ดูเหมือนว่าความคึกคักของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในช่วงโค้งสุดท้ายของปี จะออกอาการสโลว์ไปหน่อย ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดนิ่งเช่นนี้ ดูเหมือนว่าคงหนีไม่พ้น บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นของบ้านเราเอง ซึ่งที่ผ่านมา นอกจากปัจจัยต่างประเทศที่กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกแล้ว บ้านเรายังถูกกดดันจากปัจจัยทางการเมืองในประเทศอีกด้วย แถมยังมีเรื่องมาบตาพุดเข้ามากดดันหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดอีก ซึ่งหุ้นที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นตัวขับเคลื่อนตลาดทั้งนั้น
วกกลับมาที่กองทุนรวมกันต่อ...หลายคนหวังว่าในช่วงปลายปีแบบนี้ อุตสาหกรรมกองทุนรวมจะได้อานิสงส์จากบรรดามนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ที่เข้ามาซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) เพื่อลดหย่อนภาษีประจำปี แต่ด้วยบรรยากาศการลงทุนที่ไม่เอื้ออำนวยสักเท่าไหร่ ส่งผลให้ความคาดหวังว่ากองทุน 2 ประเภทจะเข้ามาสร้างสีสันในช่วงปลายปีดูจะแผ่วลงไป
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าความต้องการลงทุนจะไม่สอดคล้องกับบรรยากาศ แต่หากมองไปในระยะยาวแล้ว การลงทุนทั้งในแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี เพราะนอกเหนือจากกำไรจากส่วนของราคาหุ้นแล้ว สิ่งที่นักลงทุนจะได้แน่นอนคือ ประหยัดภาษีนั่นเอง...เอาเป็นว่า รอไปลุ้นช่วงปลายปีกันดีกว่าว่า กองทุน 2 ประเภทจะดึงเงินใหม่ได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนตอนนี้ ไปสรุปกันก่อนว่า ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา อุตสาหกรรมกองทุนรวมเติบโตไปแค่ไหนแล้ว
จากการสำรวจพบว่า จบ 11 เดือน อุตสาหกรรมกองทุนรวม มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมทั้งสิ้น 1,790,496.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอีกประมาณ 11,283.63 ล้านบาทจากเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวถือว่าไม่สูงมากนัก หากเทียบกับ 3 ไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับตัวเลขปลายปีที่มีเงินลงทุนรวม 1,526,811.54 ล้านบาท ถือว่าขยายตัวได้ค่อนข้างสูง ด้วยมูลค่ารวมกว่า 263,684.76 ล้านบาทหรือคิดเป็นอัตราการขยายตัว 17.27%
ทั้งนี้ หากดูตัวเลขแยกตามประเภทของกองทุน พบว่า กองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,159,454.26 ล้านบาท กองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารทุน มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 318,161.70 ล้านบาท กองทุนรวมผสม มีเงินลงทุนรวม 51,960.15 ล้านบาท และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีก 73,151.11 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน หากแยกเป็นกองทุนรวมพิเศษ ประกอบด้วย กองทุนอาร์เอ็มเอฟ มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 49,505 ล้านบาท กองทุนแอลทีเอฟ 68,518.39 ล้านบาท และกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือเอฟไอเอฟ อยู่ที่ 550,856.95 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของกองทุนเอฟไอเอฟนี่เอง เป็นกองทุนที่โกยเงินเข้าธุรกิจกองทุนรวมากที่สุดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยกองทุนที่ได้รับความสนใจ คือกองทุนที่ออกไปลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ รวมถึงกองทุนที่ออกไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) ซึ่งออกมาขานรับราคาที่ปรับตัวเพื่อขึ้น ตามกระแสการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
