หลังจากมีความชัดเจนในเรื่องการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ของทั้ง 2 สภาสำเร็จก่อนวันที่ 2 สิงหาคามที่ผ่านมา โดยที่รัฐสภา มีมติเห็นชอบด้วยคะแนน 261 ต่อ 161 เสียง และผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยคะแนน74 ต่อ 26 ช่วยให้รัฐบาลสามารถเอาตัวรอดจากการต้องถูกขึ้นชื่อว่า "ผิดนัดชำระหนี้" ครั้งแรกของประเทศ ซึ่งมิตดังกล่าวก็เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์กันไว้ เป็นการเพิ่มเพดานหนี้ไปไปอีกอย่างน้อย 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิม สหรัฐมียอดเงินกู้ชนเพดานหนี้ที่ระดับ 14.29 ล้านล้านดอลลาร์
โดยแผนดังกล่าวนั้นมีอยู่ว่า รัฐบาลต้องตัดลดงบประมาณรายจ่ายลงเพื่อเป็นการลดยอดขาดดุลงบประมาณแผ่นดินให้ได้ราว 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ไป โดยที่รัฐสภาจะให้การอนุมัติเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นแรก ทางรัฐบาลสหรัฐฯระบุว่ามียอดระหว่าง 900,000 ล้าน ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งจะมีผลในทันทีที่บังคับใช้แผนการประนีประนอมนี้
โดยงบประมาณที่จะต้องตัดออกไปนั้นจะเป็นพวกโครงการแผนงานประเภทที่รัฐสภาอนุมัติให้เป็นรายปี (discretionary spending) ตั้งแต่งบประมาณทางทหาร ไปจนถึงโครงการตรวจสอบเฝ้าระวังด้านอาหาร โครงการเหล่านี้จะถูกกำหนดเพดานสูงสุดในแต่ละปีเป็นเวลา 10 ปี โดยในช่วงปีแรกๆ จะยังลดลงจากเดิมไม่มากเพื่อเลี่ยงไม่ให้ซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจซึ่งกำลังย่ำแย่อยู่แล้ว
ส่วน แผนการตัดลดงบประมาณรายจ่ายรอบสอง นั้นเป็นประเด็นที่น่าจับตามองกันว่าจะเป็นอย่างไร เพราะยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากกำหนดให้ต้องลดรายจ่ายให้ได้ราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 10 ปีเช่นกัน แต่การตัดลดรายจ่ายนั้น เป็นอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งที่รัฐสภาแต่งตั้งขึ้นเป็นพิเศษ โดยมีสมาชิกที่มี 12 คนจะมาจากทั้ง 2 สภา โดยมาจากทั้งฝ่ายเดโมแครตและฝ่ายรีพับลิกันฝ่ายละเท่าๆ กัน
คณะกรรมาธิการดังกล่าวจะหาวิธีประหยัดงบประมาณด้วยการยกเครื่องระบบการจัดเก็บภาษี และปรับโครงสร้างโครงการด้านสวัสดิการสังคมต่างๆ ซึ่งเป็นประเด็นอ่อนไหวยิ่งในทางการเมือง และสมาชิกรัฐสภาของทั้งสองพรรคยังไม่สามารถตกลงกันได้เลยจนกระทั่งบัดนี้
นั่นเป็นแผนการปรับเพิ่มเพดานหนี้ที่สหรัฐฯ จะต้องดำเนินการเพื่อเยียวยาอย่างเศรษฐกิจอย่างแสนสาหัสต่อไป แต่ประเด็นที่กำลังเป็นที่น่าสนใจต่อมานั่นคือ แม้ว่าจะสามารถผ่านเพดานหนี้ได้แล้วก็ตามแต่ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของสหรัฐฯนั้นยังคงน่าเป็นห่วง ทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ยังไม่สูง ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานก็ยังไม่ได้ลดลงมากแต่อย่างใด แม้ว่าที่ผ่านมาสหรัฐฯ จะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้ว ทั้งQE 1-2 ก็ตาม ส่งผลให้ล่าสุดสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสหรัฐฯลง จากระดับ AAA ลงมาอยู่ที่ระดับ AA+ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องจับตามองกันครับ....ว่าจะมีผลต่อ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงตลาดเงินอย่างไรบ้าง และเป็นประเด็นต่อเนื่องกันมาทันทีในเรื่องนี้คือการที่ เจ้าหนี้รายใหญ่อย่างประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอยู่เป็นจำนวนมากประมาณ 1.16 ล้านล้านดอลลาร์ (ในเดือน พ.ค.) ก็เริ่มที่จะไม่ให้มั่นใจต่อบอนด์สหรัฐฯ โดยกำลังเตรียมที่จะหาทางกระจายความเสี่ยงจากการถือพันธบัตรสหรัฐฯ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักเพราะจีนเองอาจได้รับผลกระทบเช่นกัน
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามการที่สหรัฐฯ สามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดระหนี้ไปได้ และทำให้ตลาดทั่วโลกคลายความผ่อนคลายกันไปได้ในช่วงสั้นๆ แต่ในระยะยาวแล้วยังคงน่าเป็นห่วงว่าสหรัฐฯ จะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ได้อย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากเห็นมากกว่า เพราะหากไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นตอได้อย่างมีประสิทธภาพแล้วการถูกปรับลดเครดิตลงมาและการผิดนัดชำระหนี้ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
เอกรัตน์ อภิวัฒนพร ผู้อำนวยการ ฝ่ายการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด บอกว่า แม้ว่ารัฐสภาสหรัฐฯ จะสามารถผ่านมติการเพิ่มเพดานหนี้ไปได้แต่ก็ไม่ได้เป็นการช่วยเศรษฐกิจอะไรมากนัก มองว่าเศรษฐกิจจึงมีโอกาสที่จะถดถอยลงไปมาก แต่มองแล้วในช่วงระยะกลางต่อจากนี้ทางรัฐบาลสหรัฐฯไม่น่าจะปล่อยให้เศรษฐกิจมีการถดถอยไปได้ ดังนั้นจึงเริ่มมีการพูดถึงใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (QE3) กัน
แต่เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทต่างๆยังมีการเติบโต ดังนั้นน่าจะสามารถชดเชยเศรษฐกิจของสหรัฐฯได้
ทองคำทะยานตัวขานรับ
ทันทีที่หลังจากสหรัฐฯผ่านการปรับเพดานหนี้ได้นั้น ความกลัวต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป ส่งผลให้ทองคำ สินทรัพย์ทางเลือกเพื่อความปลอดภัย ปรับตัวพุ่งขึ้นทำสถิติใหม่ โดยสมาคมค้าทองคำรายงานราคาทองคำเมื่อเวลา 11.00 น.ในวันที่ 3 ก.ค. 2554 พบว่า ราคาทองคำปรับขึ้นถึง 450 บาท ราคาทองคำแท่ง รับซื้อบาทละ 23,250 บาท ราคาขายบาทละ 23,350 บาท ราคาทองคำตลาดนิวยอร์ก สหรัฐฯ ซึ่งปิดตลาดเมื่อเช้ามืดนั้น เพิ่มขึ้น 22.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มาปิดที่ 1,644.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และตลอดทั้งวันนั้นราคาทองคำปรับขึ้นตลอดรวมแล้วปรับขึ้นถึง 5 ครั้งด้วยกัน จนช่วงเย็นราคาทองมาคำแท่ง 96.5% ราคาขายออกอยู่ที่บาทละ 23,450 รับซื้อ 23,350 บาท และราคาทองคำรูปพรรณ 96.5% ขายออกบาทละ 23,850 บาท รับซื้อ 23,012.88 บาท ถือเป็นราคาที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว
แต่ทองคำนั้นอย่างที่ทราบกันว่าถ้าขึ้นแรงก็ลงแรงเช่นกัน นั่นคือความเสี่ยงย่อมมีเสมอ โดยจากการคาดการณืของหลายสำนักในบ้านเรามองกันไปว่า ราคาทองคำในปีนี้จะสามารถปรับขึ้นไปได้ถึงระดับ 1,700 เหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียวจากเดิมที่คาดว่าจะปรับขึ้นระดับ 1600 เหรียญสหรัฐฯ จากปัจจัยความไม่แน่นอนของดอลลาร์สหรัฐฯ และ เรื่องยุโรป เช่นเดิม
แล้วหากทองคำเป็นที่น่าสนใจเท่านี้ ควรลงทุนเพื่อสัดส่วนเท่าใดในพอร์ต ...?
