ฝ่ายวิจัยบล.เอเซียพลัส มองครึ่งปีแรกเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว เพื่อรอให้ยุโรปจัดการปัญหาหนี้สาธารณะให้ชัดเจน ขณะที่ไทยยังต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูประเทศอย่างน้อย 3-6 เดือนหลังได้นับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม พร้อมมอง GDP Growth อยู่ที่ 4%
รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส จำกัด เปิดเผยว่า World Bank เป็นได้ทำการปรับลด GDP Growth ของเศรษฐกิจโลก โดยในปี 2554-2556 โดยเฉพาะในปี 2555 ได้ปรับลดลงจาก 3.6% เหลือ 2.5% ส่วนในปี 2556 ปรับลดลงเหลือ3.1% จากเดิม 3.6% ซึ่งถือว่าการปรับลดลงครั้งนี้ถือเป็นการปรับลดสอดคล้องกับสำนักวิจัยชั้นนำขอโลกที่ได้รับลดไปก่อนหน้าคือ HSBC, CITI, UBS ปรับลดลงระหว่าง 2.8-3.2% ตั้งแต่ปลายปี 2554
อย่างไรก็ตามWorld Bank ก็เตือนต่อไปว่ามีโอกาสจะปรับลดอัตราการเจริญเติบโตในรอบถัดไป หากวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปยังยืดเยื้อเป็นปีที่ 3 โดยหากมีการปรับ GDP Growth ในรอบถัดไป คาดว่าอาจจะลดลงไปใกล้ 2% ซึ่งจะถือว่าเป็นระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เศรษฐกิจได้ผ่านพ้นวิกฤติซับไพร์มในปี 2551-2552 ซึ่งช่วงเกิดวิกฤติซับไพร์มGDP Growth โลกชะลอตัวจาก 3.96% ปี 2550 เหลือ 1.49% ในปี 2551 และติดลบ 2.3% ในปี 2552 ก่อนที่จะฟื้นตัวมาเป็นบวก 4.1% ในปี 2553
โดยการปรับลดประมาณการ GDP Growth โลกในปี 2555 ลงนั้นหลัก มาจากประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะ ในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรป กล่าวคือลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 1.8% จากปี 2554 เป็นภาวะหดตัว หรือติดลบ 0.3% ตามมาด้วยสหรัฐ ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ 2.9% เหลือ 2% ส่วนประเทศกำลังพัฒนาได้มีการปรับลด GDP Growth ของหลายประเทศลง โดยเฉพาะในฝั่งเอเซียตะวันออก และแปซิฟิค(East Asia and Pacific) ได้ปรับลดประเทศจีน ลงจากเดิม 8.7% เหลือ 7.4% และปรับลดลงอีกเล็กน้อยในปี2556 จากเดิม 8.8% เหลือ 8.3% ตามมาด้วย ประเทศอินโดนีเซีย โดยปรับลดลงเล็กน้อยจากประมาณการเดิม 6.5% เหลือ 6.2%
ส่วนประเทศไทยยังคงยืนตัวเลขอัตราการเติบโตที่เดิมคือ 4.2% ในปี 2555 แต่กลับประเมินว่าในปี 2556 ประเทศไทยจะเติบโตในอัตราสูงถึง 4.9% เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 4.3% และเป็นที่สังเกตว่าในปี 2554 ประเทศไทยถูกปรับลด GDP Growth ลงจากเดิม 3.7% เหลือเพียง 2% นั่นหมายความว่าในงวดไตรมาส 4/54 GDP Growth น่าจะหดตัวราว 1% เนื่องจากผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมใหญ่ทั้งนี้ในงวด 9 เดือนแรกของปี 2554 เติบโตแล้วกว่า 3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า
ฝ่ายวิจัยบล.เอเซียพลัส มองต่อว่า นอกจากปัจจัยกดดันจากภายนอกแล้ว ผลกระทบจากวิกฤติน้ำท่วมในช่วงปลายปีที่ผ่าน ทำให้ทางฝ่ายวิจัยฯ ได้ประเมินว่า GDP Growth ในปี 2554 จะเติบโตเพียง 1.5% ต่ำกว่าของ World Bank โดยประเมินว่าในงวดไตรมาส 4/55 GDP Growth ของไทย น่าจะติดลบ 3.1% ขณะที่ในงวด 9M54 GDP Growth อยู่ที่3.1% ส่วนปี 2555 คาดว่า GDP Growth จะเติบโตในอัตรา 4% โดยคาดว่าจะฟื้นตัวจากที่ติดลบมากในงวดไตรมาส4/54 อย่างมากดังกล่าวข้างต้น ลงมาเหลือติดลบเพียงเล็กน้อยในไตรมาส 1/55 และ จะค่อยๆเห็นการฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาส 2 และ ไตรมาส 3 ของปี 2555 พร้อมกับอัตราการเติบโตจะสูงสุดที่ 7%ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2555
