สำรวจกองทุนส่วนบุคคลรอบ 4 เดือน สินทรัพย์รวมทั้งระบบโตทะลุ 3 แสนล้านบาทแล้ว โดย บลจ.กสิกรไทย ยังคงแชมป์ส่วนแบ่งสูงสุด ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 7 หมื่นล้านบาท จับตาสิงหาคมนี้ เงินฝากได้รับการคุ้มครองเพียง 1 ล้าน จะกระตุ้นเงินหาช่องทางลงทุนมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วง 4 เดือนแรกที่ผ่านมา กองทุนส่วนบุคคลยังคงมีเงินลงทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากพ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่มีผลไปแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน การลงทุนที่ค่อนข้างผันผวนทั้งในและต่างประเทศ ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่หันมาให้บริษัทจัดการจัดพอร์ตลงทุนให้มากขึ้น ทั้งนี้ จากการรายงานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน พบว่าสิ้นสุดเดือนเมษยนที่ผ่านมา กองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 300,710.14 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 23,501.18 ล้านบาท จากสิ้นปีที่ผ่านมาที่มีสินทรัพย์ 277,208.96 ล้านบาท
โดยจากการสำรวจส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) 10 อันดับแรกล่าสุด พบว่า บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด ยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 โดยมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 71,646.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 8,119.70 ล้านบาทจากสิ้นปีที่มีสินทรัพย์รวม 63,527.08 ล้านบาท ตามมาด้วยบลจ.ทิสโก้ ที่มีสินทรัพย์รวมเป็นอันดับ 2 ด้วยเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 45,724.62 ล้านบาท และอันดับ 3 บลจ.วรรณ ด้วยเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 30,531.18 ล้านบาท
อันดับ 4 บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 26,939.42 ล้านบาท อันดับ 5 บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยเงินลงทุนรวม 26,154.97 ล้านบาท อันดับ 6 บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 22,614.93 ล้านบาท อันดับ 7 บลจ.อยุธยา เงินลงทุนรวม 20,579.42 ล้านบาท อันดับ 8 บลจ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 17,637.60 ล้านบาท
อันดับ 9 บลจ.ธนชาต ด้วยเงินลงทุนรวม 8,836.79 ล้านบาท และอันดับ 10 บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7,567.62 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า บริษัทจัดการ 3 อันดับสุดท้าย ซึ่งประกอบด้วย บลจ. ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล (บลจ.บีทีเดิม) บลจ.อเบอร์ดีน และบลจ.นครหลวงไทย ต่างไม่มีพอร์ตกองทุนส่วนบุคคลบริหารแล้ว จากเดิมที่มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,675.04 5,252.08 และ 5,188.85 ล้านบาทตามลำดับ
ผู่สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ กฏหมายคุ้มครองเงินฝาก จะทยอยลดการคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียงบัญชีละ 1 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งปัจจัยนี้เอง จะมีส่วนสำคัญในการจูงใจให้นักลงทุนที่มีเงินฝากอยู่ในปัจจุบัน มองหาช่องทางการลงทุนอื่นๆมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่า การลงทุนในกองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล จะได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่งประเด็นนี้เอง จะทำให้บรรดาบริษัทจัดการลงทุน หันมาเน้นออกผลิตภัณฑ์เพื่อดึงเงินฝากเหล่านี้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วง 4 เดือนแรกที่ผ่านมา กองทุนส่วนบุคคลยังคงมีเงินลงทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากพ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่มีผลไปแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน การลงทุนที่ค่อนข้างผันผวนทั้งในและต่างประเทศ ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่หันมาให้บริษัทจัดการจัดพอร์ตลงทุนให้มากขึ้น ทั้งนี้ จากการรายงานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน พบว่าสิ้นสุดเดือนเมษยนที่ผ่านมา กองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 300,710.14 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 23,501.18 ล้านบาท จากสิ้นปีที่ผ่านมาที่มีสินทรัพย์ 277,208.96 ล้านบาท
โดยจากการสำรวจส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) 10 อันดับแรกล่าสุด พบว่า บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด ยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 โดยมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 71,646.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 8,119.70 ล้านบาทจากสิ้นปีที่มีสินทรัพย์รวม 63,527.08 ล้านบาท ตามมาด้วยบลจ.ทิสโก้ ที่มีสินทรัพย์รวมเป็นอันดับ 2 ด้วยเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 45,724.62 ล้านบาท และอันดับ 3 บลจ.วรรณ ด้วยเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 30,531.18 ล้านบาท
อันดับ 4 บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 26,939.42 ล้านบาท อันดับ 5 บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยเงินลงทุนรวม 26,154.97 ล้านบาท อันดับ 6 บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 22,614.93 ล้านบาท อันดับ 7 บลจ.อยุธยา เงินลงทุนรวม 20,579.42 ล้านบาท อันดับ 8 บลจ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 17,637.60 ล้านบาท
อันดับ 9 บลจ.ธนชาต ด้วยเงินลงทุนรวม 8,836.79 ล้านบาท และอันดับ 10 บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7,567.62 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า บริษัทจัดการ 3 อันดับสุดท้าย ซึ่งประกอบด้วย บลจ. ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล (บลจ.บีทีเดิม) บลจ.อเบอร์ดีน และบลจ.นครหลวงไทย ต่างไม่มีพอร์ตกองทุนส่วนบุคคลบริหารแล้ว จากเดิมที่มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,675.04 5,252.08 และ 5,188.85 ล้านบาทตามลำดับ
ผู่สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ กฏหมายคุ้มครองเงินฝาก จะทยอยลดการคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียงบัญชีละ 1 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งปัจจัยนี้เอง จะมีส่วนสำคัญในการจูงใจให้นักลงทุนที่มีเงินฝากอยู่ในปัจจุบัน มองหาช่องทางการลงทุนอื่นๆมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่า การลงทุนในกองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล จะได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่งประเด็นนี้เอง จะทำให้บรรดาบริษัทจัดการลงทุน หันมาเน้นออกผลิตภัณฑ์เพื่อดึงเงินฝากเหล่านี้มากขึ้นด้วยเช่นกัน