xs
xsm
sm
md
lg

โหมโรง Gold Futures 6

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คอลัมน์ ตลาดทุนไทยในสายตาต่างชาติ

ถามกันมามากสำหรับประเด็นที่ผมทิ้งท้ายเอาไว้ในครั้งที่แล้วว่า ทำไมผมถึงแนะนำให้เข้าตลาดในช่วง RSI แสดงค่าว่าเป็นสัญญาณ ซื้อมากเกินไป (Overbought) และให้เข้าซื้อสัญญาต่อ เมื่อ RSI แสดงที่ค่า ขายมากเกินไป (Oversold) อีกครั้ง ซึ่งค่อนข้างที่จะขัดแย้งกับความรู้สึกและความรู้ที่ได้จากการเรียนจากผู้รู้ (ที่คิดว่าตัวเองรู้) หรือ หนังสือ ทั้งภาษาไทยที่แปลจากตำราต่างประเทศ หรือตำราต่างประเทศเอง ก็ไม่ได้ให้ความกระจ่างในเรื่องนี้สักเท่าไรนัก ผมจึงขออนุญาตนำความรู้บางส่วน ในหลักสูตร ที่ผมสอนให้แก่นักลงทุน คือ หลักสูตร “การใช้ประยุกต์ใช้ Technical Analysis กับการซื้อขาย หุ้น สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ( 2 วัน เต็ม ในราคา 10,000 บาท) ซึ่งหลักสูตรดังกล่าว ได้นำไปใช้สอนให้กับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ในมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่การตลาด ในบริษัทหลักทรัพย์หลายที่ โดยตัดเอามาถ่ายทอดบางส่วน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

โดยปกติเรามักคุ้นเคยกับการใช้ RSI เพื่อวัดการเคลื่อนไหวของกราฟราคาเปรียบเทียบกับกราฟที่ได้จากตัว RSI เอง ซึ่งมักที่จะสามารถสรุปรูปแบบตามทฤษฏีอย่างง่าย ได้ดังนี้


รูปที่ 1 รูปด้านบน แสดงถึง Strong momentum และรูปด้านล่าง แสดงถึง Weak momentum ด้วยกราฟราคา

แต่เนื่องจากในครั้งที่ เราจะใช้ RSI หรือเครื่องมือวัดการแกว่ง ประเภทหนึ่ง มาระบุถึงความแกร่ง (Strong) และความอ่อนแอ (Weak) ของกราฟราคาดังรูปด้านล่าง

รูปที่ 2 Bullish Convergence ในรูปด้านซ้ายมือ แสดงถึง ความต่อเนื่องของแนวโน้ม ที่ยังคงการเคลื่อนไหวในแนวโน้มขาขึ้นต่อไป ส่วน Bearish Divergence ในรูปด้านขวามือ จะเห็นว่า สัญญาณที่ได้จาก RSI ยังคงขัดแย้งกับกราฟราคา ซึ่งสะท้อนถึง ความอ่อนแอของแนวโน้ม ที่อาจทำให้เกิดการปรับตัวจากขาขึ้น เป็นขาลงในไม่ช้า

รูปที่ 3 Bearish Convergence ในรูปด้านซ้ายมือ แสดงถึง ความต่อเนื่องของแนวโน้ม ที่ยังคงการเคลื่อนไหวในแนวโน้มขาลงต่อไป ส่วน Bullish Divergence ในรูปด้านขวามือ จะเห็นว่า สัญญาณที่ได้จาก RSI ยังคงขัดแย้งกับกราฟราคา ซึ่งสะท้อนถึง ความอ่อนแอของแนวโน้ม ที่อาจทำให้เกิดการปรับตัวจากขาลง เป็นขาขึ้น ในไม่ช้า

โดยทั่วไป เงื่อนไขด้านบนทั้ง 4 ข้อ นั้น เงื่อนไขที่ควรระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขสุดท้าย ที่บอกว่า เมื่อเกิด Bullish Divergence อาจเกิดการปรับตัวเป็นขาขึ้น ซึ่งทำให้นักลงทุนหลายคนเข้าใจผิด และทำตาม ทำให้ขาดทุนกันไปหลายต่อหลายคน ต้องระวังให้ดีครับ

รูปที่ 4 รูปแบบการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ เปรียบเทียบกับทฤษฏี

ดังนั้นการใช้งานเครื่องมือวัดประเภทการแกว่ง จึงไม่ควรจดจำในสิ่งที่เขียนในตำราอย่างเดียว แต่ควรที่จะต้องใช้ดุลพินิจของตัวเองประกอบด้วย เพราะรูปแบบการเคลื่อนไหวในตลาดจริง ไม่ได้เป็นไปตามทฤษฏีที่เขียนกันเอาไว้ครับ

สงสัยเนื้อที่หน้ากระดาษจะไม่พอ ผมคงต้องขอต่อในครั้งต่อไป อย่างไรก็ตาม ผมต้องขอฝากประชาสัมพันธ์งานสัมมนา "ลงทุนอย่างไรในช่วงเศรษฐกิจผันผวน ทางเลือก ทางรอด ในช่วงวิกฤต ปี 2009” วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2552 เวลา 08.00-17.00 น. ณ โรงแรมอะเดรียติค พาเลซ (ตรงข้ามอาคารวานิช ฝั่งถนนวิทยุ) บรรยายไทย โดยวิทยากรชื่อดังระดับโลก อ.ดอน เชลเลนเบิร์ก ผู้ก่อตั้ง “มาสเตอร์มันนี่ เทรดเดอร์ส” ผู้ซึ่งได้รับเชิญไปบรรยายมากที่สุดคนหนึ่งในเอเชีย

นักลงทุน ผู้ที่อยู่ในธุรกิจนำเข้า-ส่งออก และผู้สนใจทั่วไป สามารถสำรองที่นั่งได้ที่ โทร. 02-627-3360-2 (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
กำลังโหลดความคิดเห็น