บิ๊กเอ็มเอฟซี ชูครัวไทยสู่ครัวโลก แนะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออกอาหารสนองความต้องการในต่างประเทศ เชื่อยังมีช่องทางทำตลาดโลกเหลืออยู่ โดยเฉพาะแถบตะวันออกกลาง ขณะเดียวกันระบุท่องเที่ยวไทยยังมีโอกาสโต แม้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เหตุมีความได้เปรียบด้านพื้นฐานการท่องเที่ยวอยู่มาก
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวของประเทศไทยในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวนั้นได้รับผลกระทบไม่มากเท่าไร เนื่องจากเราได้รับผลกระทบเพียงทางอ้อมเท่านั้น แต่ก็มีบางส่วนที่มีความเสียหายแต่ยังสามารถประคองตัวเองได้ เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวของไทยยังดีอยู่ และไม่ได้รับความเสียหายอะไร
"การท่องเที่ยวที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวบ้าง แต่ไม่ทรุดมาก เท่าที่ลงไปดูอย่างกองทุนสึนามิฟันด์ผู้ประกอบการหลายรายฟื้นคืนกลับมาได้แล้ว และปัจจัยการท่องที่ยวก็ยังอยู่ และเราจะได้เปรียบในเรื่องนี้"นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการส่งออกของไทยก็ได้รับผลกระทบบ้าง แต่หากเทียบสัดส่วนการส่งออกของไทยในตลาดโลกแล้วยังอยู่ในสัดส่วนที่ถือว่าน้อยมาก ทำให้ประเทศไทยยังมีโอกาสขยายสัดส่วนให้เพิ่มมากขึ้นได้ โดยจะต้องให้ไปมองประเทศใหญ่อย่างจีนและอินเดียมากขึ้น แต่ผู้ประกอบการไทยเองจะต้องพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้นด้วยเพื่อที่จะเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ในตลาดโลกได้
นายพิชิต กล่าวอีกว่า ประเทศไทยนอกจากจะมีความได้เปรียบในด้านการท่องเที่ยวแล้ว ด้านอาหารของไทยเองยังมีข้อได้เปรียบและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้เช่นกัน โดยประเทศไทยจะต้องมีการพัฒนาการส่งออกด้านอาหารให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการในตลาดโลก ซึ่งมีตลาดที่น่าสนใจอย่างประเทศในแถบตะวันออกการที่ยังมีความต้องการในเรื่องนี้อยู่เป็นอย่างมาก
"การท่องเที่ยวของเราน่าส่งเสริม เพราะยังมีความได้เปรียบอยู่ แต่อาหารของไทยเองก็มีข้อได้เปรียบด้านนี้เหมือนกัน โดยที่ผ่านมามีนักลงทุนจากตะวันออกกลางให้ความสนใจและเข้ามาคุยกับเราเรื่องนี้เยอะมาก ซึ่งเขาต้องการให้เราดูในด้านอาหารให้ เพราะที่ประเทศเขาเป็นแหล่งผลิตน้ำมัน โดยยังต้องนำเข้าอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก เราก็ควรหาทางจัดหาให้เขาตามความต้องการ"นายพิชิตกล่าว
สำหรับรายละเอียดของกองทุนเปิดเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ (Tsunami Recovery Fund) จัดตั้งขึ้นโดยนโยบายของกระทรวงการคลัง เป็นการระดมเงินลงทุนจากผู้ลงทุนสถาบัน ทั้งภาครัฐและเอกชนได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ธนาคารออมสิน และธนาคารพาณิชย์ต่างๆที่เป็นสมาชิกสมาคมธนาคารไทยจำนวน 12 แห่ง โดยมีบลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการลงทุน โดยมุ่งที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ พังงา ภูเก็ต กระบี่ สตูล ระนอง และตรัง ให้สามารถฟื้นตัวมาดำเนินกิจการต่อไปได้ในลักษณะของการเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้หรือตราสารทุน โดยกองทุนจะเข้าไปถือหุ้นเบื้องต้นกิจการละไม่เกิน 350 ล้านบาท โดยกองทุนฯไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะเข้าไปครอบงำกิจการแต่อย่างใด การเข้าไปถือหุ้นของกองทุนฯ มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนคือ ประมาณ 10 ปี และหากผู้ประกอบการรายใดสามารถฟื้นตัวได้ก่อนก็สามารถไถ่ถอนหุ้นคืนได้ ซึ่งคาดว่าภายใน 3-5 ปี ผู้ประกอบการจะสามารถฟื้นตัวและดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ทั้งนี้ เป้าหมายของกองทุน สึนามิ รีคัฟเวอรี่ ฟันด์ นอกจากจะเข้าไปช่วยเหลือและฟื้นฟูกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิแล้ว ยังมีส่วนในการช่วยเหลือภาคแรงงานในพื้นที่ ด้วยการสร้างงานและกระจายรายได้ให้กับพนักงานท้องถิ่นอีกด้วย
