คอลัมน์ Smart Money, Smart Life
โดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) หรือ AIMC
คราวที่แล้วได้นำเสนอเสนอข้อมูลเปรียบเทียบให้เห็นความเหมือนและความต่างระหว่างกองทุน หุ้น และกองทุนอีทีเอฟกันไปแล้ว วันนี้มาดูความเหมือนและความต่างระหว่างกองทุนอีทีเอฟ กับกองทุนเปิดที่อ้างอิงดัชนีกันค่ะ
แม้ว่ากองทุนอีทีเอฟ จะมีความคล้ายคลึงกับกองทุนเปิดที่อ้างอิงดัชนี (Index fund) หลักๆก็คือ การลงทุนและการพยายามสร้างผลตอบแทนตามดัชนีที่อ้างอิง ใแต่กองทุนอีทีเอฟก็มีคุณสมบัติบางอย่างที่แตกต่างออกไปเพื่อส่งเสริมสภาพคล่องและสร้างเสถียรภาพทางราคา
เปรียบเทียบระหว่างกองทุนอีทีเอฟและกองทุนดัชนี (Index fund)
นโยบายการลงทุน
"กองทุนอีทีเอฟ" กำหนดสัดส่วนการลงทุนที่แน่นอนตรงตามน้ำหนักของหลักทรัพย์ที่รวมคำนวณในดัชนีที่ใช้อ้างอิง โดยจะมีการประกาศรายชื่อหลักทรัพย์ที่ถือครองทุกวัน และปรับปรุงรายชื่อหากมีการเปลี่ยนแปลงในหลักทรัพย์ที่ใช้รวมคำนวณในดัชนีดังกล่าว
"กองทุนดัชนี (Index fund)" โดยทั่วไปจะกำหนดสัดส่วนในภาพรวมว่าการลงทุนตราสารประเภทใดในสัดส่วนเท่าใด แต่ไม่ได้ระบุรายชื่อหลักทรัพย์อย่างชัดเจน
การเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยลงทุน
"กองทุนอีทีเอฟ" มีเพียงผู้ร่วมค้าหน่วยลงทุนที่ถูกแต่งตั้งโดย บลจ.สามารถขอออกหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนกับ บลจ. และเป็นธุรกรรมแบบแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ระหว่างกลุ่มหลักทรัพย์ที่รวมคำนวณในดัชนีอ้างอิงและหน่วยลงทุน
"กองทุนดัชนี (Index fund)" ซื้อขายโดยตรงที่ บลจ.หรือผ่านตัวแทนที่ธนาคารพาณิชย์ และเป็นธุรกรรมที่แลกเปลี่ยนระหว่างเงินสดและหน่วยลงทุน
การซื้อขายหน่วยที่มีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
"กองทุนอีทีเอฟ" ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน บล. เปรียบเสมือนเป็นหลักทรัพย์หนึ่ง
"กองทุนดัชนี (Index fund)" สามารถซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มหรือขายคืนให้กับ บลจ. โดยตรงหรืออาจติดต่อผ่านตัวแทนสนับสนุนการขายก็ได้ และซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน บล.เปรียบเสมือนเป็นหลักทรัพย์หนึ่ง ในกรณีที่ บลจ. นำหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการลงทุน
"กองทุนอีทีเอฟ" ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนไม่ได้ เรียกเก็บจากนักลงทุนโดยตรง เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ0.5เนื่องจากเป็นการลงทุนแบบนโยบายเชิงรับ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ หรือผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง จะมีแต่ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ ประมาณร้อยละ 0.25
"กองทุนดัชนี (Index fund)" ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนแต่ไม่ได้เรียกเก็บจากนักลงทุนโดยตรง เฉลี่ยกว่า ร้อยละ0.8เนื่องจากเป็นการลงทุนแบบนโยบายเชิงรับ
ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ หรือผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุนและการรับซื้อคืน เฉลี่ยกว่าร้อยละ 0.5 ค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริง เช่นค่าธรรมเนียมการโอนหน่วยลงทุน ค่าธรรมเนียมในการซื้อหลักทรัพย์ และค่าธรรมเนียมธรรมเนียมซื้อขายประมาณร้อยละ 0.25 ในกรณีที่ บลจ. นำหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
โดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) หรือ AIMC
คราวที่แล้วได้นำเสนอเสนอข้อมูลเปรียบเทียบให้เห็นความเหมือนและความต่างระหว่างกองทุน หุ้น และกองทุนอีทีเอฟกันไปแล้ว วันนี้มาดูความเหมือนและความต่างระหว่างกองทุนอีทีเอฟ กับกองทุนเปิดที่อ้างอิงดัชนีกันค่ะ
แม้ว่ากองทุนอีทีเอฟ จะมีความคล้ายคลึงกับกองทุนเปิดที่อ้างอิงดัชนี (Index fund) หลักๆก็คือ การลงทุนและการพยายามสร้างผลตอบแทนตามดัชนีที่อ้างอิง ใแต่กองทุนอีทีเอฟก็มีคุณสมบัติบางอย่างที่แตกต่างออกไปเพื่อส่งเสริมสภาพคล่องและสร้างเสถียรภาพทางราคา
เปรียบเทียบระหว่างกองทุนอีทีเอฟและกองทุนดัชนี (Index fund)
นโยบายการลงทุน
"กองทุนอีทีเอฟ" กำหนดสัดส่วนการลงทุนที่แน่นอนตรงตามน้ำหนักของหลักทรัพย์ที่รวมคำนวณในดัชนีที่ใช้อ้างอิง โดยจะมีการประกาศรายชื่อหลักทรัพย์ที่ถือครองทุกวัน และปรับปรุงรายชื่อหากมีการเปลี่ยนแปลงในหลักทรัพย์ที่ใช้รวมคำนวณในดัชนีดังกล่าว
"กองทุนดัชนี (Index fund)" โดยทั่วไปจะกำหนดสัดส่วนในภาพรวมว่าการลงทุนตราสารประเภทใดในสัดส่วนเท่าใด แต่ไม่ได้ระบุรายชื่อหลักทรัพย์อย่างชัดเจน
การเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยลงทุน
"กองทุนอีทีเอฟ" มีเพียงผู้ร่วมค้าหน่วยลงทุนที่ถูกแต่งตั้งโดย บลจ.สามารถขอออกหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนกับ บลจ. และเป็นธุรกรรมแบบแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ระหว่างกลุ่มหลักทรัพย์ที่รวมคำนวณในดัชนีอ้างอิงและหน่วยลงทุน
"กองทุนดัชนี (Index fund)" ซื้อขายโดยตรงที่ บลจ.หรือผ่านตัวแทนที่ธนาคารพาณิชย์ และเป็นธุรกรรมที่แลกเปลี่ยนระหว่างเงินสดและหน่วยลงทุน
การซื้อขายหน่วยที่มีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
"กองทุนอีทีเอฟ" ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน บล. เปรียบเสมือนเป็นหลักทรัพย์หนึ่ง
"กองทุนดัชนี (Index fund)" สามารถซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มหรือขายคืนให้กับ บลจ. โดยตรงหรืออาจติดต่อผ่านตัวแทนสนับสนุนการขายก็ได้ และซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน บล.เปรียบเสมือนเป็นหลักทรัพย์หนึ่ง ในกรณีที่ บลจ. นำหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการลงทุน
"กองทุนอีทีเอฟ" ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนไม่ได้ เรียกเก็บจากนักลงทุนโดยตรง เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ0.5เนื่องจากเป็นการลงทุนแบบนโยบายเชิงรับ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ หรือผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง จะมีแต่ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ ประมาณร้อยละ 0.25
"กองทุนดัชนี (Index fund)" ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนแต่ไม่ได้เรียกเก็บจากนักลงทุนโดยตรง เฉลี่ยกว่า ร้อยละ0.8เนื่องจากเป็นการลงทุนแบบนโยบายเชิงรับ
ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อ หรือผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุนและการรับซื้อคืน เฉลี่ยกว่าร้อยละ 0.5 ค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริง เช่นค่าธรรมเนียมการโอนหน่วยลงทุน ค่าธรรมเนียมในการซื้อหลักทรัพย์ และค่าธรรมเนียมธรรมเนียมซื้อขายประมาณร้อยละ 0.25 ในกรณีที่ บลจ. นำหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์