ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) มากจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษที่ว่า Derive ซึ่งแปลว่า “ขึ้นอยู่กับ” จึงแปลเป็นภาษาไทยที่ว่า “อนุ” ที่หมายความว่า น้อย หรือตาม และตามด้วยคำว่า “พันธ์” ซึ่งแปลว่าการก่อกำเนิด ดังนั้นตราสารอนุพันธ์ จึงมีความหมายว่า ตราสารทางการเงินที่ก่อกำเนิดจาก อ้างอิงจาก หรือผันแปรตามสินทรัพย์อ้างอิง โดยทั่วไปตราสารอนุพันธ์จะมีมูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือตัวแปรอ้างอิงอื่น ๆ (Underlying Variable)
สินทรัพย์ที่อ้างอิง อาจเป็นตราสารทางการเงิน เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นสามัญ ฯลฯ หรืออาจเป็นสินค้าหรือสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น น้ำมัน ข้าว บ้าน รถยนต์ ฯลฯ ตามแต่ที่ตราสารอนุพันธ์นั้นได้กำหนดไว้ ว่าเป็นการอ้างอิงถึงสินทรัพย์ใด
ตัวอย่างของอนุพันธ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้น เช่น สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน ซึ่งปกติการซื้อขายบ้านและที่ดินเป็นการทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน โดยผู้ซื้อทำการวางเงินมัดจำจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ขาย เช่น บ้านมีราคา 3,000,000 บาท ผู้ซื้อได้ตกลงที่จะวางเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาทในวันทำสัญญา และจะมีการส่งมอบบ้านกันในอนาคต เช่น อีก 6 เดือนข้างหน้า ในระหว่างสัญญานั้นผู้ซื้อก็จะดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคาร เพื่อนำมาซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าว หากธนาคารอนุมัติเงินกู้ ผู้ซื้อก็จะนำเงินมาชำระค่าบ้านตามสัญญา หรือหากผู้ซื้อไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ ผู้ซื้อก็จะไม่สามารถทำตามสัญญาได้ ผู้ขายก็จะยึดเงินมัดจำไป หรือหากผู้ซื้อสามารถขายสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นได้ ผู้ซื้อก็จะได้รับเงินค่ามัดจำคืน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาที่ผุ้ซื้อสามารถที่จะขายสัญญาจะซื้อจะขายได้ หากราคาบ้านมีราคาสูงขึ้นในระหว่างเวลา 6 เดือน สัญญาดังกล่าวอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และถ้าราคาบ้านมีราคาลดลงในระหว่าง 6 เดือน สัญญาดังกล่าวอาจมีมูลค่าลดลง
สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินดังกล่าว เป็นตราสารอนุพันธ์ประเภทหนึ่ง เพราะสัญญาดังกล่าวสามารถเปรียบได้เสมือนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งถูกนับเป็นหนึ่งในตราสารอนุพันธ์ คือ เป็นการตกลงกันล่วงหน้าเพื่อทำการซื้อขายบ้านกันในอนาคต โดยอาจมีการวางเงินมัดจำเป็นบางส่วนในปัจจุบัน และจะชำระค่าสินค้าหรือค่าบ้านและที่ดินที่เหลือในอนาคต โดยที่สัญญาดังกล่าวอาจมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงก็ได้ หากราคาบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เกิดมีราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลงในระหว่างสัญญา
ประโยชน์โดยทั่วไปของการมีและใช้ตราสารอนุพันธ์ คือ ประโยชน์ของการสะท้อนถึงราคาสินค้าในอนาคต ตัวอย่างเช่น สินค้าประเภทยางแผ่นรมควันชั้น 3 หากไม่มีระบบการซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยแล้ว การซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 คงต้องเป็นไปตามระบบดั้งเดิม ก็คือการผลิตแล้วรอขาย ซึ่งผู้ผลิตก็จะไม่ทราบว่าสินค้าของตนนั้นจะขายได้เมื่อใด จำนวนเท่าใด และราคาเท่าใด และฝ่ายผู้ซื้อเองก็ไม่ทราบเช่นเดียวกันว่า จะซื้อสินค้าดังกล่าวได้ครบตามจำนวนที่ต้องการหรือไม่ และจะซื้อได้ในราคาใด
ด้วยการที่มีตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย จึงทำให้ความกังวลใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าเกษตรหมดไป คือ ฝ่ายผู้ขายก็จะทราบถึงมูลค่าที่ตนเองจะได้รับจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ซื้อก็จะได้รับทราบถึงราคาในอนาคตว่าจะซื้อได้ในราคาใด เมื่อผู้ผลิตทราบว่าราคาสินค้าจะขายได้เท่าใด จำนวนเท่าใด ในอนาคต ผู้ผลิตก็จะจำการผลิตตามจำนวนที่ตนสามารถขายได้ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายทราบว่าราคาในอนาคตจะเป็นอย่างไร เป็นการสะท้อนราคาในอนาคตของสินค้าเกษตร