เอกรัตน์ แนะนำว่า นักลงทุนยังถือต่อไปได้ ตราบใดที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังอ่อนค่าแต่ควรระมัดระวังด้วยเช่นกัน ซึ่งทองคำในระยะต่อจากนี้จะเป็นช่วงที่มีแรงซื้อเข้ามากกว่าขาย ซึ่งคาดว่า ราคาทองคำในปีนี้ จะปรับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 1,750 เหรียญสหรัฐ ต่อออนซ์ จากปัจจัยที่เศรษฐกิจหลักของโลกมีปัญหา ขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกจะเข้าถือทองคำแทนเงินดอลลาร์และยูโรในระยะต่อจากนี้
สำหรับกองทุนต่างประเทศ (FIF) นั้น ในสถานการณ์ขณะนี้ ผู้อำนวยการ ฝ่ายการลงทุนต่างประเทศ** ของบลจ. ยูโอบี มองว่า แม้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะปรับตัวลงมาบ้างจากความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่หากมองไปที่ผลประกอบการของบริษัทแล้วยังดีอยู่และคาดว่าจะดีต่อเนื่องในครึ่งปีหลังนี้ โดยที่ระดับ P/E ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ลงมาอยู่ที่ระดับ 11 เท่าแล้วตอนนี้ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสน่าลงทุน สำหรับนักลทุนที่รับความผันผวนได้ ขณะเดียวกันภูมิภาคเอเชียยังน่าลงทุนเช่นเดียวกันจากปัจจัยพื้นฐานที่ดี
นั่นเป็นมุมมองและคำแนะนำจากผู้บริหารกองทุนรวมครับ ....
ผ่านมาครึ่งปีมาแล้วสำหรับสถานกาณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงรุมเร้าไปด้วยปัญหาโดยเฉพาะในฟากฝั่งประเทศที่พัฒนาแล้ว ขณะที่เอเชียเองแม้จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องหนี้สินเท่าไรจะเจอก็เพียงแต่ผลกระทบจากสหรัฐฯและเรื่องเงินเฟ้อสูงขึ้นเท่านั้น การลงทุนในเอเชียยังเติบโตต่อไปได้หลายบริษัทยังมีผลประกอบการที่ดี ในระยะยาวแล้วสามารถได้ผลตอบแทนที่ดี ขณะที่ตราสารหนี้และเงินฝากก็ยังเป็นที่สนใจสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ไปถึงปลายปี..... สินทรัพย์นอกเหนือจากนั้นทั้ง คอมมอดิตี้อย่างทองคำ หรือการลงทุนในหุ้น ก็ยังมีการปรับตัวไปตามภาวะตลาดพร้อมกับแรงเทขายเช่นกัน... อย่างไรก็ตามปัจจัยความไม่แน่นอนทั้งหลายยังรวมๆกันเป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนยังต้องระมัดระวังกันเช่นเดิม ครับ ....
โดยแผนดังกล่าวนั้นมีอยู่ว่า รัฐบาลต้องตัดลดงบประมาณรายจ่ายลงเพื่อเป็นการลดยอดขาดดุลงบประมาณแผ่นดินให้ได้ราว 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ไป โดยที่รัฐสภาจะให้การอนุมัติเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นแรก ทางรัฐบาลสหรัฐฯระบุว่ามียอดระหว่าง 900,000 ล้าน ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งจะมีผลในทันทีที่บังคับใช้แผนการประนีประนอมนี้
โดยงบประมาณที่จะต้องตัดออกไปนั้นจะเป็นพวกโครงการแผนงานประเภทที่รัฐสภาอนุมัติให้เป็นรายปี (discretionary spending) ตั้งแต่งบประมาณทางทหาร ไปจนถึงโครงการตรวจสอบเฝ้าระวังด้านอาหาร โครงการเหล่านี้จะถูกกำหนดเพดานสูงสุดในแต่ละปีเป็นเวลา 10 ปี โดยในช่วงปีแรกๆ จะยังลดลงจากเดิมไม่มากเพื่อเลี่ยงไม่ให้ซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจซึ่งกำลังย่ำแย่อยู่แล้ว
ส่วน แผนการตัดลดงบประมาณรายจ่ายรอบสอง นั้นเป็นประเด็นที่น่าจับตามองกันว่าจะเป็นอย่างไร เพราะยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากกำหนดให้ต้องลดรายจ่ายให้ได้ราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 10 ปีเช่นกัน แต่การตัดลดรายจ่ายนั้น เป็นอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งที่รัฐสภาแต่งตั้งขึ้นเป็นพิเศษ โดยมีสมาชิกที่มี 12 คนจะมาจากทั้ง 2 สภา โดยมาจากทั้งฝ่ายเดโมแครตและฝ่ายรีพับลิกันฝ่ายละเท่าๆ กัน
