“ประโยชน์ของการออมเงินมันคือการสร้างนิสัย และการออมเงินมันก็คล้าย ๆ กับเรื่องการซื้อบ้าน เช่นลูกค้ารายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า อยากซื้อบ้านอยากผ่อนเพราะมันจะสร้างวินัย ทำให้เรามีหน้าที่ และทำให้เรารู้สึกภูมิใจ เพราะลูกค้ารายนี้มีอายุแค่เพียง 28 - 29 ปีเอง เมื่อเรามีวินัย มีหน้าที่ที่จะส่งบ้าน พอวันข้างหน้าเราส่งบ้านหมด บ้านก็มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น มันก็คือการออมอย่างหนึ่งด้วย”
การออมเงินถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ และควรปลูกฝังการประหยัดให้กับลูกหลานของเราด้วยตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่ออนาคตจะได้ไม่ต้องพบกับความลำบาก “คอลัมน์เจาะพอร์ตคนดัง”ฉบับนี้ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารหญิงเก่งอย่าง “ดร.ยุ้ย หรือ เกษรา ธัญลักษณ์” แห่ง บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA ที่วันนี้จะมาเผยเคล็ดลับการออมเงินและการสอนลูกให้รู้จักการออมเงินในแบบฉบับของหญิงสมัยใหม่มาฝากคุณผู้อ่าน และถ้าสนใจจะนำไปปรับใช้กับลูกหลานของตนเอง“ดร.ยุ้ย” บอกยินดีคร๊า...
ดร.ยุ้ย บอกว่า ตอนนี้เป็นคุณแม่ลูกหนึ่ง และสอนหนังสือที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นผู้บริหารของ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งการสอนหนังสือ และการเป็นผู้บริหารทำให้เราสามารถกำหนดเวลาของการทำงานได้อย่างชัดเจน ซึ่งทั้งหมดสามารถทำได้อย่างไม่มีปัญหา และกับการสอนลูกกับการออมเงินเราก็จะมีวิธีด้วยการซื้อหนังสือที่เป็นนิทานในตลาดหลักทรัพย์มาสอนอยู่เสมอว่า การประหยัดอดออมมันมีคุณค่าอย่างไรบ้าง
สำหรับการบริหารเงินออมของ “ดร.ยุ้ย”บอกว่า รายได้ส่วนใหญ่ที่เข้ามาจะเป็นในรูปแบบของเงินปันผลของบริษัทและเงินค่าสอนหนังสือ โดยทั้งหมดจะแบ่งเก็บออมไว้ใน 3 รูปแบบ โดยส่วนแรกจะเป็นค่าใช้จ่ายปกติในชีวิตประจำวัน ส่วนที่ 2 เก็บไว้เป็นเซฟวิ่ง ซื้อหุ้นกู้ ซื้ออสังหาริมทรัพย์เก็บสะสม และส่วนสุดท้ายเป็นการฝากธนาคารไว้เพื่อการลงทุนอนาคตตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น ถ้าช่วงไหนหุ้นตกเราอาจจะนำเงินตรงนี้ถอนออกมาเพื่อซื้อหุ้นตัวนั้น ๆ แต่จะเป็นการลงทุนแบบระยะสั้น ๆ นอกจากนี้แล้วการลงทุนทองคำมีด้วยเช่นกัน แต่จะเป็นแบบทองก้อนมากว่าทองรูปพรรณ สาเหตุที่ลงทุนทองคำเพราะมองว่ามันเป็นแอสเซทที่น่าสนใจ มูลค่าไม่เคยเท่ากับศูนย์ แต่การลงทุนในหุ้นยังเท่ากับศูนย์บาทได้
“ประโยชน์ของการออมเงินมันคือการสร้างนิสัย และการออมเงินมันก็คล้าย ๆ กับเรื่องการซื้อบ้าน เช่นลูกค้ารายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า อยากซื้อบ้านอยากผ่อนเพราะมันจะสร้างวินัย ทำให้เรามีหน้าที่ และทำให้เรารู้สึกภูมิใจ เพราะลูกค้ารายนี้มีอายุแค่เพียง 28 - 29 ปีเอง เมื่อเรามีวินัย มีหน้าที่ที่จะส่งบ้าน พอวันข้างหน้าเราส่งบ้านหมด บ้านก็มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น มันก็คือการออมอย่างหนึ่งด้วย”
ส่วนงานบริหารของบริษัทตอนนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องบอกว่ามีการแข่งขันกันสูงมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดมันอยู่ที่ช่วงจังหวะ ทุนแข็งแกร่ง และการแข่งขันในแบรนด์ดิ้ง ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจและไว้วางใจ เพราะหนึ่งสิ่งที่สำคัญของการซื้อบ้านมันก็เหมือนกับการออมเงินด้วยเช่นกัน มูลค่าของบ้านไม่มีตก มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลา ซึ่งการเลือกบ้านก็เป็นอีกหนึ่งของการลงทุนถ้าเราเลือกเป็น มันก็จะเป็นเงินออมในอนาคตได้เช่นกัน
“เสนา ทำอสังหาริมทรัพย์มากกว่า 30 ปีแล้ว เราต้องการเป็นคนทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ครอบคลุม 360 องศา ซึ่งก่อนหน้านี้เราจะทำทาวเฮ้าส์เพียงอย่างเดียว ตอนนี้เราก็เริ่มที่จะทำหลายอย่างมากขึ้น ซึ่งเป็นจุดยืนของเรา เพื่อเป็นการสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าในครบ”ดร. ยุ้ย บอก
ดร.ยุ้ย บอกว่า การทำงานที่ดีให้ประสบความสำเร็จนั้นจะมีคำคมที่ใช้อยู่เสมอคือ “ถ้าชกยังไม่ครบ 10 ยกเราไม่เลิก” ซึ่งถ้าเรายังทำไม่ครบเราจะไม่ยอมเลิก นอกจากนี้แล้วการทำธุรกิจที่ดีต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าเราเชื่อมั่นว่ามันดีแล้วเราก็จะไม่มีการพัฒนา แต่พี่คิดว่า “การแข่งขัน” คือการพัฒนา
สุดท้าย ดร. ยุ้ย ฝากบอกว่า โดยส่วนตัวแล้วการใช้จ่ายเงินค่อนข้างจะมีกรอบ ซึ่งถ้าเรามีเงิน 100 บาท จะต้องแบ่งเก็บไว้ 20 บาท เพื่อเป็นเซฟวิ่ง แต่จะทำแบบสบาย ๆ ไม่ต้องตรึงเครียด แต่ต้องทำอย่างมีวินัยด้วย เพราะสิ่งที่เราเก็บไว้ต้องยอมรับว่ามันจะช่วยเราได้ในยามฉุกเฉิน เพราะไม่รู้ว่าในวันข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือ ต้องดูแลตัวเอง เพราะมันจะเป็นเครื่องมือของความมั่นคงด้านการเงิน และเราจะใช้หลักนี้เป็นเครื่องมือในการดูแลเราได้
////////////////
ชื่อ - นามสกุล ดร. เกษรา ธัญลักษณ์ (ยุ้ย)
วันเดือนปีเกิด 29 สิงหาคม 2517
การศึกษา บช.บ. (การเงิน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
M.B.A. (Finance and Accounting)University of California, U.S.A.
M.A. (Economics) Claremont Graduate University, U.S.A.
Ph.D. (Economics) Claremont Graduate University, U.S.A.
งานปัจจุบัน กรรมการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA
อาจารย์ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย