บลจ.เอ็มเอฟซี ไม่หวั่นวิกฤต ติดเครื่องลุยธุรกิจเต็มสูบ กางแผนปีฉลู ส่ง 22 กองทุนลุยตลาด เสนอทางเลือกลงทุนครบรูปแบบ ทั้งในและนอกประเทศ ผ่านกอง "หุ้น-บอนด์-พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์" ชูกลยุทธ์รักษาเงินต้นและผลตอบแทนเข้าตาลูกค้า พร้อมขับเคลื่อนควบคู่การสร้างรายได้ ผ่านธุรกิจด้านที่ปรึกษา มองบรรยากาศตลาดหุ้นปีนี้ยังผันผวน คาดการณ์ดัชนีสิ้นปี 555-570 จุด เน้นบริหารกองทุนโดยไม่ผูกกับการเคลื่อนไหวของตลาด โดยใช้อนุพันธ์เข้าช่วย ล่าสุด เสริมทีมนักวิเคราะห์เครดิต ลุยหุ้นกู้-พันธบัตรต่างแดน
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า ในปีนี้ เอ็มเอฟซีมีแผนออกกองทุนใหม่ประมาณ 22 กองทุน แบ่งเป็น กองทุนรวมตราสารทุนและกองทุนผสมแบบยืดหยุ่น 7 กองทุน กองทุนรวมตราสารหนี้ 5 กองทุน กองทุนต่างประเทศ 6 กองทุน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 4 กองทุน โดยในไตรมาสแรก คาดว่าจะเปิดขายกองทุน 5-6 กองทุน ซึ่งครอบคลุมทั้งกองทุนตราสารหนี้ กองทุนตราสารทุน กองทุนรวมต่างประเทศ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ซึ่งจากแผนการออกกองทุนทั้งหมด คาดว่าจะทำให้สินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหาร (เอยูเอ็ม) โตขึ้น 20% หรือเท่ากับ 2.60 แสนล้านบาท จากปัจจุบันที่มีสินทรัพย์รวม 2.16 แสนล้านบาท นอกจากนี้ ยังตั้งเป้ารายได้เติบโตขึ้นประมาณ 670 ล้านบาทหรือ 25-30% อีกด้วย
ทั้งนี้ ในส่วนของกลุ่มลูกค้า นอกจากจะเน้นเข้าถึงกลุ่มภาครัฐและการสร้างประโยชน์ต่อสังคมแล้ว ยังมีแผนขยายไปสู่นักลงทุนรายย่อยทั่วไปมากขึ้น โดยโพรดักส์ที่จะออกมาส่วนใหญ่ ก็จะเน้นการรักษาเงินต้นและสร้างผลตอบแทนให้กับลูกค้าได้มากที่สุด เช่น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ส่วนการลงทุนในหุ้น ก็จะเป็นการลงทุนแบบซีเล็กทีฟ นั่นคือ เลือกลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มดี
นอกจากนี้ บริษัทจะเน้นกลยุทธ์ด้านธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทมากขึ้น โดยมีแผนงานในการขยายธุรกิจด้านที่ปรึกษาการเงิน โดยเฉพาะการรองรับโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ที่จะทำต่อเนื่องจากปี 2551 เช่น โครงการ Infrastructure Fund โครงการรถไฟรางคู่ เป็นต้น ในส่วนของ Private Equity ในปีนี้กองทุนเปิด MFC Energy Fund มีแผนงานที่จะศึกษาโครงการประมาณ 36 โครงการ และขยายการลงทุนอีกประมาณ 800 ล้านบาท ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ บริษัทคาดว่าจะจัดตั้งกองทุน 3-4 กองทุน มูลค่ารวมกันประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท โดยลงทุนในอาคารสำนักงาน อาคารอุตสาหกรรมให้เช่า อาคารเซอร์วิสอพาร์ตเม้นท์ ซึ่งในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นั้น จะตั้งกองทุนในลักษณะ Fund of Fund ที่ลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีกที
นอกเหนือไปจากนั้น บริษัทยังมีแผนงานขยายธุรกิจด้านที่ปรึกษาต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ได้แก่ บริษัท Thai EXIM International ทำธุรกิจด้านที่ปรึกษาการลงทุน และ Trading Facilitator บริษัท MRAM (MFC Real Estate Management) ให้บริการด้านการจัดการโครงการอสังหาริมทรัพย์ และบริษัท MFA (MFC Financial Advisory) ให้คำปรึกษาด้านการสรรหาบริษัทร่วมลงทุน และที่ปรึกษาทางการเงินให้กับโครงการของภาครัฐและเอกชน
