xs
xsm
sm
md
lg

รัชดา ตั้งหะรัฐ เลือกลงทุนยาวเพื่อรับผลตอบแทนที่สูง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รัชดา ตั้งหะรัฐ
รูปแบบของการลงทุนในแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไปตามสไตน์ของตนเองและแน่นอนว่าย่อมได้รับผลตอบแทนและความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามหัวใจของการลงทุนที่ทุกคนต้องการนั้นก็คือไม่ต้องการที่อยากจะขาดทุนและอยากได้กำไรที่มาก ดังนั้นแล้วการวางแผนการลงทุน ด้วยการศึกษาข้อมูลในหลักทรัพย์ที่ตนเองจะลงทุน ระยะเวลาที่เราต้องการ และการตั้งเป้าผลตอบแทน จะทำให้เราทราบว่าเรากำลังลงทุนอย่างไร และที่สำคัญคือการมีระเบียบวินัยในการลงทุนจะเป็นตัวที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ

คอลัมน์"เจาะพอร์ตคนดัง" ฉบับนี้ ขอนำเสนอวิธีการวางแผนการลงทุนตามสไตน์ ของ พี่รัด - รัชดา ตั้งหะรัฐ ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายวางแผนการลงทุน ส่วนตัวแทนขาย 1 สายงานพัฒนาธุรกิจ ผู้อยู่ในธุรกิจการเงินและการลงทุน รวมทั้งการให้ความรู้ในเรื่องการวางแผนการลงทุน

พี่รัด บอกว่า ตามหลักๆแล้วการลงทุนในพร์อตการลงทุนของเราก็จะเป็นอะไรที่เกี่ยวกับดอกเบี้ย ก็ คือ ตราสารหนี้ อันที่ 2 คือ อสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่เป็นแบบซื้อตรงและแบบการลงทุนผ่านกองทุนรวม อันที่ 3 ก็จะเป็นหุ้นไทย อันที่ 4 คือหุ้นต่างประเทศ และสุดท้าย คือ ลงทุนในคอมมอดิตี้ โดยส่วนตัวแล้วเนื่องจากอยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวกับการลงทุน ก็มีความกลัวในเรื่องของการขาดทุนอยู่ด้วย แต่ด้วยอยู่ในธุรกิจนี้มานาน เราจึงเห็นวงจรการลงทุนของมัน ซึ่งก็มีการขึ้นๆและลงๆ

ส่วนก็ชอบการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ แต่ใช้วิธีการลดดความเสี่ยงด้วยการลงทุนในระยะยาว ดังนั้น ของการลงทุนโดยส่วนตัวแล้ว จะเป็นลักษณะ ลงทุนครบทั้ง 5 ประเภท เพียงแต่จัดการลงทุนในตราสารหนี้และอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วยกัน เพราะมองในเรื่องของผลตอบแทนที่ไม่สูงแต่คงที่

"พอร์ตการลงทุน ของพี่รัด จะลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว ประมาณ 20% ของพอร์ต ตั้งเป้าผลตอบแทนที่ 5% สัดส่วนนี้อาจรวมไปถึงประกันชีวิตด้วยเพราะได้ดอกเบี้ย ที่เหลือจะกระจายไปเท่าๆกัน ประมาณ 20% ได้แก่ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ และทองคำ และหากมีเงินเหลืออาจจะเลือกลงทุนในหุ้นไทยเป็นรายตัวตามจังหวะและได้รับเงินปันผลแต่ไม่เน้นการเทรด เช่นที่ชอบก็คือ หุ้นปตท. บ้านปู โดยเข้าซื้อในช่วงที่คนกลัวและถือยาว"

โดยในพอร์ตลงทุนที่เป็นตราสารหนี้ พี่รัด บอกว่า การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ แม้ว่าจะสามารถบริหารได้ แต่ก็ได้ผลตอบแทนที่ต่างกันในแต่ละคนเช่นกัน เช่น หากมองว่า มีเงินต้นที่ไม่ได้ใช้และตั้งใจที่จะมองหาผลตอบแทนที่ระดับ 7- 10% ในตลอดทั้งปี ฉะนั้นจึงควรลงทุนในตราสารหนี้ส่วนใหญ่ที่ยาวๆเป็นส่วนใหญ่ เช่น ตราสารหนี้ของแบงก์ที่ให้ผลตอบแทนสูงแต่ลงทุนในระยะยาว ประมาณ 3 ปี ระหว่างทางก็มีผลตอบแทนให้ เราก็จะเลือกลงทุนไว้ในสินทรัพย์นี้เลย อีกส่วนคือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ก็มีผลตอบแทนที่ให้ลูกค้าในแบบปันผลสม่ำเสมอ ประมาณ 6-7% ดังนั้นพอร์ตการลงทุนโดยส่วนตัวก็จะเป็นแบบนี้คือ ตั้งเป้าผลตอบแทนไว้ที่ 7-10%

