ASYVผู้จัดการรายวัน - โกลด์แมนแซคส์ แนะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสนค้าโภคภัณฑ์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า หลัง ศก.จีนผ่อนคลายหนุนการขยายตัวของสินค้าโภคภัณฑ์ พร้อมคาดว่าราคาทองยังคงพุ่งขึ้นในปีนี้และปีหน้า
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี รายงานภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศว่า โกลด์แมนแซคส์ แนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า แม้ยังคงเผชิญวิกฤติหนี้ยุโรป โดยมุมมองนี้ถูกตอกย้ำด้วยการปรับเปลี่ยนนโยบายของจีนให้ผ่อนคลายลง ซึ่งอาจช่วยหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุปสงค์สินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม โกลด์แมนแซคส์ได้ปรับลดคาด
การณ์ผลตอบแทนของ S&P GSCI Enhanced Commodity ในอีก 12 เดือนข้างหน้า สู่ระดับ 15% จาก 20% อันเนื่องมาจากการพุ่งขึ้นของผลตอบแทนสินค้าโภคภัณฑ์ นับตั้งแต่เดือน ก.ย. อีกทั้งโกลด์แมนแซคส์ยังคาดว่าราคาทองยังคงพุ่งขึ้นในปีนี้และปีหน้า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของสหรัฐฯ ยังอยู่ระดับต่ำ
ขณะที่ ฟิทซ์เตือน อาจลดแนวโน้มเครดิตของธนาคารสหรัฐฯ เหตุปัญหายุโรปลุกลาม ฟิทซ์ เรทติ้งส์ เตือนอาจลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของธนาคารสหรัฐฯ ที่ดำเนินธุรกิจในตลาดทุนขนาดใหญ่ลงจาก “มีเสถียรภาพ” เนื่องจากปัญหาจากยุโรปลุกลาม ธนาคารในสหรัฐฯ ได้ขยายการดำเนินธุรกรรมซื้อขายในยุโรปในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และปรับลดการดำเนินงานด้านการปล่อยกู้แบบดั้งเดิมลง ขณะที่ปัญหาหนี้ยุโรปอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ในตลาดทุนของสหรัฐฯ เนื่องจาก 1 ใน 3 ของรายได้ดังกล่าวมาจากคู่สัญญาในยุโรป ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการระดมทุนของธนาคารด้วยเช่นกัน
ด้านนายมาริโอ มอนติ อดีตกรรมาธิการยุโรป ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลีแทนนาย ซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนีโดยนายมอนติ มีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาดที่มีต่อเศรษฐกิจอิตาลีที่มีภาระหนี้สินอยู่ในระดับสูง ซึ่งล่าสุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีรุ่นอายุ 10 ปี ได้พุ่งขึ้นเหนือระดับ 7% ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งนาย วีมานน์ คณะ
กรรมการของธนาคารกลางยุโรป (ECB) แสดงความเห็นว่าปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่เป็นเพียงวิกฤติของความเชื่อมั่นเท่านั้น ซึ่งนายวีดมานน์มองว่า อิตาลีมีความแตกต่างจากกรีซมาก และจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ในที่สุด
ขณะเดียวกันจากตัวเลขการหดตัวของภาคการผลิตในยุโรป ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ออกมาแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ โดยการขาดมาตรการแก้ไขวิกฤติหนี้ของยูโรโซนที่ชัดเจนนั้นทำให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจนั้นลดลงไปอีก นักเศรษฐศาสตร์จาก บาร์เคลย์ แคปิตอลได้คาดว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนจะหดตัวลง 0.2% ใน 4Q11 โดยโพลล์ของรอยเตอร์คาดจะขยายตัวเพียง 0.2% ใน 4Q11 ซึ่ง
ถ้าเศรษฐกิจมีการติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน นับเป็นการส่งสัญญาณถึงการเข้าสู่ภาวะถดถอย
นอกจากนี้ CEO ของธนาคารดอยช์ แบงค์ เผยกฎเกณฑ์ใหม่ด้านการธนาคารจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ยุโรปไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกโดยกฎเกณฑ์ดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการควบรวมกิจการของภาคธนาคารมากยิ่งขึ้น และจะมีธนาคารต่างๆ ที่จะต้องปิดกิจการลง โดยซีอีโอของธนาคารดีแซดได้กล่าวว่า กฎเกณฑ์ใหม่นี้จะส่งผลให้ธนาคารเยอรมนีต้องเสียเงินราว 5 พันล้านยูโรต่อปี ซึ่งจะ
สร้างความเสียหายต่อภาคธนาคารในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างเชื่องช้า นอกจากนี้ ภาคธนาคารยังประสบกับความยากลำบากในการระดมทุนจากตลาดทุน และด้วยเหตุนี้ธนาคารหลายแห่งจึงเลือกที่จะใช้วิธีปรับลดปริมาณการปล่อยกู้ลง เพื่อที่สัดส่วนเงินทุนของเจ้าของต่อสินทรัพย์เสี่ยงจะได้เพิ่มสูงขึ้น โดยในปัจจุบัน สำนักงานธนาคารกลางยุโรป (ECB) นั้นได้ออกกฎระเบียบให้ธนาคารถือครองเงินกองทุนหลักชั้นที่ 1 ที่ระดับ 9% นับตั้งแต่กลางปี 2012
