สำรวจพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลังปิดดีลแข่งเดือนปลายปีเสือ พบหลายบลจ. รักษาฐานเดิมไว้มั่น โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ "กรุงไทย" ฝีมือเข้าตา ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วางใจบริหารเงินรวม กว่า 2 หมื่นล้านบาท ขณะที่ "ไทยพาณิชย์"กวาดลูกค้าใหม่ทั้งขนาดเล็กและกลางเข้าพอร์ต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพขนาดใหญ่หลายๆ กอง มีการพิจารณาผลงานของบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) เพื่อต่อสัญญาบริหารต่อหรือเปลี่ยนบริษัทจัดการ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า หลายบลจ. ยังคงสามารถรักษาฐานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเอาไว้ในพอร์ตได้ โดยเฉพาะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของบลจ. หลายๆ แห่ง
จากการสำรวจพบว่า ในส่วนของ บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) สามารถรักษาฐานเดิมไว้ได้ทั้งหมด โดยสิ้นปีที่ผ่านมา บริษัทมีสินทรัพย์รวมสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น 6.1 หมื่นล้านบาท โดยลูกค้าที่สามารถรักษาฐานเอาไว้ได้ เช่น รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 2 ราย ซึ่งประกอบด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มูลค่ากว่า 9,000 ล้านบาท และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) อีกมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท
ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองใหม่ ที่สามารถดึงมาเข้ามาอยู่ในพอร์ต ประกอบด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานกฟผ. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว มูลค่าประมาณ 14,000 ล้านบาท โดยบลจ.กรุงไทย ได้รับแต่งตั้งให้บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานกฟผ. เป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 - วันที่ 31 ธันวาคม 2556
ด้านรายงานข่าวจาก บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ณ วันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมา บริษัทมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวมทั้งสิ้น 78,245.33 ล้านบาท โดยลูกค้าที่ต่อสัญญาประกอบด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (กสจ.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำหรับลูกจ้างประจำส่วนราชการ
ในขณะที่ลูกค้าใหม่ ประกอบด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารโอเวอร์ซี - ไชนีส แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น, สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล, กลุ่ม บริษัท กัลฟ์ อิเล็คทริค จำกัด (มหาชน), DST Worldwide Services (Thailand) Ltd. , International Financial Data Services Ltd. , ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ,บริษัท ยูแทคไทย จำกัด และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ HSBC
ส่วนบลจ.ทิสโก้ รายงานว่า ตัวเลข AUM ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ สิ้น ธ.ค.53 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 77,266 ล้านบาท โดยบริษัทที่จดทะเบียนในเบื้องต้นประกอบด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สหกรณ์ออมทรัพย์การบินไทย, บล.พัฒนสิน, นวกิจประกันภัย, ซีไอเอ็มบี, สตาร์ ปิโตรเลียม, เมโทร ซิสเต็มส์, อิตัลไทย, อิออน, ไทยศรีประกันภัย, ประกันภัยไทยวิวัฒน์,ชินคอร์ปอเรชั่น และล่าสุดบริษัท ขนส่ง จำกัด
ในขณะที่บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) รายงานว่า ลูกค้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในพอร์ตเดิมยังคงต่อสัญญาให้บลจ.เอ็มเอฟซี เป็นผู้บริหารกองทุนต่อ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานวิทยุการบิน มูลค่า 4,700 ล้านบาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลค่ารวม 9,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังรวมถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานโรงงานยาสูบ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพขนาดใหญ่หลายๆ กอง มีการพิจารณาผลงานของบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) เพื่อต่อสัญญาบริหารต่อหรือเปลี่ยนบริษัทจัดการ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า หลายบลจ. ยังคงสามารถรักษาฐานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเอาไว้ในพอร์ตได้ โดยเฉพาะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของบลจ. หลายๆ แห่ง
จากการสำรวจพบว่า ในส่วนของ บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) สามารถรักษาฐานเดิมไว้ได้ทั้งหมด โดยสิ้นปีที่ผ่านมา บริษัทมีสินทรัพย์รวมสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น 6.1 หมื่นล้านบาท โดยลูกค้าที่สามารถรักษาฐานเอาไว้ได้ เช่น รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 2 ราย ซึ่งประกอบด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มูลค่ากว่า 9,000 ล้านบาท และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) อีกมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท
ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองใหม่ ที่สามารถดึงมาเข้ามาอยู่ในพอร์ต ประกอบด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานกฟผ. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว มูลค่าประมาณ 14,000 ล้านบาท โดยบลจ.กรุงไทย ได้รับแต่งตั้งให้บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานกฟผ. เป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 - วันที่ 31 ธันวาคม 2556
ด้านรายงานข่าวจาก บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ณ วันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมา บริษัทมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวมทั้งสิ้น 78,245.33 ล้านบาท โดยลูกค้าที่ต่อสัญญาประกอบด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (กสจ.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำหรับลูกจ้างประจำส่วนราชการ
ในขณะที่ลูกค้าใหม่ ประกอบด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานธนาคารโอเวอร์ซี - ไชนีส แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น, สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล, กลุ่ม บริษัท กัลฟ์ อิเล็คทริค จำกัด (มหาชน), DST Worldwide Services (Thailand) Ltd. , International Financial Data Services Ltd. , ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ,บริษัท ยูแทคไทย จำกัด และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ HSBC
ส่วนบลจ.ทิสโก้ รายงานว่า ตัวเลข AUM ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ สิ้น ธ.ค.53 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 77,266 ล้านบาท โดยบริษัทที่จดทะเบียนในเบื้องต้นประกอบด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สหกรณ์ออมทรัพย์การบินไทย, บล.พัฒนสิน, นวกิจประกันภัย, ซีไอเอ็มบี, สตาร์ ปิโตรเลียม, เมโทร ซิสเต็มส์, อิตัลไทย, อิออน, ไทยศรีประกันภัย, ประกันภัยไทยวิวัฒน์,ชินคอร์ปอเรชั่น และล่าสุดบริษัท ขนส่ง จำกัด
ในขณะที่บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) รายงานว่า ลูกค้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในพอร์ตเดิมยังคงต่อสัญญาให้บลจ.เอ็มเอฟซี เป็นผู้บริหารกองทุนต่อ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานวิทยุการบิน มูลค่า 4,700 ล้านบาท กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลค่ารวม 9,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังรวมถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานโรงงานยาสูบ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยด้วย