ทั้งนี้ภาวะเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะยังอยู่ในภาวะชะลอตัวอย่างน้อย 6 เดือนแรกของปี 2555 จนกว่าแผนการปรับโครงสร้างหนี้ในยุโรปจะแก้ไขเป็นรูปธรรม ขณะที่ประเทศไทย ยังต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูอย่างน้อย 3-6เดือน คือ ในช่วงปลายปี 2554 จนถึงไตรมาสแรกของปี 2555 อันเป็นผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปัญหาว่าได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากน้อยเพียงใด เช่น อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมโดยตรง อาจจะต้องใช้เวลาฟื้นฟูกิจการนานถึง 6 เดือน ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเล็กน้อย หรือ เป็นผลทางอ้อม เช่น น้ำท่วมทำให้การขนส่งไม่สะดวก กระทบทำให้ยอดขายตกต่ำกลุ่มนี้จึงน่าจะมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วกว่ากลุ่มแรก
อย่างไรก็ตามในสถานการณ์นี้ คาดว่า น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยกนง. ยังคงเดินหน้าลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2555 ราว0.75% ไปอยู่ที่ 2.5% โดยในการประชุมในวันที่ 25 ม.ค. นี้ คาดว่า กนง. น่าจะลดดอกเบี้ยนโยบายลง0.25% เหลือ 3% ส่วนในช่วง 6 เดือนหลังของปี คาดว่าโอกาสการลดดอกเบี้ยน่าจะน้อยลง และเพื่อรอดูแนวโน้มเศรษฐกิจโลก และภาวะเงินเฟ้ออีกรอบ
ทั้งนี้ในช่วงปลายปี 2554 พบว่ามีหลายประเทศที่ได้เดินหน้าลดดอกเบี้ยไปแล้ว โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วอย่าง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหภาพยุโรป ส่วนประเทศในแถบเอเซีย มีอินโดนีเซียนำร่องลดดอกเบี้ยไปนโยบายไปก่อน ตามมาด้วยไทย และจีน ซึ่งจีนเป็นประเทศเดียวที่ใช้วิธีการลดอัตราการดำรงเงินสดสำรอง(Reserve Requirement) โดยลดลงไป 0.5% เหลือ 21% และทาง RBS (Royal Bank of Scotland) คาดว่าในช่วง 6 เดือนแรกของป ? 2555 มีโอกาสลดลง 1-2% หรือลดลงมากสุดเหลือ 19-20% ซึ่งปัจจัยนี้อาจจะเป็นประเด็นเดียวที่น่าจะหนุนสภาพคล่องโลก และหนุนให้ตลาดหุ้นมีโอกาสฟื้นตัวได้
รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส จำกัด เปิดเผยว่า World Bank เป็นได้ทำการปรับลด GDP Growth ของเศรษฐกิจโลก โดยในปี 2554-2556 โดยเฉพาะในปี 2555 ได้ปรับลดลงจาก 3.6% เหลือ 2.5% ส่วนในปี 2556 ปรับลดลงเหลือ3.1% จากเดิม 3.6% ซึ่งถือว่าการปรับลดลงครั้งนี้ถือเป็นการปรับลดสอดคล้องกับสำนักวิจัยชั้นนำขอโลกที่ได้รับลดไปก่อนหน้าคือ HSBC, CITI, UBS ปรับลดลงระหว่าง 2.8-3.2% ตั้งแต่ปลายปี 2554
อย่างไรก็ตามWorld Bank ก็เตือนต่อไปว่ามีโอกาสจะปรับลดอัตราการเจริญเติบโตในรอบถัดไป หากวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปยังยืดเยื้อเป็นปีที่ 3 โดยหากมีการปรับ GDP Growth ในรอบถัดไป คาดว่าอาจจะลดลงไปใกล้ 2% ซึ่งจะถือว่าเป็นระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เศรษฐกิจได้ผ่านพ้นวิกฤติซับไพร์มในปี 2551-2552 ซึ่งช่วงเกิดวิกฤติซับไพร์มGDP Growth โลกชะลอตัวจาก 3.96% ปี 2550 เหลือ 1.49% ในปี 2551 และติดลบ 2.3% ในปี 2552 ก่อนที่จะฟื้นตัวมาเป็นบวก 4.1% ในปี 2553
โดยการปรับลดประมาณการ GDP Growth โลกในปี 2555 ลงนั้นหลัก มาจากประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะ ในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรป กล่าวคือลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 1.8% จากปี 2554 เป็นภาวะหดตัว หรือติดลบ 0.3% ตามมาด้วยสหรัฐ ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ 2.9% เหลือ 2% ส่วนประเทศกำลังพัฒนาได้มีการปรับลด GDP Growth ของหลายประเทศลง โดยเฉพาะในฝั่งเอเซียตะวันออก และแปซิฟิค(East Asia and Pacific) ได้ปรับลดประเทศจีน ลงจากเดิม 8.7% เหลือ 7.4% และปรับลดลงอีกเล็กน้อยในปี2556 จากเดิม 8.8% เหลือ 8.3% ตามมาด้วย ประเทศอินโดนีเซีย โดยปรับลดลงเล็กน้อยจากประมาณการเดิม 6.5% เหลือ 6.2%