เห็นตัวเลขการเติบโตของกองทุนแต่ละประเภทแล้ว ไปตามดูกันต่อว่าในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา บริษัทจัดการทั้งหมดในอุตสาหกรรมมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารหรือเอยูเอ็มเติบโตขึ้นมากน้อยแค่ไหน...ในที่นี้ ขอหยิบมาเพียง 10 อันดับแรกเท่านั้น ซึ่งหากพูดถึงการแข่งขันแล้ว ถือว่ามีสีสันพอสมควร
...เริ่มต้นกันที่ ผู้นำตลาดอย่าง บลจ. ไทยพาณิชย์ ซึ่งมีสินทรัพย์รวม 394,421.81 ล้านบาท โดยบลจ.ไทยพาณิชย์เอง สามารถเบียดแชมป์เก่าขึ้นมาได้ ภายหลังการเข้ามานั่งบังเหียนของโชติกา สวนานนท์ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ทยอยออกกองทุนใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งกองทุนเกาหลีตามกระแส และกองทุนที่ลงทุนในหุ้นกู้เอกชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังได้พอร์ตของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรธ เข้ามาอีกกว่าหมื่นล้านบาทด้วย
สำหรับตำแหน่งที่ 2 ได้แก่ บลจ.กสิกรไทย อดีตแชมป์เก่าค่ายนี้ แม้จะมีกองทุนออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็หนีคู่แข่งสำคัญอย่างบลจ.ไทยพาณิชย์ไม่พ้น จำต้องหล่นมาอยู่อันดับสองด้วยสินทรัพย์รวม 368,512.13 ล้านบาท
อันดับ 3 ยังครองตำแหน่งอย่างเหนียวแน่น สำหรับบลจ.บัวหลวง ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับบลจ.ใหญ่เครือแบงก์ที่สามารถขายกองทุนเกาหลีใด้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 158,471.70 แม้ว่าจะลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้กว่า 6,783.78 ล้านบาทก็ตาม
อันดับ 4 บลจ.กรุงไทย ต้องบอกว่าค่ายนี้ มาดีตลอดปี ทั้งกองทุนเกาหลีใต้ และกองทุนคอมมอดิตี จนสินทรัพย์ล่าสุดขยับขึ้นมาอยู่ที่ 146,871.91 ล้านบาท
อันดับ 5 ตามมาติดๆ ด้วย บลจ.เอ็มเอฟซี ค่ายนี้เองก็ประสบความสำเร็จไม่แพ้ใคร โดยเฉพาะกองทุนประเภททาร์เก็ตฟันด์ ที่สามารถบริหารกองทุนเข้าเป้าหมายภานในปีเดียวได้กว่า 6 กองทุนแล้ว ซึ่งจากความสำเร็จนี่เอง เป็นบทพิสูจน์ว่าบลจ.ที่ไม่มีสาขาธนาคารเข้ามาช่วย ก็ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ถ้าแตกต่างและเข้าถึงนักลงทุน โดยปัจจุบัน บลจ.เอ็มเอฟซี มีสินทรัพย์รวม 145,876.49 ล้านบาท
สำหรับอันดับ 6 และอันดับ 7 ถือว่าน่าสนใจทีเดียว...สืบเนื่องมาจากการเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของธนาคารทหารไทย ทำให้บลจ.ไอเอ็นจี สามารถขยับขึ้นมาแซงหน้าบลจ.ลูกแท้ๆ อย่าง บลจ.ทหารไทยได้ ล่าสุด บลจ.ไอเอ็นจีมีสินทรัพย์สำหรับกองทุนรวม รวมทั้งสิ้น 129,839.85 ล้านบาท ในขณะที่บลจ.ทหารไทย มีสินทรัพย์อยู่ที่ 129,136.67 ล้านบาท...ถึงแม้ว่าส่วนต่างจะไม่ห่างกันมากนัก แต่ก็แสดงให้เห็นว่า ธนาคารทหารไทย ให้ความสำคัญกับบลจ.ไอเอ็นจีมากทีเดียว
ต่อด้วยอันดับ 8 บลจ.ธนชาต ด้วยสินทรัพย์รวม 78,174.34 ล้านบาท อันดับ 9 บลจ.อยุธยา ซึ่งค่ายนี้ ได้บลจ.พรีมาเวสท์ บริษัทในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยาเข้ามารวมเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว ซึ่งเชื่อว่าหลังจากนี้ บลจ.อยุธยา จะได้การสนับสนุนจากแบงก์แม่อย่างเต็มที่ โดยล่าสุด บลจ.อยุธยา มีสินทรัพย์รวม 42,761.81 ล้านบาท
ปิดท้ายกับที่อันดับ 10 กับ บลจ.ยูโอบี(ไทย) ด้วยสินทรัพย์รวม 41,890.03 ล้านบาท
ลุ้นเงินไหลเข้าอีก2หมื่นล้าน
วรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการกองทุนรวม กล่าวว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาทั้งระบบอุตสาหกรรมกองทุนรวมไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท โดยในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2552 นี้คาดว่าเม็ดเงินดังกล่าวจะได้จากกองทุนรวมอาร์เอ็มเอฟ รวมถึงกองทุนรวมแอลทีเอฟ และกองทุนหุ้นเป็นหลัก