นายพิชิตกล่าวว่า นอกจากการบริหารจัดการกองทุนเพื่อมุ่งให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดกับนักลงทุนแล้วนั้น ที่ผ่านมา บริษัทยังได้บริหารกองทุนที่ไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ให้สังคมได้อีกด้วย ได้แก่ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เอนเนอร์จี ฟันด์ กองทุนเปิดเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ และบริษัทยังได้บริจาครายได้ส่วนหนึ่งจากค่าธรรมเนียมการบริหารกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาและช่วยเหลือสังคม รวมถึงโครงการ MFC Talent Award ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาก 5 ปี เพื่อสร้างสรรค์เยาวชนไทยให้เป็นบุคลากรคุณภาพด้านการเงินพร้อมก้าวสู่วิชาชีพตลาดเงินตลาดทุน
เอยูเอ็มปี51อยู่ในระดับทรงตัว
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2551 ที่ผ่านมา จากสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเอ็มเอฟซีมากนัก โดยผลประกอบการของบริษัทคาดว่าจะมีผลกำไรเติบโตขึ้น ทั้งนี้ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ก็ไม่ลดลงมากเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจและตลาดที่มีความผันผวนสูง โดยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลงจาก 218,857.20 ล้านบาทในปี 2550 เป็น 216,474.37 ล้านบาทในปี 2551 ทั้งนี้ กำไรของบริษัทมาจากการดำเนินการตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้อย่างเหมาะสม ได้แก่ การสร้างรายได้จากธุรกิจภายใต้การจัดการหลายประเภท (Diversification) การออกผลิตภัณฑ์กองทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน รวมทั้งการลดต้นทุน และค่าใช้จ่ายตั้งแต่กลางปี 2551 โดยยังคงให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการทำงาน และการบริหารกองทุน เพื่อผลตอบแทนที่น่าพอใจของลูกค้า
โดยในส่วนของกองทุนรวม มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การจัดการ เท่ากับ 135,309 ล้านบาท ลดลง 7.4% หรือเท่ากับ 10,846 ล้านบาท จากปี 2550 ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 146,155 ล้านบาท ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 55,930 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 8.1% หรือเท่ากับ 4,188 ล้านบาท จากปี 2550 ซึ่งมีมูลค่า 51,742 ล้านบาท และเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมที่เติบโตเพียง 5.30% ในขณะที่กองทุนส่วนบุคคลมีมูลค่า 25,235 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.58% หรือเท่ากับ 4,307 ล้านบาท จากปี 2550 ซึ่งมีมูลค่า 20,928 ล้านบาท และเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมซึ่งลดลง 4%
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับทิศทางการดำเนินงานของบริษัท บริษัทยังคงตอกย้ำเป้าหมายการขึ้นแท่นเป็น 1 ใน 3 บริษัทชั้นนำด้านการบริหารความมั่งคั่งและการให้บริการที่เป็นเลิศในระดับภูมิภาคภายในปี 2555 และเป็นบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำที่มีอัตราการเติบโตเป็น 2 เท่าภายใน 5 ปี ด้วยมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การจัดการรวมกว่า 450,000 ล้านบาท จากการสร้างธุรกิจใหม่ในประเทศ และขยายธุรกิจต่างประเทศให้มีรายได้กว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดของบริษัท
“กลยุทธ์หลักที่จะนำมาขับเคลื่อนสู่เป้าหมายหลักของ บลจ.เอ็มเอฟซี ในการเป็นบริษัทชั้นนำด้านการบริหารความมั่งคั่งและการให้บริการที่เป็นเลิศในระดับภูมิภาคภายในปี 2555 นั้น คือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจเดิม การสร้างธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) การเจาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับบริษัท เน้นการบริหารกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอและเหนือกว่าคู่แข่ง พร้อมปรับปรุงกระบวนการและระบบงาน บริหารต้นทุนและการลงทุนให้มีประสิทธิภาพรวมถึงการคัดสรรทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศให้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้จะดำเนินการภายใต้ทีมงานมืออาชีพ”นายพิชิตกล่าว
