เเม้จะมีกระเเสสข่าวว่าหลายบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) พยายามหาตราสารหนี้ต่างประเทศเเห่งใหม่เเทนตราสารหนี้เกาหลีใต้ เช่นตราสารหนี้ตะวันออกกลาง(มิดเดิ้ลอีสท์ บอนด์)ที่มีเรทติ้งเเละมีผลตอบเเทนที่ดีกว่าตราสารหนี้เกาหลีใต้ เเต่กระนั้นการเปิดขายกองทุนตราสารหนี้เกาหลีใต้ก็ยังมีอย่างต่อเนื่องเเละที่สำคัญทุกกองทุนที่เปิดไอพีโอก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ทั้งอายุสั้นเเละอายุยาว ทั้งนี้เงินทุนไทยที่หลัางไหลไปตราสารหนี้เกาหลีใต้มีมากถึง 300,000 ล้านบาททั้งอุตสหกรรมกองทุนรวม
อะไรที่เป็นสิ่งที่ให้เงินลงทุนของไทยไหลเข้าไปในตราสารหนี้เกาหลีใต้มากมายเช่นนี้ หลายคนมองว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผลตอบเเทนที่ได้มากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ของไทย รวมถึงเรทติ้งของประเทศเกาหลีใต้ก็ดีกว่าไทย เเต่ไม่ว่าจะเหตุผลกลใดก็เเล้วเเต่ สิ่งที่ทำให้นักลงทุนชื่นชอบตราสารหนี้เกาหลีใต้มากที่สุดคือ ผลตอบเเทนที่นักลงทุนรับได้ ที่นี้เราลองมาดูเเนวโน้มเศรษฐกิจเกาหลีใต้เเละมุมมองของผู้จัดการกองทุนกันว่าเขามีมองต่อเกาหลีใต้อย่างไรกันบ้าง
เศรษฐกิจเกาหลีใต้กำลังฟื้นตัว
เมื่อวาน (10 กย.) ที่ผ่านมา ธนาคารกลางเกาหลีใต้หรือ (BOK) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยสำคัญไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์คือ 2% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 เพื่อให้เวลาเศรษฐกิจที่เพิ่งฟื้นตัวได้หยั่งรากอย่างมั่นคง โดยในการประชุมนโยบายประจำเดือน ธนาคารกลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรประเภท 7 วันไว้ในระดับเดิม ซึ่งที่ผ่านมาะ BOK ปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวรวมกันร้อยละ 3.25 ระหว่างเดือนตุลาคมปีก่อนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ เพื่อชะลอไม่ให้เศรษฐกิจดิ่งลงอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตามสัปดาห์ที่ผ่านมาเกาหลีใต้ประกาศว่า เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.6 ในเดือนเมษายน-มิถุนายน เมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้านั้น และมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 ขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมก็เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่นักวิเคราะห์ระบุว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเอเชียยังคงเป็นไปอย่างไม่มั่นคง และต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาไม่รุนแรงนัก
โดย BOK เห็นว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ขยายตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้เกิดความหวังว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ในเอเชียกำลังจะฟื้นตัว ทั้งนี้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรก สูงกว่าที่ประมาณการไว้เดิมที่ร้อยละ 2.3
สำหรับตัวเลขจีดีพีดังกล่าวเป็นอัตราการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 ซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ร้อยละ 2.6 เช่นกัน แต่หากเทียบเป็นรายปีเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ 2.2 ซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะหดตัวร้อยละ 2.5 อย่างไรก็ตามการเพิ่มการผลิตของผู้ประกอบการยานยนต์และเทคโนโลยี รวมถึงการส่งเสริมการส่งออกของอุตสาหกรรมไอที นับว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาลและฟื้นการบริโภคของภาคเอกชน
นอกจากนี้ บริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ (Fitch Rating )มองว่าตลาดสินเชื่อของเกาหลีใต้ปรับตัวดีขึ้นมากที่จะทำให้ฟิทช์ปรับเเนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือสู่ มีเสถียรภาพ จาก มีเนวโน้มเชิงลบ โดยเห็นว่าปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้ฟื้นตัวขึ้นในระดับที่มากพอที่จะทำให้ฟิทช์ยกเลิกการจัดเเนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือในเชิงลบสำหรับเกาหลีใต้เเลภาวะสินเชื่อสกุลเงินต่างชาติหดตัวในเกาหลีใต้ได้บรรเทาลงมากในช่วงที่ผ่านมา อันดับความน่าเชื่อถือให้เกาหลีใต้สูงกว่าอันดับที่ได้รับจากสเเตนดาร์ด เเอนด์ พัวร์ (S&P)เเละมูดี้ส์ 1 ขั้นโดย S&P จัดอันดับความน่าเชื่อถือของเกาหลีใต้ไว้ที่ A ส่วนมูดี้ส์จัดอันดับเกาหลีใต้ไว้ที่ A2 โดยฟิทช์ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของเกาหลีใต้ที่ระดับ A+