ต่อมาในส่วนที่เป็นการลงทุนในหุ้นนั้น ก็จะกระจายไปลงทุนในหุ้นไทย อย่าง LTF - RMF ที่ช่วยในเรื่องการลดหย่อนภาษีและก็ได้รับผลตอบแทนอีกส่วนหนึ่ง อีกส่วนคือหุ้นต่างประเทศ ตามสูตรของตนเองจะเลือกลงทุนยาวและก็ไม่ตกใจในระหว่างทางหากหุ้นตกลงก็จะพยายามเข้าไปซื้อ โดยหลักๆที่ลงทุนจะเป็นภูมิภาคเอเชีย ที่ตอนนี้หุ้นอย่างจีน อินเดีย ตกลงมา จึงป็นโอกาสที่จะเข้าไปลงทุนเพิ่ม

สุดท้ายของพอร์ตการเป็นลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ โดยในบ้านเรามีกองทุนที่ลงทุนในทองคำ ซึ่งส่วนตัวจะลงทุนในทองคำเพราะไม่มีเวลา

พี่รัด ยังยกสูตรการลงทุนให้ฟังด้วยว่า ที่ลงทุนโดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 7-10% นั้นเป็นการส่งผลดีในระยะยาว เพราะหากดูตามสูตรการลงทุนแล้วนั้นจะพบว่าหากตั้งเป้าผลตอบแทนไว้ที่ 7% และลงทุนอย่างสม่ำสมอทุกเดือน เดือนละประมาณ 10,000 บาท ในช่วงเวลา 5 ปี สมมุตจากเงินลงทุน 1,000,000 บาทจะเพิ่มเป็น 4 ล้านบาท หากตั้งเป้าผลตอบแทนที่ 5% จะเพิ่มเป็น 3,500,0003 และหากตั้งเป้าไว้ที่ 10% ก็จะเพิ่มเป็น 5 ล้านบาท แต่บางคนมันเลือกที่จะลงทุนในระยะสั้นๆไปก่อน เช่นลงทุนรับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยในช่วง 3 - 6 เดือนจึงเป็นการเสียโอกาสที่จะได้ดอกเบี้ยคงที่ในระยะยาว

แต่ที่ดีที่สุดที่อยากแนะนำคือ คนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่สามารถเลือกลงทุนด้วยตนเองได้ ควรตั้งเป้าว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าใด หากปรับพอร์ตการลงทุนตามที่ตนเองรับได้แล้ว ก็จะให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวด้วย ยกตัวอย่างทองคำ 10 ที่ผ่านมาปรับตัวบวกตลอดทุกปีละประมาณ 10 -22% ซึ่งให้ผลตอบแทนที่สูงมากเมื่อเทียบกับผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยซึ่งน้อยมาก

"ฉะนั้นอยู่ที่การจัดการว่าจะมีพอร์ตการลงทุนของเราแบบไหน ระยะเวลาในการลงทุนแบบไหน และความคาดหวังในผลตอบแทนอยู่ในระดับไหน ซึ่งแม้ว่าการลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนสูงจะมีความเสี่ยงต่อเงินต้นบ้าง แต่ก็ไม่กลัวเพราะมั่นใจว่าในวงจรเศรษฐกิจแล้วซึ่งสุดท้ายแล้วมันจะกลับขึ้นมา แต่ต้องมั่นใจว่าเงินลงทุนก้อนนี้ต้องไม่เอาออกไปใช้"

ชื่อ - นามสกุล รัชดา ตั้งหะรัฐ

การศึกษา - ปริญญาโท มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC), MBA

ตำแหน่งปัจจุบัน - ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายวางแผนการลงทุน ส่วนตัวแทนขาย 1 สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี จำกัด
กำลังโหลดความคิดเห็น