xs
xsm
sm
md
lg

บัวหลวงเข็นกองบอนด์6เดือน ชูยิลด์3.1%ไอพีโอ-21ก.พ.นี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - บลจ. บัวหลวง คลอดกองทุนตราสารหนี้ “บัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด 7/12” อายุ 6 เดือน ชูผลตอบแทนประมาณการที่ 3.1% รับดีมานด์ เริ่มไอพีโอแล้ว ถึง 21 กุมภาพันธ์ นี้

รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังเปิดขายกองทุนรวมบัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด 7/12 หรือ BUALUANG FIXED INCOME - TERM FUND 7/12 (B-FIXTERM7/12) ซึ่งมีอายุประมาณ 6 เดือน ให้ผล ตอบแทนประมาณการที่ 3.1% ต่อปี โดยเริ่มไอพีโอแล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2554

ทั้งนี้กองทุน B-FIXTERM7/12 จะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐประมาณ 31% เงินฝาก และตราสารสารสถาบันการเงินในประเทศอีก 20% เงินฝาก และตราสารหนี้สารหนี้ที่เป็นการลงทุนในต่างประเทศ 24% ตราสารหนี้ภาคเอกชน 24% และเงินฝากอีก 1%

โดยกองทุนดังกล่าวเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศและตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยเลือกการลงทุนในตราสารหนี้ของกิจการที่มีความมั่นคงและมีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนที่ดี อย่างไรก็ตามเงินลงทุนที่จะนำมาลงทุนกองทันนี้ควรเป็นเงินส่วนที่สามารถได้ตามอายุกองทุน

สำหรับกองทุนรวมบัวหลวงตราสารหนี้ชนิดระบุวันครบกำหนด 7/12 จะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ และต่างประเทศ โดยส่วนที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศ กองทุนจะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจไทย เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลัง กองทุน ฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก ผู้รับรอง เป็นต้น

ขณะที่การลงทุนในต่างประเทศ ตราสารหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยจะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน รวมถึงภาคเอกชน ที่เสนอขายในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการจัดอันดับ ณ วันที่ลงทุน ในระดับ INVESTMENT GRADE

นอกจากนี้กองทุนดังกล่าวจะวัดผลการดำเนินงานโดยใช้ค่าเฉลี่ยอัตราผลตอบแทนตามน้ำหนักที่ลงทุน ดังต่อไปนี้ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรที่มีอายุคงที่ Zero Rate Return (ZRR) อายุ 6 เดือน ณ วันที่ลงทุน ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรที่มีอายุคงที่ Zero rate return (ZRR) อายุ 6 เดือน ณ วันที่ลงทุน บวกด้วยส่วนต่าง ของตราสารหนี้ภาคเอกชนเทียบกับพันธบัตร อันดับเครดิต BBB ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 45 อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารสำหรับระยะเวลา 1 ปี สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ปรับด้วยต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน บวกด้วยค่าเฉลี่ยของ Credit Spread ของตราสารที่มีการจัดอันดับเครดิตในระดับ Aอายุ 1 ปี ในช่วงระยะเวลาที่คำนวณผลตอบแทน ณ วันที่ลงทุน ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 25
กำลังโหลดความคิดเห็น