สำนักงาน ก.ล.ต. กระทุ่งโบรกเกอร์ เร่งให้ความสำคัญการเปิดเสรีและการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน หลังพบบางกลุ่มยังนิ่ง เหตุต้องรอนโยบายบริษัทแม่ ล่าสุด ตั้งคณะทำงานศึกษาการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน แก้อุปสรรคเคลียร์ทางสู่มาตรฐานสากล
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวภายหลังการประชุมประจำไตรมาสกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ถึงความคืบหน้าในเรื่องการพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ การยกระดับการให้บริการของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ให้เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงการพัฒนาของสมาคมสู่ความเป็นองค์กรกำกับดูแลสมาชิกว่า ในส่วนของการเตรียมความพร้อมของ บล. สู่การเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน ก.ล.ต. ได้เน้นย้ำให้สมาคมศึกษากฎระเบียบของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งหากสมาคมพบอุปสรรคให้รีบเสนอ ก.ล.ต. เพื่อนำไปหารือในการประชุม ก.ล.ต. อาเซียน ( ASEAN Capital Markets Forum : ACMF) และที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้สื่อสารทำความเข้าใจกับ บล. มาเป็นระยะ โดยจัดประชุมกับ บล. ตามลักษณะโครงสร้างธุรกิจ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นจาก บล. ทุกแห่ง ซึ่งพบว่า บล. ส่วนใหญ่ได้มีการวางแผนปรับตัวรองรับการแข่งขันจากการเปิดเสรีและการเชื่อมโยงตลาดทุนที่กำลังจะมาถึงในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ดี บล. บางกลุ่มยังไม่ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากต้องรอนโยบายจากบริษัทแม่ ก.ล.ต. จึงได้แจ้งเตือนให้ บล. เร่งพิจารณาและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพราะท้ายที่สุด บล. จะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
ทั้งนี้ ในส่วนของสมาคม บริษัทสมาชิกได้ร่วมศึกษารายละเอียดกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับระบบการซื้อขาย แผนการตลาด และรูปแบบของการประกอบธุรกิจที่จะเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน ทั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนในส่วนของประเทศไทยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรจะมีการจัดตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจาก ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน นอกจากนี้ ก.ล.ต. ได้แจ้งให้ บล. รวบรวมปัญหาอุปสรรคตลอดจนข้อคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อเสนอให้สมาคมพิจารณาก่อนเสนอ ก.ล.ต. ต่อไป
ในส่วนของประเด็นการทำความรู้จักลูกค้าก่อนแนะนำการลงทุน เพื่อให้ บล. สามารถให้คำแนะนำในหลักทรัพย์ได้อย่างเหมาะสม ลดโอกาสการลงทุนผิดพลาด สมาคมจึงจะกำหนดแบบสอบถามเพื่อให้ บล. ใช้ในการทำความรู้จักลูกค้าและแนะนำประเภทตราสารการลงทุนให้แก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม (KYC / suitability) โดยสมาคมมีเป้าหมายที่จะให้ บล. ทุกแห่งเริ่มใช้แบบสอบถามนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554
ส่วนการยกระดับสมาคมไปสู่ SRO นั้น สมาคมได้ยืนยันเจตนารมณ์ที่จะยกระดับเป็นองค์กรกำกับดูแลตนเอง (Self-Regulatory Organization: SRO) เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์และสมาชิกของสมาคม รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนโดยทั่วไป ซึ่ง ก.ล.ต. พร้อมสนับสนุนให้สมาคมทำหน้าที่ SRO และในระยะต่อไปจะเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายให้รองรับการปฏิบัติหน้าที่ของสมาคมในฐานะ SRO ได้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะทำให้ SRO มีบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลสมาชิกได้ตามที่ ก.ล.ต. มอบหมาย
ด้านนางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ สมาคมได้เสนอร่างข้อบังคับให้ ก.ล.ต. พิจารณาทั้งในส่วนโครงสร้างและการดำเนินงานของสมาคมที่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเป็น SRO ซึ่ง ก.ล.ต. ได้ให้ข้อคิดเห็นและความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ลดข้อกังวลของสมาคม โดยสมาคมจะเดินหน้าในเรื่องนี้ต่อไปและมีแผนที่จะทำหน้าที่ SRO ภายในปี 2554 นี้
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวภายหลังการประชุมประจำไตรมาสกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ถึงความคืบหน้าในเรื่องการพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ การยกระดับการให้บริการของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ให้เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงการพัฒนาของสมาคมสู่ความเป็นองค์กรกำกับดูแลสมาชิกว่า ในส่วนของการเตรียมความพร้อมของ บล. สู่การเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน ก.ล.ต. ได้เน้นย้ำให้สมาคมศึกษากฎระเบียบของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งหากสมาคมพบอุปสรรคให้รีบเสนอ ก.ล.ต. เพื่อนำไปหารือในการประชุม ก.ล.ต. อาเซียน ( ASEAN Capital Markets Forum : ACMF) และที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้สื่อสารทำความเข้าใจกับ บล. มาเป็นระยะ โดยจัดประชุมกับ บล. ตามลักษณะโครงสร้างธุรกิจ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นจาก บล. ทุกแห่ง ซึ่งพบว่า บล. ส่วนใหญ่ได้มีการวางแผนปรับตัวรองรับการแข่งขันจากการเปิดเสรีและการเชื่อมโยงตลาดทุนที่กำลังจะมาถึงในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ดี บล. บางกลุ่มยังไม่ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากต้องรอนโยบายจากบริษัทแม่ ก.ล.ต. จึงได้แจ้งเตือนให้ บล. เร่งพิจารณาและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพราะท้ายที่สุด บล. จะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
ทั้งนี้ ในส่วนของสมาคม บริษัทสมาชิกได้ร่วมศึกษารายละเอียดกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับระบบการซื้อขาย แผนการตลาด และรูปแบบของการประกอบธุรกิจที่จะเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน ทั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนในส่วนของประเทศไทยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรจะมีการจัดตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจาก ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียน นอกจากนี้ ก.ล.ต. ได้แจ้งให้ บล. รวบรวมปัญหาอุปสรรคตลอดจนข้อคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อเสนอให้สมาคมพิจารณาก่อนเสนอ ก.ล.ต. ต่อไป
ในส่วนของประเด็นการทำความรู้จักลูกค้าก่อนแนะนำการลงทุน เพื่อให้ บล. สามารถให้คำแนะนำในหลักทรัพย์ได้อย่างเหมาะสม ลดโอกาสการลงทุนผิดพลาด สมาคมจึงจะกำหนดแบบสอบถามเพื่อให้ บล. ใช้ในการทำความรู้จักลูกค้าและแนะนำประเภทตราสารการลงทุนให้แก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม (KYC / suitability) โดยสมาคมมีเป้าหมายที่จะให้ บล. ทุกแห่งเริ่มใช้แบบสอบถามนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554
ส่วนการยกระดับสมาคมไปสู่ SRO นั้น สมาคมได้ยืนยันเจตนารมณ์ที่จะยกระดับเป็นองค์กรกำกับดูแลตนเอง (Self-Regulatory Organization: SRO) เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์และสมาชิกของสมาคม รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนโดยทั่วไป ซึ่ง ก.ล.ต. พร้อมสนับสนุนให้สมาคมทำหน้าที่ SRO และในระยะต่อไปจะเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายให้รองรับการปฏิบัติหน้าที่ของสมาคมในฐานะ SRO ได้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะทำให้ SRO มีบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลสมาชิกได้ตามที่ ก.ล.ต. มอบหมาย
ด้านนางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ สมาคมได้เสนอร่างข้อบังคับให้ ก.ล.ต. พิจารณาทั้งในส่วนโครงสร้างและการดำเนินงานของสมาคมที่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเป็น SRO ซึ่ง ก.ล.ต. ได้ให้ข้อคิดเห็นและความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ลดข้อกังวลของสมาคม โดยสมาคมจะเดินหน้าในเรื่องนี้ต่อไปและมีแผนที่จะทำหน้าที่ SRO ภายในปี 2554 นี้