มองดัชนีหุ้นไทยมีลุ้นถึง570จุด
นายศุภกร สุนทรกิจ รองกรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซีกล่าวว่า สำหรับบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยปีนี้ ยังมีความผันผวนอยู่ แต่จากการประมาณการณ์ว่าภาพรวมต่างๆ จะเริ่มปรับตัวดีขึ้น ทำให้เรามองดัชนีสิ้นปีนี้อยู่ที่ 555-570 จุด ส่วนการลงทุนในหุ้น เนื่องจากเรามองว่ายังผันผวนอยู่ ดังนั้น การลงทุนของเราจะไม่ผูกกับการเคลื่อนไหวของตลาด โดยเฉพาะหากตลาดหุ้นตก กองทุนของเราต้องตกน้อยกว่า โดยกลยุทธ์เหล่านี้จะใช้เครื่องมือทางด้านการลงทุนเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้อนุพันธ์เข้ามาช่วย หรือตั้งกองทุนประเภทสตรัคเจอร์โน้ต (Structure Note) เพื่อให้ผลตอบแทนของกองทุนไม่แปรผันตามตลาดที่ติดลบ
สำหรับการลงทุนในหุ้นกู้ ขณะนี้เราได้เพิ่มนักวิเคราะห์ทางด้านเครดิตขึ้นมา เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่ดีจึงต้องให้ความสำคัญเรื่องเครดิตมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการลงทุนในหุ้นกู้เอง เป็นช่องทางลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง ในขณะที่ผู้ออกหุ้นกู้เองก็ยังเป็นบริษัทที่มีคุณภาพ ซึ่งในระยะถัดไป เราเองจะออกไปหาการลงทุนในหุ้นกู้ต่างประเทศมากขึ้น รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลในต่างประเทศด้วย ซึ่งในส่วนนี้อาจจะต้องจับจังหวะการลงทุนให้เหมาะสม เพราะว่าในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. จะเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยจะลงไปอยู่ระดับต่ำที่สุด
"โพรดักส์ในปีนี้ จะเน้นอะไรที่เรียบง่ายโดยดูความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยจะต้องเป็นการลงทุนที่มีกระแสเงินสดชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในประเทศและการลงทุนต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ยังให้ความสำคัญกับการสรรหาแอสเซทใหม่ๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าด้วย"นายศุภกรกล่าว
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า ในปีนี้ เอ็มเอฟซีมีแผนออกกองทุนใหม่ประมาณ 22 กองทุน แบ่งเป็น กองทุนรวมตราสารทุนและกองทุนผสมแบบยืดหยุ่น 7 กองทุน กองทุนรวมตราสารหนี้ 5 กองทุน กองทุนต่างประเทศ 6 กองทุน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 4 กองทุน โดยในไตรมาสแรก คาดว่าจะเปิดขายกองทุน 5-6 กองทุน ซึ่งครอบคลุมทั้งกองทุนตราสารหนี้ กองทุนตราสารทุน กองทุนรวมต่างประเทศ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ซึ่งจากแผนการออกกองทุนทั้งหมด คาดว่าจะทำให้สินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหาร (เอยูเอ็ม) โตขึ้น 20% หรือเท่ากับ 2.60 แสนล้านบาท จากปัจจุบันที่มีสินทรัพย์รวม 2.16 แสนล้านบาท นอกจากนี้ ยังตั้งเป้ารายได้เติบโตขึ้นประมาณ 670 ล้านบาทหรือ 25-30% อีกด้วย
ทั้งนี้ ในส่วนของกลุ่มลูกค้า นอกจากจะเน้นเข้าถึงกลุ่มภาครัฐและการสร้างประโยชน์ต่อสังคมแล้ว ยังมีแผนขยายไปสู่นักลงทุนรายย่อยทั่วไปมากขึ้น โดยโพรดักส์ที่จะออกมาส่วนใหญ่ ก็จะเน้นการรักษาเงินต้นและสร้างผลตอบแทนให้กับลูกค้าได้มากที่สุด เช่น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ส่วนการลงทุนในหุ้น ก็จะเป็นการลงทุนแบบซีเล็กทีฟ นั่นคือ เลือกลงทุนในหุ้นที่มีแนวโน้มดี
