กบข.ออกโรงย้ำ ลงทุนตราสารหนี้ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อระยะยาวไม่ได้ ชี้ลงทุนหุ้นตอบโจทย์ ชูผลตอบแทนย้อนหลังถึง 7.04%
นางสาววริยา ว่องปรีชา รองเลขาธิการสายบริหารงานสมาชิก รักษาการ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ หรือหุ้นกู้ ซึ่งถือเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงและได้ผลตอบแทนที่มั่นคง แต่ด้วยผลตอบแทน ในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-3 ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการออมและสร้างผลตอบแทนที่ชนะเงินเฟ้อในระยะยาวได้ ดังนั้น การลงทุนในหุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนทางเลือกอื่นๆ จึงเป็นทางเลือกที่ช่วยเพิ่มค่าเงินออมเพื่อการเกษียณของสมาชิกได้
ทั้งนี้ กลยุทธ์ในการบริหารเงินออมระยะยาวนั้น ต้องมีหลักเกณฑ์และนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับการออมระยะยาวเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ไม่ให้น้ำหนักกับการลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินไป การพยายามลดความเสี่ยงจากการลงทุนให้มากที่สุด การหาดอกผลเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเพื่อที่สามารถชนะเงินเฟ้อในระยะยาว และระยะเวลาในการออมหรือระยะเวลาที่จะขอคืนเงินดังกล่าวออกไป
โดยจากการดำเนินการของ กบข.ที่ผ่านมานั้น ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่กำหนดไว้ว่า ในการบริหารเงินลงทุนของ กบข. ส่วนของสมาชิกนั้นให้แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และอีกไม่เกินร้อยละ 40 สามารถลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน
สำหรับส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ไทยในปัจจุบัน กบข.ลงทุนอยู่ที่ร้อยละ 74.4 ตราสารหนี้ต่างประเทศร้อยละ 4.8 อสังหาริมทรัพย์ไทยอยู่ที่ร้อยละ 4.1 การลงทุนทางเลือกอื่นๆ อยู่ร้อยละ 3.2 ตราสารทุนไทยร้อยละ 7.7 ตราสารทุนต่างประเทศร้อยละ 4.8 ซึ่งถือเป็นการลงทุนส่วนใหญ่ในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงและให้ผลตอบแทนที่มั่นคง
"ผลการดำเนินงานตลอด 11 ปีที่ผ่านมา หาก กบข.ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงเพียงอย่างเดียว ผลตอบแทนที่ได้รับเฉลี่ยจะอยู่ที่ร้อยละ 3.81 แต่ด้วยการกระจายสินทรัพย์ไปลงทุนในหุ้น อสังหาริมทรัพย์และทางเลือกการลงทุนอื่นๆ ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมา กบข.สามารถหาผลตอบแทนได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉลี่ยผลตอบแทนจากการลงทุนในทุกสินทรัพย์ของ กบข. นั้นอยู่ที่ร้อยละ 7.04 ต่อปี สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.26 ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงที่บั่นทอนค่าของเงิน และเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงของกองทุนการออมเพื่อวัยเกษียณ" นางสาววริยา กล่าว
นางสาววริยา ว่องปรีชา รองเลขาธิการสายบริหารงานสมาชิก รักษาการ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ หรือหุ้นกู้ ซึ่งถือเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงและได้ผลตอบแทนที่มั่นคง แต่ด้วยผลตอบแทน ในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2-3 ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการออมและสร้างผลตอบแทนที่ชนะเงินเฟ้อในระยะยาวได้ ดังนั้น การลงทุนในหุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนทางเลือกอื่นๆ จึงเป็นทางเลือกที่ช่วยเพิ่มค่าเงินออมเพื่อการเกษียณของสมาชิกได้
ทั้งนี้ กลยุทธ์ในการบริหารเงินออมระยะยาวนั้น ต้องมีหลักเกณฑ์และนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับการออมระยะยาวเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ไม่ให้น้ำหนักกับการลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินไป การพยายามลดความเสี่ยงจากการลงทุนให้มากที่สุด การหาดอกผลเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเพื่อที่สามารถชนะเงินเฟ้อในระยะยาว และระยะเวลาในการออมหรือระยะเวลาที่จะขอคืนเงินดังกล่าวออกไป
โดยจากการดำเนินการของ กบข.ที่ผ่านมานั้น ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่กำหนดไว้ว่า ในการบริหารเงินลงทุนของ กบข. ส่วนของสมาชิกนั้นให้แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และอีกไม่เกินร้อยละ 40 สามารถลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน
สำหรับส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ไทยในปัจจุบัน กบข.ลงทุนอยู่ที่ร้อยละ 74.4 ตราสารหนี้ต่างประเทศร้อยละ 4.8 อสังหาริมทรัพย์ไทยอยู่ที่ร้อยละ 4.1 การลงทุนทางเลือกอื่นๆ อยู่ร้อยละ 3.2 ตราสารทุนไทยร้อยละ 7.7 ตราสารทุนต่างประเทศร้อยละ 4.8 ซึ่งถือเป็นการลงทุนส่วนใหญ่ในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงและให้ผลตอบแทนที่มั่นคง
"ผลการดำเนินงานตลอด 11 ปีที่ผ่านมา หาก กบข.ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงเพียงอย่างเดียว ผลตอบแทนที่ได้รับเฉลี่ยจะอยู่ที่ร้อยละ 3.81 แต่ด้วยการกระจายสินทรัพย์ไปลงทุนในหุ้น อสังหาริมทรัพย์และทางเลือกการลงทุนอื่นๆ ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมา กบข.สามารถหาผลตอบแทนได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉลี่ยผลตอบแทนจากการลงทุนในทุกสินทรัพย์ของ กบข. นั้นอยู่ที่ร้อยละ 7.04 ต่อปี สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.26 ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงที่บั่นทอนค่าของเงิน และเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงของกองทุนการออมเพื่อวัยเกษียณ" นางสาววริยา กล่าว