ส่วนประเทศไทยยังคงยืนตัวเลขอัตราการเติบโตที่เดิมคือ 4.2% ในปี 2555 แต่กลับประเมินว่าในปี 2556 ประเทศไทยจะเติบโตในอัตราสูงถึง 4.9% เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 4.3% และเป็นที่สังเกตว่าในปี 2554 ประเทศไทยถูกปรับลด GDP Growth ลงจากเดิม 3.7% เหลือเพียง 2% นั่นหมายความว่าในงวดไตรมาส 4/54 GDP Growth น่าจะหดตัวราว 1% เนื่องจากผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมใหญ่ทั้งนี้ในงวด 9 เดือนแรกของปี 2554 เติบโตแล้วกว่า 3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า
ฝ่ายวิจัยบล.เอเซียพลัส มองต่อว่า นอกจากปัจจัยกดดันจากภายนอกแล้ว ผลกระทบจากวิกฤติน้ำท่วมในช่วงปลายปีที่ผ่าน ทำให้ทางฝ่ายวิจัยฯ ได้ประเมินว่า GDP Growth ในปี 2554 จะเติบโตเพียง 1.5% ต่ำกว่าของ World Bank โดยประเมินว่าในงวดไตรมาส 4/55 GDP Growth ของไทย น่าจะติดลบ 3.1% ขณะที่ในงวด 9M54 GDP Growth อยู่ที่3.1% ส่วนปี 2555 คาดว่า GDP Growth จะเติบโตในอัตรา 4% โดยคาดว่าจะฟื้นตัวจากที่ติดลบมากในงวดไตรมาส4/54 อย่างมากดังกล่าวข้างต้น ลงมาเหลือติดลบเพียงเล็กน้อยในไตรมาส 1/55 และ จะค่อยๆเห็นการฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาส 2 และ ไตรมาส 3 ของปี 2555 พร้อมกับอัตราการเติบโตจะสูงสุดที่ 7%ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2555
ทั้งนี้ภาวะเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะยังอยู่ในภาวะชะลอตัวอย่างน้อย 6 เดือนแรกของปี 2555 จนกว่าแผนการปรับโครงสร้างหนี้ในยุโรปจะแก้ไขเป็นรูปธรรม ขณะที่ประเทศไทย ยังต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูอย่างน้อย 3-6เดือน คือ ในช่วงปลายปี 2554 จนถึงไตรมาสแรกของปี 2555 อันเป็นผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปัญหาว่าได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากน้อยเพียงใด เช่น อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมโดยตรง อาจจะต้องใช้เวลาฟื้นฟูกิจการนานถึง 6 เดือน ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเล็กน้อย หรือ เป็นผลทางอ้อม เช่น น้ำท่วมทำให้การขนส่งไม่สะดวก กระทบทำให้ยอดขายตกต่ำกลุ่มนี้จึงน่าจะมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วกว่ากลุ่มแรก
อย่างไรก็ตามในสถานการณ์นี้ คาดว่า น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยกนง. ยังคงเดินหน้าลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2555 ราว0.75% ไปอยู่ที่ 2.5% โดยในการประชุมในวันที่ 25 ม.ค. นี้ คาดว่า กนง. น่าจะลดดอกเบี้ยนโยบายลง0.25% เหลือ 3% ส่วนในช่วง 6 เดือนหลังของปี คาดว่าโอกาสการลดดอกเบี้ยน่าจะน้อยลง และเพื่อรอดูแนวโน้มเศรษฐกิจโลก และภาวะเงินเฟ้ออีกรอบ
ทั้งนี้ในช่วงปลายปี 2554 พบว่ามีหลายประเทศที่ได้เดินหน้าลดดอกเบี้ยไปแล้ว โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วอย่าง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหภาพยุโรป ส่วนประเทศในแถบเอเซีย มีอินโดนีเซียนำร่องลดดอกเบี้ยไปนโยบายไปก่อน ตามมาด้วยไทย และจีน ซึ่งจีนเป็นประเทศเดียวที่ใช้วิธีการลดอัตราการดำรงเงินสดสำรอง(Reserve Requirement) โดยลดลงไป 0.5% เหลือ 21% และทาง RBS (Royal Bank of Scotland) คาดว่าในช่วง 6 เดือนแรกของป ? 2555 มีโอกาสลดลง 1-2% หรือลดลงมากสุดเหลือ 19-20% ซึ่งปัจจัยนี้อาจจะเป็นประเด็นเดียวที่น่าจะหนุนสภาพคล่องโลก และหนุนให้ตลาดหุ้นมีโอกาสฟื้นตัวได้