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวของประเทศไทยในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวนั้นได้รับผลกระทบไม่มากเท่าไร เนื่องจากเราได้รับผลกระทบเพียงทางอ้อมเท่านั้น แต่ก็มีบางส่วนที่มีความเสียหายแต่ยังสามารถประคองตัวเองได้ เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวของไทยยังดีอยู่ และไม่ได้รับความเสียหายอะไร
"การท่องเที่ยวที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวบ้าง แต่ไม่ทรุดมาก เท่าที่ลงไปดูอย่างกองทุนสึนามิฟันด์ผู้ประกอบการหลายรายฟื้นคืนกลับมาได้แล้ว และปัจจัยการท่องที่ยวก็ยังอยู่ และเราจะได้เปรียบในเรื่องนี้"นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการส่งออกของไทยก็ได้รับผลกระทบบ้าง แต่หากเทียบสัดส่วนการส่งออกของไทยในตลาดโลกแล้วยังอยู่ในสัดส่วนที่ถือว่าน้อยมาก ทำให้ประเทศไทยยังมีโอกาสขยายสัดส่วนให้เพิ่มมากขึ้นได้ โดยจะต้องให้ไปมองประเทศใหญ่อย่างจีนและอินเดียมากขึ้น แต่ผู้ประกอบการไทยเองจะต้องพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้นด้วยเพื่อที่จะเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ในตลาดโลกได้
นายพิชิต กล่าวอีกว่า ประเทศไทยนอกจากจะมีความได้เปรียบในด้านการท่องเที่ยวแล้ว ด้านอาหารของไทยเองยังมีข้อได้เปรียบและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้เช่นกัน โดยประเทศไทยจะต้องมีการพัฒนาการส่งออกด้านอาหารให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการในตลาดโลก ซึ่งมีตลาดที่น่าสนใจอย่างประเทศในแถบตะวันออกการที่ยังมีความต้องการในเรื่องนี้อยู่เป็นอย่างมาก
"การท่องเที่ยวของเราน่าส่งเสริม เพราะยังมีความได้เปรียบอยู่ แต่อาหารของไทยเองก็มีข้อได้เปรียบด้านนี้เหมือนกัน โดยที่ผ่านมามีนักลงทุนจากตะวันออกกลางให้ความสนใจและเข้ามาคุยกับเราเรื่องนี้เยอะมาก ซึ่งเขาต้องการให้เราดูในด้านอาหารให้ เพราะที่ประเทศเขาเป็นแหล่งผลิตน้ำมัน โดยยังต้องนำเข้าอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก เราก็ควรหาทางจัดหาให้เขาตามความต้องการ"นายพิชิตกล่าว
สำหรับรายละเอียดของกองทุนเปิดเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ (Tsunami Recovery Fund) จัดตั้งขึ้นโดยนโยบายของกระทรวงการคลัง เป็นการระดมเงินลงทุนจากผู้ลงทุนสถาบัน ทั้งภาครัฐและเอกชนได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ธนาคารออมสิน และธนาคารพาณิชย์ต่างๆที่เป็นสมาชิกสมาคมธนาคารไทยจำนวน 12 แห่ง โดยมีบลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการลงทุน โดยมุ่งที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ พังงา ภูเก็ต กระบี่ สตูล ระนอง และตรัง ให้สามารถฟื้นตัวมาดำเนินกิจการต่อไปได้ในลักษณะของการเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้หรือตราสารทุน โดยกองทุนจะเข้าไปถือหุ้นเบื้องต้นกิจการละไม่เกิน 350 ล้านบาท โดยกองทุนฯไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะเข้าไปครอบงำกิจการแต่อย่างใด การเข้าไปถือหุ้นของกองทุนฯ มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนคือ ประมาณ 10 ปี และหากผู้ประกอบการรายใดสามารถฟื้นตัวได้ก่อนก็สามารถไถ่ถอนหุ้นคืนได้ ซึ่งคาดว่าภายใน 3-5 ปี ผู้ประกอบการจะสามารถฟื้นตัวและดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ทั้งนี้ เป้าหมายของกองทุน สึนามิ รีคัฟเวอรี่ ฟันด์ นอกจากจะเข้าไปช่วยเหลือและฟื้นฟูกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิแล้ว ยังมีส่วนในการช่วยเหลือภาคแรงงานในพื้นที่ ด้วยการสร้างงานและกระจายรายได้ให้กับพนักงานท้องถิ่นอีกด้วย