โยแมน
yeomanwarders-dailymanager@yahoo.com
บรรยากาศการลงทุนในโลกยังคงปั่นป่วน ม้วนหน้าม้วนหลังไม่หยุดครับ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจอเมริกาก็พาเหรดกันออกมาให้ความเห็น โดยส่วนใหญ่ก็มองว่าเศรษฐกิจเมืองลุงแซมรอบนี้ มีอาการแย่หยังเขียด คงจะหลับไม่ฟื้น ตื่นไม่มีเป็นแรมปี ส่วนบางคนก็มองว่านี่เป็นโอกาสทองของการลงทุนที่ชาตินี้อาจมีไม่เกิน 2-3 ครั้ง จึงควรวิ่งเข้าไปตะครุบไว้ แต่อีกหลายคนก็ให้คำแนะนำแบบแหยงๆประมาณว่าทยอยๆซื้อเอาไว้ ไม่เสียหลาย แต่ยังไม่ต้องถึงขั้นขายบ้าน ขายรถมาลงทุนกัน
ผมเพิ่งคุยกับเพื่อนโรบินฮู้ด ที่ทำหน้าที่บริกรในภัตตาคารในอเมริกาเล่าว่า ตอนนี้คนเข้าร้านอาหารแบบนั่งโต๊ะกันบางตามาก บางคนก็หันไปทำกับข้าวกินเอง หรือซื้อฟาสฟูดส์แทน เพราะราคาถูกกว่ามาก แถมไม่ต้องให้ทิปส์อีกด้วย ทำเอาเหล่าแรงงานอพยพหน้าเศร้าไปตามๆกัน
อันที่จริงแล้ว การเจอวิกฤติชีวิตของคนอเมริกันครั้งนี้ น่าจะเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับการบ้าลัทธิบริโภคนิยม เน้นความสุขสบายเฉพาะหน้า มากกว่าความมั่นคงในอนาคต แต่บางคนก็บอกว่าไม่รู้จะออมมากไปทำไม เพราะเงินลงทุนที่ออมไป ก็ไปลงทุนในพวกสินทรัพย์จอมปลอมไม่ว่าจะเป็นพวกซับไพร์ม ซีดีโอ ซีดีเอส ที่เจ๊งกันระเนระนาด กลายเป็นไฟลามทุ่งไปทุกหัวระแหง ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหนของโลก ความปั่นป่วนล้วนติดตามไปหากันแบบเกาะติด!
ระหว่างที่ใครๆเขากำลังหัวหมุนกันอยู่ นี่เป็นโอกาสของนักลงทุนมือใหม่ (เพราะน่าจะมีเงินสดเหลืออยู่มากกว่าพวกมือเก่า.......แฮ่!) ที่จะลองมาศึกษาหลักลงทุนที่น่าจะทำให้ช้ำใจมากกว่าได้ตังค์มาฝาก เผื่อว่าจะได้หลีกเลี่ยงกันไว้ครับ
1) ลงทุนตามแรงเชียร์คือไม่รู้ว่าทำอะไรกันอยู่ รู้แต่ว่าเพื่อนลงทุน ขอลงทุนด้วย ไอ้เรื่องฟังคำแนะนำเพื่อนนี่ก็ไม่ได้มีอะไรเสียหายหรอกครับ แต่ฟังเพื่อนมาแล้ว ก็ควรจะที่จะมาทำความเข้าใจด้วยตัวเอง และซักถามเจ้าหน้าที่แนะนำด้านการตลาด หรือผู้วางแผนการลงทุนของบริษัทจัดการต่างๆให้ถ่องแท้ก่อนการลงทุน ไม่ใช่ตะพึดตะพือทำตามเขาไป ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ อย่างล่าสุดนี่ยังมีลูกค้าสาวกกองทุนเกาหลีตกอกตกใจ มาถามว่าค่าเงินเกาหลีอ่อนไปมากมายนี่จะกระทบกับเงินต้นหรือเปล่า อันนี้นี่แสดงชัดว่าตอนลงทุนไม่ได้สนใจเลยครับว่ากองทุนที่ซื้อไปนั้น เขามีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้เต็มจำนวนหรือไม่ (ซึ่งเกือบทั้งหมดเขามีการป้องกันความเสี่ยงเอาไว้แล้วครับ) ส่วนบางท่านไปซื้อกองทุนพันธบัตรออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ที่บริษัทจัดการเขาก็บอกชัดเจนตั้งแต่ก่อนลงทุนแล้วว่ามีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะอาจไม่ทำการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ พอถึงเวลากองทุนขาดทุน ก็อาละวาด ฟาดงวงฟาดงาเอากับบริษัทจัดการ และมาร์เก็ตติ้งกันยกใหญ่