ซึ่งในโค้งสุดท้ายปลายปีแบบนี้ ยังมีกิจกรรมกระตุ้นการลงทุนส่งท้ายปีอีกครั้ง กับงาน "มหกรรมลดภาษีนาทีสุดท้าย ด้วย RMF-LTF ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-20 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. ณ ศูนย์การค้า Central World ชั้น1...มนุษย์เงินเดือนท่านใด ที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะประหยัดภาษีอย่างไร เชื่อว่างานนี้ มีคำตอบให้คุณอย่างแน่นอน
วกกลับมาที่กองทุนรวมกันต่อ...หลายคนหวังว่าในช่วงปลายปีแบบนี้ อุตสาหกรรมกองทุนรวมจะได้อานิสงส์จากบรรดามนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ที่เข้ามาซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) เพื่อลดหย่อนภาษีประจำปี แต่ด้วยบรรยากาศการลงทุนที่ไม่เอื้ออำนวยสักเท่าไหร่ ส่งผลให้ความคาดหวังว่ากองทุน 2 ประเภทจะเข้ามาสร้างสีสันในช่วงปลายปีดูจะแผ่วลงไป
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าความต้องการลงทุนจะไม่สอดคล้องกับบรรยากาศ แต่หากมองไปในระยะยาวแล้ว การลงทุนทั้งในแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี เพราะนอกเหนือจากกำไรจากส่วนของราคาหุ้นแล้ว สิ่งที่นักลงทุนจะได้แน่นอนคือ ประหยัดภาษีนั่นเอง...เอาเป็นว่า รอไปลุ้นช่วงปลายปีกันดีกว่าว่า กองทุน 2 ประเภทจะดึงเงินใหม่ได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนตอนนี้ ไปสรุปกันก่อนว่า ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา อุตสาหกรรมกองทุนรวมเติบโตไปแค่ไหนแล้ว
จากการสำรวจพบว่า จบ 11 เดือน อุตสาหกรรมกองทุนรวม มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมทั้งสิ้น 1,790,496.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอีกประมาณ 11,283.63 ล้านบาทจากเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวถือว่าไม่สูงมากนัก หากเทียบกับ 3 ไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับตัวเลขปลายปีที่มีเงินลงทุนรวม 1,526,811.54 ล้านบาท ถือว่าขยายตัวได้ค่อนข้างสูง ด้วยมูลค่ารวมกว่า 263,684.76 ล้านบาทหรือคิดเป็นอัตราการขยายตัว 17.27%
ทั้งนี้ หากดูตัวเลขแยกตามประเภทของกองทุน พบว่า กองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,159,454.26 ล้านบาท กองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารทุน มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 318,161.70 ล้านบาท กองทุนรวมผสม มีเงินลงทุนรวม 51,960.15 ล้านบาท และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีก 73,151.11 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน หากแยกเป็นกองทุนรวมพิเศษ ประกอบด้วย กองทุนอาร์เอ็มเอฟ มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 49,505 ล้านบาท กองทุนแอลทีเอฟ 68,518.39 ล้านบาท และกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือเอฟไอเอฟ อยู่ที่ 550,856.95 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของกองทุนเอฟไอเอฟนี่เอง เป็นกองทุนที่โกยเงินเข้าธุรกิจกองทุนรวมากที่สุดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยกองทุนที่ได้รับความสนใจ คือกองทุนที่ออกไปลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้ รวมถึงกองทุนที่ออกไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) ซึ่งออกมาขานรับราคาที่ปรับตัวเพื่อขึ้น ตามกระแสการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
เห็นตัวเลขการเติบโตของกองทุนแต่ละประเภทแล้ว ไปตามดูกันต่อว่าในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา บริษัทจัดการทั้งหมดในอุตสาหกรรมมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารหรือเอยูเอ็มเติบโตขึ้นมากน้อยแค่ไหน...ในที่นี้ ขอหยิบมาเพียง 10 อันดับแรกเท่านั้น ซึ่งหากพูดถึงการแข่งขันแล้ว ถือว่ามีสีสันพอสมควร
