ใกล้ช่วงเวลาสิ้นปี ท่านที่ยังไม่ได้วางแผนซื้อกองทุนเพื่อประหยัดภาษี คงต้องเริ่มพิจารณาอย่างจริงจังว่าจะซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF) อย่างไรดี เพราะกองทุนที่ซื้อในปีภาษีเท่านั้นจึงจะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีนั้นได้ โดยสิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อกองทุนรวมเพื่อประหยัดภาษี นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว ผู้ลงทุนควรเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และต้องเป็นกองทุนที่บริหารจัดการผู้จัดการกองทุนมืออาชีพอย่างมีคุณภาพและมีธรรมาภิบาลด้วย
กองทุนของ บลจ.บัวหลวง มีกระบวนการจัดการกองทุนที่เน้นผลตอบแทนเฉลี่ยในระยะยาว มีผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอเมื่อปรับค่าความเสี่ยงแล้ว (Risk-adjusted Return) โดยวิธีการลงทุนของบริษัทจะให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานของหุ้นแต่ละตัว ประกอบกับการวิเคราะห์แบบ Top-Down เพื่อประเมินราคาการเข้าลงทุนที่เหมาะสม ตามหลักการลงทุน Good Stock + Good Trade = Good Performance คัดสรรหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี มีความสามารถในการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอ มีอัตราการเติบโตมากกว่าตลาด และต้องเป็นหุ้นที่ทำให้ทีมจัดการกองทุนมั่นใจสูงที่จะถือลงทุน ส่วนการคัดเลือกตราสารหนี้เพื่อลงทุน จะต้องเป็นตราสารหนี้ที่มีคุณภาพ มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้มากกว่าการเลือกตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้แล้วบลจ.บัวหลวง ยังมีกองทุน RMF และ LTF หลากหลายให้ลูกค้าสามารถเลือกได้ตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับของตนเอง
ตัวอย่างเช่น กองทุน RMF ของ บลจ.บัวหลวง มีนโยบายให้เลือกลงทุนได้หลากหลายตั้งแต่ความเสี่ยงระดับต่ำอย่างมันนี่มาร์เก็ต ไปจนถึงความเสี่ยงสูงสุดอย่างการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่นตามความต้องการของผู้ลงทุนแต่ละคน โดยมีให้เลือกทั้งสิ้น 7 กองด้วยกัน
MM-RMF บัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ มีความผันผวนน้อย สำหรับนักลงทุนที่ต้องการเน้นประโยชน์จากสิทธิลดหย่อนภาษีมากกว่าผลตอบแทนจากการลงทุน
BFRMF บัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ลงทุนในตราสารหนี้อายุยาวๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน เพื่อหวังผลตอบแทนตราสารหนี้ที่กองทุนลงทุน มูลค่า NAV อาจผันผวนบ้างในช่วงสั้นๆ
B25RMF บัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ สำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงจากหุ้นได้บ้าง คาดหวังผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้เพียงอย่างเดียวที่ไม่สามารถเทียบกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้
BFLRMF บัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่ให้ความยืดหยุ่นกับผู้จัดการกองทุนในการพิจารณาว่าจังหวะใดควรลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วนเท่าใด
BERMF บัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ สำหรับผู้ลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนจากลงทุนในหุ้น รับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้ มีระยะเวลาการลงทุนที่นานเพียงพอ
IN-RMF บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการพัฒนาประเทศเป็นพิเศษ ว่าจะมีมูลค่าเติบโตตามการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
BGOLDRMF บัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ ลงทุนในทองคำแท่งที่ตลาดระดับโลกในต่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่เชื่อมั่นว่าทองคำจะมีราคาเพิ่มขึ้นในอนาคต และต้องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
สำหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้น หรือเป็นกองทุนหุ้นเท่านั้น บลจ. บัวหลวง มี 2 กองทุนให้เลือก คือ
B-LTF บัวหลวงหุ้นระยะยาว เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและคาดหวังผลตอบแทนจากลงทุนในหุ้นไปพร้อมๆ กัน ยอมรับความผันผวนจากการลงทุนในหุ้นได้ รับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้