ก็เข้าใจได้ครับว่าอารมณ์คนขาดทุนก็ต้องฉุนไว้ก่อน แล้วกองทุนแบบที่ว่านี่ก็ไม่ใช่ว่าจะเลวร้ายเสียหาย ถ้าเราพร้อมรับความเสี่ยงนี้มาตั้งแต่แรก แต่หากอารมณ์บ่จอยที่เกิดขึ้นนี้มาจากการที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ากองทุนไม่มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ว่านี้อาจมากกว่าดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตร อันนี้อย่าหาว่าผมปากเสียนะครับ แต่ผู้ลงทุนอาจต้องโกรธตัวเองบ้างแล้วล่ะครับ ในฐานะที่ไม่สนใจ ไม่พร้อมเข้าใจการลงทุน เน้นแต่ซื้อตามเขาเล่ามาแต่เพียงอย่างเดียว
2) ลงทุนแบบคลั่งไคล้ประมาณหลงรักดงบังชินกิ คลั่งเคน บ้าเอเอฟ จะมุ่งมั่นลงทุนในหุ้นตัวนี้ตัวเดียว หรือกองทุนนี้กองทุนเดียว ต้องเตือนตัวเองเสมอครับว่าเราต้องดูพอร์ตการลงทุน และผลการดำเนินงานเทียบกับดัชนีเปรียบเทียบหรือเทียบกับผลงานกองทุนอื่นที่มีลักษณะการลงทุนใกล้เคียงกัน พิจารณาคุณภาพตราสาร เช่น ไม่เอากองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในหุ้นกู้ ไปเทียบกันกับกองทุนตราสารหนี้ประเภทลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐอย่างเดียว เพราะผลตอบแทนและความเสี่ยงจะแตกต่างกัน
แต่......แต่บางครั้งลงทุนเหมือนกันเป๊ะ หรือใกล้เคียงกันมาก แต่ผลตอบแทนต่ำกว่ามากๆ นี้ก็ต้องพิจารณากันหน่อยล่ะครับว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งก็อาจมีกันได้หลายสาเหตุ เช่น บริการของบริษัทจัดการ หรือธนาคารที่เป็นผู้สนับสนุนการจำหน่ายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้นดีมาก ประเภทเข้าไปปุ๊ป กดบัตรคิวปั๊บ รอคิวแป๊ปไม่ต้องปากเปียกปากแฉะเจรจาความไปไหนมาสามวาสองศอก
ถึงกระนั้นก็ต้องถามตัวเองด้วยครับ (โดยเฉพาะในเงินลงทุนจำนวนค่อนข้างมาก) ว่าถ้าผลตอบแทนต่างกันมากๆถึง 0.5-1.0% ต่อปี จะคุ้มกับบริการที่ดีเลิศประเสริฐศรีหรือไม่ ต้องลองชั่งน้ำหนักดูกันครับ)
สรุปหัวข้อนี้ คือ ถ้าหากหุ้น หรือกองทุนใดมีการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานที่มีผลต่ออนาคตของหุ้นหรือกองทุนนั้น ก็ต้องตัดสินใจอย่างมีหลักการ อย่าให้ความรักความหลงมาบดบังนะครับ
3) ขาดความอึดลงทุนนี่เหมือนการเรียนอย่างหนึ่งครับ บางคนท่องจำเอาตอนใกล้ๆจะสอบ มีเครื่องซีร็อกซ์เป็นคณบดี มีพี่ซีรอกซ์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา สอบออกมาดีไม่ดีไม่รู้ รู้แต่สอบเสร็จปั๊บ คืนครูคุมสอบปุ๊ปตรงนั้นเลย ก็เลยได้แต่ใบปริญญา ไม่มีเนื้อหาอยู่ใต้หนังศรีษะแต่อย่างใด
