษัท โดยเฉพาะการลงทุนใน MBS ของทั้งตลาด มูลค่า 8 ล้านล้านเหรียญ เพราะสมการอ้างอิงในการวัดมูลค่าหลักทรัพย์นั้นผิดพลาด ทำให้ประเมินมูลค่าสินทรัพย์ค้ำประกันที่สูงเกินไป จนทำให้ค่าความเสี่ยงในการลงทุนมีมากมหาศาล ถึงขนาดทำให้บริษัทอาจจะขาดทุนล้มละลายได้ทันที
แต่ที่มันยังไปอยู่ได้เพราะ อารมณ์ตลาดและความโลภของนักลงทุนที่ยังเชื่อมั่นว่า อนาคตหลักทรัพย์นี้ยังมีมูลค่าที่สูงขึ้น ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับระเบิดเวลาดีๆนั้นเอง เมื่อปีเตอร์รายงานเรื่องนี้ต่อ หัวหน้าแผนก ทำให้เกิดการเรียกประชุมฉุกเฉินตั้งแต่ระดับผู้บริหารทุกฝ่าย และ CEO ของบริษัทเพื่อหาทางจัดการกับปัญหานี้
ทางออกของปัญหาจากที่ประชุมด่วน ตอน 03.00 น. CEO ของบริษัทก็ตัดสินใจ รักษาบริษัท โดยพยายามระบายหลักทรัพย์ประเภท MBS ที่บริษัทมีออกขายสู่ตลาดให้หมด การตัดสินใจตรงนี้ เป็นจุดไคลแม็คของหนัง เพราะหลายในบริษัทคนไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ มันเป็นการต่อสู้กันระหว่างผลประโยชน์และมโนธรรมในจิตใจ
เนื่องจากผลที่ตามมาของการกระทำคือหายนะของตลาดหุ้น และผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ John ซึ่งเป็น CEO ของบริษัท กลับเลือกที่จะรักษาบริษัท ให้เหตุผลว่า ถ้าเราไม่ทำก่อน บริษัทอื่นเมื่อรู้ความจริงนี้ ก็ต้องทำ ตลาดก็ต้องเสียหายอยู่ดี
เขากล่าวว่าจากประสบการณ์หลายปีที่ได้เรียนรู้ การจะอยู่รอดหรือเอาชนะคู่แข่งในวอลสตีท มีอยู่ 3 อย่างคือ ทำคนแรก, ฉลาดกว่า หรือโกงแม่งเลย เขาตัดสินใจที่จะทำคนแรก เพื่อความอยู่รอดจึงไม่ผิด งานใหญ่ของ John ไม่ใช่แค่ตัดสินใจ แต่เขาต้องไปโน้มนาวให้หลายคนยอมทำตาม โดยเฉพาะ Sam Rogers ผู้บริหารของฝ่ายขาย เพราะ Sam ไม่เห็นด้วยกับการทรยศลูกค้า ทำลายจรรยาบรรณของอาชีพตนเองตามแผนของ John ซึ่งต้องเร่งนำ MBS หลักทรัพย์เน่าๆไร้มูลค่า ออกขายลูกค้า เพื่อให้บริษัทรอด
Sam คิดว่านั้นคือการทรยศ คือการที่เขาและลูกน้องอีกหลายสิบชีวิต ต้องทำลายอาชีพตัวเอง ต้องทำให้นักลงทุนมาเป็นแพะ ในความโลภและคงามผิดพลาดของบริษัท ผลการกระทำนั่นหมายถึงการหมดความน่าเชื่อถือของมาร์เก็ตติ้ง และหมดความเคารพในตนเอง เพราะแผนกเขาต้องเป็นคนลั่นไก ปืน สังหารหมู่นักลงทุนในตลาด ด้วยกลเม็ดและกลยุทธในการขายที่ต้องทำให้สำเร็จ
สุดท้าย Sam ที่ทำงานกับบริษัทมาหลายสิบปี ก็ต้องยอมทำตามเพื่อรักษาบริษัทเอาไว้ เขาทำตามแผนของ John นั้นคือการเร่งลดพอร์ตของบริษัทเพื่อขาย MBS ออกให้หมด โดยเขาเลือกบอกความจริงกับลูกทีมนักขาย เพื่อให้ทุกคนทำด้วยความสมัครใจ และเสนอโบนัสมหาศาล ทั้งค่าคอมมิชั่นพิเศษจากยอดการขาย ถ้าใครขายหมดตามโควต้าที่กำหนด รับเงิน 1.3 ล้านเหรียญไปเลยทันที
แรงจูงใจมหาศาล ทำให้ทุกคนเร่งขายหลักทรัพย์ ทั้งแก่นักลงทุนทั่วไป ลูกค้ารายใหญ่ กองทุน โบรกเกอร์ย่อยและอื่นๆ ในราคาหลักทรัพย์ที่ต่ำกว่า ตลาดอย่างมาก เพื่อเร่งระบายของให้หมดก่อนตลาดปิด