BLTF75 บัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 เหมาะกับลงทุนที่ต้องการสิทธิประโยชน์ด้านภาษี แต่ไม่ได้เน้นเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนมากเหมือนกองทุนหุ้นทั่วๆ ไป และมีความเสี่ยงต่ำกว่ากอง B-LTF เพราะมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นต่ำกว่า คือประมาณ 65-75% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
กองทุนของ บลจ.บัวหลวง มีกระบวนการจัดการกองทุนที่เน้นผลตอบแทนเฉลี่ยในระยะยาว มีผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอเมื่อปรับค่าความเสี่ยงแล้ว (Risk-adjusted Return) โดยวิธีการลงทุนของบริษัทจะให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานของหุ้นแต่ละตัว ประกอบกับการวิเคราะห์แบบ Top-Down เพื่อประเมินราคาการเข้าลงทุนที่เหมาะสม ตามหลักการลงทุน Good Stock + Good Trade = Good Performance คัดสรรหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี มีความสามารถในการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอ มีอัตราการเติบโตมากกว่าตลาด และต้องเป็นหุ้นที่ทำให้ทีมจัดการกองทุนมั่นใจสูงที่จะถือลงทุน ส่วนการคัดเลือกตราสารหนี้เพื่อลงทุน จะต้องเป็นตราสารหนี้ที่มีคุณภาพ มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้มากกว่าการเลือกตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้แล้วบลจ.บัวหลวง ยังมีกองทุน RMF และ LTF หลากหลายให้ลูกค้าสามารถเลือกได้ตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับของตนเอง
ตัวอย่างเช่น กองทุน RMF ของ บลจ.บัวหลวง มีนโยบายให้เลือกลงทุนได้หลากหลายตั้งแต่ความเสี่ยงระดับต่ำอย่างมันนี่มาร์เก็ต ไปจนถึงความเสี่ยงสูงสุดอย่างการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่นตามความต้องการของผู้ลงทุนแต่ละคน โดยมีให้เลือกทั้งสิ้น 7 กองด้วยกัน
MM-RMF บัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ มีความผันผวนน้อย สำหรับนักลงทุนที่ต้องการเน้นประโยชน์จากสิทธิลดหย่อนภาษีมากกว่าผลตอบแทนจากการลงทุน
BFRMF บัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ลงทุนในตราสารหนี้อายุยาวๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน เพื่อหวังผลตอบแทนตราสารหนี้ที่กองทุนลงทุน มูลค่า NAV อาจผันผวนบ้างในช่วงสั้นๆ
B25RMF บัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ สำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงจากหุ้นได้บ้าง คาดหวังผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้เพียงอย่างเดียวที่ไม่สามารถเทียบกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้
BFLRMF บัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่ให้ความยืดหยุ่นกับผู้จัดการกองทุนในการพิจารณาว่าจังหวะใดควรลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วนเท่าใด
BERMF บัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ สำหรับผู้ลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนจากลงทุนในหุ้น รับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้ มีระยะเวลาการลงทุนที่นานเพียงพอ
IN-RMF บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างการพัฒนาประเทศเป็นพิเศษ ว่าจะมีมูลค่าเติบโตตามการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
BGOLDRMF บัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ ลงทุนในทองคำแท่งที่ตลาดระดับโลกในต่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่เชื่อมั่นว่าทองคำจะมีราคาเพิ่มขึ้นในอนาคต และต้องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
สำหรับกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้น หรือเป็นกองทุนหุ้นเท่านั้น บลจ. บัวหลวง มี 2 กองทุนให้เลือก คือ
B-LTF บัวหลวงหุ้นระยะยาว เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและคาดหวังผลตอบแทนจากลงทุนในหุ้นไปพร้อมๆ กัน ยอมรับความผันผวนจากการลงทุนในหุ้นได้ รับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้
BLTF75 บัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 เหมาะกับลงทุนที่ต้องการสิทธิประโยชน์ด้านภาษี แต่ไม่ได้เน้นเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนมากเหมือนกองทุนหุ้นทั่วๆ ไป และมีความเสี่ยงต่ำกว่ากอง B-LTF เพราะมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นต่ำกว่า คือประมาณ 65-75% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