คณะกรรมาธิการดังกล่าวจะหาวิธีประหยัดงบประมาณด้วยการยกเครื่องระบบการจัดเก็บภาษี และปรับโครงสร้างโครงการด้านสวัสดิการสังคมต่างๆ ซึ่งเป็นประเด็นอ่อนไหวยิ่งในทางการเมือง และสมาชิกรัฐสภาของทั้งสองพรรคยังไม่สามารถตกลงกันได้เลยจนกระทั่งบัดนี้
นั่นเป็นแผนการปรับเพิ่มเพดานหนี้ที่สหรัฐฯ จะต้องดำเนินการเพื่อเยียวยาอย่างเศรษฐกิจอย่างแสนสาหัสต่อไป แต่ประเด็นที่กำลังเป็นที่น่าสนใจต่อมานั่นคือ แม้ว่าจะสามารถผ่านเพดานหนี้ได้แล้วก็ตามแต่ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของสหรัฐฯนั้นยังคงน่าเป็นห่วง ทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ยังไม่สูง ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานก็ยังไม่ได้ลดลงมากแต่อย่างใด แม้ว่าที่ผ่านมาสหรัฐฯ จะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้ว ทั้งQE 1-2 ก็ตาม ส่งผลให้ล่าสุดสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสหรัฐฯลง จากระดับ AAA ลงมาอยู่ที่ระดับ AA+ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องจับตามองกันครับ....ว่าจะมีผลต่อ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงตลาดเงินอย่างไรบ้าง และเป็นประเด็นต่อเนื่องกันมาทันทีในเรื่องนี้คือการที่ เจ้าหนี้รายใหญ่อย่างประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอยู่เป็นจำนวนมากประมาณ 1.16 ล้านล้านดอลลาร์ (ในเดือน พ.ค.) ก็เริ่มที่จะไม่ให้มั่นใจต่อบอนด์สหรัฐฯ โดยกำลังเตรียมที่จะหาทางกระจายความเสี่ยงจากการถือพันธบัตรสหรัฐฯ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักเพราะจีนเองอาจได้รับผลกระทบเช่นกัน
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามการที่สหรัฐฯ สามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดระหนี้ไปได้ และทำให้ตลาดทั่วโลกคลายความผ่อนคลายกันไปได้ในช่วงสั้นๆ แต่ในระยะยาวแล้วยังคงน่าเป็นห่วงว่าสหรัฐฯ จะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ได้อย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากเห็นมากกว่า เพราะหากไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นตอได้อย่างมีประสิทธภาพแล้วการถูกปรับลดเครดิตลงมาและการผิดนัดชำระหนี้ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
เอกรัตน์ อภิวัฒนพร ผู้อำนวยการ ฝ่ายการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด บอกว่า แม้ว่ารัฐสภาสหรัฐฯ จะสามารถผ่านมติการเพิ่มเพดานหนี้ไปได้แต่ก็ไม่ได้เป็นการช่วยเศรษฐกิจอะไรมากนัก มองว่าเศรษฐกิจจึงมีโอกาสที่จะถดถอยลงไปมาก แต่มองแล้วในช่วงระยะกลางต่อจากนี้ทางรัฐบาลสหรัฐฯไม่น่าจะปล่อยให้เศรษฐกิจมีการถดถอยไปได้ ดังนั้นจึงเริ่มมีการพูดถึงใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (QE3) กัน
แต่เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทต่างๆยังมีการเติบโต ดังนั้นน่าจะสามารถชดเชยเศรษฐกิจของสหรัฐฯได้
ทองคำทะยานตัวขานรับ
