คอลัมน์ Money GuRu
โดยเศรษฐา ปวีณอภิชาติ
บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
นักลงทุนที่คุณไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวมีอยู่ 2 ประเภท คือ นักลงทุนที่ไม่เคยผิดพลาด และนักลงทุนที่ผิดพลาดอยู่เสมอ การลงทุนนั้นนักลงทุนย่อมพบกับความผิดพลาด นักลงทุนคนไหนที่ไม่ทำให้เกิดความผิดพลาดซ้ำสองนั้นน่าจะเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งความผิดพลาดสำหรับการลงทุนนั้นไม่ควรที่จะให้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะความผิดพลาดสร้างความเสียหายให้กับเรา นักลงทุนควรเรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อพัฒนาตัวเอง การลงทุนที่ผิดพลาดมีหลายอย่าง ซึ่งเราควรทำความเข้าใจเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้
1.การซื้อหุ้นที่คุณไม่เข้าใจ
เมื่อคุณซื้อหุ้นที่ไม่เข้าใจ เท่ากับคุณฝากชีวิตไว้แค่ราคาหุ้น ถ้าราคาหุ้นปรับลงโดยคุณก็ไม่รู้สาเหตุ ทำให้คุณรีบขายหุ้นออกไป แต่หากคุณรู้ว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่ซื้อเป็นเท่าไร ก็จะทำให้คุณได้ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยม โดยที่ไม่มีความกังวลกับราคาที่ผันผวน
2.กระจายการลงทุนมากเกินไป
บางครั้งคุณกระจายการลงทุนมากเกินไป แน่นอนว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง แต่ในทางกลับกันนั่นก็เป็นการกระจายผลตอบแทนเช่นกัน ดังนั้นหากคุณเจอหุ้น Super stock จงให้น้ำหนักการลงทุนกับหุ้นนี้อย่างเต็มที่
3.ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างมูลค่าและราคา
คุณรู้ว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทที่ดีเยี่ยม แต่หากคุณซื้อมาในราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง ก็อาจทำให้มีโอกาสขาดทุนได้ถึงแม้ว่าเราจะซื้อหุ้นบริษัทที่ดีก็ตาม
4.ไม่เข้าใจสภาวะตลาด
ราคาที่ตลาดกำหนดล้วนแต่เป็นอารมณ์ของตลาด หากคุณมีอารมณ์เดียวกับตลาด คุณจะไม่รู้เลยว่าราคาที่ตลาดซื้อขายนั้นไม่ใช่ราคาที่ควรจะเป็น
5.ให้ความสำคัญกับตลาดมากเกินไป
หากคุณมีความตื่นตระหนกกับตลาดในระยะสั้นมากเกินไป เนื่องจากมีข่าวที่มีผลกระทบกับตลาดหุ้นทุกวัน และคุณก็ซื้อขายหุ้นตามข่าวทุกวัน นั่นจะทำให้คุณเกิดความสับสน และสุดท้ายคุณก็จะเป็นคนในฝูงชน
6.ความเฉื่อย
คุณต้องติดตามข้อมูลหุ้นที่อยู่ในพอร์ตของคุณอย่างสม่ำเสมอ หากขาดทุนจงมองหาสาเหตุ อย่าปล่อยให้เป็นไปเพราะความเฉื่อยจากการไม่สนใจกับหุ้นตัวนั้นๆ
7.ความตั้งใจในการประเมินผู้บริหารไม่มากพอ
นักลงทุนที่ได้รับข้อมูลจากผู้บริหาร บางครั้งฟังดูดี แต่นักลงทุนจะขาดการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต่อไป เนื่องจากบางครั้งข้อมูลที่ได้นักลงทุนไม่สามารถหาเองได้ ทำให้ต้องฟังแต่เพียงผู้บริหาร ซึ่งบางครั้งข้อมูลอาจมีความคลาดเคลื่อนโดยที่นักลงทุนก็ไม่ทราบ
8.ข้อมูลมากเกินไป
คุณอาจได้รับข่าวสารในแต่ละวันค่อนข้างมาก ระบบย่อยข้อมูลของคุณอาจเกิดความผิดพลาดได้ หากเราไม่มีระบบการตัดสินใจที่ดี จึงอาจทำให้การซื้อขายหุ้นผิดพลาดได้ง่าย
9.มีความยโส
เป็นการมั่นใจโดยไม่ฟังข้อมูลอีกด้าน หรือหาเหตุผลเฉพาะแต่ข้อสนับสนุนความคิดเห็นของตัวเอง ซึ่งจะทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจเกินไป อาจทำให้การตัดสินใจง่ายที่ผิดพลาด
จงเรียนรู้สิ่งที่ตัวเองเคยทำผิดและจากนักลงทุนคนอื่น ปรับวิธีให้เหมาะสมกับเรา หากขาดทุนอย่าคิดว่าเราไม่เก่ง ไม่มีความสามารถ ทุกคนประสบความสำเร็จได้หากตั้งใจจริง และมีวินัยในการลงทุน เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ตัวเองเคยผิดพลาดมาก่อน
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ มั่งคั่งอย่าง วอเร็น บัฟเฟตต์ ผู้เขียน Robert P. Miles. ผู้แปล ดร.กุศยา สีฬหาวงศ์
ความคิดเห็นและข้อความต่างๆ ในบทความนี้เป็นทัศนะของผู้เขียนเท่านั้น ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