...เริ่มต้นกันที่ ผู้นำตลาดอย่าง บลจ. ไทยพาณิชย์ ซึ่งมีสินทรัพย์รวม 394,421.81 ล้านบาท โดยบลจ.ไทยพาณิชย์เอง สามารถเบียดแชมป์เก่าขึ้นมาได้ ภายหลังการเข้ามานั่งบังเหียนของโชติกา สวนานนท์ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ทยอยออกกองทุนใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งกองทุนเกาหลีตามกระแส และกองทุนที่ลงทุนในหุ้นกู้เอกชน ซึ่งล้วนแล้วแต่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังได้พอร์ตของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรธ เข้ามาอีกกว่าหมื่นล้านบาทด้วย
สำหรับตำแหน่งที่ 2 ได้แก่ บลจ.กสิกรไทย อดีตแชมป์เก่าค่ายนี้ แม้จะมีกองทุนออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็หนีคู่แข่งสำคัญอย่างบลจ.ไทยพาณิชย์ไม่พ้น จำต้องหล่นมาอยู่อันดับสองด้วยสินทรัพย์รวม 368,512.13 ล้านบาท
อันดับ 3 ยังครองตำแหน่งอย่างเหนียวแน่น สำหรับบลจ.บัวหลวง ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับบลจ.ใหญ่เครือแบงก์ที่สามารถขายกองทุนเกาหลีใด้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 158,471.70 แม้ว่าจะลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้กว่า 6,783.78 ล้านบาทก็ตาม
อันดับ 4 บลจ.กรุงไทย ต้องบอกว่าค่ายนี้ มาดีตลอดปี ทั้งกองทุนเกาหลีใต้ และกองทุนคอมมอดิตี จนสินทรัพย์ล่าสุดขยับขึ้นมาอยู่ที่ 146,871.91 ล้านบาท
อันดับ 5 ตามมาติดๆ ด้วย บลจ.เอ็มเอฟซี ค่ายนี้เองก็ประสบความสำเร็จไม่แพ้ใคร โดยเฉพาะกองทุนประเภททาร์เก็ตฟันด์ ที่สามารถบริหารกองทุนเข้าเป้าหมายภานในปีเดียวได้กว่า 6 กองทุนแล้ว ซึ่งจากความสำเร็จนี่เอง เป็นบทพิสูจน์ว่าบลจ.ที่ไม่มีสาขาธนาคารเข้ามาช่วย ก็ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ถ้าแตกต่างและเข้าถึงนักลงทุน โดยปัจจุบัน บลจ.เอ็มเอฟซี มีสินทรัพย์รวม 145,876.49 ล้านบาท
สำหรับอันดับ 6 และอันดับ 7 ถือว่าน่าสนใจทีเดียว...สืบเนื่องมาจากการเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของธนาคารทหารไทย ทำให้บลจ.ไอเอ็นจี สามารถขยับขึ้นมาแซงหน้าบลจ.ลูกแท้ๆ อย่าง บลจ.ทหารไทยได้ ล่าสุด บลจ.ไอเอ็นจีมีสินทรัพย์สำหรับกองทุนรวม รวมทั้งสิ้น 129,839.85 ล้านบาท ในขณะที่บลจ.ทหารไทย มีสินทรัพย์อยู่ที่ 129,136.67 ล้านบาท...ถึงแม้ว่าส่วนต่างจะไม่ห่างกันมากนัก แต่ก็แสดงให้เห็นว่า ธนาคารทหารไทย ให้ความสำคัญกับบลจ.ไอเอ็นจีมากทีเดียว
ต่อด้วยอันดับ 8 บลจ.ธนชาต ด้วยสินทรัพย์รวม 78,174.34 ล้านบาท อันดับ 9 บลจ.อยุธยา ซึ่งค่ายนี้ ได้บลจ.พรีมาเวสท์ บริษัทในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยาเข้ามารวมเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว ซึ่งเชื่อว่าหลังจากนี้ บลจ.อยุธยา จะได้การสนับสนุนจากแบงก์แม่อย่างเต็มที่ โดยล่าสุด บลจ.อยุธยา มีสินทรัพย์รวม 42,761.81 ล้านบาท
ปิดท้ายกับที่อันดับ 10 กับ บลจ.ยูโอบี(ไทย) ด้วยสินทรัพย์รวม 41,890.03 ล้านบาท
ลุ้นเงินไหลเข้าอีก2หมื่นล้าน
วรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการกองทุนรวม กล่าวว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาทั้งระบบอุตสาหกรรมกองทุนรวมไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท โดยในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2552 นี้คาดว่าเม็ดเงินดังกล่าวจะได้จากกองทุนรวมอาร์เอ็มเอฟ รวมถึงกองทุนรวมแอลทีเอฟ และกองทุนหุ้นเป็นหลัก
ซึ่งในโค้งสุดท้ายปลายปีแบบนี้ ยังมีกิจกรรมกระตุ้นการลงทุนส่งท้ายปีอีกครั้ง กับงาน "มหกรรมลดภาษีนาทีสุดท้าย ด้วย RMF-LTF ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-20 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. ณ ศูนย์การค้า Central World ชั้น1...มนุษย์เงินเดือนท่านใด ที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะประหยัดภาษีอย่างไร เชื่อว่างานนี้ มีคำตอบให้คุณอย่างแน่นอน