ตลาดหลักทรัพย์ฯ เรียมเก็บค่าธรรมเนียมบลจ.ไทย-เทศ นำดัชนีห้นไทยอ้างอิงออกกงทุนขายักลงทุน หลังปล่อยใช้ฟรีมานานแล้ว พบ บลจ.ไทยออกองทุนแล้ว 50 กองขณะที่ต่างชาติออกแล้วกว่า 10 กอง ประเดิมไตรมาส 3 เก็บเฉพาะสถาบันการเงินต่างชาติก่อน ส่วนกองทุนไทยเดินหน้าเก็บต้นปีหน้า พร้อมระบุค่าธรรมเนียมที่ได้จะนำไปพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุนภายในประเทศต่อไป
นายสันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานพัฒนาตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ได้เตรียมทำการจัดเก็บค่าธรรมเนียม จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) และสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ที่นำดัชนีตลาดหลักทรัพย์ SET50 และ ดัชนี SET100 ไปอ้างอิงกับกองทุนเพื่อเสนอขายแก่นักลงทุน หลังจากที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้ทำการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวในการออกขายกองทุนมานานแล้ว
ทั้งนี้ ตลาดหหลักทรัพย์ฯ จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมในการนำดัชนีตลดาหุ้นไทยไปอ้างอิงในการออกขายกองทุนกับสถาบันการเงินต่างชาติ ซึ่งจะเริ่มต้นจัดเก็บในไตรมาส 3/2552 นี้ โดยที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการแจ้งสถาบันการเงินต่างชาติได้แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาสถาบันการเงินต่างชาตมีการนำดัชนีดังกล่าวไปอ้างอิงเพื่อเสนอขายแก่นักลงทุนไปแล้วกว่า 10 กอง ส่วนการเก็บค่าธรรมเนียมกับ บลจ.ภายในประเทศนั้น เบื้องต้นคาดว่าน่าจะดำเนินการได้ในช่วงต้นปีหน้า โดยบลจ.ไทยมีการนำดัชนีดังกล่าวไปอ้างอิงเพื่อเสนอขายกองทุนไปแล้วประมาณ 50 กองทุน
"การเก็บค่าธรรมเนียมในการนำดัชนีตลดาหุ้นไทยไปอ้างอิงเพื่อออกกองทุน ตลาดหลักทรัพย์จะเริ่มเก็บกับสถาบันการเงินต่างชาติก่อน และที่ผ่านมาได้มีการแจ้งให้ทราบแล้ว โดยจะเริ่มเก็บในไตรมาส 3 ของปีนี้ ส่วนสถาบันการเงินไทยนั้นจะเริ่มเก็บในช่วงต้นปีหน้าไนายสันติกล่าว
นายสันติกล่าวอีกว่า การเก็บค่าธรรมเนียมนั้นจะพิจารณาว่า ถ้าเป็นการอ้างอิงกับกองทุนอีทีเอฟจะเก็บในอัตราประมาณ 0.04% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหาร(AUM) ส่วนกองทุนทั่วไปจะเก็บค่าะธรรเนียมในอัตรา 0.1% ของสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหาร
ทั้งนี้ เงินที่ได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมในการนำดัชนีตลาดหุ้นไทยไปอ้างอิงเพื่อเสอนขายกองทุนนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำเงินที่ได้ไปสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมกองทุน ทั้งในการสร้างความรู้ ความเข้าใจในกองทุน ซึ่งจะส่งผลดีต่ออนาคตของบลจ. แต่หากรายได้จากการจัดเก็บค่าเนียมดังกล่าวเพิ่มขึ้นตลดาหลักทรัพย์จะเก็บเป็นรายได้ของตลาดหลักทรัพย์ และอีกส่วนหนึ่งก็จะใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุน
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าบางกองทุนไม่ได้อ้างอิงกับดัชนีโดยตรง แต่อาจจะอ้างอิงกับหลักทรัพย์ที่อยู่ในการคำนวณของดัชนีหรือหลักทรัพย์ที่อยู่ในการคำนวณ พร้อมทั้งใช้เครดิตของดัชนีโฆษณาต่อลูกค้า ซึ่งในกลุ่มนี้ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาอีกครั้งว่าควรเก็บในอัตราเท่าไร แต่เบื้องต้นคาดว่าคงจะมีสัดส่วนที่น้อยกว่ากองทุนอ้างอิงดัชนีโดยตรง
สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการออกดัชนี ฟุตซี ชาลีอะห์ FTSE SET Shariah Index)แล FTSE SET All-Share Index นั้นหากมีบจ.หรือสถาบันการเงินใดนำไปใช้ ตลาดหลักทรัพย์ฯจะคิดค่าธรรมเนียมทันที่ในสัดส่วนเดียวกัน
นายสันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานพัฒนาตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ได้เตรียมทำการจัดเก็บค่าธรรมเนียม จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) และสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ที่นำดัชนีตลาดหลักทรัพย์ SET50 และ ดัชนี SET100 ไปอ้างอิงกับกองทุนเพื่อเสนอขายแก่นักลงทุน หลังจากที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้ทำการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวในการออกขายกองทุนมานานแล้ว
ทั้งนี้ ตลาดหหลักทรัพย์ฯ จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมในการนำดัชนีตลดาหุ้นไทยไปอ้างอิงในการออกขายกองทุนกับสถาบันการเงินต่างชาติ ซึ่งจะเริ่มต้นจัดเก็บในไตรมาส 3/2552 นี้ โดยที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการแจ้งสถาบันการเงินต่างชาติได้แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาสถาบันการเงินต่างชาตมีการนำดัชนีดังกล่าวไปอ้างอิงเพื่อเสนอขายแก่นักลงทุนไปแล้วกว่า 10 กอง ส่วนการเก็บค่าธรรมเนียมกับ บลจ.ภายในประเทศนั้น เบื้องต้นคาดว่าน่าจะดำเนินการได้ในช่วงต้นปีหน้า โดยบลจ.ไทยมีการนำดัชนีดังกล่าวไปอ้างอิงเพื่อเสนอขายกองทุนไปแล้วประมาณ 50 กองทุน
"การเก็บค่าธรรมเนียมในการนำดัชนีตลดาหุ้นไทยไปอ้างอิงเพื่อออกกองทุน ตลาดหลักทรัพย์จะเริ่มเก็บกับสถาบันการเงินต่างชาติก่อน และที่ผ่านมาได้มีการแจ้งให้ทราบแล้ว โดยจะเริ่มเก็บในไตรมาส 3 ของปีนี้ ส่วนสถาบันการเงินไทยนั้นจะเริ่มเก็บในช่วงต้นปีหน้าไนายสันติกล่าว
นายสันติกล่าวอีกว่า การเก็บค่าธรรมเนียมนั้นจะพิจารณาว่า ถ้าเป็นการอ้างอิงกับกองทุนอีทีเอฟจะเก็บในอัตราประมาณ 0.04% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหาร(AUM) ส่วนกองทุนทั่วไปจะเก็บค่าะธรรเนียมในอัตรา 0.1% ของสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหาร
ทั้งนี้ เงินที่ได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมในการนำดัชนีตลาดหุ้นไทยไปอ้างอิงเพื่อเสอนขายกองทุนนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำเงินที่ได้ไปสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมกองทุน ทั้งในการสร้างความรู้ ความเข้าใจในกองทุน ซึ่งจะส่งผลดีต่ออนาคตของบลจ. แต่หากรายได้จากการจัดเก็บค่าเนียมดังกล่าวเพิ่มขึ้นตลดาหลักทรัพย์จะเก็บเป็นรายได้ของตลาดหลักทรัพย์ และอีกส่วนหนึ่งก็จะใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุน
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าบางกองทุนไม่ได้อ้างอิงกับดัชนีโดยตรง แต่อาจจะอ้างอิงกับหลักทรัพย์ที่อยู่ในการคำนวณของดัชนีหรือหลักทรัพย์ที่อยู่ในการคำนวณ พร้อมทั้งใช้เครดิตของดัชนีโฆษณาต่อลูกค้า ซึ่งในกลุ่มนี้ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาอีกครั้งว่าควรเก็บในอัตราเท่าไร แต่เบื้องต้นคาดว่าคงจะมีสัดส่วนที่น้อยกว่ากองทุนอ้างอิงดัชนีโดยตรง
สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการออกดัชนี ฟุตซี ชาลีอะห์ FTSE SET Shariah Index)แล FTSE SET All-Share Index นั้นหากมีบจ.หรือสถาบันการเงินใดนำไปใช้ ตลาดหลักทรัพย์ฯจะคิดค่าธรรมเนียมทันที่ในสัดส่วนเดียวกัน