ทันทีที่หลังจากสหรัฐฯผ่านการปรับเพดานหนี้ได้นั้น ความกลัวต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป ส่งผลให้ทองคำ สินทรัพย์ทางเลือกเพื่อความปลอดภัย ปรับตัวพุ่งขึ้นทำสถิติใหม่ โดยสมาคมค้าทองคำรายงานราคาทองคำเมื่อเวลา 11.00 น.ในวันที่ 3 ก.ค. 2554 พบว่า ราคาทองคำปรับขึ้นถึง 450 บาท ราคาทองคำแท่ง รับซื้อบาทละ 23,250 บาท ราคาขายบาทละ 23,350 บาท ราคาทองคำตลาดนิวยอร์ก สหรัฐฯ ซึ่งปิดตลาดเมื่อเช้ามืดนั้น เพิ่มขึ้น 22.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มาปิดที่ 1,644.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และตลอดทั้งวันนั้นราคาทองคำปรับขึ้นตลอดรวมแล้วปรับขึ้นถึง 5 ครั้งด้วยกัน จนช่วงเย็นราคาทองมาคำแท่ง 96.5% ราคาขายออกอยู่ที่บาทละ 23,450 รับซื้อ 23,350 บาท และราคาทองคำรูปพรรณ 96.5% ขายออกบาทละ 23,850 บาท รับซื้อ 23,012.88 บาท ถือเป็นราคาที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว
แต่ทองคำนั้นอย่างที่ทราบกันว่าถ้าขึ้นแรงก็ลงแรงเช่นกัน นั่นคือความเสี่ยงย่อมมีเสมอ โดยจากการคาดการณืของหลายสำนักในบ้านเรามองกันไปว่า ราคาทองคำในปีนี้จะสามารถปรับขึ้นไปได้ถึงระดับ 1,700 เหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียวจากเดิมที่คาดว่าจะปรับขึ้นระดับ 1600 เหรียญสหรัฐฯ จากปัจจัยความไม่แน่นอนของดอลลาร์สหรัฐฯ และ เรื่องยุโรป เช่นเดิม
แล้วหากทองคำเป็นที่น่าสนใจเท่านี้ ควรลงทุนเพื่อสัดส่วนเท่าใดในพอร์ต ...?
เอกรัตน์ แนะนำว่า นักลงทุนยังถือต่อไปได้ ตราบใดที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังอ่อนค่าแต่ควรระมัดระวังด้วยเช่นกัน ซึ่งทองคำในระยะต่อจากนี้จะเป็นช่วงที่มีแรงซื้อเข้ามากกว่าขาย ซึ่งคาดว่า ราคาทองคำในปีนี้ จะปรับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 1,750 เหรียญสหรัฐ ต่อออนซ์ จากปัจจัยที่เศรษฐกิจหลักของโลกมีปัญหา ขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกจะเข้าถือทองคำแทนเงินดอลลาร์และยูโรในระยะต่อจากนี้
สำหรับกองทุนต่างประเทศ (FIF) นั้น ในสถานการณ์ขณะนี้ ผู้อำนวยการ ฝ่ายการลงทุนต่างประเทศ** ของบลจ. ยูโอบี มองว่า แม้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะปรับตัวลงมาบ้างจากความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่หากมองไปที่ผลประกอบการของบริษัทแล้วยังดีอยู่และคาดว่าจะดีต่อเนื่องในครึ่งปีหลังนี้ โดยที่ระดับ P/E ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ลงมาอยู่ที่ระดับ 11 เท่าแล้วตอนนี้ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสน่าลงทุน สำหรับนักลทุนที่รับความผันผวนได้ ขณะเดียวกันภูมิภาคเอเชียยังน่าลงทุนเช่นเดียวกันจากปัจจัยพื้นฐานที่ดี
นั่นเป็นมุมมองและคำแนะนำจากผู้บริหารกองทุนรวมครับ ....
ผ่านมาครึ่งปีมาแล้วสำหรับสถานกาณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงรุมเร้าไปด้วยปัญหาโดยเฉพาะในฟากฝั่งประเทศที่พัฒนาแล้ว ขณะที่เอเชียเองแม้จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องหนี้สินเท่าไรจะเจอก็เพียงแต่ผลกระทบจากสหรัฐฯและเรื่องเงินเฟ้อสูงขึ้นเท่านั้น การลงทุนในเอเชียยังเติบโตต่อไปได้หลายบริษัทยังมีผลประกอบการที่ดี ในระยะยาวแล้วสามารถได้ผลตอบแทนที่ดี ขณะที่ตราสารหนี้และเงินฝากก็ยังเป็นที่สนใจสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ไปถึงปลายปี..... สินทรัพย์นอกเหนือจากนั้นทั้ง คอมมอดิตี้อย่างทองคำ หรือการลงทุนในหุ้น ก็ยังมีการปรับตัวไปตามภาวะตลาดพร้อมกับแรงเทขายเช่นกัน... อย่างไรก็ตามปัจจัยความไม่แน่นอนทั้งหลายยังรวมๆกันเป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนยังต้องระมัดระวังกันเช่นเดิม ครับ ....