ทางด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลอดช่วงที่ผ่านมาในปี 2552 โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้นักลงทุนแสวงหาแหล่งลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกองทุนรวมที่ไปลงทุนต่างประเทศ (FIF) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มักจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยเช่นกัน ทั้งนี้ ในบรรดากองทุนรวม FIF นั้น กองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้มีมูลค่าการลงทุนคิดเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด เนื่องจากนักลงทุนมองว่าเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างปลอดภัยและให้ผลตอบแทนในระดับที่ดี นอกจากนี้พันธบัตรเกาหลีใต้ที่บลจ.เลือกลงทุนนั้นมักจะมีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ A ขึ้นไป ขณะที่โดยส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนจะเน้นการลงทุนในระยะสั้นประมาณ 3-6 เดือน หรือ 1 ปี
สาเหตุที่ทำให้กองทุนดังกล่าวยังคงดึงดูดนักลงทุน ได้แก่ อัตราผลตอบแทนที่จูงใจกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ที่มีระยะเวลาการถือครองเท่ากัน ขณะที่พันธบัตรเกาหลีใต้ที่บลจ.เข้าไปลงทุนนั้น ส่วนใหญ่มักเป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารกลางหรือตราสารหนี้ภาครัฐที่มีรัฐบาลเกาหลีใต้ค้ำประกันอยู่ซึ่งจะมีความมั่นคงสูงมาก นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการที่กองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและผู้ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดาในกองทุนดังกล่าวยังได้รับประโยชน์จากมาตรการของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่ยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) 15% อีกด้วย
นอกจากนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจอื่นๆ ของเกาหลีใต้ก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน เช่น การบริโภค การลงทุน ตลอดจนการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงแม้เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างๆ ของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2จะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ แต่เนื่องจากเงินลงทุนของนักลงทุนไทยในเกาหลีใต้มีมูลค่าสูงมาก ตลอดจนนักลงทุนอาจเห็นว่าได้ลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้มากเพียงพอแล้ว จึงอาจพิจารณากระจายการลงทุนไปยังช่องทางการลงทุนอื่นๆ ที่มีอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนที่น่าสนใจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อในช่วงที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเกาหลีใต้ได้เริ่มปรับลดลงเล็กน้อย (ประมาณ 0.20-0.40%) เนื่องจากต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ก.ค. 2552 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ ช่องทางการลงทุนอื่นๆ ที่น่าสนใจดังกล่าว อาทิ พันธบัตรของรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชน กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นของตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Equity Fund) โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นเอเชีย ผลิตภัณฑ์เงินฝากโครงการพิเศษของธนาคารพาณิชย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เเละ การลงทุนทางเลือกอื่นๆ อาทิ สินค้าโภคภัณฑ์ตลอดจนการลงทุนโดยตรงในตลาดหุ้น
มุมมองผู้จัดการกองทุน
สมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) มองว่า อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเกาหลีใต้ ในช่วงนี้เริ่มแกว่งตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสวอปข้ามสกุลวอนต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ (Cross Currency Swap) ซึ่งจะมีผลต่อต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรในสกุลเงินวอน และอัตราดอกเบี้ยสวอปข้ามสกุลบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ ค่อนข้างทรงตัว
ขณะเดียวกัน ในสัปดาห์ที่ผ่านมา Fitch Rating ได้คงอันดับเครดิตของประเทศเกาหลีใต้ (Foreign Currency Credit Rating A+/F1 และ Local Currency Credit Rating AA/F1) แต่ปรับเพิ่มมุมมองต่อความน่าเชื่อถือของประเทศเกาหลีใต้ และสถาบันการเงินภาครัฐ (K-EXIM, KDB, IBK) จากมุมมองเชิงลบ (Negative) เป็นมุมมองที่มีเสถียรภาพ (Stable) โดยให้เหตุผลถึงภาวะเศรษฐกิจและระบบการเงินที่ปรับตัวดีขึ้น การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องและการไหลเข้าของกระแสเงินลงทุน รวมถึงแผนการปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศ ส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงิน และความเสี่ยงทางการเงินที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