การลงทุนก็เหมือนกันครับ ต้องใช้เวลาบ่มกันบ้าง ไม่ใช่เอะอะอาทิตย์นี้ได้เท่าไหร่ อาทิตย์หน้าจะเป็นยังไง ทำไมหกเดือนแล้วหุ้นยังขาดทุนอยู่เลย การลงทุนในหุ้นให้ได้กำไรเสมอในสามเดือน หกเดือนนี่ก็เหมือนการเร่งมะม่วงสุกก่อนเวลานั่นแหละครับ มันผิดธรรมชาติ ออกมาหวานก็ไม่หวานแถมสารเคมีท่วมท้นอีกต่างหาก ถึงเวลามะม่วงสุกมันก็สุกครับ แวะเวียนไปดูบ้างว่ามีแมลงมากัดชอนใชหรือไม่ รดน้ำใส่ปุ๋ยตามสมควร ถึงเวลาก็ได้กิน ไม่ต้องไปเฝ้าเช้าเฝ้าเย็นก็ได้ครับ
4) ซื้อ ขาย บ่อย โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นโดยตรง หรือกองทุนที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการขาย และ/หรือค่าธรรมเนียมการซื้อ และแม้ถึงไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าออกกองทุนเลยก็ตาม แต่การที่ซื้อๆ ขายๆ อาจทำให้เราอดได้ผลตอบแทนเวลาหุ้นปรับตัวขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่ง (ซึ่งยากที่จะทราบได้ล่วงหน้า) คือ ขายแล้วรอ ปรากฏว่ายิ่งรอยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้นยิ่งไม่กล้าซื้อ จนขึ้นไปอีกเป็นเดือน เป็นปี ก็บอกกับตัวเองว่าทนไม่ไหวแล้วต้องกระโจนเข้าใส่ ราคาก็ตกพอดี เป็นต้น
ฝอยเยอะ หมดโควต้าหน้ากระดาษ ขอต่อกันอีกทีครั้งหน้าครับ
yeomanwarders-dailymanager@yahoo.com
บรรยากาศการลงทุนในโลกยังคงปั่นป่วน ม้วนหน้าม้วนหลังไม่หยุดครับ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจอเมริกาก็พาเหรดกันออกมาให้ความเห็น โดยส่วนใหญ่ก็มองว่าเศรษฐกิจเมืองลุงแซมรอบนี้ มีอาการแย่หยังเขียด คงจะหลับไม่ฟื้น ตื่นไม่มีเป็นแรมปี ส่วนบางคนก็มองว่านี่เป็นโอกาสทองของการลงทุนที่ชาตินี้อาจมีไม่เกิน 2-3 ครั้ง จึงควรวิ่งเข้าไปตะครุบไว้ แต่อีกหลายคนก็ให้คำแนะนำแบบแหยงๆประมาณว่าทยอยๆซื้อเอาไว้ ไม่เสียหลาย แต่ยังไม่ต้องถึงขั้นขายบ้าน ขายรถมาลงทุนกัน
ผมเพิ่งคุยกับเพื่อนโรบินฮู้ด ที่ทำหน้าที่บริกรในภัตตาคารในอเมริกาเล่าว่า ตอนนี้คนเข้าร้านอาหารแบบนั่งโต๊ะกันบางตามาก บางคนก็หันไปทำกับข้าวกินเอง หรือซื้อฟาสฟูดส์แทน เพราะราคาถูกกว่ามาก แถมไม่ต้องให้ทิปส์อีกด้วย ทำเอาเหล่าแรงงานอพยพหน้าเศร้าไปตามๆกัน
อันที่จริงแล้ว การเจอวิกฤติชีวิตของคนอเมริกันครั้งนี้ น่าจะเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับการบ้าลัทธิบริโภคนิยม เน้นความสุขสบายเฉพาะหน้า มากกว่าความมั่นคงในอนาคต แต่บางคนก็บอกว่าไม่รู้จะออมมากไปทำไม เพราะเงินลงทุนที่ออมไป ก็ไปลงทุนในพวกสินทรัพย์จอมปลอมไม่ว่าจะเป็นพวกซับไพร์ม ซีดีโอ ซีดีเอส ที่เจ๊งกันระเนระนาด กลายเป็นไฟลามทุ่งไปทุกหัวระแหง ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหนของโลก ความปั่นป่วนล้วนติดตามไปหากันแบบเกาะติด!