นอกจากนี้ บริษัทจะเน้นกลยุทธ์ด้านธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทมากขึ้น โดยมีแผนงานในการขยายธุรกิจด้านที่ปรึกษาการเงิน โดยเฉพาะการรองรับโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ที่จะทำต่อเนื่องจากปี 2551 เช่น โครงการ Infrastructure Fund โครงการรถไฟรางคู่ เป็นต้น ในส่วนของ Private Equity ในปีนี้กองทุนเปิด MFC Energy Fund มีแผนงานที่จะศึกษาโครงการประมาณ 36 โครงการ และขยายการลงทุนอีกประมาณ 800 ล้านบาท ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ บริษัทคาดว่าจะจัดตั้งกองทุน 3-4 กองทุน มูลค่ารวมกันประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท โดยลงทุนในอาคารสำนักงาน อาคารอุตสาหกรรมให้เช่า อาคารเซอร์วิสอพาร์ตเม้นท์ ซึ่งในส่วนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นั้น จะตั้งกองทุนในลักษณะ Fund of Fund ที่ลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีกที
นอกเหนือไปจากนั้น บริษัทยังมีแผนงานขยายธุรกิจด้านที่ปรึกษาต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ได้แก่ บริษัท Thai EXIM International ทำธุรกิจด้านที่ปรึกษาการลงทุน และ Trading Facilitator บริษัท MRAM (MFC Real Estate Management) ให้บริการด้านการจัดการโครงการอสังหาริมทรัพย์ และบริษัท MFA (MFC Financial Advisory) ให้คำปรึกษาด้านการสรรหาบริษัทร่วมลงทุน และที่ปรึกษาทางการเงินให้กับโครงการของภาครัฐและเอกชน
นายพิชิตกล่าวว่า นอกจากการบริหารจัดการกองทุนเพื่อมุ่งให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดกับนักลงทุนแล้วนั้น ที่ผ่านมา บริษัทยังได้บริหารกองทุนที่ไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ให้สังคมได้อีกด้วย ได้แก่ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เอนเนอร์จี ฟันด์ กองทุนเปิดเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ และบริษัทยังได้บริจาครายได้ส่วนหนึ่งจากค่าธรรมเนียมการบริหารกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาและช่วยเหลือสังคม รวมถึงโครงการ MFC Talent Award ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาก 5 ปี เพื่อสร้างสรรค์เยาวชนไทยให้เป็นบุคลากรคุณภาพด้านการเงินพร้อมก้าวสู่วิชาชีพตลาดเงินตลาดทุน
เอยูเอ็มปี51อยู่ในระดับทรงตัว
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2551 ที่ผ่านมา จากสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเอ็มเอฟซีมากนัก โดยผลประกอบการของบริษัทคาดว่าจะมีผลกำไรเติบโตขึ้น ทั้งนี้ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ก็ไม่ลดลงมากเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจและตลาดที่มีความผันผวนสูง โดยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลงจาก 218,857.20 ล้านบาทในปี 2550 เป็น 216,474.37 ล้านบาทในปี 2551 ทั้งนี้ กำไรของบริษัทมาจากการดำเนินการตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้อย่างเหมาะสม ได้แก่ การสร้างรายได้จากธุรกิจภายใต้การจัดการหลายประเภท (Diversification) การออกผลิตภัณฑ์กองทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน รวมทั้งการลดต้นทุน และค่าใช้จ่ายตั้งแต่กลางปี 2551 โดยยังคงให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการทำงาน และการบริหารกองทุน เพื่อผลตอบแทนที่น่าพอใจของลูกค้า
โดยในส่วนของกองทุนรวม มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การจัดการ เท่ากับ 135,309 ล้านบาท ลดลง 7.4% หรือเท่ากับ 10,846 ล้านบาท จากปี 2550 ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 146,155 ล้านบาท ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 55,930 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 8.1% หรือเท่ากับ 4,188 ล้านบาท จากปี 2550 ซึ่งมีมูลค่า 51,742 ล้านบาท และเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมที่เติบโตเพียง 5.30% ในขณะที่กองทุนส่วนบุคคลมีมูลค่า 25,235 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.58% หรือเท่ากับ 4,307 ล้านบาท จากปี 2550 ซึ่งมีมูลค่า 20,928 ล้านบาท และเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมซึ่งลดลง 4%