โดยเศรษฐา ปวีณอภิชาติ
บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
นักลงทุนที่คุณไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวมีอยู่ 2 ประเภท คือ นักลงทุนที่ไม่เคยผิดพลาด และนักลงทุนที่ผิดพลาดอยู่เสมอ การลงทุนนั้นนักลงทุนย่อมพบกับความผิดพลาด นักลงทุนคนไหนที่ไม่ทำให้เกิดความผิดพลาดซ้ำสองนั้นน่าจะเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งความผิดพลาดสำหรับการลงทุนนั้นไม่ควรที่จะให้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะความผิดพลาดสร้างความเสียหายให้กับเรา นักลงทุนควรเรียนรู้จากความผิดพลาดเพื่อพัฒนาตัวเอง การลงทุนที่ผิดพลาดมีหลายอย่าง ซึ่งเราควรทำความเข้าใจเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้
1.การซื้อหุ้นที่คุณไม่เข้าใจ
เมื่อคุณซื้อหุ้นที่ไม่เข้าใจ เท่ากับคุณฝากชีวิตไว้แค่ราคาหุ้น ถ้าราคาหุ้นปรับลงโดยคุณก็ไม่รู้สาเหตุ ทำให้คุณรีบขายหุ้นออกไป แต่หากคุณรู้ว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่ซื้อเป็นเท่าไร ก็จะทำให้คุณได้ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยม โดยที่ไม่มีความกังวลกับราคาที่ผันผวน
2.กระจายการลงทุนมากเกินไป
บางครั้งคุณกระจายการลงทุนมากเกินไป แน่นอนว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง แต่ในทางกลับกันนั่นก็เป็นการกระจายผลตอบแทนเช่นกัน ดังนั้นหากคุณเจอหุ้น Super stock จงให้น้ำหนักการลงทุนกับหุ้นนี้อย่างเต็มที่
3.ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างมูลค่าและราคา
คุณรู้ว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทที่ดีเยี่ยม แต่หากคุณซื้อมาในราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง ก็อาจทำให้มีโอกาสขาดทุนได้ถึงแม้ว่าเราจะซื้อหุ้นบริษัทที่ดีก็ตาม
4.ไม่เข้าใจสภาวะตลาด
ราคาที่ตลาดกำหนดล้วนแต่เป็นอารมณ์ของตลาด หากคุณมีอารมณ์เดียวกับตลาด คุณจะไม่รู้เลยว่าราคาที่ตลาดซื้อขายนั้นไม่ใช่ราคาที่ควรจะเป็น
5.ให้ความสำคัญกับตลาดมากเกินไป
หากคุณมีความตื่นตระหนกกับตลาดในระยะสั้นมากเกินไป เนื่องจากมีข่าวที่มีผลกระทบกับตลาดหุ้นทุกวัน และคุณก็ซื้อขายหุ้นตามข่าวทุกวัน นั่นจะทำให้คุณเกิดความสับสน และสุดท้ายคุณก็จะเป็นคนในฝูงชน
6.ความเฉื่อย
คุณต้องติดตามข้อมูลหุ้นที่อยู่ในพอร์ตของคุณอย่างสม่ำเสมอ หากขาดทุนจงมองหาสาเหตุ อย่าปล่อยให้เป็นไปเพราะความเฉื่อยจากการไม่สนใจกับหุ้นตัวนั้นๆ
7.ความตั้งใจในการประเมินผู้บริหารไม่มากพอ
นักลงทุนที่ได้รับข้อมูลจากผู้บริหาร บางครั้งฟังดูดี แต่นักลงทุนจะขาดการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต่อไป เนื่องจากบางครั้งข้อมูลที่ได้นักลงทุนไม่สามารถหาเองได้ ทำให้ต้องฟังแต่เพียงผู้บริหาร ซึ่งบางครั้งข้อมูลอาจมีความคลาดเคลื่อนโดยที่นักลงทุนก็ไม่ทราบ
8.ข้อมูลมากเกินไป
คุณอาจได้รับข่าวสารในแต่ละวันค่อนข้างมาก ระบบย่อยข้อมูลของคุณอาจเกิดความผิดพลาดได้ หากเราไม่มีระบบการตัดสินใจที่ดี จึงอาจทำให้การซื้อขายหุ้นผิดพลาดได้ง่าย
9.มีความยโส
เป็นการมั่นใจโดยไม่ฟังข้อมูลอีกด้าน หรือหาเหตุผลเฉพาะแต่ข้อสนับสนุนความคิดเห็นของตัวเอง ซึ่งจะทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจเกินไป อาจทำให้การตัดสินใจง่ายที่ผิดพลาด
จงเรียนรู้สิ่งที่ตัวเองเคยทำผิดและจากนักลงทุนคนอื่น ปรับวิธีให้เหมาะสมกับเรา หากขาดทุนอย่าคิดว่าเราไม่เก่ง ไม่มีความสามารถ ทุกคนประสบความสำเร็จได้หากตั้งใจจริง และมีวินัยในการลงทุน เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่ตัวเองเคยผิดพลาดมาก่อน
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ มั่งคั่งอย่าง วอเร็น บัฟเฟตต์ ผู้เขียน Robert P. Miles. ผู้แปล ดร.กุศยา สีฬหาวงศ์
ความคิดเห็นและข้อความต่างๆ ในบทความนี้เป็นทัศนะของผู้เขียนเท่านั้น ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย