ในตอนที่แล้ว ได้แนะนำไปแล้วว่า เราจำเป็นต้องเริ่มออมเสียแต่วันนี้ เพื่อให้เกษียณอย่างสบาย แต่ในทางปฏิบัติ การออมเงินเป็นเรื่องที่ต้องฝืนใจตนเองอย่างมาก เราลองมาดูกันว่า มีวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้เราสามารถออมเงินได้ตามเป้าหมาย
1. ออมภาคบังคับให้เต็มกำลัง การออมภาคบังคับเป็นการสร้างวินัยการออมที่ดีที่สุด เพราะเรากำลังถูกบังคับให้ออมเงินด้วยการหักจากเงินเดือนโดยอัตโนมัติ และไม่ปล่อยให้มีเงินค้างในบัญชี ซึ่งจะล่อใจให้นำไปใช้จ่าย ระบบการออมภาคบังคับที่สำคัญของไทยคือ กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ซึ่งท่านที่เป็นผู้ประกันตนหรือสมาชิกกองทุนที่มีจำนวนกว่า 9.2 ล้านคนทั่วประเทศในขณะนี้ ได้ออมอยู่แล้วทุกเดือนในอัตราร้อยละ 3 ของรายได้ นายจ้างช่วยสมทบอีกร้อยละ 3 ของรายได้ มีเพดานรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท เงินที่ท่านออมเหล่านี้จะได้รับกลับคืนไปในรูปของ “บำเหน็จ” หรือ “บำนาญ” เมื่อเกษียณ ท่านจึงได้ออมเงินกับกองทุนประกันสังคมอยู่แล้วทุกเดือน ดังตัวอย่างที่แบ่งตามกลุ่มรายได้ ดังนี้
-รายได้ 7,000 บาทต่อเดือน ออมกับกองทุนประกันสังคม 210 บาท นายจ้างสมทบอีก 210 บาท รวม 420 บาท
-รายได้ 10,000 บาทต่อเดือน ออมกับกองทุนประกันสังคม 300 บาท นายจ้างสมทบอีก 300 บาท รวม 600 บาท
-รายได้ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ออมกับกองทุนประกันสังคม 450 บาท นายจ้างสมทบอีก 450 บาท รวม 900 บาท
จะเห็นได้ว่า ในแต่ละเดือน ท่านออมกับกองทุนประกันสังคมเป็นจำนวนไม่มากนัก เช่น ท่านที่มีรายได้ 10,000 บาทต่อเดือน ท่านออมเพียง 300 บาท มีเงินเหลือให้ท่านนำไปใช้จ่ายอีก 9,700 บาท การออมกับกองทุนประกันสังคมจึงไม่ได้สร้างภาระทางการเงินแต่ประการใด แต่เป็นการสร้างระบบการออมแบบอัตโนมัติให้กับตัวท่านเอง เพื่อให้มีบำเหน็จหรือบำนาญใช้หลังเกษียณ
นอกจากกองทุนประกันสังคมแล้ว ข้าราชการที่เป็น สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ก็จัดว่าอยู่ในระบบการออมภาคบังคับ โดยมีอัตราการออมเงิน 3% + 3% ของรายได้เช่นเดียวกัน ในปัจจุบัน กบข. ได้เปิดโครงการออมเพิ่มเพื่อให้สมาชิกสามารถสะสมเงินเข้ากองทุนได้สูงสุดถึงร้อยละ 15 ของเงินเดือน นับเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ออมเพิ่ม นอกจากนี้ หากที่ทำงานของท่านมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ ขอให้ใช้โอกาสออมเงินกับกองทุนเหล่านี้ให้เต็มกำลัง
2. ออมก่อนใช้ไม่ใช่ใช้แล้วเหลือจึงออม ในกรณีที่ไม่ได้อยู่ในระบบการออมภาคบังคับ เราก็สามารถสร้างระบบการออมภาคบังคับได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ โดยธรรมชาติของคนเรานั้นมักจะขาดวินัยในการออม แม้ตั้งใจจะใช้จ่ายอย่างประหยัดเพื่อจะออมให้ได้ ก็มักทำไม่สำเร็จ เช่น มีเงินเดือน 20,000 บาท ตั้งใจจะใช้จ่ายแค่ 15,000 บาท เพื่อจะออมให้ได้เดือนละ 5,000 บาท แต่เรามักทำไม่สำเร็จ พอใกล้สิ้นเดือนก็มีของล่อใจให้ซื้อ หรือเผลอใจไปสร้างภาระให้ตนเองด้วยการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโทรศัพท์มือถือด้วยเงินผ่อน ในที่สุดก็ไม่มีเงินเหลือออม วิธีการแก้ปัญหาการขาดวินัยนี้ ทำได้ด้วยการปรับแนวคิดใหม่ คือ ออมก่อนใช้ แทนที่จะใช้ก่อนออม นั่นคือ ทันทีเงินเดือนออก เช่น ได้เงินเดือน 20,000 บาท ให้โอนเข้าบัญชีเงินออมทันที 5,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 15,000 บาทในบัญชีคือส่วนที่นำไปใช้จ่ายได้ ทำแบบนี้ให้เป็นอัตโนมัติ จะช่วยให้เราตัดความรู้สึก “อยาก” ออกไป และเป็นการสร้างวินัยให้กับตนเองด้วยการออมเงินแบบอัตโนมัติ
3. เปิดบัญชีเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ถึงแม้ว่าเราอยากจะประหยัด แต่ชีวิตคนเราเอาแน่ไม่ได้ครับ ในบางครั้งเราอาจจะมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงิน ถึงแม้ว่าท่านผู้อ่านที่เป็นผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมในทุกจังหวะชีวิตที่เดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นการได้รับความคุ้มครองกรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร หรือว่างงาน เป็นต้น ทำให้ไม่ต้องมีภาระทางการเงิน หรือช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินไปได้บ้าง แต่ในชีวิตคนเรามักจะมีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้เงินอยู่บ้าง เช่น จ่ายค่าเทอมลูก ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ค่าซ่อมรถ ค่าซ่อมบ้าน ฯลฯ เราจึงควรมีเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ผมขอแนะนำว่าให้เปิดบัญชีเงินฝากหรือบัญชีเงินออมแยกต่างหากอีก 1 บัญชี และค่อยๆ “หยอดกระปุก” สะสมไว้เป็นเงินสำรอง การมีเงินสำรองนี้ช่วยให้เรามีเงินรองรับค่าใช้จ่ายพิเศษต่างๆ ได้โดยที่ไม่ต้องกู้ยืมเงินใครมาใช้
จำนวนเงินในบัญชีสำรองนี้จะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับความมั่นคงทางการเงิน ท่านที่มีหน้าที่การงานมั่นคง เช่น รับราชการ หรือเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ อาจจะสำรองไว้ประมาณ 2-3 เท่าของเงินเดือน ส่วนท่านที่ทำงานเอกชน หรือคาดว่ามีแนวโน้มอาจจะต้องเปลี่ยนงานในอนาคต และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่มีภาระการผ่อนบ้านหรือผ่อนรถ ควรจะสำรองไว้ประมาณ 3 – 6 เท่าของเงินเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าในช่วงที่ไม่ได้ทำงาน จะยังมีความสามารถในการผ่อนชำระได้อย่างต่อเนื่อง เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ เพราะหากอยู่ดีๆ เรามีเหตุต้องออกจากงาน แต่เรายังมีภาระการผ่อนบ้าน/ผ่อนรถอยู่ หากไม่มีเงินสำรอง เราก็อาจจะต้องไปขอยืมเงินคนอื่นหรือกู้เงินจากแหล่งอื่นซึ่งมักจะคิดดอกเบี้ยแพงกว่า สร้างภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกโดยไม่จำเป็น
การ “หยอดกระปุก” เข้าบัญชีสำรองนี้เป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก ท่านจะต้องมีวินัยในตัวเองสูงมาก ทันทีที่มีรายได้พิเศษ มีโบนัส หรือมีเงินเหลือ ต้องรีบโอนเข้าบัญชีสำรองนี้ทันที อย่าทิ้งไว้ในบัญชีที่ถอนไปใช้ได้ ง่าย หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ทำระบบการโอนเงินอัตโนมัติตามข้อ 2. เริ่มต้นแบบง่ายๆ สัก 2,000 – 3,000 บาทต่อเดือนเป็นประจำทุกเดือน ทั้งนี้ บัญชีสำรองไม่ควรมีบัตรเอทีเอ็ม เพราะจะทำให้เบิกเงินมาใช้ง่ายเกินไป ทางที่ดี ควรเป็นเป็นบัญชีเงินฝากประจำ หรือซื้อหน่วยลงทุนกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น มีความมั่นคงและมีสภาพคล่องพอสมควร ที่มักเรียกกันว่า Money Market Fund ซึ่งสามารถขายคืนเพื่อเอาเงินมาใช้ได้เมื่อจำเป็น แต่ก็ไม่สะดวกมือจนเกินไป
4. ใช้หนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล และกำจัดหนี้นอกระบบให้หมด เชื่อว่าเราจะไม่สามารถทำตามคำแนะนำเรื่องการออมทั้ง 3 ข้อข้างต้นได้เลย หากยังมีภาระหนี้สินดอกเบี้ยแพงพะรุงพะรัง ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล (Personal Loan) หรือหนี้นอกระบบ เพราะเรามีภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมกับหนี้สินเหล่านี้สูงมาก ประมาณ 15 – 25% ต่อปี ยิ่งปล่อยไว้ภาระหนี้ยิ่งพอกพูน ต้องยอมรับว่าเรื่องการใช้หนี้ดอกเบี้ยแพงให้หมดเป็นเรื่องที่ทำยากมากครับ เราจะต้องใช้ความอดทนสูงมากและต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็น ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกให้หมด เช่น หยุดซื้อเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เที่ยวกลางคืน ทานอาหารนอกบ้าน รวมทั้งเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ฯลฯ หารายได้เสริม ขายทรัพย์สินส่วนตัวบางส่วนเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ และที่สำคัญคือต้องไม่ก่อหนี้ใหม่เด็ดขาด เราอาจจะต้องใช้เวลา 6 เดือน – 1 ปี หรือมากกว่านั้นกว่าจะทำสำเร็จ แต่หากทำได้ เราจะได้เป็นคนปลอดหนี้ที่มีความสุขมาก
5. อยากได้อะไรให้เก็บเงินซื้อ อย่าตกเป็นเหยื่อเงินผ่อนดอกเบี้ย 0% ต้องยอมรับว่ากลยุทธ์ทางการตลาดของสินค้าไฮเทคทั้งหลายล้ำเลิศมาก ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค, กล้องดิจิตอล, Blackberry, iPhone, LCD TV, Home Theater ฯลฯ เราจะถูกจูงใจด้วยข้อเสนอผ่อนชำระรายเดือน อัตราดอกเบี้ย 0% ดูแล้วเหมือนกับเราไม่ได้เสียอะไรเพราะเป็นการซื้อเงินผ่อนโดยไม่เสียดอกเบี้ย หารู้ไม่ว่าข้อเสนอแบบนี้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าตนเองสามารถซื้อสินค้าราคาแพงเหล่านี้โดยไม่ต้องใช้เงินก้อน และรู้สึกว่าอยู่ในระดับที่ตนเอง ซื้อได้ (Affordable) เช่น โทรศัพท์มือถือราคา 20,000 บาท ฟังดูแพงมาก และเราอาจจะไม่มีเงินเก็บมากพอในขณะนี้ แต่เมื่อได้รับข้อเสนอผ่อน 0% เป็นเวลา 10 เดือน ตัวเลขลดลงเหลือ 2,000 บาทต่อเดือน เรา เริ่มรู้สึกว่าน่าจะพอไหว ในที่สุดเราก็ต้องติดกับดัก ก่อหนี้ให้กับตนเอง และเป็นภาระต้องผ่อนส่งไปหลายเดือนกว่าจะหมด
ขอแนะนำว่า ให้ตั้งเป็นกฎกับตนเองไว้ว่า อยากได้อะไรให้เก็บเงินซื้อ อย่าสร้างภาระให้ตนเองเป็นอันขาด ที่จริงโทรศัพท์มือถือราคา 20,000 บาท เก็บเงินไม่กี่เดือนก็ซื้อได้แล้ว ดีไปกว่านั้นคือ เมื่อเราเก็บเงินได้ครบ เราอาจจะได้ซื้อสินค้ารุ่นเดิมในราคาที่ถูกลง เพราะของพวกนี้ราคาตกเร็วมาก หรือไม่ก็ได้สินค้ารุ่นใหม่ที่ราคาเท่าเดิมแต่สเปกดีกว่าเดิม
ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หากท่านมี ข้อสงสัยเกี่ยวกับการออมเงินกับกองทุนประกันสังคมเพื่อให้ได้รับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพหลังเกษียณ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ติดต่อระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.
อ่านต่อฉบับหน้า
ข้อมูลที่มา : วิน พรหมแพทย์ สำนักบริหารการลงทุน สำนักงานประกันสังคม
1. ออมภาคบังคับให้เต็มกำลัง การออมภาคบังคับเป็นการสร้างวินัยการออมที่ดีที่สุด เพราะเรากำลังถูกบังคับให้ออมเงินด้วยการหักจากเงินเดือนโดยอัตโนมัติ และไม่ปล่อยให้มีเงินค้างในบัญชี ซึ่งจะล่อใจให้นำไปใช้จ่าย ระบบการออมภาคบังคับที่สำคัญของไทยคือ กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ซึ่งท่านที่เป็นผู้ประกันตนหรือสมาชิกกองทุนที่มีจำนวนกว่า 9.2 ล้านคนทั่วประเทศในขณะนี้ ได้ออมอยู่แล้วทุกเดือนในอัตราร้อยละ 3 ของรายได้ นายจ้างช่วยสมทบอีกร้อยละ 3 ของรายได้ มีเพดานรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท เงินที่ท่านออมเหล่านี้จะได้รับกลับคืนไปในรูปของ “บำเหน็จ” หรือ “บำนาญ” เมื่อเกษียณ ท่านจึงได้ออมเงินกับกองทุนประกันสังคมอยู่แล้วทุกเดือน ดังตัวอย่างที่แบ่งตามกลุ่มรายได้ ดังนี้
-รายได้ 7,000 บาทต่อเดือน ออมกับกองทุนประกันสังคม 210 บาท นายจ้างสมทบอีก 210 บาท รวม 420 บาท
-รายได้ 10,000 บาทต่อเดือน ออมกับกองทุนประกันสังคม 300 บาท นายจ้างสมทบอีก 300 บาท รวม 600 บาท
-รายได้ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ออมกับกองทุนประกันสังคม 450 บาท นายจ้างสมทบอีก 450 บาท รวม 900 บาท
จะเห็นได้ว่า ในแต่ละเดือน ท่านออมกับกองทุนประกันสังคมเป็นจำนวนไม่มากนัก เช่น ท่านที่มีรายได้ 10,000 บาทต่อเดือน ท่านออมเพียง 300 บาท มีเงินเหลือให้ท่านนำไปใช้จ่ายอีก 9,700 บาท การออมกับกองทุนประกันสังคมจึงไม่ได้สร้างภาระทางการเงินแต่ประการใด แต่เป็นการสร้างระบบการออมแบบอัตโนมัติให้กับตัวท่านเอง เพื่อให้มีบำเหน็จหรือบำนาญใช้หลังเกษียณ
นอกจากกองทุนประกันสังคมแล้ว ข้าราชการที่เป็น สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ก็จัดว่าอยู่ในระบบการออมภาคบังคับ โดยมีอัตราการออมเงิน 3% + 3% ของรายได้เช่นเดียวกัน ในปัจจุบัน กบข. ได้เปิดโครงการออมเพิ่มเพื่อให้สมาชิกสามารถสะสมเงินเข้ากองทุนได้สูงสุดถึงร้อยละ 15 ของเงินเดือน นับเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ออมเพิ่ม นอกจากนี้ หากที่ทำงานของท่านมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ ขอให้ใช้โอกาสออมเงินกับกองทุนเหล่านี้ให้เต็มกำลัง
2. ออมก่อนใช้ไม่ใช่ใช้แล้วเหลือจึงออม ในกรณีที่ไม่ได้อยู่ในระบบการออมภาคบังคับ เราก็สามารถสร้างระบบการออมภาคบังคับได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ โดยธรรมชาติของคนเรานั้นมักจะขาดวินัยในการออม แม้ตั้งใจจะใช้จ่ายอย่างประหยัดเพื่อจะออมให้ได้ ก็มักทำไม่สำเร็จ เช่น มีเงินเดือน 20,000 บาท ตั้งใจจะใช้จ่ายแค่ 15,000 บาท เพื่อจะออมให้ได้เดือนละ 5,000 บาท แต่เรามักทำไม่สำเร็จ พอใกล้สิ้นเดือนก็มีของล่อใจให้ซื้อ หรือเผลอใจไปสร้างภาระให้ตนเองด้วยการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโทรศัพท์มือถือด้วยเงินผ่อน ในที่สุดก็ไม่มีเงินเหลือออม วิธีการแก้ปัญหาการขาดวินัยนี้ ทำได้ด้วยการปรับแนวคิดใหม่ คือ ออมก่อนใช้ แทนที่จะใช้ก่อนออม นั่นคือ ทันทีเงินเดือนออก เช่น ได้เงินเดือน 20,000 บาท ให้โอนเข้าบัญชีเงินออมทันที 5,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 15,000 บาทในบัญชีคือส่วนที่นำไปใช้จ่ายได้ ทำแบบนี้ให้เป็นอัตโนมัติ จะช่วยให้เราตัดความรู้สึก “อยาก” ออกไป และเป็นการสร้างวินัยให้กับตนเองด้วยการออมเงินแบบอัตโนมัติ
3. เปิดบัญชีเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ถึงแม้ว่าเราอยากจะประหยัด แต่ชีวิตคนเราเอาแน่ไม่ได้ครับ ในบางครั้งเราอาจจะมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงิน ถึงแม้ว่าท่านผู้อ่านที่เป็นผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมในทุกจังหวะชีวิตที่เดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นการได้รับความคุ้มครองกรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร หรือว่างงาน เป็นต้น ทำให้ไม่ต้องมีภาระทางการเงิน หรือช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินไปได้บ้าง แต่ในชีวิตคนเรามักจะมีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้เงินอยู่บ้าง เช่น จ่ายค่าเทอมลูก ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ค่าซ่อมรถ ค่าซ่อมบ้าน ฯลฯ เราจึงควรมีเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ผมขอแนะนำว่าให้เปิดบัญชีเงินฝากหรือบัญชีเงินออมแยกต่างหากอีก 1 บัญชี และค่อยๆ “หยอดกระปุก” สะสมไว้เป็นเงินสำรอง การมีเงินสำรองนี้ช่วยให้เรามีเงินรองรับค่าใช้จ่ายพิเศษต่างๆ ได้โดยที่ไม่ต้องกู้ยืมเงินใครมาใช้
จำนวนเงินในบัญชีสำรองนี้จะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับความมั่นคงทางการเงิน ท่านที่มีหน้าที่การงานมั่นคง เช่น รับราชการ หรือเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ อาจจะสำรองไว้ประมาณ 2-3 เท่าของเงินเดือน ส่วนท่านที่ทำงานเอกชน หรือคาดว่ามีแนวโน้มอาจจะต้องเปลี่ยนงานในอนาคต และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่มีภาระการผ่อนบ้านหรือผ่อนรถ ควรจะสำรองไว้ประมาณ 3 – 6 เท่าของเงินเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าในช่วงที่ไม่ได้ทำงาน จะยังมีความสามารถในการผ่อนชำระได้อย่างต่อเนื่อง เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ เพราะหากอยู่ดีๆ เรามีเหตุต้องออกจากงาน แต่เรายังมีภาระการผ่อนบ้าน/ผ่อนรถอยู่ หากไม่มีเงินสำรอง เราก็อาจจะต้องไปขอยืมเงินคนอื่นหรือกู้เงินจากแหล่งอื่นซึ่งมักจะคิดดอกเบี้ยแพงกว่า สร้างภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกโดยไม่จำเป็น
การ “หยอดกระปุก” เข้าบัญชีสำรองนี้เป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก ท่านจะต้องมีวินัยในตัวเองสูงมาก ทันทีที่มีรายได้พิเศษ มีโบนัส หรือมีเงินเหลือ ต้องรีบโอนเข้าบัญชีสำรองนี้ทันที อย่าทิ้งไว้ในบัญชีที่ถอนไปใช้ได้ ง่าย หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ทำระบบการโอนเงินอัตโนมัติตามข้อ 2. เริ่มต้นแบบง่ายๆ สัก 2,000 – 3,000 บาทต่อเดือนเป็นประจำทุกเดือน ทั้งนี้ บัญชีสำรองไม่ควรมีบัตรเอทีเอ็ม เพราะจะทำให้เบิกเงินมาใช้ง่ายเกินไป ทางที่ดี ควรเป็นเป็นบัญชีเงินฝากประจำ หรือซื้อหน่วยลงทุนกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น มีความมั่นคงและมีสภาพคล่องพอสมควร ที่มักเรียกกันว่า Money Market Fund ซึ่งสามารถขายคืนเพื่อเอาเงินมาใช้ได้เมื่อจำเป็น แต่ก็ไม่สะดวกมือจนเกินไป
4. ใช้หนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล และกำจัดหนี้นอกระบบให้หมด เชื่อว่าเราจะไม่สามารถทำตามคำแนะนำเรื่องการออมทั้ง 3 ข้อข้างต้นได้เลย หากยังมีภาระหนี้สินดอกเบี้ยแพงพะรุงพะรัง ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล (Personal Loan) หรือหนี้นอกระบบ เพราะเรามีภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมกับหนี้สินเหล่านี้สูงมาก ประมาณ 15 – 25% ต่อปี ยิ่งปล่อยไว้ภาระหนี้ยิ่งพอกพูน ต้องยอมรับว่าเรื่องการใช้หนี้ดอกเบี้ยแพงให้หมดเป็นเรื่องที่ทำยากมากครับ เราจะต้องใช้ความอดทนสูงมากและต้องทำหลายอย่างพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็น ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกให้หมด เช่น หยุดซื้อเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เที่ยวกลางคืน ทานอาหารนอกบ้าน รวมทั้งเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ฯลฯ หารายได้เสริม ขายทรัพย์สินส่วนตัวบางส่วนเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ และที่สำคัญคือต้องไม่ก่อหนี้ใหม่เด็ดขาด เราอาจจะต้องใช้เวลา 6 เดือน – 1 ปี หรือมากกว่านั้นกว่าจะทำสำเร็จ แต่หากทำได้ เราจะได้เป็นคนปลอดหนี้ที่มีความสุขมาก
5. อยากได้อะไรให้เก็บเงินซื้อ อย่าตกเป็นเหยื่อเงินผ่อนดอกเบี้ย 0% ต้องยอมรับว่ากลยุทธ์ทางการตลาดของสินค้าไฮเทคทั้งหลายล้ำเลิศมาก ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค, กล้องดิจิตอล, Blackberry, iPhone, LCD TV, Home Theater ฯลฯ เราจะถูกจูงใจด้วยข้อเสนอผ่อนชำระรายเดือน อัตราดอกเบี้ย 0% ดูแล้วเหมือนกับเราไม่ได้เสียอะไรเพราะเป็นการซื้อเงินผ่อนโดยไม่เสียดอกเบี้ย หารู้ไม่ว่าข้อเสนอแบบนี้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าตนเองสามารถซื้อสินค้าราคาแพงเหล่านี้โดยไม่ต้องใช้เงินก้อน และรู้สึกว่าอยู่ในระดับที่ตนเอง ซื้อได้ (Affordable) เช่น โทรศัพท์มือถือราคา 20,000 บาท ฟังดูแพงมาก และเราอาจจะไม่มีเงินเก็บมากพอในขณะนี้ แต่เมื่อได้รับข้อเสนอผ่อน 0% เป็นเวลา 10 เดือน ตัวเลขลดลงเหลือ 2,000 บาทต่อเดือน เรา เริ่มรู้สึกว่าน่าจะพอไหว ในที่สุดเราก็ต้องติดกับดัก ก่อหนี้ให้กับตนเอง และเป็นภาระต้องผ่อนส่งไปหลายเดือนกว่าจะหมด
ขอแนะนำว่า ให้ตั้งเป็นกฎกับตนเองไว้ว่า อยากได้อะไรให้เก็บเงินซื้อ อย่าสร้างภาระให้ตนเองเป็นอันขาด ที่จริงโทรศัพท์มือถือราคา 20,000 บาท เก็บเงินไม่กี่เดือนก็ซื้อได้แล้ว ดีไปกว่านั้นคือ เมื่อเราเก็บเงินได้ครบ เราอาจจะได้ซื้อสินค้ารุ่นเดิมในราคาที่ถูกลง เพราะของพวกนี้ราคาตกเร็วมาก หรือไม่ก็ได้สินค้ารุ่นใหม่ที่ราคาเท่าเดิมแต่สเปกดีกว่าเดิม
ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หากท่านมี ข้อสงสัยเกี่ยวกับการออมเงินกับกองทุนประกันสังคมเพื่อให้ได้รับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพหลังเกษียณ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ติดต่อระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.
อ่านต่อฉบับหน้า
ข้อมูลที่มา : วิน พรหมแพทย์ สำนักบริหารการลงทุน สำนักงานประกันสังคม