ประโยชน์ประการที่สอง ของการมีตราสารอนุพันธ์ คือ การใช้ในการป้องกันความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น ผู้นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ โดยมีสินค้าจำนวน 1,000 ชิ้น ๆ ละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนในวันนี้เท่ากับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และผู้ขายให้ชำระค่าสินค้าในอีก 2 เดือนข้างหน้า ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้นำเข้าสินค้ารายนี้ คือ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพราะถ้าหากอัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนไปเป็น 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ผู้นำเข้าจะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันที
ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงของผู้นำเข้ารายนี้ สามารถทำได้โดยการทำสัญญาซื้อดอลลาร์ล่วงหน้าจากธนาคาร โดยทำการตกลงอัตราแลกเปลี่ยนกันล่วงหน้า เช่น กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับอีกสองเดือนข้างหน้าในอัตรา 36 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ การทำเช่นนี้เป็นการป้องกันความเสี่ยงให้แก่ผู้นำเข้าสินค้า ในการที่จะต้องชำระเงินในอนาคต เป็นการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
ประโยชน์ประการสุดท้าย คือ การนำเอาตราสารอนุพันธ์ไปใช้ในการเก็งกำไร บุคคลที่มีความสำคัญที่สุดของกลไกในระบบตลาดตราสารอนุพันธ์ หรือตลาดซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านี้ คือ นักเก็งกำไร เพราะนักเก็งกำไรจะทำให้ตลาดอนุพันธ์มีสภาพคล่องสูง ราคาไม่เป็นไปเกินมากกว่าความเป็นจริง นักเก็งกำไรเป็นผู้ที่ต้องการได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของราคาอนุพันธ์ ไม่ได้เป็นผู้ที่จะต้องการใช้ประโยชน์จากสินค้าหรือตราสารทางการเงินที่ระบุไว้ในสัญญา
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) มากจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษที่ว่า Derive ซึ่งแปลว่า “ขึ้นอยู่กับ” จึงแปลเป็นภาษาไทยที่ว่า “อนุ” ที่หมายความว่า น้อย หรือตาม และตามด้วยคำว่า “พันธ์” ซึ่งแปลว่าการก่อกำเนิด ดังนั้นตราสารอนุพันธ์ จึงมีความหมายว่า ตราสารทางการเงินที่ก่อกำเนิดจาก อ้างอิงจาก หรือผันแปรตามสินทรัพย์อ้างอิง โดยทั่วไปตราสารอนุพันธ์จะมีมูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือตัวแปรอ้างอิงอื่น ๆ (Underlying Variable)
สินทรัพย์ที่อ้างอิง อาจเป็นตราสารทางการเงิน เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นสามัญ ฯลฯ หรืออาจเป็นสินค้าหรือสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น น้ำมัน ข้าว บ้าน รถยนต์ ฯลฯ ตามแต่ที่ตราสารอนุพันธ์นั้นได้กำหนดไว้ ว่าเป็นการอ้างอิงถึงสินทรัพย์ใด
ตัวอย่างของอนุพันธ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้น เช่น สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน ซึ่งปกติการซื้อขายบ้านและที่ดินเป็นการทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน โดยผู้ซื้อทำการวางเงินมัดจำจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ขาย เช่น บ้านมีราคา 3,000,000 บาท ผู้ซื้อได้ตกลงที่จะวางเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาทในวันทำสัญญา และจะมีการส่งมอบบ้านกันในอนาคต เช่น อีก 6 เดือนข้างหน้า ในระหว่างสัญญานั้นผู้ซื้อก็จะดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคาร เพื่อนำมาซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าว หากธนาคารอนุมัติเงินกู้ ผู้ซื้อก็จะนำเงินมาชำระค่าบ้านตามสัญญา หรือหากผู้ซื้อไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ ผู้ซื้อก็จะไม่สามารถทำตามสัญญาได้ ผู้ขายก็จะยึดเงินมัดจำไป หรือหากผู้ซื้อสามารถขายสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นได้ ผู้ซื้อก็จะได้รับเงินค่ามัดจำคืน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาที่ผุ้ซื้อสามารถที่จะขายสัญญาจะซื้อจะขายได้ หากราคาบ้านมีราคาสูงขึ้นในระหว่างเวลา 6 เดือน สัญญาดังกล่าวอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และถ้าราคาบ้านมีราคาลดลงในระหว่าง 6 เดือน สัญญาดังกล่าวอาจมีมูลค่าลดลง
สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินดังกล่าว เป็นตราสารอนุพันธ์ประเภทหนึ่ง เพราะสัญญาดังกล่าวสามารถเปรียบได้เสมือนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งถูกนับเป็นหนึ่งในตราสารอนุพันธ์ คือ เป็นการตกลงกันล่วงหน้าเพื่อทำการซื้อขายบ้านกันในอนาคต โดยอาจมีการวางเงินมัดจำเป็นบางส่วนในปัจจุบัน และจะชำระค่าสินค้าหรือค่าบ้านและที่ดินที่เหลือในอนาคต โดยที่สัญญาดังกล่าวอาจมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงก็ได้ หากราคาบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เกิดมีราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลงในระหว่างสัญญา
ประโยชน์โดยทั่วไปของการมีและใช้ตราสารอนุพันธ์ คือ ประโยชน์ของการสะท้อนถึงราคาสินค้าในอนาคต ตัวอย่างเช่น สินค้าประเภทยางแผ่นรมควันชั้น 3 หากไม่มีระบบการซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยแล้ว การซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 คงต้องเป็นไปตามระบบดั้งเดิม ก็คือการผลิตแล้วรอขาย ซึ่งผู้ผลิตก็จะไม่ทราบว่าสินค้าของตนนั้นจะขายได้เมื่อใด จำนวนเท่าใด และราคาเท่าใด และฝ่ายผู้ซื้อเองก็ไม่ทราบเช่นเดียวกันว่า จะซื้อสินค้าดังกล่าวได้ครบตามจำนวนที่ต้องการหรือไม่ และจะซื้อได้ในราคาใด
ด้วยการที่มีตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย จึงทำให้ความกังวลใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าเกษตรหมดไป คือ ฝ่ายผู้ขายก็จะทราบถึงมูลค่าที่ตนเองจะได้รับจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ซื้อก็จะได้รับทราบถึงราคาในอนาคตว่าจะซื้อได้ในราคาใด เมื่อผู้ผลิตทราบว่าราคาสินค้าจะขายได้เท่าใด จำนวนเท่าใด ในอนาคต ผู้ผลิตก็จะจำการผลิตตามจำนวนที่ตนสามารถขายได้ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายทราบว่าราคาในอนาคตจะเป็นอย่างไร เป็นการสะท้อนราคาในอนาคตของสินค้าเกษตร
ประโยชน์ประการที่สอง ของการมีตราสารอนุพันธ์ คือ การใช้ในการป้องกันความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น ผู้นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ โดยมีสินค้าจำนวน 1,000 ชิ้น ๆ ละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนในวันนี้เท่ากับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และผู้ขายให้ชำระค่าสินค้าในอีก 2 เดือนข้างหน้า ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้นำเข้าสินค้ารายนี้ คือ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพราะถ้าหากอัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนไปเป็น 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ผู้นำเข้าจะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันที
ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงของผู้นำเข้ารายนี้ สามารถทำได้โดยการทำสัญญาซื้อดอลลาร์ล่วงหน้าจากธนาคาร โดยทำการตกลงอัตราแลกเปลี่ยนกันล่วงหน้า เช่น กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับอีกสองเดือนข้างหน้าในอัตรา 36 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ การทำเช่นนี้เป็นการป้องกันความเสี่ยงให้แก่ผู้นำเข้าสินค้า ในการที่จะต้องชำระเงินในอนาคต เป็นการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
ประโยชน์ประการสุดท้าย คือ การนำเอาตราสารอนุพันธ์ไปใช้ในการเก็งกำไร บุคคลที่มีความสำคัญที่สุดของกลไกในระบบตลาดตราสารอนุพันธ์ หรือตลาดซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านี้ คือ นักเก็งกำไร เพราะนักเก็งกำไรจะทำให้ตลาดอนุพันธ์มีสภาพคล่องสูง ราคาไม่เป็นไปเกินมากกว่าความเป็นจริง นักเก็งกำไรเป็นผู้ที่ต้องการได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของราคาอนุพันธ์ ไม่ได้เป็นผู้ที่จะต้องการใช้ประโยชน์จากสินค้าหรือตราสารทางการเงินที่ระบุไว้ในสัญญา