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับทิศทางการดำเนินงานของบริษัท บริษัทยังคงตอกย้ำเป้าหมายการขึ้นแท่นเป็น 1 ใน 3 บริษัทชั้นนำด้านการบริหารความมั่งคั่งและการให้บริการที่เป็นเลิศในระดับภูมิภาคภายในปี 2555 และเป็นบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำที่มีอัตราการเติบโตเป็น 2 เท่าภายใน 5 ปี ด้วยมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การจัดการรวมกว่า 450,000 ล้านบาท จากการสร้างธุรกิจใหม่ในประเทศ และขยายธุรกิจต่างประเทศให้มีรายได้กว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดของบริษัท
“กลยุทธ์หลักที่จะนำมาขับเคลื่อนสู่เป้าหมายหลักของ บลจ.เอ็มเอฟซี ในการเป็นบริษัทชั้นนำด้านการบริหารความมั่งคั่งและการให้บริการที่เป็นเลิศในระดับภูมิภาคภายในปี 2555 นั้น คือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจเดิม การสร้างธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) การเจาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับบริษัท เน้นการบริหารกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอและเหนือกว่าคู่แข่ง พร้อมปรับปรุงกระบวนการและระบบงาน บริหารต้นทุนและการลงทุนให้มีประสิทธิภาพรวมถึงการคัดสรรทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศให้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้จะดำเนินการภายใต้ทีมงานมืออาชีพ”นายพิชิตกล่าว
มองดัชนีหุ้นไทยมีลุ้นถึง570จุด
นายศุภกร สุนทรกิจ รองกรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซีกล่าวว่า สำหรับบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยปีนี้ ยังมีความผันผวนอยู่ แต่จากการประมาณการณ์ว่าภาพรวมต่างๆ จะเริ่มปรับตัวดีขึ้น ทำให้เรามองดัชนีสิ้นปีนี้อยู่ที่ 555-570 จุด ส่วนการลงทุนในหุ้น เนื่องจากเรามองว่ายังผันผวนอยู่ ดังนั้น การลงทุนของเราจะไม่ผูกกับการเคลื่อนไหวของตลาด โดยเฉพาะหากตลาดหุ้นตก กองทุนของเราต้องตกน้อยกว่า โดยกลยุทธ์เหล่านี้จะใช้เครื่องมือทางด้านการลงทุนเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้อนุพันธ์เข้ามาช่วย หรือตั้งกองทุนประเภทสตรัคเจอร์โน้ต (Structure Note) เพื่อให้ผลตอบแทนของกองทุนไม่แปรผันตามตลาดที่ติดลบ
สำหรับการลงทุนในหุ้นกู้ ขณะนี้เราได้เพิ่มนักวิเคราะห์ทางด้านเครดิตขึ้นมา เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่ดีจึงต้องให้ความสำคัญเรื่องเครดิตมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการลงทุนในหุ้นกู้เอง เป็นช่องทางลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง ในขณะที่ผู้ออกหุ้นกู้เองก็ยังเป็นบริษัทที่มีคุณภาพ ซึ่งในระยะถัดไป เราเองจะออกไปหาการลงทุนในหุ้นกู้ต่างประเทศมากขึ้น รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลในต่างประเทศด้วย ซึ่งในส่วนนี้อาจจะต้องจับจังหวะการลงทุนให้เหมาะสม เพราะว่าในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. จะเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยจะลงไปอยู่ระดับต่ำที่สุด
"โพรดักส์ในปีนี้ จะเน้นอะไรที่เรียบง่ายโดยดูความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยจะต้องเป็นการลงทุนที่มีกระแสเงินสดชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในประเทศและการลงทุนต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ยังให้ความสำคัญกับการสรรหาแอสเซทใหม่ๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าด้วย"นายศุภกรกล่าว