ระหว่างที่ใครๆเขากำลังหัวหมุนกันอยู่ นี่เป็นโอกาสของนักลงทุนมือใหม่ (เพราะน่าจะมีเงินสดเหลืออยู่มากกว่าพวกมือเก่า.......แฮ่!) ที่จะลองมาศึกษาหลักลงทุนที่น่าจะทำให้ช้ำใจมากกว่าได้ตังค์มาฝาก เผื่อว่าจะได้หลีกเลี่ยงกันไว้ครับ
1) ลงทุนตามแรงเชียร์คือไม่รู้ว่าทำอะไรกันอยู่ รู้แต่ว่าเพื่อนลงทุน ขอลงทุนด้วย ไอ้เรื่องฟังคำแนะนำเพื่อนนี่ก็ไม่ได้มีอะไรเสียหายหรอกครับ แต่ฟังเพื่อนมาแล้ว ก็ควรจะที่จะมาทำความเข้าใจด้วยตัวเอง และซักถามเจ้าหน้าที่แนะนำด้านการตลาด หรือผู้วางแผนการลงทุนของบริษัทจัดการต่างๆให้ถ่องแท้ก่อนการลงทุน ไม่ใช่ตะพึดตะพือทำตามเขาไป ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ อย่างล่าสุดนี่ยังมีลูกค้าสาวกกองทุนเกาหลีตกอกตกใจ มาถามว่าค่าเงินเกาหลีอ่อนไปมากมายนี่จะกระทบกับเงินต้นหรือเปล่า อันนี้นี่แสดงชัดว่าตอนลงทุนไม่ได้สนใจเลยครับว่ากองทุนที่ซื้อไปนั้น เขามีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้เต็มจำนวนหรือไม่ (ซึ่งเกือบทั้งหมดเขามีการป้องกันความเสี่ยงเอาไว้แล้วครับ) ส่วนบางท่านไปซื้อกองทุนพันธบัตรออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ที่บริษัทจัดการเขาก็บอกชัดเจนตั้งแต่ก่อนลงทุนแล้วว่ามีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะอาจไม่ทำการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ พอถึงเวลากองทุนขาดทุน ก็อาละวาด ฟาดงวงฟาดงาเอากับบริษัทจัดการ และมาร์เก็ตติ้งกันยกใหญ่
ก็เข้าใจได้ครับว่าอารมณ์คนขาดทุนก็ต้องฉุนไว้ก่อน แล้วกองทุนแบบที่ว่านี่ก็ไม่ใช่ว่าจะเลวร้ายเสียหาย ถ้าเราพร้อมรับความเสี่ยงนี้มาตั้งแต่แรก แต่หากอารมณ์บ่จอยที่เกิดขึ้นนี้มาจากการที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ากองทุนไม่มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ว่านี้อาจมากกว่าดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตร อันนี้อย่าหาว่าผมปากเสียนะครับ แต่ผู้ลงทุนอาจต้องโกรธตัวเองบ้างแล้วล่ะครับ ในฐานะที่ไม่สนใจ ไม่พร้อมเข้าใจการลงทุน เน้นแต่ซื้อตามเขาเล่ามาแต่เพียงอย่างเดียว
2) ลงทุนแบบคลั่งไคล้ประมาณหลงรักดงบังชินกิ คลั่งเคน บ้าเอเอฟ จะมุ่งมั่นลงทุนในหุ้นตัวนี้ตัวเดียว หรือกองทุนนี้กองทุนเดียว ต้องเตือนตัวเองเสมอครับว่าเราต้องดูพอร์ตการลงทุน และผลการดำเนินงานเทียบกับดัชนีเปรียบเทียบหรือเทียบกับผลงานกองทุนอื่นที่มีลักษณะการลงทุนใกล้เคียงกัน พิจารณาคุณภาพตราสาร เช่น ไม่เอากองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในหุ้นกู้ ไปเทียบกันกับกองทุนตราสารหนี้ประเภทลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐอย่างเดียว เพราะผลตอบแทนและความเสี่ยงจะแตกต่างกัน