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี รายงานภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศว่า โกลด์แมนแซคส์ แนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า แม้ยังคงเผชิญวิกฤติหนี้ยุโรป โดยมุมมองนี้ถูกตอกย้ำด้วยการปรับเปลี่ยนนโยบายของจีนให้ผ่อนคลายลง ซึ่งอาจช่วยหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุปสงค์สินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม โกลด์แมนแซคส์ได้ปรับลดคาด
การณ์ผลตอบแทนของ S&P GSCI Enhanced Commodity ในอีก 12 เดือนข้างหน้า สู่ระดับ 15% จาก 20% อันเนื่องมาจากการพุ่งขึ้นของผลตอบแทนสินค้าโภคภัณฑ์ นับตั้งแต่เดือน ก.ย. อีกทั้งโกลด์แมนแซคส์ยังคาดว่าราคาทองยังคงพุ่งขึ้นในปีนี้และปีหน้า เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของสหรัฐฯ ยังอยู่ระดับต่ำ
ขณะที่ ฟิทซ์เตือน อาจลดแนวโน้มเครดิตของธนาคารสหรัฐฯ เหตุปัญหายุโรปลุกลาม ฟิทซ์ เรทติ้งส์ เตือนอาจลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของธนาคารสหรัฐฯ ที่ดำเนินธุรกิจในตลาดทุนขนาดใหญ่ลงจาก “มีเสถียรภาพ” เนื่องจากปัญหาจากยุโรปลุกลาม ธนาคารในสหรัฐฯ ได้ขยายการดำเนินธุรกรรมซื้อขายในยุโรปในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และปรับลดการดำเนินงานด้านการปล่อยกู้แบบดั้งเดิมลง ขณะที่ปัญหาหนี้ยุโรปอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ในตลาดทุนของสหรัฐฯ เนื่องจาก 1 ใน 3 ของรายได้ดังกล่าวมาจากคู่สัญญาในยุโรป ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการระดมทุนของธนาคารด้วยเช่นกัน
ด้านนายมาริโอ มอนติ อดีตกรรมาธิการยุโรป ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลีแทนนาย ซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนีโดยนายมอนติ มีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาดที่มีต่อเศรษฐกิจอิตาลีที่มีภาระหนี้สินอยู่ในระดับสูง ซึ่งล่าสุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีรุ่นอายุ 10 ปี ได้พุ่งขึ้นเหนือระดับ 7% ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งนาย วีมานน์ คณะ
กรรมการของธนาคารกลางยุโรป (ECB) แสดงความเห็นว่าปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่เป็นเพียงวิกฤติของความเชื่อมั่นเท่านั้น ซึ่งนายวีดมานน์มองว่า อิตาลีมีความแตกต่างจากกรีซมาก และจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ในที่สุด
ขณะเดียวกันจากตัวเลขการหดตัวของภาคการผลิตในยุโรป ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ออกมาแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ โดยการขาดมาตรการแก้ไขวิกฤติหนี้ของยูโรโซนที่ชัดเจนนั้นทำให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจนั้นลดลงไปอีก นักเศรษฐศาสตร์จาก บาร์เคลย์ แคปิตอลได้คาดว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนจะหดตัวลง 0.2% ใน 4Q11 โดยโพลล์ของรอยเตอร์คาดจะขยายตัวเพียง 0.2% ใน 4Q11 ซึ่ง
ถ้าเศรษฐกิจมีการติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน นับเป็นการส่งสัญญาณถึงการเข้าสู่ภาวะถดถอย
นอกจากนี้ CEO ของธนาคารดอยช์ แบงค์ เผยกฎเกณฑ์ใหม่ด้านการธนาคารจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ยุโรปไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกโดยกฎเกณฑ์ดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการควบรวมกิจการของภาคธนาคารมากยิ่งขึ้น และจะมีธนาคารต่างๆ ที่จะต้องปิดกิจการลง โดยซีอีโอของธนาคารดีแซดได้กล่าวว่า กฎเกณฑ์ใหม่นี้จะส่งผลให้ธนาคารเยอรมนีต้องเสียเงินราว 5 พันล้านยูโรต่อปี ซึ่งจะ
สร้างความเสียหายต่อภาคธนาคารในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างเชื่องช้า นอกจากนี้ ภาคธนาคารยังประสบกับความยากลำบากในการระดมทุนจากตลาดทุน และด้วยเหตุนี้ธนาคารหลายแห่งจึงเลือกที่จะใช้วิธีปรับลดปริมาณการปล่อยกู้ลง เพื่อที่สัดส่วนเงินทุนของเจ้าของต่อสินทรัพย์เสี่ยงจะได้เพิ่มสูงขึ้น โดยในปัจจุบัน สำนักงานธนาคารกลางยุโรป (ECB) นั้นได้ออกกฎระเบียบให้ธนาคารถือครองเงินกองทุนหลักชั้นที่ 1 ที่ระดับ 9% นับตั้งแต่กลางปี 2012