ASTVผู้จัดการรายวัน - สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ย้ำความเชื่อมั่นประชาชน เงินฝากทุกคนได้รับความคุ้มครอง ระบุ กองทุนมีความมั่นคงสูง ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ปลอดภัย เปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วเมื่อต้องจ่ายคืนผู้ฝาก
นายสิงหะ นิกรพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ( สคฝ.) เปิดเผยว่า ระบบประกันเงินฝาก ที่ประเทศต่างๆทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยนำมาใช้ ในการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ฝากเงินว่าจะได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ คือการมีกองทุนที่มีขนาดที่เพียงพอสำหรับจ่ายคืนผู้ฝากเงิน โดยที่มาของเงินทุนสำหรับใช้ในการจ่ายคืนจะมาจากการเก็บค่าธรรมเนียมประกันเงินฝาก หรือที่รู้จักกันว่า เงินนำส่ง (Premium) โดยจะเรียกเก็บจากสถาบันการเงินสมาชิกที่ได้รับการประกันเงินฝาก
“กรณีที่ยังไม่เกิดเหตุการณ์ที่ต้องนำเงินออกมาจ่ายคืนผู้ฝาก สถาบันประกันเงินฝากต่างๆ มีหน้าที่บริหารจัดการเงินนำส่งหรือเงินทุนนั้นให้เกิดประโยชน์ โดยต้องตระหนักว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีความจำเป็นต้องปิดสถาบันการเงิน ก็ต้องพร้อมที่จะนำเงินดังกล่าวออกมาจ่ายคืนผู้ฝากอย่างรวดเร็ว” นายสิงหะกล่าว
ทั้งนี้ หลักการบริหารจัดการลงทุนสำหรับสถาบันประกันเงินฝากโดยทั่วไป คือ การลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง เพื่อให้การลงทุนมีความปลอดภัย ต้องสามารถเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วเมื่อต้องจ่ายคืนผู้ฝาก ซึ่งตาม พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มาตรา 52 กำหนดว่า เมื่อสถาบันการเงินใดถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้สถาบันประกาศกำหนดให้ผู้ฝากมายื่นขอรับเงินภายใน 40 วัน และผู้ฝากต้องยื่นคำขอและแสดงพยานหลักฐานเพื่อขอรับเงินภายใน 90 วัน นับแต่วันที่สถาบันประกาศ และในมาตรา 53 ยังกำหนดไว้ด้วยว่า ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ยื่นคำขอ สถาบันจะต้องจ่ายคืนให้แก่ผู้ฝากที่ยื่นคำขอแต่ละรายตามจำนวนเงินฝากที่ปรากฏในบัญชีของผู้ฝากทุกบัญชีรวมกัน และให้สถาบันหักเงินที่ผู้ฝากมีหนี้ค้างชำระสถาบันการเงินออกจากจำนวนยอดเงินฝากรวมทั้งหมดก่อน
โดยสถาบันจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีหรือทายาทเท่านั้น กรณีชื่อบุคคลหลายคนร่วมกันเป็นเจ้าของบัญชี สถาบันจะจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของบัญชีแต่ละคนตามส่วนที่บุคคลนั้นมีสิทธิในบัญชีตามหลักฐานการฝากที่สถาบันการเงินมีอยู่ หากไม่ทราบจำนวนเงินที่แต่ละคนมี ให้ถือว่าผู้ฝากดังกล่าวมีส่วนเท่ากัน
นายสิงหะ นิกรพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ( สคฝ.) เปิดเผยว่า ระบบประกันเงินฝาก ที่ประเทศต่างๆทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยนำมาใช้ ในการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ฝากเงินว่าจะได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ คือการมีกองทุนที่มีขนาดที่เพียงพอสำหรับจ่ายคืนผู้ฝากเงิน โดยที่มาของเงินทุนสำหรับใช้ในการจ่ายคืนจะมาจากการเก็บค่าธรรมเนียมประกันเงินฝาก หรือที่รู้จักกันว่า เงินนำส่ง (Premium) โดยจะเรียกเก็บจากสถาบันการเงินสมาชิกที่ได้รับการประกันเงินฝาก
“กรณีที่ยังไม่เกิดเหตุการณ์ที่ต้องนำเงินออกมาจ่ายคืนผู้ฝาก สถาบันประกันเงินฝากต่างๆ มีหน้าที่บริหารจัดการเงินนำส่งหรือเงินทุนนั้นให้เกิดประโยชน์ โดยต้องตระหนักว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีความจำเป็นต้องปิดสถาบันการเงิน ก็ต้องพร้อมที่จะนำเงินดังกล่าวออกมาจ่ายคืนผู้ฝากอย่างรวดเร็ว” นายสิงหะกล่าว
ทั้งนี้ หลักการบริหารจัดการลงทุนสำหรับสถาบันประกันเงินฝากโดยทั่วไป คือ การลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง เพื่อให้การลงทุนมีความปลอดภัย ต้องสามารถเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วเมื่อต้องจ่ายคืนผู้ฝาก ซึ่งตาม พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มาตรา 52 กำหนดว่า เมื่อสถาบันการเงินใดถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้สถาบันประกาศกำหนดให้ผู้ฝากมายื่นขอรับเงินภายใน 40 วัน และผู้ฝากต้องยื่นคำขอและแสดงพยานหลักฐานเพื่อขอรับเงินภายใน 90 วัน นับแต่วันที่สถาบันประกาศ และในมาตรา 53 ยังกำหนดไว้ด้วยว่า ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ยื่นคำขอ สถาบันจะต้องจ่ายคืนให้แก่ผู้ฝากที่ยื่นคำขอแต่ละรายตามจำนวนเงินฝากที่ปรากฏในบัญชีของผู้ฝากทุกบัญชีรวมกัน และให้สถาบันหักเงินที่ผู้ฝากมีหนี้ค้างชำระสถาบันการเงินออกจากจำนวนยอดเงินฝากรวมทั้งหมดก่อน
โดยสถาบันจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีหรือทายาทเท่านั้น กรณีชื่อบุคคลหลายคนร่วมกันเป็นเจ้าของบัญชี สถาบันจะจ่ายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของบัญชีแต่ละคนตามส่วนที่บุคคลนั้นมีสิทธิในบัญชีตามหลักฐานการฝากที่สถาบันการเงินมีอยู่ หากไม่ทราบจำนวนเงินที่แต่ละคนมี ให้ถือว่าผู้ฝากดังกล่าวมีส่วนเท่ากัน