แต่......แต่บางครั้งลงทุนเหมือนกันเป๊ะ หรือใกล้เคียงกันมาก แต่ผลตอบแทนต่ำกว่ามากๆ นี้ก็ต้องพิจารณากันหน่อยล่ะครับว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งก็อาจมีกันได้หลายสาเหตุ เช่น บริการของบริษัทจัดการ หรือธนาคารที่เป็นผู้สนับสนุนการจำหน่ายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้นดีมาก ประเภทเข้าไปปุ๊ป กดบัตรคิวปั๊บ รอคิวแป๊ปไม่ต้องปากเปียกปากแฉะเจรจาความไปไหนมาสามวาสองศอก
ถึงกระนั้นก็ต้องถามตัวเองด้วยครับ (โดยเฉพาะในเงินลงทุนจำนวนค่อนข้างมาก) ว่าถ้าผลตอบแทนต่างกันมากๆถึง 0.5-1.0% ต่อปี จะคุ้มกับบริการที่ดีเลิศประเสริฐศรีหรือไม่ ต้องลองชั่งน้ำหนักดูกันครับ)
สรุปหัวข้อนี้ คือ ถ้าหากหุ้น หรือกองทุนใดมีการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานที่มีผลต่ออนาคตของหุ้นหรือกองทุนนั้น ก็ต้องตัดสินใจอย่างมีหลักการ อย่าให้ความรักความหลงมาบดบังนะครับ
3) ขาดความอึดลงทุนนี่เหมือนการเรียนอย่างหนึ่งครับ บางคนท่องจำเอาตอนใกล้ๆจะสอบ มีเครื่องซีร็อกซ์เป็นคณบดี มีพี่ซีรอกซ์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา สอบออกมาดีไม่ดีไม่รู้ รู้แต่สอบเสร็จปั๊บ คืนครูคุมสอบปุ๊ปตรงนั้นเลย ก็เลยได้แต่ใบปริญญา ไม่มีเนื้อหาอยู่ใต้หนังศรีษะแต่อย่างใด
การลงทุนก็เหมือนกันครับ ต้องใช้เวลาบ่มกันบ้าง ไม่ใช่เอะอะอาทิตย์นี้ได้เท่าไหร่ อาทิตย์หน้าจะเป็นยังไง ทำไมหกเดือนแล้วหุ้นยังขาดทุนอยู่เลย การลงทุนในหุ้นให้ได้กำไรเสมอในสามเดือน หกเดือนนี่ก็เหมือนการเร่งมะม่วงสุกก่อนเวลานั่นแหละครับ มันผิดธรรมชาติ ออกมาหวานก็ไม่หวานแถมสารเคมีท่วมท้นอีกต่างหาก ถึงเวลามะม่วงสุกมันก็สุกครับ แวะเวียนไปดูบ้างว่ามีแมลงมากัดชอนใชหรือไม่ รดน้ำใส่ปุ๋ยตามสมควร ถึงเวลาก็ได้กิน ไม่ต้องไปเฝ้าเช้าเฝ้าเย็นก็ได้ครับ
4) ซื้อ ขาย บ่อย โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นโดยตรง หรือกองทุนที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการขาย และ/หรือค่าธรรมเนียมการซื้อ และแม้ถึงไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าออกกองทุนเลยก็ตาม แต่การที่ซื้อๆ ขายๆ อาจทำให้เราอดได้ผลตอบแทนเวลาหุ้นปรับตัวขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่ง (ซึ่งยากที่จะทราบได้ล่วงหน้า) คือ ขายแล้วรอ ปรากฏว่ายิ่งรอยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้นยิ่งไม่กล้าซื้อ จนขึ้นไปอีกเป็นเดือน เป็นปี ก็บอกกับตัวเองว่าทนไม่ไหวแล้วต้องกระโจนเข้าใส่ ราคาก็ตกพอดี เป็นต้น
ฝอยเยอะ หมดโควต้าหน้ากระดาษ ขอต่อกันอีกทีครั้งหน้าครับ