ส่วนแพะรับบาปงานนี้ของบริษัทก็คือ Sarah Robertson (เดมี่่ มัวร์ สุดเซ็กซี่) รับตำแหน่งเป็น หัวหน้าแผนกบริหารจัดการความเสี่ยง ของบริษัท โดย John ต้องการให้เป็นแพะ ออกหน้ารับผิดชอบแทนบริษัท ในการลงทุนและขาดทุนครั้งนี้
ผลที่ตามมาของการกระทำคือความปั่นป่วนของตลาดหุ้น และราคาหลักทรัพย์ MBS ร่วงระนาว เนื่องจากรายใหญ่กระหน่ำขายเช่นนี้ ทำให้ราคาตกลง ผู่เล่นรายใหญ่อื่นๆก็จำเป็นต้องขายตาม จุดจบของเรื่องนี้คือหายนะของตลาดหุ้นและนักลงทุน ที่ผลสุดท้ายเกิดวิกฤติการเงิน หลังจาก MBS หลักทรัพย์ที่เกิดจากการผูกเอาสินทรัพย์หนี้จำนอง มูลค่าเหลือเป็นศูนย์
เพราะความโลภของบริษัทวาณิชธนกิจ ความต้องการทำกำไรจากการปล่อยหนี้และขายสัญญาจำนองหลักทรัพย์ ทำให้ปล่อยดอกเบี้ยถูก ปล่อยกู้ง่าย เพื่อหาลูกค้าจำนวนมากๆ มาสร้างสัญญา MBS ไปขายให้นักลงทุน ใช้บริษัทจัดอันดับมาออกเรตติ้งความเสี่ยงดีๆ ขณะที่การตีมูลค่าจำนองของสินทรัพย์ค้ำประกันสูงเกินความจริง เมื่อใครก็กู้ได้ และเกิดการกู้จนเกินตัว การกู้เพื่อนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์มาเก็งกำไรต่อ
เมื่อเศรษฐกิจมีปัญหา ชะลอตัว คนตกงาน คนไม่มีสภาพคล่อง ไม่มีเงินมาจ่ายหนี้ ส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์ต้องโดนยึด กลายเป็นหนี้เน่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ ร่วงลงต่ำสุด ฟองสบู่แตก ทุกอย่างพินาศ
แน่นอนว่านักลงทุน รายใหญ่ รายย่อย ในตลาดหลักทรัพย์ ที่ถือ MBS มูลค่านั้นก็ต้องตกลงแทบจะกลายเป็นศูนย์ ฉากจบเรื่องนี้ ทิ้งภาพไว้น่าสนใจมาก เป็นภาพของ Sam ผู้จัดการฝ่ายขาย กำลังขุดหลุม ฝั่งหมาของตัวเองที่ป่วยตาย คล้ายกับการแสดงนัยยะว่า พวกวาณิชยธนกิจ จากวอลสตรีท ก็คือคนที่ ขุดหลุมฝั่ง เศรษฐกิจของประเทศ
หนังเรื่องนี้อาจจะออกแนวดราม่า ดูเรื่อยๆไม่เร้าใจ แต่ได้แง่คิดหนึ่งที่ผมว่า เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างดีนั้นคือเรื่องของความโลภ ถ้าการลงทุนที่ตั้งอยู่บนความโลภ ความอยากได้กำไร เป็นใหญ่ ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน ใหญ่แค่ไหน ก็ล้มได้เพราะความประมาท
อีกประการที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ นั้นคือความเห็นแก่ตัวในโลกการเงิน การเอาตัวรอดของบริษัทวณิชธนกิจ ต้นตอของปัญหา ที่ไม่ว่าจะวิกฤติการเงินครั้งไหนๆก็จะมาจากการแสวงหาผลกำไรที่เกินตัว และสุดท้ายฟองสบู่แตก งานเลี้ยงเลิก เศรษฐกิจย่อยยับ ประชาชนเดือดร้อน แต่พวกนี้ก็ยังลอยตัว มีรัฐบาลมาช่วยไม่ให้ล้มเพราะกลัว คนจะเดือดร้อนมากกว่านี้ , CEO ยังมีรายได้ มีเงินเดือนต่อปี มีโบนัสที่สูง ใช้ชีวิตสุขสบายแม้ทำผิดพลาด ที่สำคัญบริษัทเหล่านี้ยังทำกำไรในช่วงขาลงของตลาดได้อีก จากพวกอนุพันธ์และสัญญาการซื้อขายล่วงหน้า ดูเหมือนโลกนี้จะไม่ยุติธรรม และระบบทุนนิยมมันก็ยังต้องดำเนินกันต่อไป